สุรชาติ บำรุงสุข (แฟ้มภาพ)
Posted: 20 Jun 2018 12:31 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
ทัศมา ประทุมวัน : รายงาน
รายงานคำบรรยายของ 'สุรชาติ' ต่อแนวคิด 'Security Sector Reform' ที่เป็นทั้งกระบวนการทางการเมืองและเทคนิค ในฐานะกระแสโลกหลังสงครามเย็น แต่บ้านเรายังขาด แนะคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักประชาธิปไตย ย้ำการปฏิรูปไม่ได้เกิดขึ้นโดยปีกขวาจัด แต่ถ้าจะมีก็ต้องเป็นปีกขวาที่ก้าวหน้า
ภายในห้องเรียนของศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ School Season 5 เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา จัดบรรยายเรื่อง “Security Sector Reform” โดย สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายละเอียดดังนี้
สุรชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นโจทย์ระยะยาวของสังคมไทย หลังจากปี 35 ตนเป็นคนหนึ่งที่จะบอกว่ารัฐประหารจะไม่จบในสังคมไทย ถ้าลองย้อนกลับไปปี 2535 หลายคนฝันว่ากองทัพจะออกจากการเมืองเหมือนในภูมิภาคอื่นๆ ในปี 34 ที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเราเคยเชื่อว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย แต่มีสิ่งที่น่าสนใจมากถ้าลองเปรียบเทียบไทยกับเวทีโลก จากปี 49 ถึงปี 57 ไม่ถึง 10 ปีแต่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำ 2 ครั้ง มีประเทศไหนในโลกบ้างที่ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีแต่มีการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง มีเพียง 3 ประเทศประเทศแรกคือฟิจิ สองคือ บูร์กินาฟาโซ ส่วนที่สามคือประเทศไทย
วันที่เจ้าของรายการวันศุกร์ตอนค่ำเขายึดอำนาจ ตนก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่าเขาจะอยู่ได้นานแค่ไหนแต่ตนคิดว่าแค่ 2 ปี เพราะ 2 ปีก็น่าจะยาวพอสมควรถ้าเราดูการเมืองไทยในอดีต รัฐประหารของไทยอยู่ได้แค่ประมาณปีครึ่ง เพราะผู้นำทหารรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางแบกภาระไหว ถ้ายิ่งอยู่นานภาระก็จะตกไปอยู่ที่ตัวคณะรัฐประหารเอง เพราะฉะนั้นคณะรัฐประหารชุดนี้มีสิ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือการยึดรายการทีวีไปล้างสมองคนทำให้คนเชื่อ อย่าคิดว่าพอเราไม่เชื่อแล้วคนอื่นไม่เชื่อเหมือนเรา ซึ่งส่วนตัวคิดว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อในรายการวันศุกร์มากกว่าที่เราคิด เพราะว่ามันมีทุกศุกร์แล้วไม่ใช่แค่วันศุกร์ยังมีทุกวันธรรมดาตอนเย็น ถ้าถามว่ารัฐบาลเลือกตั้งทำแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นตอบให้ได้เลยคือถูกด่าและไม่มีทางทำได้ แต่ในระบบนี้พอมันนานขึ้นตนคิดว่าเห็นกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย แล้วในสภาพที่เราเห็นมีข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปจากรัฐประหารในทุกๆ ด้าน
กระแสโลก ว่าด้วย SSR
สุรชาติ กล่าวว่า สิ่งที่ตนตั้งคำถามตั้งแต่มีการยึดอำนาจ จริงๆ ตนเห็นด้วยถ้าคุณจะปฏิรูป แต่คำถามคือ การปฏิรูปอยู่ตรงไหน ? โจทย์ใหญ่สำหรับคนทำเรื่องความมั่นคงหรือทางการทหาร เวลาเขาพูดคิดว่าในโจทย์ชุดใหม่ ซึ่งมันเป็นโจทย์ในยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์ มันไม่ใช่เรื่องของการปฏิรูปกองทัพ ตอนที่สงครามคอมมิวนิสต์สิ้นสุดตนคิดว่าเราเห็นกระแสโลกชุดนั้น บ้านเราเรียกกันง่ายๆว่ากระแสโลกาภิวัตน์ ในโลกาภิวัตน์มันมีกระแสความมั่นคงชุดหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงมาจากทางยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะที่ระบบสังคมนิยมมันโค่นล้มลงไป เมื่อโครงสร้างเดิมมันล้มลงไปแต่ยังคงมีบุคลากร มีบุคคลเหลืออยู่คำถามก็คือจะทำยังไงกับคนพวกนั้น ซึ่งในโครงสร้างในบุคลากร มันไม่ได้มีแค่ทหารมีมากกว่านั้น ในยุโรปตะวันออกมีกลไกที่แข็งมากชุดหนึ่งคือหน่วยงานรัฐ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันผลักดันมาในกระแสโลกหรือในโลกาภิวัตน์ชุดนี้ก็คือ Security Sector Reform หรือใช้ตัวย่อว่า SSR
บ้านเรามาทุกกระแส แต่ไม่มี SSR
