กสท.ถกด่วน รัฐบาลขอใช้คลื่นทีวีดิจิตอลสาธารณะเพื่อโครงการ “ประชารัฐ”
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 18/2559 ในวันจันทร์ที่ 6 มิ.ย. นี้ มีวาระประชุมน่าจับตา ได้แก่การที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางราย มีความเห็นให้จัดตั้งช่องโทรทัศน์ประชารัฐ เพื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนบริหารราชการแผ่นดิน โดยได้ทำหนังสือสอบถามมายัง กสทช. แล้ว
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 18/2559 ในวันจันทร์ที่ 6 มิ.ย. นี้ มีวาระประชุมน่าจับตา ได้แก่การที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางราย มีความเห็นให้จัดตั้งช่องโทรทัศน์ประชารัฐ เพื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนบริหารราชการแผ่นดิน โดยได้ทำหนังสือสอบถามมายัง กสทช. แล้ว
นางสาวสุภิญญากล่าวเพิ่มเติมว่า แม้คลื่นความถี่ฟรีทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ จะว่างอยู่ถึง 8 ช่อง แต่ใช่ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานใดขอมาแล้ว กสทช.จะให้ได้เลย เพราะการให้ใบอนุญาตต้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎกติกาที่วางไว้ ที่สำคัญคือต้องมีการกำหนดและประกวดแข่งขันคุณสมบัติที่ครบถ้วนในการเป็นทีวีบริการสาธารณะจริง ๆ ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงของรัฐ ทุกวันนี้รัฐก็คุมสื่อของรัฐได้อยู่แล้วและใช้เวลาของสื่อเอกชนด้วย การขอโทรทัศน์ฟรีทีวีช่องใหม่จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก
ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้วิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวเบื้องต้นว่า การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายรัฐ จัดอยู่ในกลุ่มผู้รับใบอนุญาตใหม่ กิจการสาธารณะประเภทที่สาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน อยู่ในลำดับหมายเลขช่อง 10 ซึ่งเป็นช่องเดียวกับช่องรายการสถานีวิทยุรัฐสภาในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งช่องโทรทัศน์ขึ้นใหม่จะมีภาระการลงทุนทั้งส่วนของเครื่องมือและบุคลากร ซึ่งตรงนี้น่าจะใช้วิธีผลิตรายการ ร่วมผลิตรายการ หรือขอแบ่งเวลาให้ดำเนินรายการผ่านทางช่องรายการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ช่อง 5 ช่อง 11 ไทยพีบีเอส หรือช่อง 10รัฐสภา รวมทั้งยังสามารถขอความร่วมมือจากช่องเอกชนเพื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วย
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้วิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวเบื้องต้นว่า การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายรัฐ จัดอยู่ในกลุ่มผู้รับใบอนุญาตใหม่ กิจการสาธารณะประเภทที่สาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน อยู่ในลำดับหมายเลขช่อง 10 ซึ่งเป็นช่องเดียวกับช่องรายการสถานีวิทยุรัฐสภาในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งช่องโทรทัศน์ขึ้นใหม่จะมีภาระการลงทุนทั้งส่วนของเครื่องมือและบุคลากร ซึ่งตรงนี้น่าจะใช้วิธีผลิตรายการ ร่วมผลิตรายการ หรือขอแบ่งเวลาให้ดำเนินรายการผ่านทางช่องรายการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ช่อง 5 ช่อง 11 ไทยพีบีเอส หรือช่อง 10รัฐสภา รวมทั้งยังสามารถขอความร่วมมือจากช่องเอกชนเพื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วย
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ)
แสดงความคิดเห็น