Posted: 22 Nov 2018 03:02 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-11-22 18:02
ทนายสิทธิฯชี้ปัญหานิยามกว้าง เปิดช่อง จนท. ตีความบังคับใช้ สถานที่ชุมนุมไม่กำหนดชัดเจน แถมเงื่อนไขการชุมนุมเพิ่มเองตามใจเจ้าหน้าที่ ไม่บัญญัติความผิดเจ้าหน้าที่ ภาคประชาชนระบุสร้างความกลัว-เสียเงิน-เสียเวลา นอกจากไม่ได้เจรจาแล้ว ยังได้คดีตามมาด้วย เสนอยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ขณะที่นักวิชาการมอง กม.ดังกล่าว จงใจคลุมเครือ ต้องปฏิสังขรณ์กันใหม่ สร้างสังคมที่เถียงกันได้ด้วยเหตุผล
22 พ.ย.2561 เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน(TLHR) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนาสะท้อนปัญหาการตีความบังคับใช้กฎหมายการชุมนุมสาธารณะกับการจำกัดเสรีภาพของประชาชน ที่เดอะคอนเน็คชั่น สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลาดพร้าว โดยมีรายละเอียดการอภิปรายดังนี้
พูนสุข พูนสุขเจริญ (ภาพจาก EnLaw)
สถิติอย่างน้อย 218 คนที่ผิด พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มีแล้วเสรีภาพการชุมนุมลดลง
พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะผ่านร่าง พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ มาตั้งแต่ก่อนปี 2549 จนกระทั่งปี 2553 ไปถึงการผ่านวาระที่ 3 แต่พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ร่าง พ.ร.บ. นี้ก็ตกไป ท้ายสุดจึงผ่านได้ในปี 2558 สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
แม้รัฐธรรมนูญปี 2560 ในมาตรา 44 ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” แต่ก็มีการจำกัดการชุมนุมเมื่อเกี่ยวข้องกับความมั่นคงสาธารณะ ความปลอดภัยเรียบร้อยของประชาชน หรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งเงื่อนไขก็ยังเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งรับรองเสรีภาพทางการชุมนุม แต่มีข้อสังเกตว่ามีข้อจำกัดที่มากขึ้นกว่าเดิม หมายความว่าก่อนปี 2557 เรามีเสรีภาพการชุมนุมมากกว่านี้ นอกจากนี้ยังมีการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
สถิติมีอย่างน้อย 218 คนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ ความผิดที่มากที่สุดคือความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะอย่างน้อย 99 คน ความผิดฐานชุมนุมในรัศมี 150 เมตรจากเขตพระบรมมหาราชวังอย่างน้อย 52 คน และความผิดอื่นๆ ตาม พ.ร.บ.ฯ อย่างน้อย 218 คน มีการร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้เลิกการชุมนุมและศาลได้เรียกมาไต่สวนอย่างน้อย 2 คดี และมีการฟ้องคดีละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ฯ 2 คดี (คดี We Walk และ คดีกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง) โดยศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจำนวน 1 คดี
ทั้งนี้พูนสุขและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รวบรวมปัญหาที่พบจากการใช้ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ไว้ดังนี้
นิยามกว้าง
พูนสุขอธิบายว่า การตีความคำว่า “การชุมนุมสาธารณะ” นั้นกว้างมาก เกิดความสับสนต่อผู้บังคับใช้ นอกจากนี้ยังมีการตีความลักษณะการชุมนุม “รบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้สถานที่” มีขอบเขตกว้างขวางไม่ชัดเจน มักถูกใช้อ้างเป็นเงื่อนไขให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ชุมนุมหรือห้ามชุมนุม
ตัวอย่าง คดียืนเฉยๆ ของทนายอานนท์ นำภา เป็นการยืนจับมือกันเฉยๆ ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยไม่ได้แจ้งการชุมนุม ก็ถูกจับกุมซึ่งหน้า และถูกดำเนินคดีในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม ศาลพิพากษามีความผิดและมีโทษปรับ ซึ่งน่าสนใจว่าการชุมนุมขนาดเล็กแบบนี้โดยสภาพไม่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่สาธารณะเท่าไหร่ แต่ก็ยังถูกรวมอยู่ในการชุมนุมในความหมายนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีการยื่นหนังสือ เช่น กรณีการยื่นหนังสือถึง อบต. หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ของกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 60
หรือกรณีการเดินทางเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภา อบต.เขาหลวง ของกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 59 เรื่องเกี่ยวการขอต่อใบอนุญาตเพื่อขอใช้ประโยชน์ทำเหมืองทองคำ โดยชาวบ้านได้เรียกร้องให้ยกเลิกการประชุมเนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำยังไม่ถูกแก้ไขและเยียวยา ทั้งสองกรณีก็มีการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ทั้งสิ้น
พูนสุขอธิบายว่า การตีความคำว่า “การชุมนุมสาธารณะ” นั้นกว้างมาก เกิดความสับสนต่อผู้บังคับใช้ นอกจากนี้ยังมีการตีความลักษณะการชุมนุม “รบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้สถานที่” มีขอบเขตกว้างขวางไม่ชัดเจน มักถูกใช้อ้างเป็นเงื่อนไขให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ชุมนุมหรือห้ามชุมนุม
ตัวอย่าง คดียืนเฉยๆ ของทนายอานนท์ นำภา เป็นการยืนจับมือกันเฉยๆ ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยไม่ได้แจ้งการชุมนุม ก็ถูกจับกุมซึ่งหน้า และถูกดำเนินคดีในข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม ศาลพิพากษามีความผิดและมีโทษปรับ ซึ่งน่าสนใจว่าการชุมนุมขนาดเล็กแบบนี้โดยสภาพไม่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่สาธารณะเท่าไหร่ แต่ก็ยังถูกรวมอยู่ในการชุมนุมในความหมายนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีการยื่นหนังสือ เช่น กรณีการยื่นหนังสือถึง อบต. หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ของกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 60
หรือกรณีการเดินทางเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภา อบต.เขาหลวง ของกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 59 เรื่องเกี่ยวการขอต่อใบอนุญาตเพื่อขอใช้ประโยชน์ทำเหมืองทองคำ โดยชาวบ้านได้เรียกร้องให้ยกเลิกการประชุมเนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำยังไม่ถูกแก้ไขและเยียวยา ทั้งสองกรณีก็มีการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ทั้งสิ้น
เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ตีความบังคับใช้ในการจำกัดควบคุม
พูนสุขอธิบายว่า โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยเจ้าพนักงานอาจแจ้งให้แก้ไขหากการชุมนุมนั้นอาจจะขัดมาตรา 7 และ 8 เรื่องการใช้สถานที่ และหากไม่แก้ไข เจ้าพนักงานอาจสั่งห้ามชุมนุม ซึ่งผู้จัดการชุมนุมสามารถอุทธรณ์ไปยังผู้บังคับบัญชา โดยผู้ชุมนุมต้องงดการชุมนุมระหว่างมีคำสั่ง ทำให้การดำเนินคดีตามข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะล่วงหน้าก่อนการชุมนุม 24 ชั่วโมงกลายเป็นข้อหาหลักที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการดำเนินคดี
นอกจากนี้ยังมีกรณีการแจ้งชุมนุมล่วงหน้าครบ 24 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่ได้ตอบกลับภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่แน่นอนว่าการชุมนุมมีข้อขัดข้องหรือไม่ หรือบางครั้ง “คำแนะนำ” ของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ได้ทำเป็นคำสั่งชัดเจน เช่น ให้ย้ายสถานที่การชุมนุมจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ก่อให้เกิดความสับสนว่าข้อความดังกล่าวจำเป็นต้องปฏิบัติตามหรือไม่ รวมทั้งปัญหาที่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจแนวทางการบังคับใช้กฎหมายนี้
โดยข้อนี้สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้เสริมว่า การขอผ่อนผันเพราะแจ้งการชุมนุมไม่ครบ 24 ชั่วโมง ไม่เคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่อนุญาติให้ผ่อนผันได้เลย
ตัวอย่างเช่น กรณีการรวมตัวเพื่อคัดค้านเหมืองแร่โปแตชของชาวบ้านวังบง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2560
หรือคดียืนเฉยๆ ของอานนท์ นำภา เป็นการชุมนุมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า พบปัญหาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม สลายการชุมนุมโดยทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ สะท้อนว่าการกำหนดให้แจ้งการชุมนุมนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุมซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้เลย
พูนสุขอธิบายว่า โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยเจ้าพนักงานอาจแจ้งให้แก้ไขหากการชุมนุมนั้นอาจจะขัดมาตรา 7 และ 8 เรื่องการใช้สถานที่ และหากไม่แก้ไข เจ้าพนักงานอาจสั่งห้ามชุมนุม ซึ่งผู้จัดการชุมนุมสามารถอุทธรณ์ไปยังผู้บังคับบัญชา โดยผู้ชุมนุมต้องงดการชุมนุมระหว่างมีคำสั่ง ทำให้การดำเนินคดีตามข้อหาไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะล่วงหน้าก่อนการชุมนุม 24 ชั่วโมงกลายเป็นข้อหาหลักที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการดำเนินคดี
นอกจากนี้ยังมีกรณีการแจ้งชุมนุมล่วงหน้าครบ 24 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่ได้ตอบกลับภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่แน่นอนว่าการชุมนุมมีข้อขัดข้องหรือไม่ หรือบางครั้ง “คำแนะนำ” ของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ได้ทำเป็นคำสั่งชัดเจน เช่น ให้ย้ายสถานที่การชุมนุมจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ก่อให้เกิดความสับสนว่าข้อความดังกล่าวจำเป็นต้องปฏิบัติตามหรือไม่ รวมทั้งปัญหาที่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจแนวทางการบังคับใช้กฎหมายนี้
โดยข้อนี้สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้เสริมว่า การขอผ่อนผันเพราะแจ้งการชุมนุมไม่ครบ 24 ชั่วโมง ไม่เคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่อนุญาติให้ผ่อนผันได้เลย
ตัวอย่างเช่น กรณีการรวมตัวเพื่อคัดค้านเหมืองแร่โปแตชของชาวบ้านวังบง อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2560
หรือคดียืนเฉยๆ ของอานนท์ นำภา เป็นการชุมนุมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า พบปัญหาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม สลายการชุมนุมโดยทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ สะท้อนว่าการกำหนดให้แจ้งการชุมนุมนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุมซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้เลย
สถานที่ชุมนุมไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน
พูนสุขกล่าวว่า ใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ กำหนดการชุมนุมในสถานที่แต่ละประเภทแตกต่างกัน ได้แก่
(1) พื้นที่ห้ามชุมนุมในรัศมี 150 เมตรโดยเด็ดขาด ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง ฯลฯ
เป็นปัญหาว่าไม่อาจทราบได้ว่าระยะรัศมี 150 เมตรนั้นวัดจากจุดใดและสิ้นสุดจุดใด และถูกนำมากล่าวอ้างเสมอ
ตัวอย่างเช่น การชุมนุมหน้าหอศิลป กรุงเทพฯ กรณีคดีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2561 ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหานี้ แม้ปัจจุบันจะมีป้ายประกาศบนพื้นที่ skywalk แต่เป็นเพียงการพิมพ์มาตรา 7 โดยไม่ได้ระบุว่ารัศอยู่ที่ใด จึงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติต่อไป
(2) พื้นที่ห้ามชุมนุมภายในได้แก่ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล โดย ผบ.ตร. มีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตร
พบกรณีเดียวคือวันที่ 9 ก.พ. 2561 ในการชุมนุมของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่ายหิน พบปัญหาว่าประกาศห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตรรอบพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลไม่มีกำหนดระยะเวลา และมักถูกนำมากล่าวอ้างในการชุมนุมครั้งอื่นๆ โดยไม่พิจารณาเป็นคราวๆ ไป ทั้งที่บัญญัติไว้ว่าต้องพิจารณาตามความจำเป็น แม้กรณีนี้ผู้ชุมนุมจะยื่นอุทธรณ์ประกาศห้ามชุมนุม แต่ ผบ.ตร. มีคำสั่งยกอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 สะท้อนปัญหาการใช้ระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์นาน ไม่สอดคล้องสถานการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้น
