Posted: 23 Nov 2018 07:48 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Fri, 2018-11-23 22:48
เสวนาทบทวนผลสะเทือนจากยุคอาณานิคมต่อขบวนการนักศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทเรียนจากติมอร์ตะวันออกที่เรียกร้องอิสรภาพพร้อมไปกับการผลักดันประชาธิปไตยอินโดนีเซีย บทบาท "ยุวชน" ในกัมพูชาจากยุครัฐอารักขาถึงช่วงได้รับเอกราช และขบวนการนักศึกษาเวียดนามจากการต่อสู้เพื่อเอกราช การรวมชาติ สู่ยุคที่พรรคคอมมิวนิสต์ควบคุมเบ็ดเสร็จ
23 พ.ย. 2561 ที่ห้องสมุด The Reading Room มีวงเสวนา SOLIDARITIES#3: มรดกและผลกระทบจากยุคอาณานิคม: ขบวนการนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ถึงปัจจุบัน โดยการเสวนาดังกล่าว เป็นการย้อนไปทบทวนและทำความเข้าใจขบวนการนักศึกษาที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเด็น “มรดกและผลกระทบจากยุคอาณานิคม” ที่มีต่อขบวนการดังกล่าว วงเสวนาครั้งนี้ได้ยกกรณีตัวอย่างของขบวนการนักศึกษาในเวียดนามและกัมพูชาช่วงยุคอาณานิคมและสงครามเย็น และกรณีศึกษาจากติมอร์ที่เป็นประสบการณ์จริงจากชาวติมอร์ผู้เคยเคลื่อนไหวต่อต้านการเข้าควบคุมของรัฐบาลซูฮาร์โตแห่งอินโดนีเซีย พร้อมกันนั้นก็มีการฉายภาพยนตร์สั้น Re: Looking ที่มีเนื้อหาว่าด้วย “อาณานิคม”
งานเสวนาเริ่มด้วยการฉายภาพยนตร์สั้น Re: Looking ซึ่งกำกับโดยหว่องหอยเชิง ผู้กำกับชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นการพลิกกลับ “อาณานิคม” ที่เล่าเรื่องให้ชาติตะวันออกอย่างมาเลเซียกลายเป็นมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมในนาม Great Malaysian Empire และให้ชาติตะวันตกอย่างออสเตรียกลายเป็นชาติที่เกิดมาจากการปลดแอกตนเองจากอาณานิคม
การดำเนินเรื่องมีรูปแบบเป็นสารคดี จำลองเรื่องให้ชาวมาเลเซียผู้อยู่ในประเทศที่เจริญแต่มีปัญหาผู้อพยพจากออสเตรีย ประเทศที่ “ลำบากแร้นแค้น” สัมภาษณ์บรรดาผู้อพยพเหล่านั้น ซึ่งมุมมองของผู้อพยพก็มองว่าการเข้ามาอาศัยในมาเลเซียที่เจริญรุ่งเรืองจะทำให้เขามีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตมากขึ้น มีกล่าวถึงการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดของผู้อพยพชาวออสเตรียในมาเลเซีย เนื้อหายังกล่าวถึงนักวิชาการด้านตะวันตกศึกษา และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่เล่าว่าเหตุใดมาเลเซียในอดีตจึงบุกยึดเวียนนาได้ รวมถึงกล่าวเกี่ยวกับกระแสการเมืองและกระแสฝ่ายขวาในประเทศ “เกิดใหม่” อย่างออสเตรีย โดยภาพรวม ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามที่จะหยอกล้อกับประวัติศาสตร์อาณานิคมผ่านการสลับตำแหน่งของผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง
ต่อสู้เพื่อเอกราชติมอร์ตะวันออก
พร้อมผลักดันประชาธิปไตยอินโดนีเซีย
หลังภาพยนตร์จบลง ก็เข้าสู่ช่วงเสวนา ดำเนินรายการโดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล วิทยากรคนแรกคือ นัลโด เร จากติมอร์ตะวันออก ผู้ซึ่งในอดีตเคยเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชให้ติมอร์ตะวันออกและเรียกร้องประชาธิปไตยให้แก่อินโดนีเซียในช่วงปลายทศวรรษ 1990 นัลโดได้บรรยายถึงการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกลุ่มเรียกร้องเอกราชในติมอร์ซึ่งเขาเข้าร่วมเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยังเด็ก จนติมอร์ตะวันออกได้เอกราชในที่สุดในปี 2002
