สนช.ผ่าน 3 วาระรวด ถวายคืนพระราชอำนาจกษัตริย์ สถาปนาสังฆราช - ตัดมหาเถรสมาคมชงชื่อ
Posted: 28 Dec 2016 11:38 PM PST
สนช. พิจารณา 3 วาระ ก่อนมีมติเอกฉันท์เห็นชอบการแก้ ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ถวายคืนพระราชอำนาจให้พระมหากษั ตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรั บสนองพระบรมราชโองการ ตัดมหาเถรสมาคมชงชื่อ
ที่มาภาพ เว็บไซต์วิทยุและโทรทั ศน์รัฐสภา
29 ธ.ค. 2559 จากกรณี เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการวิสามั ญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(วิ ปสนช.) แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาวาระการเข้ าชื่อของสมาชิกสนช. จำนวน 84 คน เพี่อเสนอแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ในมาตรา 7 เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสั งฆราช ซึ่งคณะกรรมาธิการศาสนา และศิลปวัฒนธรรม นำโดย พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้รับฟังความเห็นจากผู้ที่ เกี่ยวข้องและได้พิจารณาเสร็ จแล้ว คือ “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็ จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรั บสนองพระบรมราชโองการ” โดยให้กลับไปใช้ตามข้อความตามลั กษณะเดิมตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.คณะสงฆ์ปี พ.ศ.2505 โดยยกเลิกข้อความในมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สงฆ์ ปี พ.ศ.2505 แก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ที่ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็ จพระสังฆราชองค์หนึ่งในกรณีที่ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มี อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถานปนาเป็นสมเด็จพระสั งฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชคณะผู้มี อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็ นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็ จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุ โสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปกิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาเป็ นสมเด็จพระสังฆราช” นั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
ล่าสุดวันนี้ (29 ธ.ค. 59) เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า สนช.พิจารณา 3 วาระ ก่อนมีมติเอกฉันท์เห็นชอบการแก้ ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ถวายคืนพระราชอำนาจให้พระมหากษั ตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรั บสนองพระบรมราชโองการ
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่ งชาติ(สนช.) ที่มี พรเพชร ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม พิจารณาแบบสามวาระรวด ก่อนมีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุม 188 คน ให้มีการประกาศใช้ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขจากกฎหมายฉบั บเดิมคือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในมาตรา 7 ที่กำหนดให้การสถาปนาสมเด็ จพระสังฆราช จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็ นชอบของมหาเถรสมาคมก่อน โดยให้ที่ประชุ มมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็ จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุ ดโดยสมณศักดิ์และนำขึ้นทูลเกล้ าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสั งฆราช แต่ร่างที่ สนช.เสนอแก้ไขนี้ เสนอมาตรา 3 ให้เป็นการแก้ไขมาตรา 7 ดังกล่าว บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรั บสนองพระบรมราชโองการ
สำหรับการแก้ไขร่ างกฎหมายคณะสงฆ์นี้เกิดขึ้ นจากกรณีที่ พล.ต.อ.พิชิต ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กับคณะสมาชิก สนช. รวม 81 คน เป็นผู้เข้าชื่อเสนอขอแก้ไข โดยระบุเหตุผลว่า ตามโบราณราชประเพณีที่ปฏิบัติสื บต่อกันมานั้นเป็ นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และได้มีการบัญญัติใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พระพุทธศักราช 2484 เป็นต้นมา จึงควรคงไว้ซึ่งการสืบทอดและรั กษาโบราญราชประเพณีดังกล่าวไว้
ขณะที่ ออมสิน ชีวพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ตัวแทนรัฐบาล กล่าวต่อที่ประชุมสภาฯ ว่ารัฐบาลไม่ขัดข้องในการที่ สภาจะดำเนินการพิจารณาต่อไป ทำให้ที่ประชุม สนช. พิจารณาต่อในวาระรับหลั กการและต่างแสดงความเห็นด้วยให้ มีการแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ อาทิ สมพร เทพสิทธา ที่ระบุ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พระพุทธศักราช 2484 และ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 บัญญัติไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสังฆราช และมีการใช้ติดต่อมาถึง 51 ปี ถือเป็นราชประเพณี แต่ต่อมามีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2535 เพิ่มเงื่อนไขให้การสถาปนาสมเด็ จพระสังฆราช ต้องเป็นสมเด็จพระราชาคณะอาวุ โสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ดังนั้น เมื่อกฎหมายมีปัญหาจึงต้องแก้ ไขที่กฎหมาย เช่นเดียวกับ สมชาย แสวงการ ที่เห็นว่าการยึดความอาวุโสเพี ยงอย่างเดียวในการแต่งตั้งสมเด็ จพระสังฆราช อาจทำให้เกิดปัญหา ซึ่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ถูกแก้ไขเมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะที่ สมเด็จพระสังฆราชองค์ล่าสุด ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2532 กฎหมายฉบับดังกล่าว จึงไม่เคยถูกใช้มาก่อน จึงไม่เคยเกิดปัญหา รวมถึง ตวง อัณฑะไชย เจริญศักดิ์ สาระกิจ มณเฑียร บุญตัน และ เจตน์ ศิรธรานนท์ ที่เห็นควรให้มีการแก้ ไขเพราะมองว่าจะทำให้กฎหมายกลั บไปสู่ฉบับเดิมที่ไม่เคยมีปัญหา เป็นการการถวายคื นพระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็ จพระสังฆราช และการแก้ไขครั้งนี้ไม่ได้ยุ่ งยาก และไม่กระทบหรือเกี่ยวพันกั บมาตราอื่น ที่ประชุมจึงเห็นควรรับหลั กการให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ด้วยเสียง 184 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย ก่อนเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 ด้วยกรรมาธิการเต็มสภาแบบเรี ยงลำดับรายมาตราจนครบทั้งร่าง และพิจารณาทั้งร่าง ท้ายที่สุดมีจึงมติเห็ นชอบในวาระ 3 นำไปสู่การประกาศใช้เป็ นกฎหมายต่อไป
แสดงความคิดเห็น