งานวิจัย ILO ชี้ภาคก่อสร้างไทยใช้แรงงานต่ างชาติหญิงจ่ายค่าแรงต่ำ
Posted: 17 Dec 2016 12:33 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เปิดรายงานวิจัยองค์ การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยใช้ แรงงานต่างชาติ 557,724 คน ส่วนใหญ่จากพม่าและกัมพู ชาและเป็นแรงงานหญิงถึงเกือบ 40% ทำงานหนัก เสี่ยงอันตรายในหลายด้าน ไม่มีโอกาสเพิ่มทักษะ และยังได้ค่าแรงต่ำ
จากรายงานวิจัยของ ILO ระบุแรงงานหญิงในอุตสาหกรรมก่ อสร้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่ างชาติ ได้รับค่าแรงต่ำและมีความเสี่ ยงในหลาย ๆ ประเด็น (ที่มาภาพ: UN Women/P.Visitoran)
จากรายงาน High rise, low pay: Experiences of migrant women in the Thai construction sector ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา รายงานชิ้นนี้ได้ทำการสัมภาษณ์ แรงงานไทยและต่างชาติในอุ ตสาหกรรมก่อสร้าง 125 คน ในกรุงเทพฯ และ จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2558 โดยระบุว่าข้อมูลจากรั ฐบาลไทยพบว่ามีแรงงานต่างชาติถู กกฎหมายในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้ างประมาณ 557,724 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากพม่ าและกัมพูชา ในจำนวนนี้ร้อยละ 38 เป็นแรงงานหญิง และจากงานศึกษาเมื่อช่ วงปลายทศวรรษที่ 1980 ชี้ว่าไทยเป็นประเทศเดี ยวในประเทศกำลังพัฒนา 49 ประเทศ ที่มีสัดส่วนผู้หญิ งในภาคแรงงานก่อสร้างเกินกว่าร้ อยละ 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพั ฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่นสหรัฐอเมริกามีสั ดส่วนแรงงานหญิงในอุตสาหกรรมก่ อสร้างไม่ถึงร้อย 9 เท่านั้น ส่วนในสหราชอาณาจั กรแรงงานในภาคการก่อสร้างเป็นผู้ ชายถึงร้อยละ 99 เลยทีเดียว โดยในรายงานชิ้นนี้ยังมีประเด็ นที่น่าสนใจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ประเด็นทางเพศ
แรงงานหญิงที่ให้สัมภาษณ์ ในรายงานชิ้นนี้ 39 คนจาก 44 คน ต่างสมรสแล้ว เนื่องจากสภาพการทำงานที่เพื่ อนร่วมงานส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย รวมทั้งที่พักอาศัยที่ต้องอยู่ รวมกันในแคมป์นั้น ทำให้แรงงานหญิงในภาคการก่อสร้ างต้องหา ‘สามี’ ไว้เป็นผู้คุ้มครองความปลอดภัย แต่พวกเธอก็ต้องระวังตนเองไม่ ให้ตั้งครรภ์ เพราะเมื่อใดที่ตั้งครรภ์ก็ หมายความว่าพวกเธอจะต้องสูญเสี ยงาน ทั้งที่กฎหมายไทยอนุญาตให้ แรงงานหญิงลาคลอดได้ 90 วัน นอกจากนี้ทั้งตัวแรงงานหญิ งเองหรือลูกสาวก็มีความเสี่ยงสู งที่จะถูกล่วงละเมิ ดทางเพศในแคมป์แรงงาน
สำหรับมุมมองของนายจ้ างแรงงานหญิงในอุตสาหกรรมการก่ อสร้างมักจะถูกมองเป็น ‘แรงงานผู้ช่วยของสามี’ (ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ ทำให้พวกเธอได้รับค่าแรงต่ำกว่ าแรงงานชาย) เพราะถึงแม้ว่าแรงงานหญิงจะเปรี ยบเสมือนแรงงานราคาถูกสำหรับอุ ตสาหกรรมนี้ แต่สำหรับมุมมองของนายจ้างเองก็ ไม่ค่อยอยากจะรับแรงงานหญิงเข้ ามาทำงานมากนัก แต่ถ้าพวกเธอมาสมัครงานพร้อมกั บสามี นายจ้างก็มักจะไม่ปฏิเสธด้วยเช่ นกัน ผู้ประกอบการรายหนึ่งใน กทม. ระบุกับผู้วิจัยว่าถ้ าหากแรงงานคู่สามีภรรยาเดิ นทางมาสมัครงานด้วยกันเขาก็ต้ องหางานให้ภรรยาด้วย มิเช่นนั้นเขาก็จะต้องสูญเสี ยแรงงานไปทั้งคู่ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ วแรงงานชายทั้งจากประเทศเพื่ อนบ้านและแรงงานจากภาคอีสานมั กจะมาสมัครงานเป็นคู่พร้อมภรรยา ด้านผู้จัดการบริษัทก่อสร้างแห่ งหนึ่งระบุว่าถ้ าหากเขาสามารถเลือกแรงงานได้ ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย เขาจะเลือกแรงงานชายเป็นอันดั บแรกเพราะผู้ชายสามารถทำงานได้ มากกว่า