นัลโดเปิดประเด็นด้วยปูมหลังทางประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสำคัญเริ่มขึ้นในช่วง 1974 เมื่อทางโปรตุเกสปล่อยติมอร์ตะวันออกให้เป็นอิสระ และใน 1975 กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออกอย่าง Fretilin ก็ได้ประกาศเอกราช
อย่างไรก็ตาม 1 เดือนให้หลัง กองทัพอินโดนีเซียภายใต้การบริหารของรัฐบาลซูฮาร์โตก็ได้บุกเข้าไป “ควบคุมความสงบ” ในพื้นที่ดังกล่าว และผนวกให้ติมอร์ตะวันออกกลายเป็นจังหวัดที่ 27 โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากทางสหประชาชาติแต่อย่างใด
นัลโดเพิ่งอายุได้ 6 เดือนเมื่อครั้งที่กองทัพอินโดนีเซียบุกติมอร์ตะวันออก ภายหลังจากที่สูญเสียพ่อจากการปะทะกับกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่อายุ 9 ปี นัลโดก็ได้เข้าร่วมกองกำลังต่อสู้เพื่อเอกราชทันที ในขณะที่แม่ของเขาถูกทางอินโดนีเซียกักบริเวณ ในช่วงชีวิตที่เขาเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชนั้น เขาถูกทางกองทัพอินโดนีเซียกักขังและถูกทรมานหลายครั้ง
มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาได้รับมอบหมายจากกองกำลังใต้ดินของ Fretilin ให้ไปกรุงจาการ์ตา ที่นั่นเองได้ทำให้เขาได้พบกับนักเคลื่อนไหวจากที่อื่นๆ รวมทั้งนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในอินโดนีเซียอย่าง ลินดา คริสตันตี ซึ่งเหตุการณ์สำคัญของการร่วมมือระหว่าง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวนี้ก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออก และในเวลาต่อมา นัลโดได้เข้าร่วมพรรคประชาธิปไตยประชาชน (PRD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในช่วงปลายสมัยของรัฐบาลซูฮาร์โต
นัลโดได้บรรยายถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวว่า กลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออกนั้น มีแนวทางการต่อสู้ 3 แบบ แบบแรกคือกลุ่มเคลื่อนไหวที่เป็นกลุ่มทางการอย่าง Fretilin ซึ่งเป็นกลุ่มทางการ แบบที่สองคือกลุ่มเคลื่อนไหวใต้ดิน เป็นกองกำลังที่ทำงานลับๆ และแบบสุดท้ายคือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการทูตเพื่อขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ โดยเขาได้บอกว่า กลยุทธ์สำคัญในการเรียกร้องให้นานาชาติช่วยเหลือนั้น จำเป็นต้องผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเพราะเป็นประเด็นที่คนทุกคนมีร่วมกัน นอกจากนี้ เนื่องจากมีผู้ที่ถามว่าทำไมกลุ่ม Fretiline ถึงเชื่อมั่นในการต่อสู้เพื่อให้อินโดนีเซียมีประชาธิปไตย ว่าจะทำให้ติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระได้
นัลโดยังอธิบายว่า เพราะพวกเขาเชื่อว่าถ้าปะทะด้วยความรุนแรงก็ยากจะชนะ จึงต้องผลักดันให้อินโดนีเซียมีประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นคือ ประชามติซึ่งเป็นวิธีสันติและเป็นโอกาสในการได้เอกราชของติมอร์ตะวันออก
พร้อมผลักดันประชาธิปไตยอินโดนีเซีย
