บรรจบ ขุมทองFollow

นายกฯยิ่งลักษณ์ พลเมือง อังกฤษ !

ตามข้อมูลทุกคนเชื่อว่านายกฯยิ่งลักษณ์ อยู่ดูไบ
แต่ท่านอาจอยู่ที่ประเทศอังกฤษแล้วก็ได้ ?

เพราะมันมีเรื่องบางอย่างน่าสนใจ
ในการขอสถานะผู้ลี้ภัย ?

รัฐบาลอังกฤษยึดถือเรื่องการรับผู้ลี้ภัยจากต่างแดน
โดยตามหลักการที่ระบุไว้ใน

"อนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ"

คนที่ จะถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยได้
คือคนที่ต้องหลบหนีออกจากประเทศของตนเอง
และไม่ สามารถเดินทางกลับไปได้
ถ้าหากว่าคนคนนั้นมีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่า
ถ้าเดิน ทางกลับไปแล้ว
ตนเองจะถูกกระทำทารุณ
หรือถูกก่อกรรมทำเข็ญ
ด้วย เหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ

ด้วยการความคิดเห็นทางการเมือง

หรือ ด้วยการเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมต่าง ๆ

นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษยังยึดถือ
ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของยุโรป
ด้วยว่า

จะไม่ส่งตัวบุคคลใดไปยังประเทศไหน ๆ ในโลก
ถ้าหากว่า มีความเสี่ยงสูงว่าบุคคลนั้น
จะถูกกระทำ ทารุณหรือถูกลงโทษ !

อังกฤษเป็นประเทศที่เปิด กว้าง
เป็นสังคมหลากหลายเชื้อชาติ
และสังคมยอมรับเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
นอกจากนี้คนในสังคมยังเชื่อว่า

จำเป็นต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ
คนที่ตกทุกข์ได้ยากด้วย

ขั้นตอนในการขอลี้ภัยในประเทศอังกฤษ
ตามที่กระทรวงมหาด ไทยอังกฤษ กำหนดไว้คือ

บุคคลคนที่จะยื่นขอลี้ภัยได้นั้น
จะต้องยื่นคำขอต่อทางการของประเทศแรก
ที่ตนเองเดินทางไปถึง

ถ้าเป็นการ เดินทางทางอากาศ
ก็ต้องยื่นคำขอต่อทางการ
ของประเทศที่เครื่องบินที่โดยสารมานั้น
ลงแตะพื้นดินเป็นแห่งแรก

นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย อังกฤษ
ยังมีกฎด้วยว่า ถ้าจะขอลี้ภัย
ก็ต้องยื่นคำขอโดยเร็วที่สุด นับแต่เดินทางไปถึง

ถ้าล่าช้าเท่าไหร่
ก็อาจจะถูกตี ความได้ว่า
ผู้ขอนั้นไม่ได้กลัวว่าจะถูกก่อกรรมทำเข็ญจริง
ถึงได้ชะลอการ ยื่นคำขอลี้ภัย

บุคคลที่ต้องการขอลี้ภัยและคนในครอบครัว
ที่ต้องพึ่งพาผู้ขอลี้ภัยใน การดำรงชีพ
จะต้องไปยื่นขอด้วยตัวเอง
ที่ศูนย์การพิจารณาผู้ลี้ภัย
(Asylum Screening Unit)
ซึ่งในอังกฤษมีอยู่สองแห่ง

คือที่กรุงลอนดอนและที่เมือง ลิเวอร์พูล

กระทรวงมหาดไทยอังกฤษ
จะพยายามพิจารณาคำขอ ขั้นต้นนี้
ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

แต่เวลา 30 วันดังกล่าวเพียงเป้าหมายเท่านั้น
แต่ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่
การพิจารณาขั้นต้นนี้จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนครับ

ถ้าเจ้าหน้าที่อนุมัติก็จะให้สถานะผู้ลี้ภัยกับผู้ขอ

ถ้าไม่อนุมติ
แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่า มีเหตุผลทางมนุษยธรรม
ที่จะอนุญาตให้ผู้ขอ พำนักอยู่ในประเทศอังกฤษได้
ก็จะอนุญาตให้อยู่ได้ชั่วคราวไปก่อน
จนกว่า สถานการณ์ในประเทศบ้านเกิดจะดีขึ้น