(3) พื้นที่ชุมนุมได้แต่ห้ามกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงาน เช่น ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน ซึ่งบางสถานที่นำไปสู่การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการให้ย้ายสถานที่ชุมนุม หรือห้ามชุมนุม
ตัวอย่างเช่น การชุมนุมของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 60 บริเวณเกาะกลางถนนหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าอยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล และผู้ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ จึงได้สั่งให้ย้ายไปชุมนุมที่บริเวณสนามม้านางเลิ้ง แต่ผู้ชุมนุมตกลงที่จะย้ายไปที่เกาะกลางถนนหน้าตึกสหประชาชาติ แม้เจ้าหน้าที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งเลิกชุมนุม แต่ศาลไต่สวนแล้วยกคำร้องเนื่องจากเป็นการชุมนุมโดยสงบ
พูนสุขกล่าวว่า ใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ กำหนดการชุมนุมในสถานที่แต่ละประเภทแตกต่างกัน ได้แก่
(1) พื้นที่ห้ามชุมนุมในรัศมี 150 เมตรโดยเด็ดขาด ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง ฯลฯ
เป็นปัญหาว่าไม่อาจทราบได้ว่าระยะรัศมี 150 เมตรนั้นวัดจากจุดใดและสิ้นสุดจุดใด และถูกนำมากล่าวอ้างเสมอ
ตัวอย่างเช่น การชุมนุมหน้าหอศิลป กรุงเทพฯ กรณีคดีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2561 ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหานี้ แม้ปัจจุบันจะมีป้ายประกาศบนพื้นที่ skywalk แต่เป็นเพียงการพิมพ์มาตรา 7 โดยไม่ได้ระบุว่ารัศอยู่ที่ใด จึงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติต่อไป
(2) พื้นที่ห้ามชุมนุมภายในได้แก่ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล โดย ผบ.ตร. มีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตร
พบกรณีเดียวคือวันที่ 9 ก.พ. 2561 ในการชุมนุมของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่ายหิน พบปัญหาว่าประกาศห้ามชุมนุมในรัศมี 50 เมตรรอบพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลไม่มีกำหนดระยะเวลา และมักถูกนำมากล่าวอ้างในการชุมนุมครั้งอื่นๆ โดยไม่พิจารณาเป็นคราวๆ ไป ทั้งที่บัญญัติไว้ว่าต้องพิจารณาตามความจำเป็น แม้กรณีนี้ผู้ชุมนุมจะยื่นอุทธรณ์ประกาศห้ามชุมนุม แต่ ผบ.ตร. มีคำสั่งยกอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 สะท้อนปัญหาการใช้ระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์นาน ไม่สอดคล้องสถานการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้น
(3) พื้นที่ชุมนุมได้แต่ห้ามกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงาน เช่น ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน ซึ่งบางสถานที่นำไปสู่การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการให้ย้ายสถานที่ชุมนุม หรือห้ามชุมนุม
ตัวอย่างเช่น การชุมนุมของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 60 บริเวณเกาะกลางถนนหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าอยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล และผู้ชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ จึงได้สั่งให้ย้ายไปชุมนุมที่บริเวณสนามม้านางเลิ้ง แต่ผู้ชุมนุมตกลงที่จะย้ายไปที่เกาะกลางถนนหน้าตึกสหประชาชาติ แม้เจ้าหน้าที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งเลิกชุมนุม แต่ศาลไต่สวนแล้วยกคำร้องเนื่องจากเป็นการชุมนุมโดยสงบ
เงื่อนไขการชุมนุมเพิ่มเองตามใจเจ้าหน้าที่
พูนสุขระบุว่า มาตรา 19 กำหนดให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม อำนวยความสะดวก รักษาความปลอดภัย รวมถึงกำหนดเงื่อนไขหรือมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ พบปัญหาคือเจ้าพนักงานกำหนดเงื่อนไขที่เกินกว่ามาตรา 19
พูนสุขสรุปว่า ทั้งหมดนี้จึงเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ชุมนุมในการต้องจัดหาหรือขออนุญาตซ้ำซ้อน และทำให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าไปพิจารณาถึงเนื้อหาในการชุมนุม ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ที่ต้องการดูแลเฉพาะเรื่องอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่สาธารณะร่วมกันเท่านั้น มากไปกว่านั้นยังมีกรณีที่เจ้าพนักงานเข้ามาควบคุมรายละเอียดต่างๆ เช่น ห้ามใช้ป้ายผ้า อุปกรณ์ เครื่องขยายเสียง ห้ามใส่เสื้อยืดที่มีข้อความรณรงค์ในประเด็นต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน การชุมนุมคัดค้านสารเคมี
ตัวอย่างเช่น กรณีการชุมนุมครบรอบ 4 ปีรัฐประหารของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้กำหนดเงื่อนไขคือ (1) ห้ามไม่ให้ชุมนุมทางการเมืองซึ่งขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 เว้นแต่จะนำหนังสืออนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ได้รับมอบหมายมาแสดงก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (2) ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ขัดกับมาตรา 7 และ 8 (3) การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 19 ในการอำนายความสะดวกประชาชน
พูนสุขระบุว่า มาตรา 19 กำหนดให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุม อำนวยความสะดวก รักษาความปลอดภัย รวมถึงกำหนดเงื่อนไขหรือมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ พบปัญหาคือเจ้าพนักงานกำหนดเงื่อนไขที่เกินกว่ามาตรา 19