หลังภาพยนตร์จบลง ก็เข้าสู่ช่วงเสวนา ดำเนินรายการโดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล วิทยากรคนแรกคือ นัลโด เร จากติมอร์ตะวันออก ผู้ซึ่งในอดีตเคยเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชให้ติมอร์ตะวันออกและเรียกร้องประชาธิปไตยให้แก่อินโดนีเซียในช่วงปลายทศวรรษ 1990 นัลโดได้บรรยายถึงการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกลุ่มเรียกร้องเอกราชในติมอร์ซึ่งเขาเข้าร่วมเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยังเด็ก จนติมอร์ตะวันออกได้เอกราชในที่สุดในปี 2002
นัลโดเปิดประเด็นด้วยปูมหลังทางประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสำคัญเริ่มขึ้นในช่วง 1974 เมื่อทางโปรตุเกสปล่อยติมอร์ตะวันออกให้เป็นอิสระ และใน 1975 กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออกอย่าง Fretilin ก็ได้ประกาศเอกราช
อย่างไรก็ตาม 1 เดือนให้หลัง กองทัพอินโดนีเซียภายใต้การบริหารของรัฐบาลซูฮาร์โตก็ได้บุกเข้าไป “ควบคุมความสงบ” ในพื้นที่ดังกล่าว และผนวกให้ติมอร์ตะวันออกกลายเป็นจังหวัดที่ 27 โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากทางสหประชาชาติแต่อย่างใด
นัลโดเพิ่งอายุได้ 6 เดือนเมื่อครั้งที่กองทัพอินโดนีเซียบุกติมอร์ตะวันออก ภายหลังจากที่สูญเสียพ่อจากการปะทะกับกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่อายุ 9 ปี นัลโดก็ได้เข้าร่วมกองกำลังต่อสู้เพื่อเอกราชทันที ในขณะที่แม่ของเขาถูกทางอินโดนีเซียกักบริเวณ ในช่วงชีวิตที่เขาเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชนั้น เขาถูกทางกองทัพอินโดนีเซียกักขังและถูกทรมานหลายครั้ง
มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาได้รับมอบหมายจากกองกำลังใต้ดินของ Fretilin ให้ไปกรุงจาการ์ตา ที่นั่นเองได้ทำให้เขาได้พบกับนักเคลื่อนไหวจากที่อื่นๆ รวมทั้งนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในอินโดนีเซียอย่าง ลินดา คริสตันตี ซึ่งเหตุการณ์สำคัญของการร่วมมือระหว่าง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวนี้ก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออก และในเวลาต่อมา นัลโดได้เข้าร่วมพรรคประชาธิปไตยประชาชน (PRD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในช่วงปลายสมัยของรัฐบาลซูฮาร์โต
นัลโดได้บรรยายถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวว่า กลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออกนั้น มีแนวทางการต่อสู้ 3 แบบ แบบแรกคือกลุ่มเคลื่อนไหวที่เป็นกลุ่มทางการอย่าง Fretilin ซึ่งเป็นกลุ่มทางการ แบบที่สองคือกลุ่มเคลื่อนไหวใต้ดิน เป็นกองกำลังที่ทำงานลับๆ และแบบสุดท้ายคือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการทูตเพื่อขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ โดยเขาได้บอกว่า กลยุทธ์สำคัญในการเรียกร้องให้นานาชาติช่วยเหลือนั้น จำเป็นต้องผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเพราะเป็นประเด็นที่คนทุกคนมีร่วมกัน นอกจากนี้ เนื่องจากมีผู้ที่ถามว่าทำไมกลุ่ม Fretiline ถึงเชื่อมั่นในการต่อสู้เพื่อให้อินโดนีเซียมีประชาธิปไตย ว่าจะทำให้ติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระได้
