Posted: 21 Jun 2018 04:05 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ภาพ: อิศเรศ เทวาหุดี

ในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.1805/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ 1760/2558 ที่ทางกลุ่มพลเมืองโต้กลับเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง คสช. ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 โดยศาลจะพิพากษาว่าจะรับฟ้องคดีนี้หรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่างยกฟ้อง โดยให้เห็นผลว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะรัฐประหารร่างขึ้นใหม่มีบทบบัญญัติยกเว้นโทษการทำรัฐประหารและการใช้อำนาจต่อจากนั้นไว้แล้ว

นี่ไม่ใช่กรณีแรกที่มีการฟ้องคณะรัฐประหารของไทย ซึ่งเกิดมาเป็นสิบครั้ง นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปิยบุตร แสงกนกกุล เขียนในมติชนสุดสัปดาห์ โดยอ้างงานศึกษาของสมชาย ศิลปกุล และ พุฒิพงศ์ มานิสสรณ์ ที่ศึกษาพบว่าในจำนวนทั้งหมดนั้นมีการฟ้องร้องอยู่ 4 ครั้งและศาลพิพากษายกฟ้องทั้งหมด อันเป็นแหล่งที่มาของ “แนว” คำพิพากษาที่ปรากฏอยู่จนถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุด 2557 สมัยที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คสช.

ประชาไทชวนย้อนอดีตกลับไปอ่านเหตุผลทางกฎหมาย ตั้งแต่ครั้ง 2490, 2514,2549, 2557 ก่อนจะรู้ผลว่า ศาลฎีกาจะรับฟ้องคดีที่กล่าวหาว่า คสช.มีการกระทำอันเป็นกบฏหรือไม่

เรียบเรียงข้อมูลโดย อิศเรศ เทวาหุดี, อัจฉริยา บุญไชย, ทัศมา ประทุมวัน

























[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.