สำหรับ SSR นั้น สุรชาติ อธิบายว่า เป็นเงื่อนไขสำคัญมากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วนำมาใช้ช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่ประสบปัญหาแล้วได้รับความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก มีเงื่อนไขว่าต้องมีกระบวนการ SSR เกิดขึ้นในบ้านเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนจะได้รับการเคารพ แต่สังเกตไหมว่าในกระแสโลกาภิวัตน์ในบ้านเรานั้นกระแสของ SSR ไม่มาด้วย เพราะถ้าเราสังเกตหลังจากสงครามคอมมิวนิสต์ยุติในไทย หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดในเวทีโลกตอนปี 1989 หรือตอนเหตุการณ์ล้มชาติของเยอรมัน แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับตนคือกระแสนี้มันไปทั่วโลก หรืออาจจะเป็นเพราะสังคมไทยไม่มีเงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก เลยไม่ได้รับแรงกดดันในภาคการปฏิรูปความมั่นคง เพราะฉะนั้นในกระแสโลกาภิวัตน์ของบ้านเราที่จะเห็นส่วนใหญ่คือเรื่องเศรษฐกิจ, กระแสเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ, กระแสนิยมทางการเมือง,กระแสโลกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งกระแสเรื่องของการพูดถึงสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีกระแสของ SSR ในการปฏิรูปชุดใหญ่ชุดนี้ พอไม่มีกระแสตัวนี้เข้ามาในบ้านเรา เราก็จะพูดกันว่าเป็นการปฏิรูปทหาร แต่ทั้งหมดนี้ตนจะลองเปิดประเด็นว่าถ้ามองกรอบใหญ่ของเวทีโลก ใน SSR มันมีภาษาแต่ภาษาพวกนี้ให้ตระหนักว่ามันเป็นเหมือนแบรนด์แต่ตัวสาระนั้นไม่ต่างกัน บางคนอาจจะเห็นตัวย่อ SSG ที่ย่อมาจาก Security Sector Governance หรือตัวย่อ SSG/R ย่อมาจาก Security Sector Governance and Reform ซึ่งตัวย่อเหล่านี้ก็มีความหมายเดียวกันกับ SSR ความหมายของ SSR นั้นก็คือกระบวนการที่จะปฏิรูป เงื่อนไขก็คือว่าตัว Security Sector มันไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับรัฐหรือคน ซึ่ง Security หรือความมั่นคงที่พูดถึงต้องอยู่ในหลักการประชาธิปไตย แนวคิดของเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1994 ซึ่งต้องยอมรับว่าในแนวคิดที่มันเป็นตะวันตกมันถูกส่งออกเป็นกระแสโลก เพราะว่าพวกนี้เป็นรัฐให้ความช่วยเหลือกับประเทศด้อยการพัฒนา อันนี้เป็นเงื่อนไขของการต่อรอง ถ้าคุณอยากได้รับการช่วยเหลือคุณต้องปฏิรูปยังไง เพราะฉะนั้นในปี 1999 ตัวชุดความคิดนี้มันเกิดขึ้นจริงแต่แนวคิดหลักที่เกิดขึ้นนั้นก็คือในปี 2014 ซึ่งตรงกับปีที่มีการยึดอำนาจ
ด้านวัตถุประสงค์ของ SSR 1.) เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เพราะชุดความคิดชุดนี้ถูกผลักดันเข้าไปสู่รัฐที่มีปัญหา 2.) นิติรัฐ ซึ่งในไทยเราจะไม่เห็นท่านผู้นำพูดเรื่องนิติรัฐแต่จะเห็นแค่พูดเรื่องบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นต้องพูดว่า SSR ทำให้รัฐเป็นนิติรัฐไม่ใช่ทำเพื่อให้รัฐปกครองโดยกฎหมาย 3.) สิทธิมนุษย์ 4.) คำอภิปราย 5.) ความโปร่งใส 6.) โอกาสในการตรวจสอบหรือโอกาสที่สังคมจะเข้าไปตรวจสอบรัฐ ในสามข้อหลังนี่คือสิ่งที่หายไปในปีรัฐประหาร ไม่มีคำอภิปราย ไม่มีความโปร่งใส ไม่มีโอกาสของการตรวจสอบรัฐตั้งแต่เรื่องซื้อรถถังหรือเรือดำน้ำซึ่งพวกนี้คือตัวอย่าง 7.) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลายคนอาจจะงงว่าเศรษฐกิจไปอยู่กับความมั่นคงได้ยังไง ซึ่งการขับเคลื่อนความมั่นคงมีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจพัฒนา เพราะรัฐจะเป็นรัฐที่มีความโปร่งใสมากขึ้น 8.) หลังจากปฏิรูประบบความยุติธรรมหรือการให้บริการทางสังคมจะยังคงยั่งยืน 9.) ในอนาคตข้างหน้าจะไม่เกิดความขัดแย้ง 10.) เกิดการฟื้นตัวของสังคมที่มีความขัดแย้ง 11.) กระบวนการสร้างความเป็นอาชีพ 12.) การสร้างความมั่นคงสำหรับพลเรือน 13.) ประสิทธิภาพของความมั่นคง 14.) ความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงแห่งชาติกับความมั่นคงของมนุษย์ และสุดท้ายข้อ 15.) กระบวนการปฏิรูปต่อการเป็นผู้นำ
แต่ถ้าพูดถึงวัตถุประสงค์หลักจริงๆ ของกระบวนการนี้ที่เกิดขึ้นคืออย่างแรกต้องยอมรับว่า แนวคิด SSR ใช้กับพื้นที่ที่มีความขัดแย้งเพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำในกระบวนการนี้คือ SSR จะนำไปสู่การปลดอาวุธ ต่อมาคือยุติการเคลื่อนไหว ส่วนอันที่สามคือ กระบวนการที่จะนำเอาคนที่มีความขัดแย้งกลับเข้าสู่สังคม ที่ไทยเราก็เคยมีในช่วงหลังสงครามคอมมิวนิสต์ คือการนำเอาคนเข้าป่าออกจากป่า สมมุติถ้าคิดเล่นๆว่า ถ้าเอาแนวคิด SSR ไปใช้กับ 3 จังหวัดชายแดนใต้นี่คือสิ่งที่อยากเห็นคือเอา SSR เข้าไปใช้เพื่อปลดอาวุธคู่ขัดแย้งหรืออีกส่วนหนึ่งคือยุติการเคลื่อนไหวและสุดท้ายนี้จะทำยังไงที่จะเอาคู่ขัดแย้งกลับสู่สังคมให้เป็นปกติได้อย่างไร เงื่อนไขของการใช้ SSR ก็คือจะใช้ในประเทศที่มีความขัดแย้ง แล้วก็แนวคิดชุดนี้เป็นช่วงหลังความขัดแย้ง อีกอันหนึ่งคือเป็นช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ส่วนอีกข้อบ้านเราจะไม่ค่อยชอบคำนี้เท่าไหร่คือใช้กับประเทศที่ด้อยการพัฒนา บางประเทศที่บอกว่าพัฒนาแล้วแต่ตนก็ยังมองว่าเป็นประเทศที่ยังด้อยการพัฒนาอยู่