นัลโดยังอธิบายว่า เพราะพวกเขาเชื่อว่าถ้าปะทะด้วยความรุนแรงก็ยากจะชนะ จึงต้องผลักดันให้อินโดนีเซียมีประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นคือ ประชามติซึ่งเป็นวิธีสันติและเป็นโอกาสในการได้เอกราชของติมอร์ตะวันออก
ช่วงชิงคำนิยาม "ยุวชน" ในกัมพูชา
ประเด็นต่อมาที่มีการเสวนาคือ ขบวนการนักศึกษาในกัมพูชาช่วงปลายอาณานิคมและสงครามเย็น บรรยายโดยธิบดี บัวคำศรี โดยประเด็นสำคัญคือสิ่งที่อาณานิคมสร้างไว้แล้วส่งผลต่อขบวนการยุวชนในกัมพูชา คำว่ายุวชนเริ่มถูกใช้เพื่อสร้างให้ “เด็ก” “คนที่ยังโสด” เริ่มเป็นกลุ่มก้อนที่มีหน้าที่บางอย่างในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ยุคที่กัมพูชายังคงเป็นรัฐอารักขาใต้อำนาจรัฐบาลอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ในช่วงแรกนั้น ยุวชนเป็นเพียงกลุ่มคนที่มีหน้าที่รวมกลุ่มออกไปท่องเที่ยวในสถานที่สำคัญของกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คำว่า ยุวชนเริ่มเกี่ยวข้องกับแนวคิดชาตินิยมเมื่อมีกระแสการช่วงชิงการเป็นเจ้าของนครวัด โดยมีนักเขียนสายชาตินิยมใช้นามปากกาว่า ยุวชนโบราณ และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีการจัดตั้งยุวชนโดยรัฐ (ฝรั่งเศส) มีกษัตริย์นโรดม สีหนุเป็นแกนนำ ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
ที่จริงแล้ว ขบวนการยุวชนของฝ่ายต่อต้านก็มีเช่นกัน แต่เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช และอำนาจอยู่ในมือกษัตริย์นโรดม สีหนุ กลุ่มยุวชนกลุ่มอื่นก็ต้องออกปฏิบัติการใต้ดิน
สำหรับหน้าที่ของกลุ่มยุวชนกระแสหลักซึ่งกำกับดูแลโดยกษัตริย์นโดม สีหนุนั้น ก็จะเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมไม่ต่างจากสมัยอาณานิคม ในส่วนของขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายของเขมรแดงเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องอุทิศตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นกัน โดยผ่านการรับเอาแนวคิดที่ต่อต้านวัฒนธรรมเก่าและสร้างวัฒนธรรมใหม่ ก้าวข้ามความเป็นศักดินา และเข้าร่วมกับกองกำลังติดอาวุธ ธิบดีได้เสนอในตอนท้ายว่า การตื่นรู้ การก้าวข้ามบางสิ่งเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ และการอุทิศตัวเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นหน้าที่ของยุวชนก็เป็นสิ่งที่ประกอบสร้างกันมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม
ขบวนนักศึกษาเวียดนามก่อนการรวมชาติ
ประเด็นต่อมาที่มีการเสวนาคือ ขบวนการนักศึกษาในกัมพูชาช่วงปลายอาณานิคมและสงครามเย็น บรรยายโดยธิบดี บัวคำศรี โดยประเด็นสำคัญคือสิ่งที่อาณานิคมสร้างไว้แล้วส่งผลต่อขบวนการยุวชนในกัมพูชา คำว่ายุวชนเริ่มถูกใช้เพื่อสร้างให้ “เด็ก” “คนที่ยังโสด” เริ่มเป็นกลุ่มก้อนที่มีหน้าที่บางอย่างในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ยุคที่กัมพูชายังคงเป็นรัฐอารักขาใต้อำนาจรัฐบาลอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ในช่วงแรกนั้น ยุวชนเป็นเพียงกลุ่มคนที่มีหน้าที่รวมกลุ่มออกไปท่องเที่ยวในสถานที่สำคัญของกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คำว่า ยุวชนเริ่มเกี่ยวข้องกับแนวคิดชาตินิยมเมื่อมีกระแสการช่วงชิงการเป็นเจ้าของนครวัด โดยมีนักเขียนสายชาตินิยมใช้นามปากกาว่า ยุวชนโบราณ และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีการจัดตั้งยุวชนโดยรัฐ (ฝรั่งเศส) มีกษัตริย์นโรดม สีหนุเป็นแกนนำ ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
