Cambodian Girl Coders Push Frontiers for Women in Tech

ทีมเด็กหญิงชาวกัมพูชาลงแข่งขันนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในสหรัฐฯ เเละเป็นเเรงบันดาลใจเเก่เด็กหญิงทั่วโลกให้เข้าสู่วงการไอที

ทีมนักเขียนรหัสโปแกรมคอมพิวเตอร์หญิงหรือ coders รุ่น 11-12 ปี จากกัมพูชาได้นำผลงาน app สำหรับโทรศัพท์ที่ทีมได้คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เข้าร่วมในการเเข่งขัน Technovation นี้

App ที่ว่านี้มีชื่อว่า Cambodian Identity Product เด็กหญิง Lorn Dara Soucheng อายุ 12 ปี หัวหน้าทีม กล่าวในตอนนำเสนอผลงานบนเวทีว่า

App ที่ทีมงานคิดค้นขึ้นจะช่วยต่อสู้กับปัญหาความยากจน อย่ามุ่งหาลูกค้าเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของคุณ แต่จงผลิตสินค้าเพื่อลูกค้าของคุณ

เด็กหญิงชาวกัมพูชาทีมนี้เดินทางข้ามมหาสมุทรเเปซิฟิกมาเข้าร่วมการเเข่งขันครั้งนี้มุ่งสร้างแรงบันดาลใจเเก่เด็กหญิงคนอื่นๆ ทั่วโลกให้สนใจเข้าทำงานในด้านเทคโนโลยีเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องการเเก้ปัญหาความยากจนในประเทศของตนอีกด้วย

เด็กหญิง Chea Sopheata อายุ 11 ปี บอกกับคณะกรรมการตัดสินที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทกูเกิ้ลว่าทีมงานต้องการเพิ่มงานให้คนกัมพูชาเพื่อช่วยลดจำนวนคนกัมพูชาที่ต้องย้ายถิ่นไปทำงานในต่างแดนลง ช่วยลดความยากจนผ่านการสร้างรายได้

ในการเข้าร่วมการเเข่งขัน Technovation ระดับทั่วโลกนี้ ทีมนักเขียนรหัสโปรแกรมต้องสร้าง app สำหรับโทรศัพท์มือถือและเขียนแผนงานทางธุรกิจ เพื่อเเก้ปัญหาในปัญหาหนึ่งตามแผนการพัฒนาของสหประชาชาติ ทีมเด็กหญิง coders จากกัมพูชาเลือกหัวข้อความยากจนและในขณะที่ โลกาภิวัฒน์ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเเก่กัมพูชา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ก็ได้สร้างการเเข่งขันและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจอีกด้วยเเละเด็กหญิงชาวกัมพูชาทีมนี้คิดว่า app โทรศัพท์มือถือที่ทีมงานสร้างขึ้นนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้

ผู้สื่อข่าววีโอเอภาคภาษาเขมรกล่าว่าเนื่องจากอายุที่ยังน้อย ไม่มีใครคาดหวังว่าเด็กหญิงชาวกัมพูชาทีมนี้จะแก้ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศหลายๆ ปัญหาได้ในตอนนี้ แต่การเข้าร่วมเเข่งขันครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออีกปัญหาหนึ่ง นั่นก็คือการส่งเสริมผู้หญิงให้เข้าทำงานทางด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น

ในกัมพูชา มีนักศึกษาหญิงเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นจากจำนวนนักศึกษาด้าน IT ทั้งหมดโดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษาและการขาดเเคลนผู้หญิงที่เป็นเเบบอย่าง

Tara Chklovski ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของหน่วยงานไม่หวังผลกำไร Iridescent ที่อยู่เบื้องหลังการเเข่งขันTechnovation กล่าวว่า เป็นครั้งเเรกในประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีสามารถช่วยให้เด็กผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นและช่วยสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมทางเพศ


Pauline Seng หญิงชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา ทำงานด้านผู้จัดการด้านโครงการที่บริษัทกูเกิ้ล กล่าวว่านักเขียนรหัสโปรแกรมอายุน้อยจากกัมพูชาได้กลายเป็นเเบบอย่างแก่ชาวกัมพูชาคนอื่นๆ อีกหลายคน รวมทั้งตัวเธอด้วย ซึ่งเข้ามาทำงานในสาขาเทคโนโลยีตอนอายุ 23 ปี
เธอบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอภาคภาษาเขมรว่าจะมีคนอีกมากที่ได้เเรงบันดาลใจให้พยายามให้เข้ามาเเข่งขันในระดับนี้เเละยังจะช่วยดึงดูดคนอีกมากให้มีบทบาทในสาขาเทคโนโลยี

เเละเเม้ว่าทีมกัมพูชาจะได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งทีมจากฮ่องกงเป็นผู้คว้าชัยชนะไป เเต่เด็กหญิงชาวกัมพูชาทีมนี้ก็ภูมิใจแล้วที่ได้เข้ามาร่วมในการเเข่งขันทางเทคโนโลยีที่จัดที่บริษัทกูเกิ้ลใน Silicon Valley ครั้งนี้ เเละหลังจากได้ชมการกล่าวปิดงานโดยนาย Sundar Pichai ซีอีโอชายแห่งบริษัทกูเกิ้ล ผู้เข้าเเข่งขันชาวกัมพูชาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วันหนึ่งในอนาคต บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิ้ลจะมีซีอีโอที่เป็นผู้หญิง

เเต่ความหวังนี้จะกลายเป็นจริงหรือไม่ ก็ต้องรอดูกันต่อไป เเต่มาถึงขณะนี้ เด็กหญิงนักเขียนรหัสโปรแกรมจากกัมพูชาทีมนี้ก็ได้กลายเป็นแบบอย่างที่อายุน้อยที่สุดในการสร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กผู้หญิงคนอื่นๆ ที่จะเอาดีด้านเทคโนโลยีในอนาคต

(รายงานโดย Sophat Soeung เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095052101215375

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.