ภาคความมั่นคงมันไม่ใช่แค่ทหาร SSR ที่เป็นกระบวนการทางการเมืองและเทคนิค
การตีความของคำว่าภาคความมั่นคงนั้น สุรชาติ กล่าวว่า อย่างแรกเลยก็คือกองทัพ ต่อมาคือเรื่องของการรับผิดชอบด้านชายแดนและที่จะโยงเข้าด้วยกันก็คือด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนการตีความต่อมาของคำว่าภาคความมั่นคงมันไม่ใช่แค่ทหารแต่มันรวมถึงตำรวจด้วย และรวมไปถึงเรื่องของผู้นำรัฐบาล, รัฐสภา, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, สภาความมั่นคง, ระบบศาลและระบบที่จัดการเรื่องงบประมาณ อีกเรื่องที่น่าสนใจของภาคความมั่นคงที่จะคลุมเรื่องใหญ่ที่สุดอยู่ชุดหนึ่งคือ เรื่องเพศ แล้วก็พูดถึงบทบาทของผู้หญิง
SSR เป็นกระบวนการทางการเมืองและเป็นกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งเราจะคิดไปที่เรื่องกฎหมายหรือทางการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องคิดทั้งสองเรื่องนี้ให้เป็นคู่ขนานกันให้ได้ มีงานชุดหนึ่งแต่คิดว่าสังคมไทยอาจจะไปไม่ถึงหรือมีโจทย์ชุดหนึ่งที่อยู่ใน SSR คือการปฏิรูปการบวนการยุติธรรม ซึ่งมันจะคลอบคลุมทั้งศาล,อัยการ แล้วก็ราชทัณฑ์ ถ้าจะให้ถามกันตรงๆเลยก็คือว่าการปฏิรูปศาลทำได้ไหมในสังคมไทย เพราะฉะนั้นจึงต้องเน้นว่าเรื่องบางเรื่องมันก็ต้องการความรู้ทางเทคนิคมาช่วย ส่วนเงื่อนไขของความสำเร็จในแนวคิดนี้ถ้าถามตน ตนคิดว่ามีอยู่สองข้อหลักๆก็คือต้องสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของในระดับชาติให้ต่อคนในสังคม แล้วตัวรัฐบาลที่ตัดสินใจทำต้องมีเจตจำนงที่ชัดเจน ไม่มีเจตจำนงทำไม่ได้ในแนวคิดชุดนี้
ตนมีโอกาสได้ลองทบทวนต้นเหตุในหลายปีว่าถ้ามองเรื่องนี้อะไรคือข้อเตือน จากที่ได้ลองทบทวนมาเรื่องแรกที่ต้องพูดถึงก็คือเรื่องทางการเมือง ซึ่งหมายความว่ากุญแจดอกใหญ่ที่สุดคือความเข้าใจทางการเมือง จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นทั้งในระดับปานกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวของภาคประชาสังคม ในส่วนต่อมาคือทำยังไงที่จะสร้างพื้นที่ของการปฏิรูป เรื่องนี้ต้องคิดตามความเป็นจริงว่าถ้าจะปฏิรูปพื้นที่ของการปฏิรูปจะต้องเปิดออกก่อน แต่ว่าต้องยอมรับข้อดีของกปปส.ที่ทิ้งพื้นที่นี้ไว้ให้เรา แต่ในชุดความสามารถหรือชุดความคิดทางการเมืองพวกเขาทำตัวนี้ไม่ได้ ซึ่งการปฏิรูปทุกครั้งเป็นการคุกคามต่อชนชั้นนำ ถ้าคิดเรื่องนี้ต้องคิดคู่ขนาดกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พูดง่ายๆ คือเตือนให้เราตระหนักถึงสภาพทางสังคมที่เราทำการปฏิรูป อย่างเช่นข้อเรียกร้องบางอย่างเราอาจจะดำเนินการไม่ได้เด็ดขาดเพราะเงื่อนไขทางสังคมไม่เปิด
ควบคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักการประชาธิปไตย
สุรชาติ กล่าวว่า การควบคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักการประชาธิปไตย ซึ่งถ้าไม่มีตัวนี้มันก็จะเกิดการตอบสนองต่อการปฏิรูป ซึ่งประเทศไทยเรายังไม่สามารถสร้างข้อนี้ได้เลยในเบื้องต้น จงยอมรับว่าถ้าจะทำการปฏิรูปเราปฏิเสธอำนาจชนชั้นนำไม่ได้ มันแปลว่าห้ามคิดเพ้อฝันเพราะถ้าเชื่อว่ามีอำนาจแล้วจะผลักดันการปฏิรูปได้บอกไว้เลยว่าไม่ใช่ ถ้าคิดอีกมุมหนึ่งคือเรื่องใหญ่มากเพราะถ้าคุณมีอำนาจรัฐแล้วคุณต้องการที่จะผลักดันการปฏิรูปคุณจะตกลงกับชนชั้นนำอย่างไรในสังคม ในข้อนี้ถ้าเกิดว่าทำข้อตกลงกับชนชั้นนำไม่สำเร็จคุณก็จะเกิดการปะทะและสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือคุณแพ้ ถ้าหวังกระบวนการช่วยเหลือจากภายนอก ทุกการปฏิรูปทั่วโลกในปัจจุบันคุณจำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ก็ต้องรู้ไว้ว่าอิทธิพลเขามีข้อจำกัด 4 ปีหลังรัฐประหารตนพูดเสมอว่าถ้าสังคมไทยต้องสู้เรื่องประชาธิปไตย แล้วคุณหวังว่าแรงกดดันภายนอกจะบีบรัฐบาลทหารไทยอย่างเดียวไม่ได้ วันนี้เราก็จะเห็นคือปัจจัยภายในต้องเคลื่อนด้วยเพราะว่าปัจจัยภายนอกมีข้อจำกัด