อคติด้านชาติพันธุ์
อคติด้านชาติพันธุ์ส่งผลต่ อการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานต่ างชาติ แรงงานต่างชาติมักจะถูกล้อเลี ยนและดูถูกจากคนไทย โดยแรงงานหญิงจากรัฐฉานคนหนึ่ งที่ทำงานใน จ.เชียงใหม่ ระบุกับผู้วิจัยว่าว่าแรงงานต่ างชาติมักจะถูกแรงงานไทยล้อเลี ยนว่าพูดไทยไม่ชัด และแรงงานหญิงมักจะถูกดูถูกว่ าทำงานได้ช้า ส่วนแรงงานหญิงชาวพม่าคนหนึ่งที่ ทำงานในกรุงเทพฯ ระบุว่าเธอเลือกที่จะเงี ยบและไม่โต้ตอบเมื่อได้รับคำพู ดที่ไม่ดีจากคนไทย
ผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ไม่ใช่ คนไทย ให้สัมภาษณ์แก่ผู้วิจัยว่ าแรงงานชาวไทยจะคิดว่าพวกเขาดี กว่าคนอื่นเพราะว่าที่นี่คื อประเทศของเขา แต่พวกเขาจะไม่คิดว่าตัวเองนั้ นอยู่ในสถานะเดียวกันกั บแรงงานจากพม่าและกัมพูชาที่ ทำงานร่วมกันกับพวกเขา โดยแคมป์ที่พักคนงานของผู้ ประกอบการรายนี้แบ่งออกเป็ นสองส่วน คือส่วนของคนไทยและส่ วนของแรงงานต่างชาติจากพม่ าและกัมพูชา
สภาพการทำงาน ค่าจ้าง และการทำงานล่วงเวลา
แม้แรงงานหญิงบางส่วนจะทำงานฝี มือเช่นก่ออิฐ ฉาบปูน และงานเชื่อมบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วลั กษณะการทำงานของแรงงานหญิงมั กจะเป็นการ ‘แบก-หาม-ลาก’ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้พวกเธอได้รับค่าแรงน้ อยกว่าแรงงานชาย และมีโอกาสพัฒนาฝีมือได้น้อยกว่ าเช่นกัน (ที่มาภาพ: UN Women/P.Visitoran และ ILO/M. Crozet)
ลักษณะการทำงานของแรงงานหญิ งเหล่านี้มักจะเป็นการ ‘แบก-หาม-ลาก’ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนงานที่ใช้ทักษะมากกว่าเช่ นงานก่ออิฐ ฉาบปูน และงานเชื่อมนั้นส่วนใหญ่แล้ วจะเป็นงานของแรงงานชาย แม้แรงงานหญิงบางคนจะได้ทำงานก่ ออิฐ ฉาบปูน หรืองานเชื่อมบ้างก็เป็นส่วนน้ อย ซึ่งทำให้พวกเธอได้รับค่าแรงน้ อยกว่ าแรงงานชายและขาดโอกาสในการพั ฒนาทักษะแรงงาน
แรงงานหญิงส่วนใหญ่ที่ให้สั มภาษณ์ในงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่ าพวกเธอไม่ชอบงานในภาคก่อสร้าง และต่อมาแรงงานบางคนก็ได้ ไปทำงานในโรงงานและแรงงานรับจ้ างอื่น ๆ แรงงานหญิงชาวกัมพูชาคนหนึ่ งระบุว่า "ฉันไม่ชอบงานก่อสร้าง แต่ฉันไม่มีทางเลือก ฉันต้องการนั่งทำงานและใช้ สมองของฉัน ฉันเสียใจที่ฉันได้รับการศึ กษามาไม่เพียงพอ" ส่วนแรงงานหญิงชาวพม่าคนหนึ่งที่ ทำงานในกรุงเทพฯ ระบุกับผู้วิจัยว่าไม่มีอะไรที่ เธอชอบในงานก่อสร้างที่เธอทำเลย เธอเพียงมายังประเทศไทยเพื่ อหารายได้ส่งกลับไปให้ครอบครั วเกษตรกรที่พม่า และเธอจะกลับไปที่พม่าไปอยู่กั บครอบครัวหากที่พม่ามีงานที่ดี สำหรับเธอ
