พบแอปประกันสังคม 'my SSO' ออกแบบผิดพลาด ข้อมูลอยู่ในความเสี่ยง
Posted: 03 Dec 2016 10:18 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
Thai Netizen Network เผยพบแอปประกันสังคม “my SSO” ออกแบบผิดพลาด ไม่มีการยืนยันตัวตนในขั้ นตอนลงทะเบียนและขั้นตอนเรียกข้ อมูลเงินประกันสังคม ข้อมูลผู้ประกันตน 14 ล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยง
4 ธ.ค. 2559 Thai Netizen Network รายงานว่า ตั้งแต่ค่ำวันที่ 2 ธ.ค. 2559 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และนักความมั่ นคงปลอดภั ยของระบบสารสนเทศหลายรายในเน็ต แชร์ความเห็นและการวิเคราะห์ข้ อผิดพลาดของแอปพลิเคชันบริ การประกันสังคม ที่ไม่มีมาตรการป้องกันการเรี ยกข้อมูลโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้ าถึงข้อมูล
โดยเพจ “สอนแฮกเว็บแบบแมวๆ” และบล็อก Somkiat.cc เปิดเผยว่า
1) แอปดังกล่าวจะติดต่อกับเซิร์ ฟเวอร์แห่งหนึ่งในลักษณะ Web API ซึ่งไม่ได้มีการป้องกันอย่างที่ ควร
2) การลงทะเบียนบริการใช้เพี ยงเลขประจำตัวประชาชน ถ้ามีใครรู้เลขประจำตั วประชาชนของคนอื่น ก็สามารถเอาไปลงทะเบียนได้ทันที เนื่องจากไม่มีการยืนยันตั วตนใดๆ
3) เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะได้เลขประจำตัวผู้ใช้งาน (userId) มาหนึ่งตัว ซึ่งพบว่าเป็นเลข 6 หลัก มีรูปแบบ 10xxxx โดย xxxx เป็นเลข 0000-9999 (เข้าใจว่ายังมีผู้ลงทะเบียนไม่ ถึงหนึ่งหมื่นคน)
4) หากต้องการเรียกข้อมูลส่วนบุ คคลของผู้ใช้รายใดก็ตาม ก็เพียงส่ง userId ไปที่เซิร์ฟเวอร์ ก็จะได้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้ งหมดมา [ถ้าบุคคลนั้นยังไม่มี userId ก็สร้างเองได้ ด้วยวิธีในข้อ (2)]
5) หากต้องการเรียกข้อมูลเงินประกั นสังคมของผู้ใช้ จะต้องใช้ข้อมูล 2 อย่างประกอบกัน คือ เลขประจำตัวประชาชน (ssoNum) และ เลขประจำตัวผู้ใช้งาน (userId)
6) ปัญหาคือ เลขประจำตัวประชาชนนั้น สามารถหามาได้ไม่ยาก (หรือกระทั่งเดาสุ่มขึ้นมาก็ได้ หากรู้รูปแบบเลข 13 หลัก แล้วลองไปเรื่อยๆ) และเลข userId ซึ่งมีเพียงไม่ถึงหนึ่งหมื่นรู ปแบบ ก็สามารถใช้โปรแกรมสุ่มเลขขึ้ นมาได้อย่างรวดเร็ว (หรือถ้าไม่เจอ ก็ใช้เลขประจำตัวประชาชนสมั ครเพื่อรับเลข userId ได้เลย) - ทำให้ใครก็ตามที่รู้ลิงก์ของเซิ ร์ฟเวอร์และมีความสามารถในการสุ่ มเลข ก็สามารถดูข้อมูลของคนทุ กคนในระบบได้
ข้อมูลจาก Google Play Store ระบุว่า แอปดังกล่าวอัปเดตรุ่นล่าสุด 1.1.2 เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2559 และให้บริการโดย CAT Telecom Public Co., Ltd. (กสท โทรคมนาคม) โดยมีผู้ติดตั้งแอปไปแล้วประมาณ 5 แสนถึง 1 ล้านเครื่อง (แต่คนที่ติดตั้งอาจจะยังไม่ได้ ลงทะเบียนใช้งาน) https://play.google.com/store/ apps/details?id=com. ionicframework.mySSO131977
ล่าสุดในช่วงบ่ายของวันที่ 3 ธ.ค. 2559 พบว่าทีมงานผู้พัฒนาได้ปิ ดระบบแล้ว และได้แจ้งไปยังเพจและบล็อกต่ างๆ ว่ากำลังแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่ (รวมทั้งขอให้ลบโพสต์ที่ รายงานเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งบางเพจก็ลบ บางเพจตัดสินใจไม่ลบด้วยเหตุ ผลว่าเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ) http://www.somkiat.cc/review- security-issue-of-my-sso-app/ https://www.facebook.com/ longhackz/photos/a. 1560357644219017.1073741828. 1559669844287797/ 1768143033440476/https://www.facebook.com/ LookHin/posts/ 10154676435246067
