Posted: 21 Nov 2018 05:09 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Wed, 2018-11-21 20:09


กฤษฎา​ สืบ​ภา

ตลาดล่าง เป็นคำที่ถูกใช้ในหลายบทบาทหรือในบริบทต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นการใช้คำนี้ในศัพท์เชิงการตลาด หรือเป็นชื่อของตลาดในสมัยโบราณก็ตาม

ปัจจุบันได้มีการพูดถึงคำ คำนี้ในเชิงเปรียบเทียบผู้บริโภคสินค้าในตลาดที่มีราคาถูกหรือการเปรียบเทียบสินค้าแบรนที่ไม่มีชื่อเสียงนอกเหนือไปจากนี้ยังหมายถึงสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของแบรนดัง แต่ส่วนใหญ่แล้วคำว่า “ ตลาดล่าง” จะใช้ระบุตัวตนของผู้บริโภคมาเสียกว่าจะกล่าวถึงแบรนสินค้านั้นๆ

แต่ที่ผมได้ศึกษาและได้พบเจอการใช้คำคำนี้ในรูปแบบที่ต่างออกไปจึงจะเสนอในอีกแง่มุมหนึ่งของคำนี้และจะอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นกับการใช้คำคำนี้ระบุตัวตนของบุคคลหรืออาจจะใช้ในการ “เหยียด” อาจจะเป็นการเหยียดในเชิงคำพูด หรือ เหยียดในด้านรสนิยม รวมไปถึงการเหยียดชาติพันธุ์เช่นกัน และการเหยียดผิว โดย ผมจะยกตัวอย่างในหลายๆกรณีที่กลุ่มคนบางกลุ่มจำแนกความเป็นตลาดล่างออกมาในหลายมิติเพื่อจะให้ผู้อ่านได้รับรู้ว่าคำคำนี้ นั้นคือจุดเริ่มต้นของการขายช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม และผมเชื่ออย่างหนักแน่นว่าคำนี้มุ่งเน้นไปยังกลุ่มคนบางกลุ่มที่มาจากต่างจังหวัด ปริมณฑล หรือเขตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ

จากการที่ได้เข้าไปอ่านคอมเมนต์จากเพจเฟสบุ๊คหนึ่ง ซึ่งเป็นเพจที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเชิงวัยรุ่นเช่นการใช้ คำแสลง (slang) การสอนภาษาแสลงที่มักจะใช้กันบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น เพจนี้ได้มีการโพสว่า การใช้แสลงต่างๆ ในภาษาอังกฤษนั้นมีมากมายเช่นคำอุทาน คำสบถ และได้แนะนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆ แต่ เพจเฟสบุ๊คนี้ได้มีการยกตัวอย่างและประณามการใช้ภาษาอังกฤษที่ผิดบ้าง หรือ การใช้ภาษาที่จำเจบ้างโดยระบุกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าวคือ กลุ่มภาษาอังกฤษตลาดล่าง.

หรือในอีกกรณีหนึ่ง นักศึกษาบางกลุ่มที่อยู่ในเมืองได้มีการใช้คำคำนี้ระบุถึงนักศึกษาต่างจังหวัดเพราะเพียงแต่นักศึกษาต่างจังหวัดนั้นแต่งตัวไม่ทันสมัยและนิยมการใช้ของมือสองหรือสินค้าจากตลาดที่หาได้ทั่วไป

กรณีสุดท้ายคือ การใช้คำว่าตลาดล่างในกลุ่มบุคคลวัยทำงานกล่าวคือ บุคคลที่ทำงานในเมืองนั้นมักจะสร้างภาพให้ตนเองกินหรูดูแพง แต่ก็มีการระบุกลุ่มคนแรงงานว่าเป็นตลาดล่างเพราะแรงงานนั้นไม่ได้จบปริญญาตรี หรือไม่ได้เรียนสูงมีความรู้ไปกว่าตน

ดังนั้นจะสรุปได้ว่า กรณีที่กล่าวมาผมจะแสดงให้ผู้อ่านเห็นภาพถึงการขยายช่องว่างที่มีอยู่แล้วให้กว้างมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการใช้คำที่จะทำให้เกิดความแตกแยก เหยียดหยัน แต่ในขณะเดียวกันนั้นคำคำนี้ได้มีความหมายที่เหยียดลึกลงไปโดยปริยาย กล่าวคือ อ้างอิงจากกรณีที่ผมได้ยกตัวอย่าง คนเหล่านั้นที่ถูกเหยียดมักจะเป็นคนในระดับ แรงงาน คนต่างจังหวัด

ผมจะอธิบายอย่างให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นถ้าเปรียบเทียบกับการใช้คำว่า N**** ที่ใช้ระบุคนผิวสีให้มีสถานะต่ำกว่าคนผิวขาว เพราะว่าจริงๆแล้ว N**** เป็นเพียงคำที่มีความหมาย หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์เท่านั้นแต่การถูกเรียกสถานะของบุคคลโดยใช้คำดังกล่าวนั้นได้สร้างช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างคนผิวสีและคนผิวขาวอย่างมาก และสิ่งสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันผมไม่ได้กล่าวว่ามันเกิดขึ้นแล้วแต่มันคือจุดเริ่มต้นของช่องว่างขนาดใหญ่ที่เรากำลังสร้างมันขึ้นมาเพียงแค่ใช้คำอย่างไม่ระวังและอาจมีผลถึงชาติพันธุ์ เป็นได้

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.