“อีกข้อที่เป็นข้อเตือนใจอีกแบบหนึ่งคือทำอย่างไรที่จะต้องรู้ว่าสิ่งที่เราวางเป้าหมายไว้นั้นมันมีข้อจำกัดมันไม่ใช้ว่าจะได้ทุกอย่าง คือมันไม่มีทางที่จะปฏิรูปได้อย่างสมบูรณ์แบบ เหมือนที่ไทยชอบใช้ว่าประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แต่ของจริงแล้วมันไม่มีทาง สังคมไทยชอบสร้างจินตนาการสูงสุดจนเกิดเป็นวาทกรรมแต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่าถ้าเราเป็นนักปฏิรูปเราต้องคิดว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มันจะต้องเป็นจริง ซึ่งภาคความมั่นคงของแต่ละประเทศนั้นมันมีลักษณะเฉพาะ ของไทยคือตัวอย่างเพราะทุกประเภทถูกเชื่อมโดยประวัติศาสตร์ โดยเงื่อนไขทางการเมืองทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางศาสนาหรือตัวบริบทอื่นๆของความเป็นชาติ ในข้อนี้สำหรับผมเป็นหัวข้อที่มีอิทธิพลใหญ่ๆ เพราะถ้าลองคิดว่าจะให้ตำรวจไม่ต้องมียศมันทำได้ไหม ซึ่งก็คือทำไม่ได้แน่นอน หรือมีครั้งหนึ่งที่ผมเคยร่วมเสวนาเรื่องการใส่เครื่องแบบ ผลสรุปคือมันขาดเครื่องแบบไม่ได้ขนาดไปรษณีย์ยังต้องใส่เครื่องแบบ” สุรชาติ กล่าว
สะท้อนความเป็นรัฐราชการ
สุรชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้มันก็สะท้อนไปถึงความเป็นรัฐราชการและมันถูกตอกย้ำด้วยรัฐประหารในปัจจุบัน สังเกตไหมว่าทำไมมีการประชุมข้าราชการทำไมต้องใส่ชุดเครื่องแบบ ยุคของคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมา ครม.แทบจะไม่ได้ใส่ชุดเครื่องแบบ ในปัจจุบันถ้ามีการประชุมครม.หรือทำเนียบทุกคนต้องใส่ชุดราชการหมด ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็นอะไรที่แวดล้อมชุดความคิดของเราอยู่และมันไปเชื่อมกับตัวภาคความมั่นคงคือให้มีรูปแบบ คุณลักษณะ หรือให้มีชุดความคิดบางอย่าง สำคัญที่สุดคือมีวาทกรรมบางเรื่องที่เราอาจจะเบี่ยงไม่ได้ และสุดท้ายต้องตระหนักด้วยว่าเรื่องนี้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายและหลายฝ่ายมากกว่าที่เราคิด
สุดท้ายเรื่องการปฏิรูปคือมีผู้ชนะแล้วก็ผู้แพ้ ถ้าการปฏิรูปสำเร็จคือต้องมีผู้แพ้แน่ๆ ในช่วงนี้เห็นว่ามีละครประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่ Thai PBS เอามาฉายเขาพูดถึงผู้หญิงที่ถูกส่งไปแต่งงานกับโชกุน และพูดถึงซามูไรท่านหนึ่งที่มีความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแล้วถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ถ้าใครที่ดูละครซึ่งเกี่ยวกับการอิงประวัติศาสตร์ มันจะเห็นกระบวนการปฏิรูปเกิดในญี่ปุ่น คือปี 1868 ปีเดียวกับรัชกาลที่ 5 ของเรา ญี่ปุ่นกับเรานั้นเริ่มสร้างชาติสมัยใหม่หรือสร้างรัฐสมัยใหม่ในปีเดียวกัน ของเราน่าสนใจคือพอรัชกาลที่ 5 ท่านขึ้นไปได้ถึงจุดหนึ่งบรรดาขุนนางเก่าที่เป็นอนุรักษ์นิยมคือสายของสมเด็จเจ้าพระยากลับไปอยู่บ้านคือราชบุรี ซึ่งนี่ก็แปลว่ากระบวนการปฏิรูปในศาลมันไม่มีแหล่งปะทะแบบที่ญี่ปุ่น ตนเคยเขียนเปรียบเทียบเรื่องการปฏิรูปไว้ 3 ประเทศคือ ไทย ญี่ปุ่น แล้วก็จีน
จะเห็นได้เลยว่าผู้แพ้กับผู้ชนะนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้นมันคือชีวิตของคน ในของไทยถือว่าโชคดีที่รัชกาลที่ 5 ท่านพลักดันแล้วขุนนางหัวเก่าก็กลับบ้านซึ่งคือจบ และในบรรดาคนรุ่นใหม่คือราชโอรสก็ขึ้นรับตำแหน่ง อีกอย่างหนึ่งคือทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยง ตนถูกสอนอย่างหนึ่งคือเมื่อถึงเวลาทานข้าว มีข้าวก็ต้องทานเพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะได้ทานไหม ถ้าคุณตัดสินใจเคลื่อนไหวทางการเมืองคือต้องรู้ว่ามันมีความเสี่ยงเป็นเงื่อนไขที่คุณจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าตัดสินใจที่จะทำการปฏิรูปคือมีความเสี่ยงมาก และต้องตระหนักว่ากระบวนการการปฏิรูปเป็นกระบวนการจากบนลงล่าง การปฏิรูปไม่ใช่กระบวนการจากล่างขึ้นบน กระบวนการปฏิรูปคือคุณต้องปีนทางความคิดของส่วนบนให้ได้เพื่อที่จะผลักดันความคิดนั้นออกมา
ทัศมา ประทุมวัน : รายงาน
รายงานคำบรรยายของ 'สุรชาติ' ต่อแนวคิด 'Security Sector Reform' ที่เป็นทั้งกระบวนการทางการเมืองและเทคนิค ในฐานะกระแสโลกหลังสงครามเย็น แต่บ้านเรายังขาด แนะคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักประชาธิปไตย ย้ำการปฏิรูปไม่ได้เกิดขึ้นโดยปีกขวาจัด แต่ถ้าจะมีก็ต้องเป็นปีกขวาที่ก้าวหน้า
ภายในห้องเรียนของศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ School Season 5 เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา จัดบรรยายเรื่อง “Security Sector Reform” โดย สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายละเอียดดังนี้
สุรชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นโจทย์ระยะยาวของสังคมไทย หลังจากปี 35 ตนเป็นคนหนึ่งที่จะบอกว่ารัฐประหารจะไม่จบในสังคมไทย ถ้าลองย้อนกลับไปปี 2535 หลายคนฝันว่ากองทัพจะออกจากการเมืองเหมือนในภูมิภาคอื่นๆ ในปี 34 ที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเราเคยเชื่อว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย แต่มีสิ่งที่น่าสนใจมากถ้าลองเปรียบเทียบไทยกับเวทีโลก จากปี 49 ถึงปี 57 ไม่ถึง 10 ปีแต่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำ 2 ครั้ง มีประเทศไหนในโลกบ้างที่ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีแต่มีการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง มีเพียง 3 ประเทศประเทศแรกคือฟิจิ สองคือ บูร์กินาฟาโซ ส่วนที่สามคือประเทศไทย
วันที่เจ้าของรายการวันศุกร์ตอนค่ำเขายึดอำนาจ ตนก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่าเขาจะอยู่ได้นานแค่ไหนแต่ตนคิดว่าแค่ 2 ปี เพราะ 2 ปีก็น่าจะยาวพอสมควรถ้าเราดูการเมืองไทยในอดีต รัฐประหารของไทยอยู่ได้แค่ประมาณปีครึ่ง เพราะผู้นำทหารรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางแบกภาระไหว ถ้ายิ่งอยู่นานภาระก็จะตกไปอยู่ที่ตัวคณะรัฐประหารเอง เพราะฉะนั้นคณะรัฐประหารชุดนี้มีสิ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือการยึดรายการทีวีไปล้างสมองคนทำให้คนเชื่อ อย่าคิดว่าพอเราไม่เชื่อแล้วคนอื่นไม่เชื่อเหมือนเรา ซึ่งส่วนตัวคิดว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อในรายการวันศุกร์มากกว่าที่เราคิด เพราะว่ามันมีทุกศุกร์แล้วไม่ใช่แค่วันศุกร์ยังมีทุกวันธรรมดาตอนเย็น ถ้าถามว่ารัฐบาลเลือกตั้งทำแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นตอบให้ได้เลยคือถูกด่าและไม่มีทางทำได้ แต่ในระบบนี้พอมันนานขึ้นตนคิดว่าเห็นกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย แล้วในสภาพที่เราเห็นมีข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปจากรัฐประหารในทุกๆ ด้าน
กระแสโลก ว่าด้วย SSR
สุรชาติ กล่าวว่า สิ่งที่ตนตั้งคำถามตั้งแต่มีการยึดอำนาจ จริงๆ ตนเห็นด้วยถ้าคุณจะปฏิรูป แต่คำถามคือ การปฏิรูปอยู่ตรงไหน ? โจทย์ใหญ่สำหรับคนทำเรื่องความมั่นคงหรือทางการทหาร เวลาเขาพูดคิดว่าในโจทย์ชุดใหม่ ซึ่งมันเป็นโจทย์ในยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์ มันไม่ใช่เรื่องของการปฏิรูปกองทัพ ตอนที่สงครามคอมมิวนิสต์สิ้นสุดตนคิดว่าเราเห็นกระแสโลกชุดนั้น บ้านเราเรียกกันง่ายๆว่ากระแสโลกาภิวัตน์ ในโลกาภิวัตน์มันมีกระแสความมั่นคงชุดหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงมาจากทางยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะที่ระบบสังคมนิยมมันโค่นล้มลงไป เมื่อโครงสร้างเดิมมันล้มลงไปแต่ยังคงมีบุคลากร มีบุคคลเหลืออยู่คำถามก็คือจะทำยังไงกับคนพวกนั้น ซึ่งในโครงสร้างในบุคลากร มันไม่ได้มีแค่ทหารมีมากกว่านั้น ในยุโรปตะวันออกมีกลไกที่แข็งมากชุดหนึ่งคือหน่วยงานรัฐ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันผลักดันมาในกระแสโลกหรือในโลกาภิวัตน์ชุดนี้ก็คือ Security Sector Reform หรือใช้ตัวย่อว่า SSR
บ้านเรามาทุกกระแส แต่ไม่มี SSR
สำหรับ SSR นั้น สุรชาติ อธิบายว่า เป็นเงื่อนไขสำคัญมากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วนำมาใช้ช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่ประสบปัญหาแล้วได้รับความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก มีเงื่อนไขว่าต้องมีกระบวนการ SSR เกิดขึ้นในบ้านเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนจะได้รับการเคารพ แต่สังเกตไหมว่าในกระแสโลกาภิวัตน์ในบ้านเรานั้นกระแสของ SSR ไม่มาด้วย เพราะถ้าเราสังเกตหลังจากสงครามคอมมิวนิสต์ยุติในไทย หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดในเวทีโลกตอนปี 1989 หรือตอนเหตุการณ์ล้มชาติของเยอรมัน แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับตนคือกระแสนี้มันไปทั่วโลก หรืออาจจะเป็นเพราะสังคมไทยไม่มีเงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก เลยไม่ได้รับแรงกดดันในภาคการปฏิรูปความมั่นคง เพราะฉะนั้นในกระแสโลกาภิวัตน์ของบ้านเราที่จะเห็นส่วนใหญ่คือเรื่องเศรษฐกิจ, กระแสเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ, กระแสนิยมทางการเมือง,กระแสโลกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งกระแสเรื่องของการพูดถึงสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีกระแสของ SSR ในการปฏิรูปชุดใหญ่ชุดนี้ พอไม่มีกระแสตัวนี้เข้ามาในบ้านเรา เราก็จะพูดกันว่าเป็นการปฏิรูปทหาร แต่ทั้งหมดนี้ตนจะลองเปิดประเด็นว่าถ้ามองกรอบใหญ่ของเวทีโลก