Posted: 28 Aug 2017 02:13 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ยันโครงการตามแผน PDP 2015 ทำรายงาน EHIA โดย กก.ผู้ชำนาญการพิจารณาความเห็นตามหลักวิชาการ พร้อมสร้างส่วนร่วมของประชาชนโดยตลอด ทั้งระหว่างการจัดทำรายงาน EHIA ขั้นการพิจารณารายงาน และขั้นการอนุมัติโครงการ

28 ส.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาไทได้รับแจ้งจาก รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ทีผ่านมา เพื่อรายงานชี้แจงประเด็น "การคัดค้านการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าเทพา"

โดยมีรายละเอียดดังนี้ :


สาระสำคัญ เว็บไซต์ประชาไท นำเสนอประเด็นข่าวว่า 1. ดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและ สิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ พร้อมกลุ่มชาวบ้านจาก อ.เทพา จ.สงขลา ได้รวมตัวกันเรียกร้องให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระงับรายงานการประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและขอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เนื่องจากอีเอชไอเอฉบับดังกล่าวมีปัญหาหลายประการ

2. ประเด็นข้อเรียกร้องประกอบด้วย - ไม่มีการรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ การจัดเวทีรับฟังทั้ง 3 ครั้งเป็นแค่พิธีกรรมที่ไม่ต้องการให้ ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง ซึ่งจากการชี้แจงของรัฐที่อ้างว่ามีประชาชนเข้าร่วมนั้น เป็นการเชิญ ชวนมาแจกข้าวสารหน้าเวที ประชาชนไม่ทราบว่าเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็น และมีการกีดกันกับกลุ่มที่ ไม่ เห็นด้วยในการจัดเวทีรับฟังความเห็นในครั้งอื่นๆ - การศึกษาผลกระทบ ปรากฏว่ารายงานฉบับนี้มีข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เรื่องข้อเท็จจริงของทรัพยากรชีวภาพทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล

ข้อเท็จจริง : ตามที่ ดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิ ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ พร้อมกลุ่มชาวบ้านจาก อ.เทพา จ.สงขลา ได้รวมตัวกันเรียกร้อง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระงับรายงาน EHIAโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทพาและขอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เนื่องจากอีเอชไอเอฉบับดังกล่าวมีปัญหานั้น สำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ขอชี้แจงข้อมูลดังนี้

1. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นโครงการตามแผน PDP 2015 ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งตามขั้นตอน ของกฎหมาย โครงการเข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EHIA และเป็นโครงการของรัฐที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณาอนุมัติซึ่งในการพิจารณารายงานฯ สผ. โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้พิจารณารายงานฯ และให้ความเห็นเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งความเห็นของ คชก. ไม่ใช่การอนุมัติโครงการ แต่จะใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

2. กฟผ. ได้เสนอรายงาน EHIA ให้ สผ. พิจารณา เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2558 คชก. ได้ประชุมเพื่อพิจารณา รายงานดังกล่าวรวมทั้งรายงานชี้แจงเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2560 คชก. ได้พิจารณารายงานฯ รวมทั้งหนังสือและประเด็นการคัดค้านโครงการ 3 เครือข่าย (เครือข่าย ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ เครือข่ายคนสงขลาปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน) ประกอบการ พิจารณารายงานฯ โดย กฟผ. ได้ชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นว่ารายงานฯ มีข้อมูล ครบถ้วนเพียงพอสำหรับการพิจารณาของ กก.วล. โดยให้ กฟผ. รวบรวมข้อมูลในรายงานฯ และข้อมูลที่ได้ ชี้แจงเพิ่มเติมจัดทำเป็นรายงานฯ ฉบับสมบูรณ์ เสนอให้ สผ. พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน และนำเสนอ กก.วล. เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

3. การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ตามขั้นตอนได้กำหนดให้ประชาชนสามารถมีส่วมร่วมได้โดยตลอด ทั้ง ในขั้นระหว่างการจัดทำรายงาน EHIA ขั้นการพิจารณารายงาน และขั้นการอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ในการจัดทำ รายงาน กฟผ. ได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่กำหนด ไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงาน EHIA ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2552 โดยต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อประกอบการศึกษาข้อมูลและจัดทำมาตรการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้

(1) การรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โดยการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ รวมทุกตำบลครบทุกตำบลในพื้นที่ศึกษา รวม 1 ครั้ง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2557 โดยมี ผู้เข้าร่วม 3,860 คน

(2) กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในขั้นตอนการประเมินและจัดทำรายงานฯ ประกอบด้วย การประชุม กลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 24 ครั้ง ระหว่างวันที่ 11-28 ก.พ. 2559 มีผู้เข้าร่วม 708 คน และการสำรวจความคิดเห็นหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ครัวเรือน (การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม) ระหว่างวันที่ 16 ก.พ. ถึงวันที่ 5 มิ.ย. 2558 จำนวนรวม 1,461 ตัวอย่าง

(3) การรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานฯ (Public Review) โดยการจัดประชุม รับฟังความ คิดเห็นฯ รวมทุกตำบลครบทุกตำบลในพื้นที่ศึกษา รวม 1 ครั้ง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2558 มีผู้เข้าร่วม 6,478 คน

ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการสอดคล้องกับประกาศกระทรวงดังกล่าว โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ผู้รับผลกระทบจากโครงการ 2) หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานฯ ได้แก่ เจ้าของ โครงการ และนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานฯ 3) หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานฯ 4) หน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 5) องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการอิสระ 6) สื่อมวลชน และ 7) ประชาชนทั่วไป

ส่วนในขั้นตอนการพิจารณารายงาน EHIA สผ. ได้เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับโครงการ สามารถจัดส่งข้อมูลความคิดเห็นหรือข้อวิตกกังวลต่อโครงการให้ สผ. นำเสนอ คชก. เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณารายงานฯ ได้โดยตลอด และที่ผ่านมา คชก. ได้เชิญผู้แทนเครือข่ายผู้คัดค้านโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเข้าร่วมชี้แจงข้อห่วงกังวลและข้อเท็จจริงต่อ คชก. ในการประชุมครั้งที่ 29/2559 เมื่อ วันที่ 1 ก.ย. 2559 ซึ่งเครือข่ายผู้คัดค้านโครงการได้มีหนังสือแจ้งไม่เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คชก. ก็ได้นำประเด็นข้อคิดเห็นของเครือข่ายผู้คัดค้านโครงการมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการ พิจารณารายงานฯ ด้วย นอกจากนี้ ในขั้นก่อนการอนุญาตโครงการหน่วยงานผู้อนุญาตยังจะต้องมีการจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการอนุญาตด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 58 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

นอกจากนี้ สำหรับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการจัด กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 ซึ่งจัดขึ้น 3 เวที ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.สงขลา จ.กระบี่ และ จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ข้อมูลทางเลือกพลังงานไฟฟ้า การดูแล สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคพลังงานไฟฟ้า และข้อพิจารณาผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงความคิดเห็นด้วย

3. ประเด็นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏว่ารายงานฉบับนี้มีข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เรื่องข้อเท็จจริงของทรัพยากรชีวภาพทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล เป็นต้น นั้น ในการ พิจารณารายงาน คชก.ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ได้ลงตรวจสอบพื้นที่โครงการ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค2558 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารายงานฯ ด้วย โดย คชก. ได้พิจารณา รายงาน EHIA รวมถึง 6 ครั้ง ซึ่งเป็นการพิจารณารายงานฯ อย่างรอบคอบ และมีประเด็นข้อคิดเห็นให้ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและแก้ไขข้อมูลในแต่ละประเด็นอย่างละเอียดชัดเจน รวมทั้งเห็นว่า โครงการฯ มีการกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการในการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเสนอดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปแล้ว

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.