ปัญหาความผิดพลาดหรือไม่ใส่ ใจความปลอดภัยของการเก็บรักษาข้ อมูลส่วนบุคคลในแอปภาครัฐ ยังคงเป็นปัญหาที่ดูจะรอเวลาให้ ค้นพบปัญหาใหม่ ๆ กรณีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
- เมื่อเดือนมกราคมปี 2559 นี้ มีการค้นพบว่า แอป “ดาวเหนือ” ที่พัฒนาโดยคณะกรรมการการเลื อกตั้ง (กกต.) เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ งสามารถหาหน่วยเลือกตั้งได้นั้น เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มี สิทธิเลือกตั้งมากกว่าที่จำเป็ นและมากกว่าที่ตัวแอปได้แจ้งไว้ นอกจากนี้การรับส่งข้อมูลกับเซิ ร์ฟเวอร์ ก็ทำโดยไม่มีการเข้ารหัสลับ ทำให้สามารถถูกดักระหว่างทางได้ และที่เหมือนกับแอป my SSO ก็คือ ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าถึ งข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ใครก็ตามที่ทราบเลขประจำตั วประชาชน ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญอย่ างที่อยู่ตามทะเบียนบ้านจากเซิ ร์ฟเวอร์ได้ทันที http://droidsans.com/found- vulnerability-in-north-star- app https://www.blognone.com/node/ 77010
- จากนั้นอีกสองเดือนถัดมา ในเดือนมีนาคม 2559 ก็พบกรณี 2 กรณีต่อเนื่องกัน เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่ควรเปิ ดเผยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ภาครัฐ โดยพบว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช และกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ข้อมูลของชาวต่างชาติที่ พำนักในประเทศไทยและผู้เดิ นทางข้ามแดนในเว็บไซต์สาธารณะ โดยไม่มีระบบยืนยันสิทธิ์ของผู้ ใช้งานระบบ ทำให้คนทั่วไปที่ทราบลิงก์ สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งหมด ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเช่น ชื่อ สกุล เลขหนังสือเดินทาง สัญชาติ เพศ ที่อยู่ในประเทศไทย และในกรณีของเว็บไซต์กรมควบคุ มโรคติดต่อยังมีข้อมูลการเดิ นทาง (รายชื่อประเทศที่เดิ นทางไปในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เลขเที่ยวบิน ฯลฯ) ข้อมูลการสื่อสาร (หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล) และข้อมูลอ่อนไหวอย่างข้อมู ลทางการแพทย์ (วันที่ฉีดวัคซีน) http://bit.ly/2fY5ZRW http://bit.ly/1qbCUb9
- ต่อมาถึงกลางปี ในเดือนพฤษภาคม 2559 พบว่าเว็บไซต์สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร เผยแพร่เอกสารผู้มีสิทธิรับเบี้ ยผู้สูงอายุ ซึ่งในเอกสาร PDF ที่เปิดให้ทุกคนดาวน์โหลดได้ดั งกล่าว มีทั้งข้อมูลเลขประจำตั วประชาชนของผู้มีสิทธิ ชื่อ-สกุลของผู้มีสิทธิ วัน/เดือน/ปีเกิด อายุ เลขประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ ชื่อ-สกุลของผู้รับมอบ (เจ้าของบัญชี) ชื่อธนาคาร เลขบัญชี และสาขาธนาคาร ซึ่งแม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็ นข้อมูลจำเป็นในการติดต่อรับเบี้ ย แต่ก็เป็นข้อมูลที่ไม่เหมาะสมที่ คนที่ไม่เกี่ยวข้องจะเข้าถึงได้ เช่นนี้ http://bit.ly/2gAEe5Q
ไม่จบแค่ปี 2559 แน่