ใน SSR มันมีภาษาแต่ภาษาพวกนี้ให้ตระหนักว่ามันเป็นเหมือนแบรนด์แต่ตัวสาระนั้นไม่ต่างกัน บางคนอาจจะเห็นตัวย่อ SSG ที่ย่อมาจาก Security Sector Governance หรือตัวย่อ SSG/R ย่อมาจาก Security Sector Governance and Reform ซึ่งตัวย่อเหล่านี้ก็มีความหมายเดียวกันกับ SSR ความหมายของ SSR นั้นก็คือกระบวนการที่จะปฏิรูป เงื่อนไขก็คือว่าตัว Security Sector มันไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับรัฐหรือคน ซึ่ง Security หรือความมั่นคงที่พูดถึงต้องอยู่ในหลักการประชาธิปไตย แนวคิดของเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1994 ซึ่งต้องยอมรับว่าในแนวคิดที่มันเป็นตะวันตกมันถูกส่งออกเป็นกระแสโลก เพราะว่าพวกนี้เป็นรัฐให้ความช่วยเหลือกับประเทศด้อยการพัฒนา อันนี้เป็นเงื่อนไขของการต่อรอง ถ้าคุณอยากได้รับการช่วยเหลือคุณต้องปฏิรูปยังไง เพราะฉะนั้นในปี 1999 ตัวชุดความคิดนี้มันเกิดขึ้นจริงแต่แนวคิดหลักที่เกิดขึ้นนั้นก็คือในปี 2014 ซึ่งตรงกับปีที่มีการยึดอำนาจ
ด้านวัตถุประสงค์ของ SSR 1.) เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เพราะชุดความคิดชุดนี้ถูกผลักดันเข้าไปสู่รัฐที่มีปัญหา 2.) นิติรัฐ ซึ่งในไทยเราจะไม่เห็นท่านผู้นำพูดเรื่องนิติรัฐแต่จะเห็นแค่พูดเรื่องบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นต้องพูดว่า SSR ทำให้รัฐเป็นนิติรัฐไม่ใช่ทำเพื่อให้รัฐปกครองโดยกฎหมาย 3.) สิทธิมนุษย์ 4.) คำอภิปราย 5.) ความโปร่งใส 6.) โอกาสในการตรวจสอบหรือโอกาสที่สังคมจะเข้าไปตรวจสอบรัฐ ในสามข้อหลังนี่คือสิ่งที่หายไปในปีรัฐประหาร ไม่มีคำอภิปราย ไม่มีความโปร่งใส ไม่มีโอกาสของการตรวจสอบรัฐตั้งแต่เรื่องซื้อรถถังหรือเรือดำน้ำซึ่งพวกนี้คือตัวอย่าง 7.) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลายคนอาจจะงงว่าเศรษฐกิจไปอยู่กับความมั่นคงได้ยังไง ซึ่งการขับเคลื่อนความมั่นคงมีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจพัฒนา เพราะรัฐจะเป็นรัฐที่มีความโปร่งใสมากขึ้น 8.) หลังจากปฏิรูประบบความยุติธรรมหรือการให้บริการทางสังคมจะยังคงยั่งยืน 9.) ในอนาคตข้างหน้าจะไม่เกิดความขัดแย้ง 10.) เกิดการฟื้นตัวของสังคมที่มีความขัดแย้ง 11.) กระบวนการสร้างความเป็นอาชีพ 12.) การสร้างความมั่นคงสำหรับพลเรือน 13.) ประสิทธิภาพของความมั่นคง 14.) ความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงแห่งชาติกับความมั่นคงของมนุษย์ และสุดท้ายข้อ 15.) กระบวนการปฏิรูปต่อการเป็นผู้นำ
แต่ถ้าพูดถึงวัตถุประสงค์หลักจริงๆ ของกระบวนการนี้ที่เกิดขึ้นคืออย่างแรกต้องยอมรับว่า แนวคิด SSR ใช้กับพื้นที่ที่มีความขัดแย้งเพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำในกระบวนการนี้คือ SSR จะนำไปสู่การปลดอาวุธ ต่อมาคือยุติการเคลื่อนไหว ส่วนอันที่สามคือ กระบวนการที่จะนำเอาคนที่มีความขัดแย้งกลับเข้าสู่สังคม ที่ไทยเราก็เคยมีในช่วงหลังสงครามคอมมิวนิสต์ คือการนำเอาคนเข้าป่าออกจากป่า สมมุติถ้าคิดเล่นๆว่า ถ้าเอาแนวคิด SSR ไปใช้กับ 3 จังหวัดชายแดนใต้นี่คือสิ่งที่อยากเห็นคือเอา SSR เข้าไปใช้เพื่อปลดอาวุธคู่ขัดแย้งหรืออีกส่วนหนึ่งคือยุติการเคลื่อนไหวและสุดท้ายนี้จะทำยังไงที่จะเอาคู่ขัดแย้งกลับสู่สังคมให้เป็นปกติได้อย่างไร เงื่อนไขของการใช้ SSR ก็คือจะใช้ในประเทศที่มีความขัดแย้ง แล้วก็แนวคิดชุดนี้เป็นช่วงหลังความขัดแย้ง อีกอันหนึ่งคือเป็นช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ส่วนอีกข้อบ้านเราจะไม่ค่อยชอบคำนี้เท่าไหร่คือใช้กับประเทศที่ด้อยการพัฒนา บางประเทศที่บอกว่าพัฒนาแล้วแต่ตนก็ยังมองว่าเป็นประเทศที่ยังด้อยการพัฒนาอยู่
ภาคความมั่นคงมันไม่ใช่แค่ทหาร SSR ที่เป็นกระบวนการทางการเมืองและเทคนิค
การตีความของคำว่าภาคความมั่นคงนั้น สุรชาติ กล่าวว่า อย่างแรกเลยก็คือกองทัพ ต่อมาคือเรื่องของการรับผิดชอบด้านชายแดนและที่จะโยงเข้าด้วยกันก็คือด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนการตีความต่อมาของคำว่าภาคความมั่นคงมันไม่ใช่แค่ทหารแต่มันรวมถึงตำรวจด้วย และรวมไปถึงเรื่องของผู้นำรัฐบาล, รัฐสภา, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, สภาความมั่นคง, ระบบศาลและระบบที่จัดการเรื่องงบประมาณ อีกเรื่องที่น่าสนใจของภาคความมั่นคงที่จะคลุมเรื่องใหญ่ที่สุดอยู่ชุดหนึ่งคือ เรื่องเพศ แล้วก็พูดถึงบทบาทของผู้หญิง