ที่จริงแล้ว ขบวนการยุวชนของฝ่ายต่อต้านก็มีเช่นกัน แต่เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช และอำนาจอยู่ในมือกษัตริย์นโรดม สีหนุ กลุ่มยุวชนกลุ่มอื่นก็ต้องออกปฏิบัติการใต้ดิน
สำหรับหน้าที่ของกลุ่มยุวชนกระแสหลักซึ่งกำกับดูแลโดยกษัตริย์นโดม สีหนุนั้น ก็จะเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมไม่ต่างจากสมัยอาณานิคม ในส่วนของขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายของเขมรแดงเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องอุทิศตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเช่นกัน โดยผ่านการรับเอาแนวคิดที่ต่อต้านวัฒนธรรมเก่าและสร้างวัฒนธรรมใหม่ ก้าวข้ามความเป็นศักดินา และเข้าร่วมกับกองกำลังติดอาวุธ ธิบดีได้เสนอในตอนท้ายว่า การตื่นรู้ การก้าวข้ามบางสิ่งเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ และการอุทิศตัวเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นหน้าที่ของยุวชนก็เป็นสิ่งที่ประกอบสร้างกันมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม
ขบวนนักศึกษาเวียดนามก่อนการรวมชาติ
สู่ยุคที่พรรคคอมมิวนิสต์คุมเบ็ดเสร็จ
ในกรณีของเวียดนาม มรกตวงศ์ ภูมิพลับ ได้บรรยายถึงขบวนการนักศึกษาในเวียดนาม นับแต่ปลายยุคอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบัน มรกตวงศ์ ภูมิพลับได้กล่าวว่า ขบวนการนักศึกษาในเวียดนามเกิดจากการขยายตัวของการศึกษาแบบตะวันตกที่เจ้าอาณานิคมจัดวางไว้ ในยุคอาณานิคมนั้น กระแสการเคลื่อนไหวของนักศึกษาจะแพร่กระจายจากทางใต้ขึ้นสู่ภาคเหนือ โดยการชุมนุมของนักศึกษาครั้งสำคัญคือการชุมนุมเพื่อต้อนรับการปล่อยตัวนักชาตินิยมชาวเวียดนามที่ชื่อว่า ฟานเจิวชิงญ์
เมื่อเข้าสู่ยุคเอกราชในช่วงแรกที่เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ รูปแบบของขบวนการนักศึกษาก็แตกต่างกันไปตามระบอบของแต่ละฝ่าย เวียดนามเหนือควบคุมขบวนการยุวชนนักศึกษาอย่างเบ็ดเสร็จด้วยการดึงมาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนาม ในภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีการปกครองเป็นอำนาจนิยม แต่ด้วยรูปแบบของรัฐที่นำเสนอว่าตัวเองเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย ทำให้นักศึกษาและเยาวชนยังสามารถเคลื่อนไหวได้อยู่
โดยการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในเวียดนามใต้นั้น แบ่งออกได้เป็น 5 ช่วง ช่วงแรกคือ 1954-1959 เป็นช่วงที่เวียดนามใต้กับเวียดนามเหนือตกลงกันว่าจะแยกตัวกัน “ชั่วคราว” เพื่อรอที่จะรวมประเทศ ขบวนการนักศึกษาช่วงนั้นเติบโตขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญจากการเข้ามาพัฒนาระบบการศึกษาโดยสหรัฐอเมริกา ขบวนการนักศึกษาช่วงนี้มุ่งเรียกร้องสันติภาพและการพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ช่วงต่อมาคือ 1960-1964 ยุคนี้เป็นยุคที่โงดิ่งญ์เสี่ยมผู้นำคนแรกของเวียดนามใต้ขึ้นสู่อำนาจสูงสุด เป็นช่วงที่มีการสั่งปิดโรงเรียนและปัญหาการกีดกันทางศาสนา ขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในยุคนี้หันมาร่วมมือกับองค์กรพุทธเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล นอกจากนี้ นักศึกษาในช่วงดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้ภาษาฝรั่งเศส และต่อต้านการเกณฑ์ทหาร