พูนสุขสรุปว่า ทั้งหมดนี้จึงเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ชุมนุมในการต้องจัดหาหรือขออนุญาตซ้ำซ้อน และทำให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าไปพิจารณาถึงเนื้อหาในการชุมนุม ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ที่ต้องการดูแลเฉพาะเรื่องอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่สาธารณะร่วมกันเท่านั้น มากไปกว่านั้นยังมีกรณีที่เจ้าพนักงานเข้ามาควบคุมรายละเอียดต่างๆ เช่น ห้ามใช้ป้ายผ้า อุปกรณ์ เครื่องขยายเสียง ห้ามใส่เสื้อยืดที่มีข้อความรณรงค์ในประเด็นต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน การชุมนุมคัดค้านสารเคมี
ตัวอย่างเช่น กรณีการชุมนุมครบรอบ 4 ปีรัฐประหารของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้กำหนดเงื่อนไขคือ (1) ห้ามไม่ให้ชุมนุมทางการเมืองซึ่งขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 เว้นแต่จะนำหนังสืออนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ได้รับมอบหมายมาแสดงก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (2) ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ขัดกับมาตรา 7 และ 8 (3) การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 19 ในการอำนายความสะดวกประชาชน
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเกิน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ
พูนสุขยกตัวอย่าง 2 กรณีที่ชัดเจนคือ ปิดกั้นการชุมนุม We Walk และ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยทั้งสองกรณีได้แจ้งการชุมนุมเรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้มีการชุมนุมโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ อ้างว่าผู้ชุมนุมทำผิดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังมีการสกัดกั้นผู้เข้าร่วมที่มาจากต่างจังหวัด ตัวอย่างกลุ่ม P MOVE ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้สกัดกั้นการเดินทาง ณ บริเวณด่านตรวจแม่ทา จ.ลำพูด และด่านตรวจใกล้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่น เช่น ขอตรวจบัตร ค้นรถ ขับรถติดตาม ถ่ายภาพ เชิญมาสถานีตำรวจ
พูนสุขยกตัวอย่าง 2 กรณีที่ชัดเจนคือ ปิดกั้นการชุมนุม We Walk และ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยทั้งสองกรณีได้แจ้งการชุมนุมเรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้มีการชุมนุมโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ อ้างว่าผู้ชุมนุมทำผิดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังมีการสกัดกั้นผู้เข้าร่วมที่มาจากต่างจังหวัด ตัวอย่างกลุ่ม P MOVE ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้สกัดกั้นการเดินทาง ณ บริเวณด่านตรวจแม่ทา จ.ลำพูด และด่านตรวจใกล้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่น เช่น ขอตรวจบัตร ค้นรถ ขับรถติดตาม ถ่ายภาพ เชิญมาสถานีตำรวจ
กรณีขอคุ้มครองชั่วคราว-ฟ้องศาลปกครองอย่างน้อย 2 คดี
พูนสุขกล่าวว่า การขอคุ้มครองชั่วคราวมีอย่างน้อย 2 คดีไปถึงศาลปกครองคือคดี We Walk ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งการสั่งคุ้มครองชั่วคราวหมายความว่าศาลต้องเห็นว่ามีมูลความผิด แต่ต่อมาศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีเสรีภาพในการชุมนุม แต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งได้ขอความคุ้มครองชั่วคราวเช่นกัน แต่ติดปัญหาทางเทคนิค เนื่องจากคำสั่งห้ามชุมนุมตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/58 ถือเป็นคำสั่งทางปกครองต้องอุทธรณ์ก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งในฝ่ายปกครองก่อน ศาลจึงยกฟ้อง
ไม่บัญญัติความผิดเจ้าหน้าที่-ซ้อนทับเขตอำนาจระหว่างศาล-แนวคำวินิจฉัยมีน้อยไป
สุรชัยตั้งข้อสังเกตว่า ใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ไม่มีบทบัญญัติความรับผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อื่น ในการใช้อำนาจนอกเหนือจาก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เช่น ใช้อำนาจขัดขวางการชุมนุม ไม่อำนวยความสะดวก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องข้อจำกัดการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดยองค์กรศาล เช่น ยังไม่มีการกำหนดว่าภายใน 24 ชั่วโมงศาลต้องมีคำสั่งออกมา หรือการที่ศาลปิดเสาร์-อาทิตย์ รวมทั้งวันหยุดราชการก็ทำให้การชุมนุมดำเนินต่อไปไม่ได้ในกรณีที่ต้องรอคำสั่งศาล อีกประการคือการซ้อนทับเขตอำนาจระหว่างศาลปกครองกับศาลยุติธรรม ในการตรวจสอบอำนาจรัฐ เรื่องการชุมนุม และสุดท้ายคือแนวคำวินิจฉัยของศาล ในการวางหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการใช้เสรีภาพการชุมนุมนั้นยังมีน้อยเกินไป ไม่ชัดเจน
พูนสุขกล่าวว่า การขอคุ้มครองชั่วคราวมีอย่างน้อย 2 คดีไปถึงศาลปกครองคือคดี We Walk ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งการสั่งคุ้มครองชั่วคราวหมายความว่าศาลต้องเห็นว่ามีมูลความผิด แต่ต่อมาศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีเสรีภาพในการชุมนุม แต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งได้ขอความคุ้มครองชั่วคราวเช่นกัน แต่ติดปัญหาทางเทคนิค เนื่องจากคำสั่งห้ามชุมนุมตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/58 ถือเป็นคำสั่งทางปกครองต้องอุทธรณ์ก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งในฝ่ายปกครองก่อน ศาลจึงยกฟ้อง
ไม่บัญญัติความผิดเจ้าหน้าที่-ซ้อนทับเขตอำนาจระหว่างศาล-แนวคำวินิจฉัยมีน้อยไป
สุรชัยตั้งข้อสังเกตว่า ใน พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ไม่มีบทบัญญัติความรับผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อื่น ในการใช้อำนาจนอกเหนือจาก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เช่น ใช้อำนาจขัดขวางการชุมนุม ไม่อำนวยความสะดวก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องข้อจำกัดการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดยองค์กรศาล เช่น ยังไม่มีการกำหนดว่าภายใน 24 ชั่วโมงศาลต้องมีคำสั่งออกมา หรือการที่ศาลปิดเสาร์-อาทิตย์ รวมทั้งวันหยุดราชการก็ทำให้การชุมนุมดำเนินต่อไปไม่ได้ในกรณีที่ต้องรอคำสั่งศาล อีกประการคือการซ้อนทับเขตอำนาจระหว่างศาลปกครองกับศาลยุติธรรม ในการตรวจสอบอำนาจรัฐ เรื่องการชุมนุม และสุดท้ายคือแนวคำวินิจฉัยของศาล ในการวางหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการใช้เสรีภาพการชุมนุมนั้นยังมีน้อยเกินไป ไม่ชัดเจน