SSR เป็นกระบวนการทางการเมืองและเป็นกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งเราจะคิดไปที่เรื่องกฎหมายหรือทางการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องคิดทั้งสองเรื่องนี้ให้เป็นคู่ขนานกันให้ได้ มีงานชุดหนึ่งแต่คิดว่าสังคมไทยอาจจะไปไม่ถึงหรือมีโจทย์ชุดหนึ่งที่อยู่ใน SSR คือการปฏิรูปการบวนการยุติธรรม ซึ่งมันจะคลอบคลุมทั้งศาล,อัยการ แล้วก็ราชทัณฑ์ ถ้าจะให้ถามกันตรงๆเลยก็คือว่าการปฏิรูปศาลทำได้ไหมในสังคมไทย เพราะฉะนั้นจึงต้องเน้นว่าเรื่องบางเรื่องมันก็ต้องการความรู้ทางเทคนิคมาช่วย ส่วนเงื่อนไขของความสำเร็จในแนวคิดนี้ถ้าถามตน ตนคิดว่ามีอยู่สองข้อหลักๆก็คือต้องสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของในระดับชาติให้ต่อคนในสังคม แล้วตัวรัฐบาลที่ตัดสินใจทำต้องมีเจตจำนงที่ชัดเจน ไม่มีเจตจำนงทำไม่ได้ในแนวคิดชุดนี้
ตนมีโอกาสได้ลองทบทวนต้นเหตุในหลายปีว่าถ้ามองเรื่องนี้อะไรคือข้อเตือน จากที่ได้ลองทบทวนมาเรื่องแรกที่ต้องพูดถึงก็คือเรื่องทางการเมือง ซึ่งหมายความว่ากุญแจดอกใหญ่ที่สุดคือความเข้าใจทางการเมือง จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นทั้งในระดับปานกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวของภาคประชาสังคม ในส่วนต่อมาคือทำยังไงที่จะสร้างพื้นที่ของการปฏิรูป เรื่องนี้ต้องคิดตามความเป็นจริงว่าถ้าจะปฏิรูปพื้นที่ของการปฏิรูปจะต้องเปิดออกก่อน แต่ว่าต้องยอมรับข้อดีของกปปส.ที่ทิ้งพื้นที่นี้ไว้ให้เรา แต่ในชุดความสามารถหรือชุดความคิดทางการเมืองพวกเขาทำตัวนี้ไม่ได้ ซึ่งการปฏิรูปทุกครั้งเป็นการคุกคามต่อชนชั้นนำ ถ้าคิดเรื่องนี้ต้องคิดคู่ขนาดกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พูดง่ายๆ คือเตือนให้เราตระหนักถึงสภาพทางสังคมที่เราทำการปฏิรูป อย่างเช่นข้อเรียกร้องบางอย่างเราอาจจะดำเนินการไม่ได้เด็ดขาดเพราะเงื่อนไขทางสังคมไม่เปิด
ควบคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักการประชาธิปไตย
สุรชาติ กล่าวว่า การควบคุมหน่วยงานความมั่นคงด้วยหลักการประชาธิปไตย ซึ่งถ้าไม่มีตัวนี้มันก็จะเกิดการตอบสนองต่อการปฏิรูป ซึ่งประเทศไทยเรายังไม่สามารถสร้างข้อนี้ได้เลยในเบื้องต้น จงยอมรับว่าถ้าจะทำการปฏิรูปเราปฏิเสธอำนาจชนชั้นนำไม่ได้ มันแปลว่าห้ามคิดเพ้อฝันเพราะถ้าเชื่อว่ามีอำนาจแล้วจะผลักดันการปฏิรูปได้บอกไว้เลยว่าไม่ใช่ ถ้าคิดอีกมุมหนึ่งคือเรื่องใหญ่มากเพราะถ้าคุณมีอำนาจรัฐแล้วคุณต้องการที่จะผลักดันการปฏิรูปคุณจะตกลงกับชนชั้นนำอย่างไรในสังคม ในข้อนี้ถ้าเกิดว่าทำข้อตกลงกับชนชั้นนำไม่สำเร็จคุณก็จะเกิดการปะทะและสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือคุณแพ้ ถ้าหวังกระบวนการช่วยเหลือจากภายนอก ทุกการปฏิรูปทั่วโลกในปัจจุบันคุณจำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ก็ต้องรู้ไว้ว่าอิทธิพลเขามีข้อจำกัด 4 ปีหลังรัฐประหารตนพูดเสมอว่าถ้าสังคมไทยต้องสู้เรื่องประชาธิปไตย แล้วคุณหวังว่าแรงกดดันภายนอกจะบีบรัฐบาลทหารไทยอย่างเดียวไม่ได้ วันนี้เราก็จะเห็นคือปัจจัยภายในต้องเคลื่อนด้วยเพราะว่าปัจจัยภายนอกมีข้อจำกัด
“อีกข้อที่เป็นข้อเตือนใจอีกแบบหนึ่งคือทำอย่างไรที่จะต้องรู้ว่าสิ่งที่เราวางเป้าหมายไว้นั้นมันมีข้อจำกัดมันไม่ใช้ว่าจะได้ทุกอย่าง คือมันไม่มีทางที่จะปฏิรูปได้อย่างสมบูรณ์แบบ เหมือนที่ไทยชอบใช้ว่าประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แต่ของจริงแล้วมันไม่มีทาง สังคมไทยชอบสร้างจินตนาการสูงสุดจนเกิดเป็นวาทกรรมแต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่าถ้าเราเป็นนักปฏิรูปเราต้องคิดว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มันจะต้องเป็นจริง ซึ่งภาคความมั่นคงของแต่ละประเทศนั้นมันมีลักษณะเฉพาะ ของไทยคือตัวอย่างเพราะทุกประเภทถูกเชื่อมโดยประวัติศาสตร์ โดยเงื่อนไขทางการเมืองทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางศาสนาหรือตัวบริบทอื่นๆของความเป็นชาติ ในข้อนี้สำหรับผมเป็นหัวข้อที่มีอิทธิพลใหญ่ๆ เพราะถ้าลองคิดว่าจะให้ตำรวจไม่ต้องมียศมันทำได้ไหม ซึ่งก็คือทำไม่ได้แน่นอน หรือมีครั้งหนึ่งที่ผมเคยร่วมเสวนาเรื่องการใส่เครื่องแบบ ผลสรุปคือมันขาดเครื่องแบบไม่ได้ขนาดไปรษณีย์ยังต้องใส่เครื่องแบบ” สุรชาติ กล่าว
สะท้อนความเป็นรัฐราชการ
สุรชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้มันก็สะท้อนไปถึงความเป็นรัฐราชการและมันถูกตอกย้ำด้วยรัฐประหารในปัจจุบัน สังเกตไหมว่าทำไมมีการประชุมข้าราชการทำไมต้องใส่ชุดเครื่องแบบ ยุคของคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมา ครม.แทบจะไม่ได้ใส่ชุดเครื่องแบบ ในปัจจุบันถ้ามีการประชุมครม.หรือทำเนียบทุกคนต้องใส่ชุดราชการหมด ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็นอะไรที่แวดล้อมชุดความคิดของเราอยู่และมันไปเชื่อมกับตัวภาคความมั่นคงคือให้มีรูปแบบ คุณลักษณะ หรือให้มีชุดความคิดบางอย่าง สำคัญที่สุดคือมีวาทกรรมบางเรื่องที่เราอาจจะเบี่ยงไม่ได้ และสุดท้ายต้องตระหนักด้วยว่าเรื่องนี้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายและหลายฝ่ายมากกว่าที่เราคิด
สุดท้ายเรื่องการปฏิรูปคือมีผู้ชนะแล้วก็ผู้แพ้ ถ้าการปฏิรูปสำเร็จคือต้องมีผู้แพ้แน่ๆ ในช่วงนี้เห็นว่ามีละครประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่ Thai PBS เอามาฉายเขาพูดถึงผู้หญิงที่ถูกส่งไปแต่งงานกับโชกุน และพูดถึงซามูไรท่านหนึ่งที่มีความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแล้วถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ถ้าใครที่ดูละครซึ่งเกี่ยวกับการอิงประวัติศาสตร์ มันจะเห็นกระบวนการปฏิรูปเกิดในญี่ปุ่น คือปี 1868 ปีเดียวกับรัชกาลที่ 5 ของเรา ญี่ปุ่นกับเรานั้นเริ่มสร้างชาติสมัยใหม่หรือสร้างรัฐสมัยใหม่ในปีเดียวกัน ของเราน่าสนใจคือพอรัชกาลที่ 5 ท่านขึ้นไปได้ถึงจุดหนึ่งบรรดาขุนนางเก่าที่เป็นอนุรักษ์นิยมคือสายของสมเด็จเจ้าพระยากลับไปอยู่บ้านคือราชบุรี ซึ่งนี่ก็แปลว่ากระบวนการปฏิรูปในศาลมันไม่มีแหล่งปะทะแบบที่ญี่ปุ่น ตนเคยเขียนเปรียบเทียบเรื่องการปฏิรูปไว้ 3 ประเทศคือ ไทย ญี่ปุ่น แล้วก็จีน
จะเห็นได้เลยว่าผู้แพ้กับผู้ชนะนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้นมันคือชีวิตของคน ในของไทยถือว่าโชคดีที่รัชกาลที่ 5 ท่านพลักดันแล้วขุนนางหัวเก่าก็กลับบ้านซึ่งคือจบ และในบรรดาคนรุ่นใหม่คือราชโอรสก็ขึ้นรับตำแหน่ง อีกอย่างหนึ่งคือทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยง ตนถูกสอนอย่างหนึ่งคือเมื่อถึงเวลาทานข้าว มีข้าวก็ต้องทานเพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะได้ทานไหม ถ้าคุณตัดสินใจเคลื่อนไหวทางการเมืองคือต้องรู้ว่ามันมีความเสี่ยงเป็นเงื่อนไขที่คุณจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าตัดสินใจที่จะทำการปฏิรูปคือมีความเสี่ยงมาก และต้องตระหนักว่ากระบวนการการปฏิรูปเป็นกระบวนการจากบนลงล่าง การปฏิรูปไม่ใช่กระบวนการจากล่างขึ้นบน กระบวนการปฏิรูปคือคุณต้องปีนทางความคิดของส่วนบนให้ได้เพื่อที่จะผลักดันความคิดนั้นออกมา
การปฏิรูปไม่ได้เกิดขึ้นโดยปีกขวาจัด มีแต่จะขัดขวาง
สุรชาติ กล่าวโดยสรุปว่า นิติรัฐมันเป็นเหมือนกฎจราจรบนถนน แต่ SSR มันคือกระบวนการการให้ความรู้แก่คนขับรถซึ่งมันก็คือเรื่องจริง ตนเปิดประเด็นให้เห็นภาพว่า โจทย์วันนี้ไม่ใช่โจทย์ของการปฏิรูปกองทัพโจทย์เดียว เมื่อเวลาพูดถึงเศรษฐศาสตร์กรอบมันใหญ่กว่าการปฏิรูปกองทัพมาก แต่แค่เรื่องปฏิรูปกองทัพเรื่องเดียวสำหรับบ้านเราก็ยังมองภาพไม่ออกเลยว่าจะสำเร็จไหม เพราะลองคิดแค่ว่าเมื่อการเลือกตั้งเกิดขึ้นคุณไม่มีทางได้รัฐบาลพลเรือนที่เข้มแข็งเลย แล้วถ้าไม่มีรัฐบาลพลเรือนที่เข้มแข็งนั้นใครจะเป็นผู้นำการปฏิรูปหรือจะให้เจ้าของรายการวันศุกร์พาปฏิรูปอีกเรายังจะเชื่อเขาอีกไหมว่าพวกเขาปฏิรูปได้
“การปฏิรูปไม่ได้เกิดขึ้นโดยปีกขวาจัด สิ่งที่ปีกขวาจัดทำได้จริงๆ คือการขัดขวางการปฏิรูปถ้าปีกขวาจะทำการปฏิรูปได้ก็ต้องเป็นปีกขวาที่ก้าวหน้า ผมเขียนลงมติชนหลายรอบเพื่อจะชี้ให้เห็นว่ากระบวนการขวาจัดในสังคมไทยที่มีอำนาจ ณ ปัจจุบันนำพาการปฏิรูปไม่ได้พวกเขาล้าหลังเกินไปทางความคิด เพราะฉะนั้นในชุดความคิดขวาจัดผมมองว่าไม่มีประโยชน์กับการสร้างอนาคตของสังคมไทย ขวาไทยนั้นล้าหลังเกิดไปถ้าดูจากหลายๆปีที่ผ่านมา แต่ถ้าปฏิรูปเราต้องการปีกขวาที่ก้าวหน้า หรือจะพูดอีกแบบคือเราต้องการคนที่เป็นกลางปีกขวาที่เป็นกลางและปีกซ้ายที่เป็นกลาง ถ้ามองโจทย์ในแง่ของคนรุ่นใหม่ผมคิดว่าสังคมยุโรปแบ่งพรรคการเมืองโดยจุดยืนและแบ่งคนในสังคมโดยจุดยืน มากกว่าภาษาเก่าที่ใช้ว่าซ้ายกับขวา ถ้าคุณซ้ายคุณก็จะทำได้อย่างเดียวคือปฏิวัติ แต่ถ้าขวาคุณก็จะทำได้อย่างเดียวคือลากสังคมกลับสู่ยุคเก่าที่สุด แต่ถ้าต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงมันก็คือต้องอยู่ตรงกลาง” สุรชาติ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับ ทัศมา ประทุมวัน ผู้รายงานชิ้นนี้ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 1/2561 จากคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความสนใจด้าน ข่าว การเมือง การ์ตูน และซีรีส์เกาหลี
แสดงความคิดเห็น