ช่วงที่สามคือ 1965-1968 ช่วงนี้สถานการณ์สังคมในเวียดนามใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้นภายใต้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ปกครองโดย เหวียนวันเถี่ยว ในช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลพยายามสอดส่องการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอย่างหนัก พร้อมกันนั้นก็มีเหตุการณ์ที่จุดชนวนการลุกฮือของนักศึกษาคือ การสังหารนักเรียนที่ชื่อ เลวันหง็อกพ์ ช่วงที่สี่คือ 1969-1972 เป็นช่วงที่รัฐบาลเวียดนามใต้เริ่มระส่ำระสาย ทั่วโลกเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ด้านปัญหากับประชาชนก็รุนแรงมากขึ้น เพราะรัฐบาลเพิ่มจำนวนทหารเกณฑ์ให้ไปรบกับเวียดนามเหนือ ในช่วงดังกล่าว ขบวนการนักศึกษามีการร่วมมือกับประชาชนในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ผ่านการร้องเพลงพื้นเมืองเพื่อเป็นการต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตก สโลแกนสำคัญช่วงนั้นคือ “ร้องเพลงให้ผองชนได้ฟัง และฟังผองชนที่ร้องเพลงด้วยกัน” ในช่วงสุดท้ายคือ 1972-1975 เป็นช่วงที่รัฐบาลเวียดนามใต้ระส่ำระส่ายถึงที่สุดจากการถอนตัวออกไปของสหรัฐอเมริกา ช่วงนั้น ขบวนการนักศึกษาก็เคลื่อนไหวเพื่อขับไล่อเมริกันให้พ้นไปจากเวียดนาม
หลังจากมีการรวมประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปี 1976 ขบวนการนักศึกษาทั้งหมดในเวียดนามก็ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรค ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงนั้นจนถึงปัจจุบันก็เป็นเพียงอาสาสมัครยุวชนที่ดำเนินการตามแนวทางที่พรรคต้องการ ในแง่ของสำนึกด้านพลเมืองนั้น ในปัจจุบัน นักศึกษาและเยาวชนเวียดนามส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องการทุจริตของรัฐบาล การเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ทางการเมืองจึงเกิดขึ้นในระดับวงกว้างได้ยาก สำหรับผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลที่มีไม่มากก็ทำได้เพียงเผยแพร่ความคิดเห็นผ่านบล็อกบนพื้นที่ออนไลน์
ในกรณีของเวียดนาม มรกตวงศ์ ภูมิพลับ ได้บรรยายถึงขบวนการนักศึกษาในเวียดนาม นับแต่ปลายยุคอาณานิคมจนถึงยุคปัจจุบัน มรกตวงศ์ ภูมิพลับได้กล่าวว่า ขบวนการนักศึกษาในเวียดนามเกิดจากการขยายตัวของการศึกษาแบบตะวันตกที่เจ้าอาณานิคมจัดวางไว้ ในยุคอาณานิคมนั้น กระแสการเคลื่อนไหวของนักศึกษาจะแพร่กระจายจากทางใต้ขึ้นสู่ภาคเหนือ โดยการชุมนุมของนักศึกษาครั้งสำคัญคือการชุมนุมเพื่อต้อนรับการปล่อยตัวนักชาตินิยมชาวเวียดนามที่ชื่อว่า ฟานเจิวชิงญ์
เมื่อเข้าสู่ยุคเอกราชในช่วงแรกที่เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ รูปแบบของขบวนการนักศึกษาก็แตกต่างกันไปตามระบอบของแต่ละฝ่าย เวียดนามเหนือควบคุมขบวนการยุวชนนักศึกษาอย่างเบ็ดเสร็จด้วยการดึงมาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนาม ในภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีการปกครองเป็นอำนาจนิยม แต่ด้วยรูปแบบของรัฐที่นำเสนอว่าตัวเองเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย ทำให้นักศึกษาและเยาวชนยังสามารถเคลื่อนไหวได้อยู่
โดยการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในเวียดนามใต้นั้น แบ่งออกได้เป็น 5 ช่วง ช่วงแรกคือ 1954-1959 เป็นช่วงที่เวียดนามใต้กับเวียดนามเหนือตกลงกันว่าจะแยกตัวกัน “ชั่วคราว” เพื่อรอที่จะรวมประเทศ ขบวนการนักศึกษาช่วงนั้นเติบโตขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญจากการเข้ามาพัฒนาระบบการศึกษาโดยสหรัฐอเมริกา ขบวนการนักศึกษาช่วงนี้มุ่งเรียกร้องสันติภาพและการพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ช่วงต่อมาคือ 1960-1964 ยุคนี้เป็นยุคที่โงดิ่งญ์เสี่ยมผู้นำคนแรกของเวียดนามใต้ขึ้นสู่อำนาจสูงสุด เป็นช่วงที่มีการสั่งปิดโรงเรียนและปัญหาการกีดกันทางศาสนา ขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในยุคนี้หันมาร่วมมือกับองค์กรพุทธเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล นอกจากนี้ นักศึกษาในช่วงดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้ภาษาฝรั่งเศส และต่อต้านการเกณฑ์ทหาร
ช่วงที่สามคือ 1965-1968 ช่วงนี้สถานการณ์สังคมในเวียดนามใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้นภายใต้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ปกครองโดย เหวียนวันเถี่ยว ในช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลพยายามสอดส่องการเคลื่อนไหวของนักศึกษาอย่างหนัก พร้อมกันนั้นก็มีเหตุการณ์ที่จุดชนวนการลุกฮือของนักศึกษาคือ การสังหารนักเรียนที่ชื่อ เลวันหง็อกพ์ ช่วงที่สี่คือ 1969-1972 เป็นช่วงที่รัฐบาลเวียดนามใต้เริ่มระส่ำระสาย ทั่วโลกเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ด้านปัญหากับประชาชนก็รุนแรงมากขึ้น เพราะรัฐบาลเพิ่มจำนวนทหารเกณฑ์ให้ไปรบกับเวียดนามเหนือ ในช่วงดังกล่าว ขบวนการนักศึกษามีการร่วมมือกับประชาชนในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ผ่านการร้องเพลงพื้นเมืองเพื่อเป็นการต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตก สโลแกนสำคัญช่วงนั้นคือ “ร้องเพลงให้ผองชนได้ฟัง และฟังผองชนที่ร้องเพลงด้วยกัน” ในช่วงสุดท้ายคือ 1972-1975 เป็นช่วงที่รัฐบาลเวียดนามใต้ระส่ำระส่ายถึงที่สุดจากการถอนตัวออกไปของสหรัฐอเมริกา ช่วงนั้น ขบวนการนักศึกษาก็เคลื่อนไหวเพื่อขับไล่อเมริกันให้พ้นไปจากเวียดนาม
หลังจากมีการรวมประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปี 1976 ขบวนการนักศึกษาทั้งหมดในเวียดนามก็ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรค ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงนั้นจนถึงปัจจุบันก็เป็นเพียงอาสาสมัครยุวชนที่ดำเนินการตามแนวทางที่พรรคต้องการ ในแง่ของสำนึกด้านพลเมืองนั้น ในปัจจุบัน นักศึกษาและเยาวชนเวียดนามส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องการทุจริตของรัฐบาล การเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ทางการเมืองจึงเกิดขึ้นในระดับวงกว้างได้ยาก สำหรับผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลที่มีไม่มากก็ทำได้เพียงเผยแพร่ความคิดเห็นผ่านบล็อกบนพื้นที่ออนไลน์
แสดงความคิดเห็น