จากซ้ายไปขวา อานนท์ ชวาลาวัณย์ (ผู้ดำเนินรายการ), วิรอน รุจิไชยวัฒน์, เอกชัย อิสระทะ, กรกช แสงเย็นพันธ์
สร้างความกลัว-เสียเงิน-เสียเวลา นอกจากไม่ได้เจรจายังได้คดีด้วย เสนอยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ
วิรอน รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านการสร้างเหมืองทองคำ กล่าวว่า ทางกลุ่มได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเหมืองแร่ทองคำ และเริ่มมีการชุมนุมตั้งแต่ปี 2552 โดยได้ชุมนุมทั้งที่สถานที่ราชการ เช่น ที่ว่าการอำเภอ กรมป่าไม้ อุตสาหกรรมจังหวัด ศาลาว่าการจังหวัด
“แต่หลังมีรัฐประหารปี 2557 เราก็สงสัยว่าทำไมเราต้องไปแจ้งชุมนุม มี อบต. จัดเวทีให้ความเห็นหลายครั้ง ทุกครั้งที่เราไปก็จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราเข้าไปก็มีอุปสรรคมาก โดนตรวจค้นว่ามีอาวุธหรือไม่ มีครั้งหนึ่ง (16 พ.ย. 2559) เราก็โดนแจ้งความ 7 คนข้อหาทำผิด พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เอาเราไปที่สถานีตำรวจ แล้วเขาก็บอกว่าแค่ยอมรับไป แล้วปรับ 500 ก็จบ แต่เราไม่ยอมเพราะเราไม่ได้ชุมนุมทางการเมือง เราไปเรียกร้องเรื่องเหมืองเพราะเรามีปัญหามาก อบต.เป็นคนจัดด้วยซ้ำ เราเป็นแค่ผู้เข้าร่วม สุดท้ายเรื่องไปถึงอัยการ อัยการสั่งฟ้อง ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ตอนนี้เขาก็อุทธรณ์คำสั่งอยู่ที่ศาลเมืองเลย” วิรอนกล่าว
วิรอนเห็นว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ทำให้ชุมชนไม่กล้าลุกขึ้นมาพูดปัญหาที่มีอยู่ เพราะกลัวโดนคดี หรือแม้แต่การไปร่วมรับฟังแสดงความเห็นในวาระต่างๆ ที่ อบต. เป็นผู้จัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อชาวบ้านโดยตรง ชาวบ้านก็ไม่กล้าไปเพราะกลัวโดนคดีเช่นกัน
“การที่เราติดคดี ทำให้เรามีภาระหลายอย่างมาก เราต้องเสียเวลา เสียเงิน และต้องเดินทางเยอะมาก เราต่อสู้เรื่องบ้านเราแล้วเรายังต้องสู้กับกฎหมายที่รัฐกำหนดเข้ามา ชุมชนที่ลุกขึ้นมาสู้ได้รับปัญหานี้เยอะมาก เราลุกขึ้นมาปกป้องวิถีชีวิตปกป้องชุมชน ดูแลผลประโยชน์ตัวเองและประเทศ เราไม่รอให้รัฐบาลมาแก้ไขให้เรา เราเป็นคนช่วยรัฐบาลด้วยซ้ำ รัฐบาลต่างหากที่สมควรสนับสนุนเรา” วิรอนกล่าว
กรกช แสงเย็นพันธ์ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กล่าวว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ย้อนแย้งทับซ้อนกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 ตรงนิยามการชุมนุม ซึ่งทั้งสองกฎหมายนี้ถูกใช้ไปพร้อมกัน หรือแยกกัน เช่น คดีนั่งรถไฟไปตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์ ทั้งที่ตอนนั้น พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ประกาศใช้แล้ว แต่ถูกดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เพียงอย่างเดียว เพราะถูกยัดเยียดให้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งที่ประชาชนมีสิทธิที่จะตรวจสอบรัฐได้
กรกชกล่าวต่อว่า นอกจากนี้การบังคับใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังครอบคลุมไปถึงการจัดคอนเสิร์ตหรือแสดงออกทางศิลปะที่จัดในพื้นที่ปิด ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ โดยกรณีคอนเสิร์ตหนึ่งก็มีตำรวจเข้าไปถามผู้จัดกิจกรรมว่า ขออนุญาตการชุมนุมแล้วหรือยัง
“ปัญหาในทางปฏิบัติที่พบคือ ประการแรกการขอใช้สถานที่ตามพ.ร.บ. ชุมนุมฯ บางแห่งสามารถขอที่สถานที่นั้นได้เลย เช่น มหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยกลับให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนในทางปฏิบัติ และบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ให้การสนับสนุนการชุมนุม หรือเรื่องการใช้เสียง ต้องประเมินว่ามีผู้ชุมนุมกี่คน ใช้เสียงดังไหม ต้องไปขอสำนักงานเขตก่อน ซึ่งส่วนมากก็ไม่อนุญาตให้ใช้เสียงดัง การขอเรื่องต่างๆ ทำให้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกินไป” กรกชกล่าว
กรกชยังเล่าว่า แม้ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เป็นการให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก แต่เจ้าหน้าที่กลับใช้เป็นข้อบังคับ มีการถ่ายรูปผู้ชุมนุม ถ่ายรูปบัตรประชาชน ถ่ายรูปตลอดเพื่อรายงาน และบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าอาจมีมือที่สามมาก่อเหตุความวุ่นวายจึงให้มีการนำเครื่องตรวจวัตถุระเบิดมาตั้งที่ทางเข้างาน แต่หลังจากกิจกรรมการชุมนุมเสร็จสิ้นเจ้าหน้าที่ EOD กลับมาเบิกเบี้ยเลี้ยงการทำงานกับผู้ชุมนุม ทั้งที่การตรวจสอบวัตถุระเบิดเป็นข้อเรียกร้องและห่วงกังวลของเจ้าหน้าที่เองทั้งสิ้น
“ขอเสนอให้ยกเลิก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 เพราะเป็นเพียงเครื่องมือที่รัฐใช้จำกัดสิทธิ ในการปิดปากประชาชนไม่ให้พูดว่าประสบปัญหาด้านใดบ้า สิทธิการชุมนุมเป็นสิทธิโดยปกติทั่วโลกแต่กฎหมายกลับนำมาควบคุม การตีความขึ้นอยู่กับผู้ใช้” กรกชกล่าว
สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้กล่าวถึงข้อเสนอว่า ให้ใช้สิทธิผ่านกระบวนการศาล เพ่อตีความขอบเขตการใช้อำนาจรัฐเรื่องชุมนุมให้ชัดเจน นอกจากนี้จะต้องร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่สนับสนุนเสรีภาพการชุมนุม โดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน
เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา จ.สงขลา กล่าวว่าการเคลื่อนไหวรวมกลุ่มเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกันกับทุกคนไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ตนขอยืนยันว่าการเคลื่อนไหวทุกเรื่องเป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น เช่นกรณี ท่าเรือน้ำลึกปากบารา กลุ่มตนอยากรณรงค์ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิต
เอกชัยกล่าวว่า นิยามการชุมนุมนั้นต้องตกลงร่วมกันกันใหม่ ถ้าการเดิน การยื่นหนังสือ แบบนี้ถือเป็นการชุมนุมหรือไม่ ทั้งที่การเดินรณรงค์ของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ไม่เคยมีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้นกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า นี่เป็นการใช้เครื่องมืออำนาจรัฐในการสร้างความหวาดกลัวต่อผู้เห็นต่างใช่หรือไม่
คมสันต์ จันทร์อ่อน เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ไม่ได้เอื้อการชุมนุมสาธารณะให้กับประชาชน แต่เป็นการสร้างความยุ่งยากตั้งแต่ยังไม่เริ่มการชุมนุม ตั้งแต่ความสับสนว่าต้องไปแจ้งการชุมนุมที่ไหน หรือค่าใช้จ่ายจากการพยายามยัดเยียดข้อหา เช่น ใช้เครื่องเสียงแล้วเสียงดังไป ไม่ขออนุญาตใช้เครื่องเสียง
ข้อเสนอคือขอยกเลิก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ถ้ายกเลิกไม่ได้ให้แก้ตั้งแต่หลักการและเหตุผล เพราะมีปัญหา ไม่มองถึงสิทธิเสรีภาพการชุมนุม และระหว่างยังไม่มีการแก้ ขอให้ชี้แจงความชัดเจน พื้นที่ที่ติดต่อแล้วสะดวกกับประชาชนคือที่ไหน และให้เจ้าหน้าที่ดูแลการชุมนุมปฏิบัติตามมาตรา 19 ด้วย
สุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กล่าวเสริมว่า ในฐานะที่ตนเองก็เคยเข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่เป็นนักศึกษาก่อนมี พ.ร.บ. ชุมนุมฯ การชุมนุมก็มีการวางแผนจัดระเบียบการชุมนุมอยู่แล้ว ผู้ชุมนุมจะวางแผนว่าจะเจรจากับใครเพื่อนำมาสู่การคลี่คลายปัญหา ประเมินว่าจะเคลื่อนอย่างไรต่อ และโดยเจตนารมย์แล้วการมาชุมนุมคือการที่ใช้กลไกปกติในพื้นที่ทั้งหมดแล้วแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จึงมาชุมนุม แต่เมื่อมี พ.ร.บ. ชุมนุมฯ นอกจากจะไม่ได้เจรจาแล้ว สิ่งที่ผู้ชุมนุมได้กลับไปส่วนใหญ่คือคดี
จากซ้ายไปขวา บัณฑิต หอมเกษ (ผู้ดำเนินรายการ), สุรชัย ตรงงาม, สมชาย ปรีชาศิลปกุล
วิรอน รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านการสร้างเหมืองทองคำ กล่าวว่า ทางกลุ่มได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากเหมืองแร่ทองคำ และเริ่มมีการชุมนุมตั้งแต่ปี 2552 โดยได้ชุมนุมทั้งที่สถานที่ราชการ เช่น ที่ว่าการอำเภอ กรมป่าไม้ อุตสาหกรรมจังหวัด ศาลาว่าการจังหวัด
“แต่หลังมีรัฐประหารปี 2557 เราก็สงสัยว่าทำไมเราต้องไปแจ้งชุมนุม มี อบต. จัดเวทีให้ความเห็นหลายครั้ง ทุกครั้งที่เราไปก็จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราเข้าไปก็มีอุปสรรคมาก โดนตรวจค้นว่ามีอาวุธหรือไม่ มีครั้งหนึ่ง (16 พ.ย. 2559) เราก็โดนแจ้งความ 7 คนข้อหาทำผิด พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เอาเราไปที่สถานีตำรวจ แล้วเขาก็บอกว่าแค่ยอมรับไป แล้วปรับ 500 ก็จบ แต่เราไม่ยอมเพราะเราไม่ได้ชุมนุมทางการเมือง เราไปเรียกร้องเรื่องเหมืองเพราะเรามีปัญหามาก อบต.เป็นคนจัดด้วยซ้ำ เราเป็นแค่ผู้เข้าร่วม สุดท้ายเรื่องไปถึงอัยการ อัยการสั่งฟ้อง ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ตอนนี้เขาก็อุทธรณ์คำสั่งอยู่ที่ศาลเมืองเลย” วิรอนกล่าว
วิรอนเห็นว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ทำให้ชุมชนไม่กล้าลุกขึ้นมาพูดปัญหาที่มีอยู่ เพราะกลัวโดนคดี หรือแม้แต่การไปร่วมรับฟังแสดงความเห็นในวาระต่างๆ ที่ อบต. เป็นผู้จัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อชาวบ้านโดยตรง ชาวบ้านก็ไม่กล้าไปเพราะกลัวโดนคดีเช่นกัน
“การที่เราติดคดี ทำให้เรามีภาระหลายอย่างมาก เราต้องเสียเวลา เสียเงิน และต้องเดินทางเยอะมาก เราต่อสู้เรื่องบ้านเราแล้วเรายังต้องสู้กับกฎหมายที่รัฐกำหนดเข้ามา ชุมชนที่ลุกขึ้นมาสู้ได้รับปัญหานี้เยอะมาก เราลุกขึ้นมาปกป้องวิถีชีวิตปกป้องชุมชน ดูแลผลประโยชน์ตัวเองและประเทศ เราไม่รอให้รัฐบาลมาแก้ไขให้เรา เราเป็นคนช่วยรัฐบาลด้วยซ้ำ รัฐบาลต่างหากที่สมควรสนับสนุนเรา” วิรอนกล่าว
กรกช แสงเย็นพันธ์ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง กล่าวว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ย้อนแย้งทับซ้อนกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 ตรงนิยามการชุมนุม ซึ่งทั้งสองกฎหมายนี้ถูกใช้ไปพร้อมกัน หรือแยกกัน เช่น คดีนั่งรถไฟไปตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์ ทั้งที่ตอนนั้น พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ประกาศใช้แล้ว แต่ถูกดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เพียงอย่างเดียว เพราะถูกยัดเยียดให้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งที่ประชาชนมีสิทธิที่จะตรวจสอบรัฐได้
กรกชกล่าวต่อว่า นอกจากนี้การบังคับใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังครอบคลุมไปถึงการจัดคอนเสิร์ตหรือแสดงออกทางศิลปะที่จัดในพื้นที่ปิด ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ โดยกรณีคอนเสิร์ตหนึ่งก็มีตำรวจเข้าไปถามผู้จัดกิจกรรมว่า ขออนุญาตการชุมนุมแล้วหรือยัง
“ปัญหาในทางปฏิบัติที่พบคือ ประการแรกการขอใช้สถานที่ตามพ.ร.บ. ชุมนุมฯ บางแห่งสามารถขอที่สถานที่นั้นได้เลย เช่น มหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยกลับให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนในทางปฏิบัติ และบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ให้การสนับสนุนการชุมนุม หรือเรื่องการใช้เสียง ต้องประเมินว่ามีผู้ชุมนุมกี่คน ใช้เสียงดังไหม ต้องไปขอสำนักงานเขตก่อน ซึ่งส่วนมากก็ไม่อนุญาตให้ใช้เสียงดัง การขอเรื่องต่างๆ ทำให้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกินไป” กรกชกล่าว
