Piyabutr Saengkanokkul

จนถึงวันนี้ คงไม่มีใครคิดว่าคดีจำนำข้าวเป็นเรื่อง "กฎหมาย" แล้วกระมัง ทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายสนับสนุน ไม่ว่าฝ่ายต่อต้าน สื่อทุกค่าย ต่างก็วิเคราะห์ "เดา" ผลของคดีต่างๆนานา
โดยไม่มีใครสนใจกระบวนการทางกฎหมาย ไม่มีใครสนใจเรื่องเนื้อหาในคดีแล้ว

เรื่องนี้สะท้อนอะไร?

นี่คือ อาการของโรค "Judicialization of Politics" การเอาเรื่อง "การเมือง" ไปทำให้เป็น "กฎหมาย" การเอาเรื่อง "การเมือง" ไปให้ "ศาล"

"การเมือง" ต้องเดินต่อด้วย "การเมือง"

"กฎหมาย" ไม่มีกำลังเพียงพอในการจัดการปัญหาทางการเมืองได้

แต่กลับต้องการ "ถอดความเป็นการเมือง" โดยใช้ "ศาล"

"กฎหมาย" ต้องการให้จบ แต่ "การเมือง" เป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ

สุดท้าย "กฎหมาย" และ "ศาล" ก็ทำไม่สำเร็จ และจะกลายเป็นปมปัญหาที่ต้องแก้ไม่รู้จบอยู่ดี

ต้องเลิก "Judicialization of Politics" นี่คือมายาคติ เป็นเรื่องที่พึ่งสร้าง ไม่ใช่หลักการที่ต้องเป็น


หรืออย่างน้อยที่สุด หากจะมี ก็ต้องไม่ให้ "ศาล" มีเกราะคุ้มกันใดๆ ในเมื่อ "ศาล" ลงมาในแดนการเมือง ศาลก็เป็น Political Actor มีวิธีคิด มีประโยชน์ มีความต้องการ มีวาระ มีแดนอำนาจ ต่างๆที่ตนเองต้องการปกป้อง รุกคืบ ไม่ต่างอะไรกับ Political Actor ตัวอื่นๆ

ดังนั้น ศาลต้องถูกวิจารณ์ ต่อต้าน ประท้วง ตอบโต้ ถ่วงดุล ได้

มิใช่ ตัดสินแล้ว เกิดผลแล้ว จบ กลับบ้าน แยกย้าย ใครไม่ยอมรับ ก็ต้องรับผลร้าย ใครประท้วง มีผิด มีโทษ

แบบนี้ไม่ใช่ Judicialization of Politics แล้ว แต่เป็นการ purge โดยใช้การตัดสินคดีความเป็นเครื่องมือ

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.