อนึ่ง ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่ อเก็บลายนิ้วมือของผู้ใช้ งานโทรศัพท์มือถือ และจะบังคับให้ผู้ให้บริ การโทรศัพท์มือถือทุกรายเก็ บลายนิ้วมือถือของลูกค้า โดยระบบดังกล่าวจะเก็บข้อมู ลลายนิ้วมือทั้งหมดไว้ที่เซิร์ ฟเวอร์กลางของกสทช. และจะพร้อมใช้งานในเดือนกุมภาพั นธ์ที่จะถึงนี้ (ปี 2560) https://www.blognone.com/node/ 87650
ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ กำลังเสนอแผนให้ใช้ระบบการเลื อกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ (e-voting) ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป โดยบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะเป็นผู้ผลิตเครื่องลงคะแนนอิ เล็กทรอนิกส์สำหรับการเลือกตั้ งทุกระดับ อย่างก็ตามที่ผ่านมาทางกกต.ยั งไม่เคยมีการเผยแพร่ขั้นตอนหรื อมาตรฐานที่ใช้ ในการทดสอบระบบลงคะแนนเลย http://thediplomat.com/2016/ 10/a-serious-concern-over-the- first-use-of-e-voting-in- thailand/
และล่าสุด ยังมีศูนย์ที่กระทรวงดิจิทั ลจะต้องตามร่างพ.ร.บ.คอมพิ วเตอร์ฉบับใหม่ ที่จะให้เชื่อมโยงกับผู้ให้บริ การอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เจ้าหน้าที่รั ฐสามารถระงับการเข้าถึงและลบข้ อมูลในฝั่งผู้ให้บริการอินเทอร์ เน็ต และระบบดังกล่าวจะมีการเก็บข้ อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ 5 ปี ซึ่งก็ต้องรอดูว่าใครจะมาเป็นผู้ พัฒนาและดูแลระบบดังกล่าว และจะมีมาตรการป้องกันข้อมูลอย่ างไร http://thematter.co/byte/ statemachine/12812
ความจำเป็นของการเก็บข้อมูล และกลไกกำกับการใช้ข้อมูลที่ยั งขาดอยู่
แน่นอนว่า จากประวัติที่ผ่านมาของการพั ฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐ ย่อมมีคำถามตามมามากมาย ทั้งคำถามถึงการป้องกันข้อมู ลและความปลอดภัยของระบบใหม่ๆ ที่รัฐจะบังคับใช้กับข้อมูลส่ วนบุคคลของเรา ว่าจะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน ใครจะมาเป็นคนช่วยตรวจสอบ หรือคำถามที่ว่าระบบบางระบบมี ความจำเป็นเพียงใด รัฐสามารถบรรลุจุดประสงค์ที่ต้ องการได้โดยการใช้วิธีอื่นหรื อไม่ โดยที่ไม่ต้องดึงข้อมูลที่ไม่ จำเป็นไปเก็บรวมไว้ในที่เดียวกั นให้เกิดความเสี่ยง หรือกระทั่งงานบางอย่างเป็ นงานที่รัฐควรเข้ามาทำเอง หรือควรเป็นเรื่องของอุ ตสาหกรรมและผู้บริโภคที่จะจั ดการกันเองโดยมีภาครัฐเป็นผู้ อำนวยการหรือผู้กำกับดูแลเท่านั้ น
สุดท้ายก็คือ หน่วยงานที่จะมาคุ้มครองข้อมู ลส่วนบุคคล กำหนดมาตรฐาน และลงโทษคนที่ไม่ดูแลข้อมู ลของพวกเราให้ดี ซึ่งจะตั้งตามร่างพ.ร.บ.คุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั้นจะทำงานได้แค่ไหน เพราะในร่างกฎหมายปัจจุบัน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุ คคลยังเป็นคณะกรรมการภายใต้ โครงสร้างของรัฐบาล ไม่ได้มีโครงสร้างอำนาจเป็นอิ สระจากรัฐบาลแบบกสทช.หรื อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ งชาติ ดังนั้นหากเกิดกรณีภาครัฐละเมิ ดข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ก็อาจเกิดปั ญหาในการตรวจสอบอำนาจรัฐบาลได้ (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ งและถอดถอนประธานคณะกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งกว่าครึ่ งมาจากภาครัฐ) http://bit.ly/2gAKDxS https://bact.cc/2016/ designing-committee-in-thai- law/
* ข้อมูลจำนวนผู้ประกันตนจากสำนั กงานประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/ category.jsp?lang=th&cat=800
แสดงความคิดเห็น