กรกชยังเล่าว่า แม้ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ เป็นการให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก แต่เจ้าหน้าที่กลับใช้เป็นข้อบังคับ มีการถ่ายรูปผู้ชุมนุม ถ่ายรูปบัตรประชาชน ถ่ายรูปตลอดเพื่อรายงาน และบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าอาจมีมือที่สามมาก่อเหตุความวุ่นวายจึงให้มีการนำเครื่องตรวจวัตถุระเบิดมาตั้งที่ทางเข้างาน แต่หลังจากกิจกรรมการชุมนุมเสร็จสิ้นเจ้าหน้าที่ EOD กลับมาเบิกเบี้ยเลี้ยงการทำงานกับผู้ชุมนุม ทั้งที่การตรวจสอบวัตถุระเบิดเป็นข้อเรียกร้องและห่วงกังวลของเจ้าหน้าที่เองทั้งสิ้น
“ขอเสนอให้ยกเลิก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 เพราะเป็นเพียงเครื่องมือที่รัฐใช้จำกัดสิทธิ ในการปิดปากประชาชนไม่ให้พูดว่าประสบปัญหาด้านใดบ้า สิทธิการชุมนุมเป็นสิทธิโดยปกติทั่วโลกแต่กฎหมายกลับนำมาควบคุม การตีความขึ้นอยู่กับผู้ใช้” กรกชกล่าว
สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ได้กล่าวถึงข้อเสนอว่า ให้ใช้สิทธิผ่านกระบวนการศาล เพ่อตีความขอบเขตการใช้อำนาจรัฐเรื่องชุมนุมให้ชัดเจน นอกจากนี้จะต้องร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่สนับสนุนเสรีภาพการชุมนุม โดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน
เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา จ.สงขลา กล่าวว่าการเคลื่อนไหวรวมกลุ่มเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกันกับทุกคนไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ตนขอยืนยันว่าการเคลื่อนไหวทุกเรื่องเป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น เช่นกรณี ท่าเรือน้ำลึกปากบารา กลุ่มตนอยากรณรงค์ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิต
เอกชัยกล่าวว่า นิยามการชุมนุมนั้นต้องตกลงร่วมกันกันใหม่ ถ้าการเดิน การยื่นหนังสือ แบบนี้ถือเป็นการชุมนุมหรือไม่ ทั้งที่การเดินรณรงค์ของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ไม่เคยมีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้นกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า นี่เป็นการใช้เครื่องมืออำนาจรัฐในการสร้างความหวาดกลัวต่อผู้เห็นต่างใช่หรือไม่
คมสันต์ จันทร์อ่อน เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้ พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ไม่ได้เอื้อการชุมนุมสาธารณะให้กับประชาชน แต่เป็นการสร้างความยุ่งยากตั้งแต่ยังไม่เริ่มการชุมนุม ตั้งแต่ความสับสนว่าต้องไปแจ้งการชุมนุมที่ไหน หรือค่าใช้จ่ายจากการพยายามยัดเยียดข้อหา เช่น ใช้เครื่องเสียงแล้วเสียงดังไป ไม่ขออนุญาตใช้เครื่องเสียง
ข้อเสนอคือขอยกเลิก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ ถ้ายกเลิกไม่ได้ให้แก้ตั้งแต่หลักการและเหตุผล เพราะมีปัญหา ไม่มองถึงสิทธิเสรีภาพการชุมนุม และระหว่างยังไม่มีการแก้ ขอให้ชี้แจงความชัดเจน พื้นที่ที่ติดต่อแล้วสะดวกกับประชาชนคือที่ไหน และให้เจ้าหน้าที่ดูแลการชุมนุมปฏิบัติตามมาตรา 19 ด้วย
สุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กล่าวเสริมว่า ในฐานะที่ตนเองก็เคยเข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่เป็นนักศึกษาก่อนมี พ.ร.บ. ชุมนุมฯ การชุมนุมก็มีการวางแผนจัดระเบียบการชุมนุมอยู่แล้ว ผู้ชุมนุมจะวางแผนว่าจะเจรจากับใครเพื่อนำมาสู่การคลี่คลายปัญหา ประเมินว่าจะเคลื่อนอย่างไรต่อ และโดยเจตนารมย์แล้วการมาชุมนุมคือการที่ใช้กลไกปกติในพื้นที่ทั้งหมดแล้วแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จึงมาชุมนุม แต่เมื่อมี พ.ร.บ. ชุมนุมฯ นอกจากจะไม่ได้เจรจาแล้ว สิ่งที่ผู้ชุมนุมได้กลับไปส่วนใหญ่คือคดี
จากซ้ายไปขวา บัณฑิต หอมเกษ (ผู้ดำเนินรายการ), สุรชัย ตรงงาม, สมชาย ปรีชาศิลปกุล
พ.ร.บ. ชุมนุมฯ จงใจคลุมเครือ ต้องปฏิสังขรณ์กฎหมายกันใหม่ สร้างสังคมที่เถียงกันได้ด้วยเหตุผล
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เราต้องย้ำเรื่องความหมาย ความสำคัญของเสรีภาพการชุมนุม นั้นเพราะหากเราจะอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตย การแสดงออก การชุมนุมมีความสำคัญ เมื่อไหร่ที่มีการไม่เห็นด้วย มีความเดือดร้อน ได้รับผลกระทบ ก็ต้องมาคุยกัน สังคมเสรีประชาธิปไตยไม่มีใครถูกทั้งหมด จึงเป็นสังคมเห็นต่าง แต่เป็นสังคมที่อยู่กันด้วยเหตุผล เถียงด้วยเหตุผล ดังนั้นเสรีภาพการแสดงออกหรือการชุมนุมคือเครื่องมือที่ดึงให้อำนาจรัฐมาเถียงกับประชาชนด้วยเหตุผล ดังนั้นกฎหมายถึงต้องให้โอกาสกับประชาชนทุกคนสามารถใช้เสรีภาพนี้ได้
สมชายกล่าวต่อว่า จากปัญหาทั้งหมดของ พ.ร.บ. ชุมนุม สิ่งที่หนึ่งเห็นชัดเจนคือความคลุมเครือที่มาจากความตั้งใจ ไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้าใจ แต่กฎหมายนี้ถูกสร้างให้คลุมเครือ เพราะถ้ารู้ชัดเจนเดี๋ยวชาวบ้านจะใช้สิทธิกันได้ แต่กฎหมายไหนคลุมเครือ เจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นคนกุมอำนาจ เพื่อให้สถาบันและกลไกของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดเล่นงานชาวบ้านได้
สิ่งที่ตามมาจึงสามารถสรุปได้ว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มีเป้าประสงค์ 2 ข้อ นั้นคือ ข่มขู่คุกคามสร้างความกลัว และสองคือการเตะถ่วงฉุดยื้อเพื่อสร้างภาระอันหนักหน่วงแก่ประชาชน จากข้อมูลที่สอบถามมา ไม่มีใครโดนโทษจาก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มีแค่การยกฟ้องกับรอลงอาญา จากที่ตนเคยไปเป็นพยานมาหลายคดีในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม เห็นแต่ทนายและจำเลย แต่ไม่เห็นอัยการฝ่ายโจทก์ นัยที่คดีเหล่านี้ต้องการฟ้องเพื่อจะเป็นภาระแก่ประชาชน ฟ้องแล้วศาลตัดสินอย่างไรเจ้าหน้าที่ไม่สนใจ หน้าที่คือฟ้องเพื่อฟ้อง
“เนื้อแท้ของกฎหมายชนิดนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับสังคมเลย ในสังคมเสรีประชาธิปไตย กฎหมายสร้างขึ้นเพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อรองของประชาชนเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่เมืองไทยผลตรงข้าม เราไม่ได้จัดการเมืองมาอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่เอากฎหมายไปอยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง เราจึงเห็นการใช้กฎหมายที่ ‘นี่อะไรกันวะ’ ” สมชายกล่าว
