Posted: 22 Jun 2018 08:33 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ห่วงสุขภาพเด็กวิกฤตติดหน้าจอ แยกจากสังคมดันวาระ ‘อีสปอร์ต’ สู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้
23 มิ.ย. 2561 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ประกาศนำประเด็น “อีสปอร์ตกับสุขภาวะ” เข้าเป็นระเบียบวาระใหม่ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ หวังกระตุกสังคมรู้เท่าทัน ป้องกันเด็กเยาวชนจากพฤติกรรมนั่งเล่นเกมออนไลน์หลายชั่วโมงต่อวัน ย้ำฟังทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชน
นพ.กิจจา เรืองไทย ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2561-2562 กล่าวว่า ที่ประชุม คจ.สช. ครั้งที่ 3/2561 ได้เห็นชอบแนวคิดหลัก (Theme) สำหรับเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2561 นี้แล้ว โดยใช้ชื่อ Theme ว่า “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” ซึ่งจะนำไปใช้กำหนดกิจกรรมต่างๆ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกันต่อไป ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังเห็นชอบประเด็น “อีสปอร์ตกับสุขภาวะ” เป็นระเบียบวาระที่ 3 ของการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 หลังประกาศระเบียบวาระไปก่อนหน้านี้แล้ว 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Health Literacy for NCDs) และ 2.การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: เขตเมือง
นพ.กิจจา กล่าวว่าที่ประชุม คจ.สช. ตระหนักถึงผลกระทบจากการส่งเสริมอีสปอร์ต ซึ่งก็คือการแข่งขันวิดีโอเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นมากกว่า 1 คนเพื่อชิงเงินรางวัล ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬาแล้ว เมื่อเดือน ก.ค. 2560
“เราหวังว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นกลไกหนึ่งในการทำให้สาธารณะรู้เท่าทันอีสปอร์ต ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะต่อสุขภาพ โดยจะสานพลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐ เอกชน เด็กและเยาวชนร่วมหาทางออกเพื่อให้มตินี้นำไปปฏิบัติได้จริง”
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันอีสปอร์ตกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง มีเด็กและเยาวชนเข้ามาเล่นจำนวนมาก โรงเรียนหลายแห่งจัดตั้งชมรมอีปอร์ต มหาวิทยาลัยก็จัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ จึงมีเด็กเยาวชนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะเข้าสู่เส้นทางอีสปอร์ตทั้งในฐานะผู้เล่นและนักพากย์เกม (Game Caster)
“การขับเคลื่อนในเรื่องนี้ควรมีเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม และต้องไม่ใช้มุมมองผู้ใหญ่แบบเดิมๆ มาเป็นพื้นฐาน แต่ต้องใช้ชุดความคิดใหม่พูดคุยหาทางออกร่วมกัน ดึงทุกภาคส่วนมาร่วมหารือ โดยเฉพาะสมาคมกีฬาอีปอร์ตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านเทคนิคและผลักดันให้นำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติ” นางอรพรรณ กล่าว
รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ รองประธาน คจ.สช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ กล่าวว่า อีสปอร์ตจำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแล โดยเฉพาะเกมที่ไม่สร้างสรรค์และมีการพนันออนไลน์แฝงอยู่ ขณะที่สังคมยังรับรู้น้อยมาก ต้องสื่อสารผลบวกและลบอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพจากการอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพจะเป็นช่องทางกระตุกเตือนสังคมได้
ทั้งนี้ข้อมูลจาก Interactive Game & Entertainment Association (IGEA) ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้เล่นเกมทั่วโลกกว่า 1,200 ล้านคน โดยมี 700 ล้านคนเล่นเกมออนไลน์ และ 205 ล้านคนเป็นผู้ชมอีสปอร์ต ส่วนใหญ่อายุ 18-34 ปี
คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ห่วงสุขภาพเด็กวิกฤตติดหน้าจอ แยกจากสังคมดันวาระ ‘อีสปอร์ต’ สู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้
23 มิ.ย. 2561 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ประกาศนำประเด็น “อีสปอร์ตกับสุขภาวะ” เข้าเป็นระเบียบวาระใหม่ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ หวังกระตุกสังคมรู้เท่าทัน ป้องกันเด็กเยาวชนจากพฤติกรรมนั่งเล่นเกมออนไลน์หลายชั่วโมงต่อวัน ย้ำฟังทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชน
นพ.กิจจา เรืองไทย ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2561-2562 กล่าวว่า ที่ประชุม คจ.สช. ครั้งที่ 3/2561 ได้เห็นชอบแนวคิดหลัก (Theme) สำหรับเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2561 นี้แล้ว โดยใช้ชื่อ Theme ว่า “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” ซึ่งจะนำไปใช้กำหนดกิจกรรมต่างๆ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกันต่อไป ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังเห็นชอบประเด็น “อีสปอร์ตกับสุขภาวะ” เป็นระเบียบวาระที่ 3 ของการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 หลังประกาศระเบียบวาระไปก่อนหน้านี้แล้ว 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Health Literacy for NCDs) และ 2.การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: เขตเมือง
นพ.กิจจา กล่าวว่าที่ประชุม คจ.สช. ตระหนักถึงผลกระทบจากการส่งเสริมอีสปอร์ต ซึ่งก็คือการแข่งขันวิดีโอเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นมากกว่า 1 คนเพื่อชิงเงินรางวัล ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬาแล้ว เมื่อเดือน ก.ค. 2560
“เราหวังว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นกลไกหนึ่งในการทำให้สาธารณะรู้เท่าทันอีสปอร์ต ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะต่อสุขภาพ โดยจะสานพลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐ เอกชน เด็กและเยาวชนร่วมหาทางออกเพื่อให้มตินี้นำไปปฏิบัติได้จริง”
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันอีสปอร์ตกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง มีเด็กและเยาวชนเข้ามาเล่นจำนวนมาก โรงเรียนหลายแห่งจัดตั้งชมรมอีปอร์ต มหาวิทยาลัยก็จัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ จึงมีเด็กเยาวชนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะเข้าสู่เส้นทางอีสปอร์ตทั้งในฐานะผู้เล่นและนักพากย์เกม (Game Caster)
“การขับเคลื่อนในเรื่องนี้ควรมีเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม และต้องไม่ใช้มุมมองผู้ใหญ่แบบเดิมๆ มาเป็นพื้นฐาน แต่ต้องใช้ชุดความคิดใหม่พูดคุยหาทางออกร่วมกัน ดึงทุกภาคส่วนมาร่วมหารือ โดยเฉพาะสมาคมกีฬาอีปอร์ตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านเทคนิคและผลักดันให้นำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติ” นางอรพรรณ กล่าว
รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ รองประธาน คจ.สช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ กล่าวว่า อีสปอร์ตจำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแล โดยเฉพาะเกมที่ไม่สร้างสรรค์และมีการพนันออนไลน์แฝงอยู่ ขณะที่สังคมยังรับรู้น้อยมาก ต้องสื่อสารผลบวกและลบอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพจากการอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพจะเป็นช่องทางกระตุกเตือนสังคมได้
ทั้งนี้ข้อมูลจาก Interactive Game & Entertainment Association (IGEA) ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้เล่นเกมทั่วโลกกว่า 1,200 ล้านคน โดยมี 700 ล้านคนเล่นเกมออนไลน์ และ 205 ล้านคนเป็นผู้ชมอีสปอร์ต ส่วนใหญ่อายุ 18-34 ปี
แสดงความคิดเห็น