เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดการโยกย้ายถิ่นฐานที่เป็นธรรม” หวังใช้เป็นแนวทางจัดการปัญหาผู้อพยพ
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองของนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ (EIU) แถลงเปิดตัวการจัดทำดัชนีชี้วัดการโยกย้ายถิ่นฐานที่เป็นธรรม (Migration Governance Index: MGI) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การทำงานของแต่ละประเทศทั่วโลก ในการจัดการและรับมือปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน ป้องกันการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิของผู้อพยพ
ดร.เนเน็ตต์ โมทัส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของไอโอเอ็ม ระบุว่าดัชนีเอ็มจีไอเป็นการประเมินศักยภาพของรัฐบาลแต่ละประเทศ ว่าสามารถจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ในภาวะที่ปัจจุบันมีแรงงานผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานราว 244 ล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดเอ็มจีไอไม่ใช่การจัดอันดับหรือให้คะแนนแต่ละประเทศ เพราะวิธีการดังกล่าวอาจทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมา
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองของนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ (EIU) แถลงเปิดตัวการจัดทำดัชนีชี้วัดการโยกย้ายถิ่นฐานที่เป็นธรรม (Migration Governance Index: MGI) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การทำงานของแต่ละประเทศทั่วโลก ในการจัดการและรับมือปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน ป้องกันการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิของผู้อพยพ
ดร.เนเน็ตต์ โมทัส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของไอโอเอ็ม ระบุว่าดัชนีเอ็มจีไอเป็นการประเมินศักยภาพของรัฐบาลแต่ละประเทศ ว่าสามารถจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ในภาวะที่ปัจจุบันมีแรงงานผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานราว 244 ล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดเอ็มจีไอไม่ใช่การจัดอันดับหรือให้คะแนนแต่ละประเทศ เพราะวิธีการดังกล่าวอาจทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมา
ในโครงการนำร่องปีนี้ มีรัฐบาลของ 15 ประเทศที่เข้ารับการประเมินผลตามดัชนีเอ็มจีไอ ประกอบด้วย บาห์เรน บังกลาเทศ แคนาดา คอสตาริกา เยอรมนี กานา อิตาลี เม็กซิโก มอลโดวา โมร็อกโก ตุรกี ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และสวีเดน โดยแต่ละประเทศจะถูกประเมินว่ามีการดำเนินงานด้านการโยกย้ายถิ่นฐานที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติระหว่างปี 2559-2573 หรือไม่ โดยพิจารณาทั้งในฐานะประเทศต้นทางและประเทศปลายทางของการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน
ส่วนปัจจัยประกอบการประเมินผลดัชนีเอ็มจีไออื่น ๆ ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของผู้อพยพ ความปลอดภัยของระบบการจัดการโยกย้ายถิ่นฐาน การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของผู้อพยพ การว่าจ้างงานเหมาะสม การลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมให้เกิดสังคมสงบสุขที่ทุกคนมีส่วนร่วม และการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในปีนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการประเมินตามดัชนีเอ็มจีไอ ซึ่งพบว่าฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานและมีการโยกย้ายถิ่นฐานติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ก็มีการจัดการด้านการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับที่มีวุฒิภาวะและพัฒนาแล้ว
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ - เจ้าหน้าที่จับกุมผู้พยายามลักลอบเข้าเมืองผิดกฏหมายที่พรมแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก)
ส่วนปัจจัยประกอบการประเมินผลดัชนีเอ็มจีไออื่น ๆ ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของผู้อพยพ ความปลอดภัยของระบบการจัดการโยกย้ายถิ่นฐาน การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของผู้อพยพ การว่าจ้างงานเหมาะสม การลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมให้เกิดสังคมสงบสุขที่ทุกคนมีส่วนร่วม และการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในปีนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการประเมินตามดัชนีเอ็มจีไอ ซึ่งพบว่าฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานและมีการโยกย้ายถิ่นฐานติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ก็มีการจัดการด้านการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับที่มีวุฒิภาวะและพัฒนาแล้ว
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ - เจ้าหน้าที่จับกุมผู้พยายามลักลอบเข้าเมืองผิดกฏหมายที่พรมแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก)
แสดงความคิดเห็น