สมชายกล่าวต่อว่า กระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่เชื่อว่าโปร่งใส ตรงไปตรงมา มีอิสระ นั้นไม่จริง แต่กระบวนการยุติกำลังมีปัญหาอย่างมาก เรากำลังเปลือยกระบวนการยุติธรรมให้เห็นปัญหาที่อยู่ภายใน เพราะกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมาค่อยถูกตั้งคำถาม จึงมีโอกาสจะทำอะไรตามอำเภอใจ สิ่งที่เรากำลังทำเป็นสิ่งจำเป็น มีประโยชน์ เพื่อเห็นปัญหาของระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
“กฎหมายถูกบังคับใช้ได้สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางการเมืองที่เป็นอยู่ ระบบกฎหมาย 4 ปีที่ผ่านมาในทัศนะผมเละเทะ อย่าพูดเรื่องปฏิรูป ถ้าสามารถก้าวพ้นเงาอำนาจนิยมได้ ระบบกฎหมายไทยต้องปฏิสังขรณ์ ไม่ใช่แก้ไข แต่คือสร้างใหม่จากซากที่พังทลายลงไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันต่อ สถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่บ้านเมืองที่เราคาดหวังว่าจะใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและเป็นธรรม แต่สถานการณ์แบบนี้ก็คงไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป ผมคิดว่าอีกไม่นานมันต้องเปลี่ยนและเป็นธรรม” สมชายกล่าวทิ้งท้าย
ทนายสิทธิฯชี้ปัญหานิยามกว้าง เปิดช่อง จนท. ตีความบังคับใช้สถานที่ชุมนุมไม่กำหนดชัดเจน แถมเงื่อนไขการชุมนุมเพิ่มเองตามใจเจ้าหน้าที่ ไม่บัญญัติความผิดเจ้าหน้าที่ ภาคประชาชนระบุสร้างความกลัว-เสียเงิน-เสียเวลา นอกจากไม่ได้เจรจาแล้ว ยังได้คดีตามมาด้วย เสนอยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ขณะที่นักวิชาการมอง กม.ดังกล่าว จงใจคลุมเครือ ต้องปฏิสังขรณ์กันใหม่ สร้างสังคมที่เถียงกันได้ด้วยเหตุผล
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เราต้องย้ำเรื่องความหมาย ความสำคัญของเสรีภาพการชุมนุม นั้นเพราะหากเราจะอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตย การแสดงออก การชุมนุมมีความสำคัญ เมื่อไหร่ที่มีการไม่เห็นด้วย มีความเดือดร้อน ได้รับผลกระทบ ก็ต้องมาคุยกัน สังคมเสรีประชาธิปไตยไม่มีใครถูกทั้งหมด จึงเป็นสังคมเห็นต่าง แต่เป็นสังคมที่อยู่กันด้วยเหตุผล เถียงด้วยเหตุผล ดังนั้นเสรีภาพการแสดงออกหรือการชุมนุมคือเครื่องมือที่ดึงให้อำนาจรัฐมาเถียงกับประชาชนด้วยเหตุผล ดังนั้นกฎหมายถึงต้องให้โอกาสกับประชาชนทุกคนสามารถใช้เสรีภาพนี้ได้
สมชายกล่าวต่อว่า จากปัญหาทั้งหมดของ พ.ร.บ. ชุมนุม สิ่งที่หนึ่งเห็นชัดเจนคือความคลุมเครือที่มาจากความตั้งใจ ไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้าใจ แต่กฎหมายนี้ถูกสร้างให้คลุมเครือ เพราะถ้ารู้ชัดเจนเดี๋ยวชาวบ้านจะใช้สิทธิกันได้ แต่กฎหมายไหนคลุมเครือ เจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นคนกุมอำนาจ เพื่อให้สถาบันและกลไกของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดเล่นงานชาวบ้านได้
สิ่งที่ตามมาจึงสามารถสรุปได้ว่า พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มีเป้าประสงค์ 2 ข้อ นั้นคือ ข่มขู่คุกคามสร้างความกลัว และสองคือการเตะถ่วงฉุดยื้อเพื่อสร้างภาระอันหนักหน่วงแก่ประชาชน จากข้อมูลที่สอบถามมา ไม่มีใครโดนโทษจาก พ.ร.บ. ชุมนุมฯ มีแค่การยกฟ้องกับรอลงอาญา จากที่ตนเคยไปเป็นพยานมาหลายคดีในคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม เห็นแต่ทนายและจำเลย แต่ไม่เห็นอัยการฝ่ายโจทก์ นัยที่คดีเหล่านี้ต้องการฟ้องเพื่อจะเป็นภาระแก่ประชาชน ฟ้องแล้วศาลตัดสินอย่างไรเจ้าหน้าที่ไม่สนใจ หน้าที่คือฟ้องเพื่อฟ้อง
“เนื้อแท้ของกฎหมายชนิดนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับสังคมเลย ในสังคมเสรีประชาธิปไตย กฎหมายสร้างขึ้นเพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อรองของประชาชนเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่เมืองไทยผลตรงข้าม เราไม่ได้จัดการเมืองมาอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่เอากฎหมายไปอยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง เราจึงเห็นการใช้กฎหมายที่ ‘นี่อะไรกันวะ’ ” สมชายกล่าว
สมชายกล่าวต่อว่า กระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่เชื่อว่าโปร่งใส ตรงไปตรงมา มีอิสระ นั้นไม่จริง แต่กระบวนการยุติกำลังมีปัญหาอย่างมาก เรากำลังเปลือยกระบวนการยุติธรรมให้เห็นปัญหาที่อยู่ภายใน เพราะกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมาค่อยถูกตั้งคำถาม จึงมีโอกาสจะทำอะไรตามอำเภอใจ สิ่งที่เรากำลังทำเป็นสิ่งจำเป็น มีประโยชน์ เพื่อเห็นปัญหาของระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
“กฎหมายถูกบังคับใช้ได้สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางการเมืองที่เป็นอยู่ ระบบกฎหมาย 4 ปีที่ผ่านมาในทัศนะผมเละเทะ อย่าพูดเรื่องปฏิรูป ถ้าสามารถก้าวพ้นเงาอำนาจนิยมได้ ระบบกฎหมายไทยต้องปฏิสังขรณ์ ไม่ใช่แก้ไข แต่คือสร้างใหม่จากซากที่พังทลายลงไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันต่อ สถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่บ้านเมืองที่เราคาดหวังว่าจะใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและเป็นธรรม แต่สถานการณ์แบบนี้ก็คงไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป ผมคิดว่าอีกไม่นานมันต้องเปลี่ยนและเป็นธรรม” สมชายกล่าวทิ้งท้าย
ทนายสิทธิฯชี้ปัญหานิยามกว้าง เปิดช่อง จนท. ตีความบังคับใช้สถานที่ชุมนุมไม่กำหนดชัดเจน แถมเงื่อนไขการชุมนุมเพิ่มเองตามใจเจ้าหน้าที่ ไม่บัญญัติความผิดเจ้าหน้าที่ ภาคประชาชนระบุสร้างความกลัว-เสียเงิน-เสียเวลา นอกจากไม่ได้เจรจาแล้ว ยังได้คดีตามมาด้วย เสนอยกเลิก พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ขณะที่นักวิชาการมอง กม.ดังกล่าว จงใจคลุมเครือ ต้องปฏิสังขรณ์กันใหม่ สร้างสังคมที่เถียงกันได้ด้วยเหตุผล
แสดงความคิดเห็น