Myanmar's State Counsellor Aung San Suu Kyi talks to the elderly at a peace talk conference in May Tain Kan village, Wundwin, in Mandalay Division, Aug. 7, 2017.

รัฐบาลประชาธิปไตยของอองซาน ซูจี ได้รับทั้งเสียงสนับสนุนในแง่บวก และ เสียงไม่พอใจ จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนครั้งใหญ่ครั้งแรกในพม่านับตั้งแต่พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ได้รับเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในการขึ้นบริการประเทศอย่างเป็นทางการ

รายงานผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนชาวพม่าจากหน่วยงาน Myanmar Survey Research ที่ได้รับการสนับสนุนการจัดทำโพลครั้งนี้จากองค์กรจัดทำผลสำรวจ International Republican Institutes (IRI) ในสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามของชาวพม่าหลายพันคน กระจายไปตามภูมิภาคและรัฐต่างๆในพม่า 15 แห่ง ที่ทำการสำรวจในช่วงเดิอนมีนาคม ถึง เมษายน พ.ศ.2560 และเผยแพร่เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม

รายงานผลสำรวจในครั้งนี้ ถูกนำไปเปรียบเทียบกับรายการทำผลสำรวจในลักษณะคล้ายกันก่อนหน้านี้ ที่จัดทำในช่วงที่พม่ายังอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่มีพลเอก เต็ง เส่ง เป็นประธานาธิบดี เมื่อ ปีพ.ศ.2557 ที่ผ่านมา และพบข้อมูลตัวเลขหลายด้านที่น่าสนใจ

ประเด็นคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่จะนำพาประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้อง สร้างความแปลกใจเล็กน้อยกับผลที่ออกมา

เมื่อกว่าร้อยละ 88 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในสมัยรัฐบาลทหาร บอกว่า ประเทศพม่ากำลัง "มุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง" เปรียบเทียบกับรัฐบาลประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น มีผู้เชื่อมั่นในเรื่องนี้ราวร้อยละ 75

ขณะที่ในด้านการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจนั้น ร้อยละ 73 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าในช่วงรัฐบาลพลเอกเต็งเส่ง นั้น เศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ "ค่อนข้างดี" ขณะที่ในปัจจุบันเหลือความคิดเห็นที่ตอบว่าค่อนข้างดี มีเพียงร้อยละ 53

ส่วนคำถาม ที่ว่า รัฐบาลประชาธิปไตยที่นำโดยนางออง ซาน "ทำงานได้ดีหรือไม่" มีผู้ตอบสนองในแง่บอกเพียงร้อยละ 58 ลดลงจากตัวเลขร้อย 69 เมื่อ 3 ปีก่อน

Buddhist monks and nationalists protest against the government near Shwedagon pagoda in Yangon, Myanmar, Aug. 3, 2017.

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความคิดเห็นภายใต้รัฐบาลทหาร เมื่อ 3 ปีก่อนนั้น มีผู้สังเกตการณ์บางคนคิดว่า กองทัพอาจจะมีส่วนสนับสนุนการจัดทำ ซึ่งอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมากนัก

แต่ตัวเลขดังกล่าวก็อาจจะไม่น่าจะเกินความเป็นจริงนัก เพราะแม้ว่าบริบทของพม่าในขณะนั้นอาจจะมีความขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ พลเอกเต็ง เส่ง อดีตประธานาธิบดีพม่า ก็ได้แสดงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ภายใต้บรรยากาศของการเดินหน้าเพื่อการปฏิรูปประเทศในหลายด้าน เช่น การยุติการเซ็นเซอร์เนื้อหาหนังสือพิมพ์การปล่อยตัวนักโทษการเมือง และการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากมาตรการเข้มงวดของรัฐบาลทหารพม่าในอดีต

อย่างไรก็ตามขณะนั้่น อิทธิพลของทหารยังคงมีการควบคุมในระดับบริหารและในรัฐสภาอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านทางกลไกด้านรัฐธรรมนูญ และเมื่อพรรค NLD ของนางอองซาน ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปีพ.ศ. 2558 ทำให้หลายคนคาดหวังมากเกินไปที่จะเห็นพม่าพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายใต้การกุมบังเหียนรัฐบาลของอองซานซูจี

Darin Bielecki เจ้าหน้าที่หน่วยงานจัดทำการสำรวจความคิดเห็นของ IRI ครั้งนี้ บอกว่าคำถามส่วนใหญ่จะครอบคลุมในภาพรวม ทั้งประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม สื่อมวลชน ชนกลุ่มน้อย ทรัพยากรธรรมชาติ และรัฐสภา จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม 3,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งเขาระบุว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มากในการสำรวจ

ผลการสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ ยังพบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ระหว่างประเทศและท้องถิ่น เพราะแม้ว่า นางอองซาน ซูจี ผู้นำในรัฐบาล จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ออกมาการปกป้องด้านสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อยเท่าที่ควร แต่ผลสำรวจพบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นั้นถือว่าเข้าตามากที่สุด และสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในุมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม และยังคงต้องการรัฐบาลแบบ "ประชาธิปไตย" ให้ก้าวหน้าต่อไป

ขณะที่คำถามในเรื่องของ กระบวนการประชาธิปไตย มีมากกว่ากว่าร้อยละ50 ที่บอกว่าดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ขณะที่เพียงร้อยละ 31 บอกว่า สถานการณ์ยังเหมือนเดิม ส่วนอีก 8เปอร์เซ็นต์คิดว่าเลวร้ายลง

นอกจากนี้ยังพบว่า มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่ไม่กลัวที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง" แล้ว แต่ก็มีเพียงเล็กน้อยที่บอกว่า "คนส่วนใหญ่ยังคงกลัวจะแสดงความเห็น"

ผลสำรวจยังพบความน่าสนใจว่า แม้รัฐบาลประชาธิปไตยปัจจุบันของพม่า ที่เพิ่งขึ้นบริหารประเทศได้เพียง 17 เดือน และได้รับความคาดหวังสูง แต่ผู้ตอบแบบสอบถามก็ยังพอจะมีเงื่อนเวลาและความอดทน ที่จะใจเย็นรอคอยผลงาน เพราะทราบถึงเงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่า การบริหารต่างๆยังคงติดขัดกับปัญหาและกฎเกณฑ์ที่สืบทอบจากรัฐบาลทหารมายาวนานหลายสิบปี และการเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่ง่ายนักผู้ตอบแบบสอบจำนวนไม่น้อยจึงบอกว่าความคาดหวังที่มีต่อรัฐบาลนั้นว่าจะเริ่มเห็นผลงานมากขึ้นจนครบวาระ

ขณะเดียวกัน ปัญหาข่าวปลอมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนผ่านผลสำรวจ เมื่อพบว่า"ข่าวปลอม" เป็นหนึ่งในสิ่งที่ชาวพม่าที่ตอบแบบสอบถามไม่ชอบมากที่สุดบนโลกสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ Facebook ซึ่งกว่าร้อย38บอกว่าพวกเขาเจอข่าวปลอมมากที่สุด

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095052101215373

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.