Posted: 22 Nov 2018 11:05 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Fri, 2018-11-23 14:05
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง 'การขับเคลื่อนให้ ครม.เพิ่มอัตรากําลังพนักงานการรถไฟฯ' โดยระบุว่าตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดแคลนอัตรากําลังเกือบ 8,000 คน จนมีพนักงานไม่เพียงพอต้อง ทํางานควงกะ 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้านการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ โดยคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ ชุดที่ 6 ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องการเพิ่มอัตรากําลังเป็นนโยบายที่เร่งด่วน ในปัจจุบันมีอัตราของพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวรวม 14,220 อัตรา สามารถให้บริการเดินขบวนรถโดยสาร วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พนักงานบางส่วนโดยเฉพาะพนักงานด้านปฏิบัติการมีจํานวนน้อยกว่ากรอบอัตรากําลังของการรถไฟฯ ทําให้ต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาและวันหยุต โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 วัน มีค่าล่วงเวลาและค่าทํางานวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง โดยการรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน
เหตุอันสําคัญจากการขาดอัตรากําลังของการรถไฟฯที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ถือว่าวิกฤตมาจากมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 หลังจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงื่อนไขที่ผูกไว้กับ IMF คือการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในรัฐวิสาหกิจลง สําหรับการรถไฟฯมติดังกล่าวสาระคือ “ตําแหน่งที่ไม่จําเป็นให้ยุบเลิก และหากจะรับพนักงาน ใหม่ให้รับได้เพียงร้อยละ 5 ของจํานวนผู้เกษียณอายุ” จากวันนั้นถึงถึงปัจจุบัน 20 ปี จึงเกิดวิกฤตเรื่องอัตราพนักงาน ซึ่งหากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายต้านต่างๆ ที่จะตามมา อีกประการหนึ่งความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลงตามความต้องการเดิมนั้นไม่ได้เป็นจริงเพราะเมื่อขาดพนักงานในขณะที่งานด้านการให้บริการไม่สามารถหยุดได้จึงจําเป็นต้องให้พนักงานทํางานล่วงเวลา ทํางานเป็นเวลาปกติ ทํางานในวันหยุด เพิ่มขึ้นมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท (ค่าล่วงเวลา 191,405,246 บาท ค่าตอบแทนการทํางานเกินกว่าเวลาปกติ 103,694,883 บาท ค่าทํางานในวันหยุด 774,311,271 บาท) ซึ่งเงินจํานวนนี้หากจ้างพนักงานใหม่หรือบรรจุลูกจ้างในการรถไฟฯ ที่ทํางานอยู่แล้วมีความเชี่ยวชาญจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงใต้มาก
จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.)ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบและความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับนําเสนอให้รีบเร่งดําเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและที่สําคัญได้เสนอต่อรัฐบาลหลายยุค หลายสมัยเพื่อให้ทบทวนยกเลิก มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 แต่ได้รับการพิจารณาเป็นครั้งคราวโดยให้ยกเว้นมติในวันดังกล่าวอย่างเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2553 หลังจากที่ขบวน 84 ประสบอุบัติเหตุตกรางที่สถานีเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย และบาดเจ็บ 87 ราย เมื่อ ต.ค. 2552 และที่ผ่านมาการขับเคลื่อนของสหภาพฯ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มอัตรากําลังมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561
เปิดช่องให้รถไฟเพิ่มพนักงาน ยกเลิกมติ ครม. 28 ก.ค. 2541 แล้ว
เผยความเห็นขอเพิ่มอัตรากำลังคน รฟท. เตรียมเข้า ครม. แล้ว หลังผลักดันมาตั้งแต่ ก.ย. 2560
สหภาพแรงงานรถไฟพบ รมว.คมนาคม ทวงถามกรณีเพิ่มพนักงาน
รฟท. จ่ายค่า ‘ทำงานวันหยุด-โอที’ กว่าพันล้าน เหตุขาดกำลังคน
คณะกรรมการบริหารสหภาพฯ ชุดที่ 6 ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยระบุว่าใช้เวลากว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันเข้ารับตําแหน่งกรรมการ สร.รฟท. ชุดที่ 5 เมื่อ 3 ก.ค. 2560 ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 มีมติเห็นชอบในการยกเว้นมติ ครม.เมื่อ 28 ก.ค. 2541 ให้การรถไฟฯ สามารถรับพนักงานเพิ่มได้ เฉพาะในส่วนการรับพนักงานในปีแรก ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรา โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปปรับกรอบอัตรากําลังและแผนการสรรหาในระยะ 10 ปี ให้ เริ่มตั้งแต่ปี 2562
ดังนั้น สร.รฟท. ขอบคุณมายังทุกฝ่ายรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมบอร์ดและผู้บริหาร การรถไฟฯ ตลอดถึงกรรมการสาขา อนุกรรมการ และสมาชิก สร.รฟท.ที่ได้ร่วมผลักดันและส่งกําลังใจให้ สหภาพฯ ผลักดัน เพื่อให้ ครม.อนุมัติอัตรากําลังเพื่อนําไปสู่อนาคตของการขนส่งทางรางที่ดี มีความก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืนของประเทศชาติและการให้บริการประชาชนที่ดีมีประสิทธิภาพต่อไป
อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงและความท้าทายอีกหลายประการที่จะต้องร่วมกันตรวจสอบ ติดตาม และคัดค้าน เช่น ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ... เรื่องการจัดตั้งบริษัทเดินรถและบริษัทซ่อมบํารุงทางและล้อเลื่อน ปัญหาการทุจริตความไม่โปร่งใส และการปกป้องผลประโยชน์ทั้งที่ดินและทรัพย์สินต่างเพื่อการดํารงอยู่ของการรถไฟฯ อย่างมั่นคง ยั่งยืน ขอให้พี่น้องสมาชิกคนรถไฟจงเชื่อมั่นในพลังของพวกเรา จงรักสามัคคีกัน มุ่งมั่นตั้งใจทํางาน ซึ่ง สร.รฟท. จะท้า หน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต รายละเอียตความเคลื่อนไหวด้านต่างๆ จะแถลงให้ทราบต่อไป
แสดงความคิดเห็น