ผู้ที่ไม่เข้าข่ายผู้ลี้ภัย
แต่ได้รับให้อยู่ในอังกฤษได้เป็นการชั่วคราว
ก็ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม

ในกรณีที่คำขอขั้นต้นไม่ผ่านการอนุมัติ
ผู้ขอมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้
ต่อ สำนักงานคณะอนุญาโตตุลาการ
เรื่องผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมือง
(Asylum and Immigration Tribunal - AIT)

ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นกับทางการอังกฤษ
โดยต้องยื่นอุทธณ์ภายใน 10 วัน
นับแต่ได้รับจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการ
ว่าคำขอไม่ผ่าน

ขั้นตอนอุทธณ์นี้ ทาง AIT ตั้งเป้าไว้ว่า
ควรแล้วเสร็จภายใน 6 สัปดาห์
แต่ในทางปฏิบัติ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

ในกรณีที่การ อุทธรณ์ขั้นนี้ไม่ผ่าน
ส่วนใหญ่ผู้ขอจะใช้อีกเส้นทางหนึ่งต่อไป
คือยื่น อุทธรณ์ไปยังศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป
ที่รัฐบาลอังกฤษร่วมลงนาม
ตาม อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ปกติการพิจารณาของศาลสิทธิ มนุษยชนยุโรป
จะใช้เวลาเป็นปี
ซึ่งในระหว่างรอการพิจารณา

ผู้ขอลี้ภัย
ก็สามารถพำนักอยู่ในอังกฤษได้เป็นการชั่วคราว

ในระหว่างรอการพิจารณานั้น
ไม่ว่าขั้นตอนใด ผู้ขอลี้ภัยจะทำงานไม่ได้
รวมทั้งการทำงานโดยไม่รับค่าจ้าง
แต่ถ้าเวลาผ่านไปอย่างน้อยหนึ่งปี
และทางกระทรวงมหาดไทยอังกฤษ
ยังพิจารณาคำขอลี้ภัยขั้นต้นไม่เสร็จ

ทางการ อาจจะอนุญาตให้ผู้ขอทำงานบางประเภท
ได้ยกเว้นการประกอบธุรกิจส่วนตัว

หนังสือเดินทาง !
ในกรณีที่ผู้ขอได้รับสถานะผู้ลี้ภัยได้รับอนุญาต
ให้อยู่ในประเทศ อังกฤษได้เป็นการชั่วคราว
ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม
บุคคลดังกล่าว
จะสามารถเดินทางออกนอกประเทศอังกฤษได้มั้ย
เพราะถือว่า อาจจะถูกตัดขาด
จากประเทศเดิมไปโดยปริยายแล้ว
เช่น หนังสือเดินทางอาจถูกยกเลิก
หรือไม่ กล้าที่จะไปขอหรือต่ออายุหนังสือเดินทาง
ที่สถานทูตของตน

ในกรณีเช่นนี้
รัฐบาลอังกฤษจะออกเอกสารการเดินทางให้
ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "trave documents"
เอกสารดังกล่าวจะสามารถใช้แทนหนังสือเดินทาง
ไปต่างประเทศได้
แต่มีข้อจำกัดสำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือ
คนที่ถือ travel document นั้น
จะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทาง
ไปยังประเทศบ้านเกิดที่ตัวเองหลบหนีออกมา
ถ้าฝ่าฝืนก็อาจจะถูกเพิกถอนสถานะผู้ลี้ภัยได้ครับ

หลังจากนี้ เราจะรอข่าวดี
จากการพิจารณาจาก กระทรวงมหาดไทยอังกฤษ ครับ
ถ้านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้สถานะผู้ลี้ภัย
ท่านจะมีสิทธิพำนักในประเทศอังกฤษได้ 5 ปี
หลังจาก 5 ปี ท่านจะได้สิทธิอย่างถาวรครับ

ผมขอแสดงความดีใจล่วงหน้านะครับ

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.