โดยแรงงานหญิง 44 คน ที่ให้สัมภาษณ์ในรายงานชิ้นนี้ ทำงานเป็นแรงงานทั่วไป 37 คน ลักษณะงานก็คือการแบกหามและเป็ นลูกมือให้กับแรงงานฝีมือ มีเพียง 5 คนที่ได้ทำงานเป็นแรงงานฝีมือ (ก่ออิฐ ฉาบปูน และงานเชื่อมโลหะ) ส่วนอีก 2 คน ทำงานทำความสะอาด ทั้งนี้หากผู้หญิงได้ทำงานฝีมื อบ่อยครั้งขึ้น ทักษะและค่าแรงของพวกเธอก็จะเพิ่ มขึ้นด้วย แต่ทัศนะคติของผู้ประกอบการเป็ นส่วนสำคัญเพราะผู้ประกอบการมั กจะมองว่าผู้ชายทำงานหนักกว่ าและทำงานฝีมือได้ดีกว่าผู้หญิง โดยผู้ประกอบการรายหนึ่งระบุว่ างานเชื่อมต้องให้ผู้ชายทำเท่ านั้น
ในด้านลักษณะการจ้างงานนั้น ส่วนใหญ่แรงงานในอุตสาหกรรมก่ อสร้างของไทยเป็นแรงงานจ้ างเหมารายวัน ไม่มีสวัสดิการอื่น ๆ นอกจากค่าจ้างรายวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะจ่ายค่างจ้าง 15 วันครั้ง แรงงานที่ให้สัมภาษณ์ผู้วิจั ยในรายงานชิ้นนี้ได้รับค่าจ้ างระหว่าง 190-400 บาทต่อวัน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ ตามกฎหมายคือ 300 บาท โดยมีเพียง 21 จาก 51 คน (ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่ างชาติ) เท่านั้นที่ได้รับค่าแรง 300 บาทต่อวัน แรงงานต่างชาติที่ให้สัมภาษณ์ผู้ วิจัยในรายงานชิ้นนี้ได้รับค่ าแรงเฉลี่ย 282 บาท แต่แรงงานต่างชาติหญิงได้รับค่ าแรงเฉลี่ยน้อยกว่านั้นเพียง 274 บาท นอกจากนี้แรงงานต่างชาติหญิง 42 คนจากการสัมภาษณ์มีถึง 30 คนได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 300 บาท ทั้งนี้หากแรงงานที่ต้องการได้ ค่าแรงเพิ่ม ก็ต้องยอมทำงานล่วงเวลาทุกวัน โดยเฉลี่ยแล้วทำงานรวม 13.5 ชั่วโมงในแต่ละวัน และเกือบหนึ่งในสี่ของแรงงานที่ ให้สัมภาษณ์รายงานไม่มีวันหยุด แม้จะมีกฎหมายไทยจะบังคับให้ นายจ้างต้องจัดวันหยุดให้ แรงงานอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสั ปดาห์
ความปลอดภัยในการทำงาน และที่อยู่อาศัย
ในรายงานระบุว่าพบบริษัทก่อสร้ างหลายแห่งของไทยละเลยเรื่ องมาตรการความปลอดภัย พบโครงสร้างของเครนก่อสร้ างและนั่งร้านต่าง ๆ ทำขึ้นแบบใช้งานชั่วคราว ไม่แข็งแรงและขาดความปลอดภั ยสำหรับแรงงานหญิงที่ต้องขึ้ นไปทำงานในที่สูง แม้ไม่มีรายงานแน่ชัดเกี่ยวกั บอัตราการเสียชีวิ ตจากการทำงานก่อสร้าง แต่ในรายงานระบุว่าคาดว่ าการทำงานก่อสร้างในกลุ่ มประเทศกำลังพัฒนามีความเสี่ ยงมากกว่าประเทศตะวันตกราว 3-6 เท่า ส่วนใหญ่แล้วจากงานวิจัยชิ้นนี้ ระบุว่านายจ้างจำนวนไม่จัดให้มี อุปกรณ์ความปลอดภัยหรือมีเครื่ องมือที่เพียงพอสำหรับคนงานทุ กคน
นอกจากนี้ในด้านอยู่พักอาศัยซึ่ งนายจ้างจัดไว้ให้ก็ไม่มี ความปลอดภัย ส่งผลให้พวกเธอต้องใช้ชีวิตอย่ างหวาดกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่ วมงานชายล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้การหาสามีไว้เป็นผู้คุ้ มครองความปลอดภัยกลายเป็นเรื่ องจำเป็นสำหรับคนงานหญิงเหล่านี้
แรงงานหญิงคนหนึ่งจากรัฐฉานที่ ทำงานใน จ.เชียงใหม่ ระบุกับผู้วิจัยว่างานก่อสร้ างนั้นเป็นงานของผู้ชาย ผู้หญิงโสดไม่สามารถอยู่ในแคมป์ ก่อสร้างตามลำพังได้ เพราะวัฒนธรรมอย่างหนึ่ งของแรงงานชายในภาคก่อสร้างนี้ ก็คือการดื่มเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์หลังเลิกงาน ซึ่งมันทำให้เกิดความไม่ปลอดภั ยสำหรับผู้หญิง ส่วนแรงงานหญิงชาวกัมพูชาที่ ทำงานในกรุงเทพฯ คนหนึ่งระบุว่าที่ผู้หญิงจำเป็ นต้องถือเงินไว้นั้น เพราะหากให้สามีถือเงินพวกเขาก็ จะเอาไปซื้อเครื่องดื่ มแอลกอฮอล์จนหมด.
แสดงความคิดเห็น