TCIJ: 10 ปีเทศกาลนับศพปีใหม่ คนไทยตายรวม 3,710 ศพ
Posted: 18 Dec 2016 02:38 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
รายงานพิเศษจาก TCIJ เปิดสถิติระหว่างปี 2550-2559 พบอุบัติเหตุในช่วงรณรงค์ 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ รวม 35,605 ครั้ง บาดเจ็บ 38,201 คน เสียชีวิต 3,710 ราย สาเหตุหลัก ‘เมาสุรา-ขับเร็ว’ ด้าน ‘มอเตอร์ไซค์’ และ ‘คนในพื้นที่’ เสี่ยงอุบัติเหตุและเสียชีวิตสู งสุด งานศึกษาของตำรวจฝ่ายปฏิบัติหน้ าที่ ชี้อุปสรรคสำคัญคือปัญหาด้าน ‘งบประมาณ-โครงสร้างอัตรากำลั งพล’ แนะจัดตั้งกองทุนจราจรโดยนำเงิ นรายได้ของรัฐ มาสนับสนุนเข้ากองทุนแก้ปั ญหาอย่างเป็นระบบ สร้างหลักสูตรตระหนักรู้ สอนตั้งแต่เด็กแต่มัธยม
10 ปี 7 วันอันตราย ตัวเลขขึ้นลง ยอดตายรวม 3,710 ราย
ข้อมูลจากการแถลงของศูนย์ อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่ TCIJ ได้รวบรวมมาจากสื่อต่าง ๆ ระหว่างปี 2550-2559 พบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานั้น อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปี ใหม่ในช่วง 7 วันระวังอันตรายมีรวมกัน 35,605 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 38,201 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 3,710 ราย โดยในปีที่มีอุบัติเหตุในช่ วงเทศกาลปีใหม่ 7 วันระวังอันตรายมากที่สุดคือปี 2551 มีอุบัติเหตุรวม 4,475 ครั้ง ส่วนปีที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุ ดคือปี 2550 มีผู้บาดเจ็บรวมถึง 4,943 คน และปีที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุ ดคือปี 2550 ด้วยเช่นกันโดยมีผู้เสียชีวิต 449 ราย
โดยรายละเอียดในแต่ละปีมีดังต่ อไปนี้ 1) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (28 ธันวาคม 2549-3 มกราคม 2550) มีอุบัติเหตุรวม 4,456 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 4,943 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 449 ราย 2) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (28 ธันวาคม 2550-3 มกราคม 2551) มีอุบัติเหตุรวม 4,475 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 4,903 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 401 ราย 3) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (30 ธันวาคม 2551-5 มกราคม 2552) มีอุบัติเหตุรวม 3,824 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 4,107 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 367 ราย 4) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (29 ธันวาคม 2552-4 มกราคม 2553) มีอุบัติเหตุรวม 3,534 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,827 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 347 ราย 5) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2554 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (29 ธันวาคม 2553-4 มกราคม 2554) มีอุบัติเหตุรวม 3,497 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,750 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 358 ราย 6) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2555 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (29 ธันวาคม 2554-4 มกราคม 2555) มีอุบัติเหตุรวม 3,093 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,375 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 335 ราย 7) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (27 ธันวาคม 2555-2 มกราคม 2556) มีอุบัติเหตุรวม 3,176 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,329 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 366 ราย 8) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2557 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (27 ธันวาคม 2556-2 มกราคม 2557) มีอุบัติเหตุรวม 3,174 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,345 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 366 ราย 9) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2558 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (30 ธันวาคม 2557-5 มกราคม 2558) มีอุบัติเหตุรวม 2,997 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,117 คน ผู้เสียชีวิตรวม 341 ราย และ 10) อุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ในช่วง 7 วันระวังอันตราย (29 ธันวาคม 2558-4 มกราคม 2559) มีอุบัติเหตุรวม 3,379 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 3,505 คน ผู้เสียชีวิตรวม 380 ราย
‘เมา-ขับเร็ว’ สาเหตุหลัก ‘มอเตอร์ไซค์’อุบัติเหตุสูงสุด คนในพื้นที่เสี่ยงเสียชีวิตสู งสุด
จากสถิติระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2558-4 มกราคม 2559 พบอุบัติเหตุเกิดในเส้ นทางตรงร้อยละ 63.89, ถนนทางหลวงแผ่นดินร้อยละ 36.02 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.42 (ที่มาภาพ : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์)
ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการป้องกั นและลดอุบัติเหตุทางถนนช่ วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ที่รวบรวมสถิติอุบัติเหตุระหว่ างวันที่ 29 ธันวาคม 2558-4 มกราคม 2559 ระบุว่าแม้จะมีการเข้มงวด ตั้งจุดตรวจหลัก 2,102 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,506 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 550,167 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 89,473 รายแล้วนั้น แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุรวมถึง 3,379 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 3,505 คน ผู้เสียชีวิตรวม 380 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสู งสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 24.03 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 17.28 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่ สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.51 รถปิคอัพ 7.43 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 63.89 ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 36.02 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.42 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุ ด ได้แก่ เวลา 16.01– 20.00 น. ร้อยละ 28.09 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่ วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.23 จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง แพร่ ระนอง และสุโขทัย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสู งสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (139 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสู งสุด ได้แก่ นครราชสีมา (15 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสู งสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (140 คน) ทั้งนี้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็ นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสู งถึง ร้อยละ 68.82 และส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่กว่ าร้อยละ 57
ผู้ปฏิบัติงานชี้ปัญหา คืองบประมาณและโครงสร้างอั ตรากำลังพล
จุดตรวจตั้งด่านป้องปรามอุบัติ เหตุในช่วงเทศกาลนั้น ต้องใช้กำลังพลปฏิบัติ งานจำนวนมาก ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ มีการขอกำลังเสริมจากหน่วยงานที่ มาบูรณาการ เช่น อาสาสมัครเจ้าหน้าที่ป้องกันภั ยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มาร่วมทำงานประจำในหน่วยที่ตั้ งจุดตรวจต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน และการประสานงานร่วมกับองค์ การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านโรงพยาบาลประจำอำเภอ อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นต้น (ที่มาภาพ : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์)
จากการศึกษาของ พ.ต.ท.วินิจฉัย พินิจศักดิ์ รอง ผกก.กลุ่มงานจราจร ภ.จว.เชียงใหม่ เรื่อง 'ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ ตำรวจในการปฏิบัติ ตามนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุ จราจรในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2556' รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ทำการศึกษาปั ญหาจากตำรวจที่ปฏิบัติการและผู้ บริหารสถานีตำรวจ 282 นาย พบว่าอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้ าที่ของเจ้าหน้าที่ ตำรวจในการปฏิบัติ ตามนโยบายการป้องกันอุบัติเหตุ จราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ไว้ว่า แต่ละพื้นที่มีนโยบายการป้องกั นไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากเป็ นนโยบายกลางซึ่งถูกกำหนดโดยสำนั กงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะมีการกำหนดนโยบายป้องกัน ปราบปราม และเฝ้าระวัง 7 วันอันตรายในช่วงทุกเทศกาลสำคัญ ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันอุ บัติเหตุประกอบด้วยปัจจัย 2 ด้าน ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านงบประมาณมีปัญหามากที่สุด รองลงมาด้านโครงสร้างอัตรากำลั งพล และด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้มีปั ญหาในระดับมาก รองลงมาด้านบุคลากรมีปั ญหาในระดับปานกลาง และด้านผู้บังคับบัญชามีปั ญหาในระดับน้อย ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านผู้ขับขี่มีปัญหามากที่สุด รองลงมาด้านสภาพพื้นที่มีปั ญหาอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านยานพาหนะ และด้านประชาชนมีปัญหาในระดั บปานกลาง และด้านการประสานงานมีปั ญหาในระดับน้อย
เมื่อลงลึกในรายละเอียดของปั ญหาแต่ละเรื่อง พบว่า ในด้านกระบวนการบริหารจัดการ เนื่องจากเป็นการทำงานตามสายบั งคับบัญชา ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งานต้องรอคำสั่งตามสายงานบังคั บบัญชา ซึ่งมีลำดับยาวมาก ทำให้การตัดสินใจล่าช้า และยังต้องประสบปัญหาที่ฝ่ายบริ หารไม่เข้าใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้ จริงของเป้าหมายการปฏิบัติ งานในช่วงเทศกาล ต้องการกำหนดตัวเลขสถิติข้ อหาการจับกุม เพื่อเสนอผู้บังคับบัญหาโดยที่ ไม่ได้คำนึงถึงหลักในการปฏิบัติ และวิธีการที่จะนำไปสู่การป้ องกันอุบัติเหตุได้อย่างแท้จริ ง นอกจากนี้ การปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ ตำรวจต้องแสวงหาความร่วมมื อจากหน่วยงานอื่น ซึ่งบางครั้งก็ได้รับความร่วมมื อจากหน่วยงานนั้น ๆ บางครั้งก็ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เต็มกำลัง
ด้านงบประมาณในการสนับสนุ นการทำงานของสถานีตำรวจนั้น พบว่ามีการใช้งบประมาณตามปกติ ในช่วงเทศกาลจะได้รั บงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อจ่ายเป็นค่าสวัสดิ การและเบี้ยเลี้ยงแก่เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานตามจุดตรวจตั้งด่ าน ซึ่งงบ ประมาณได้รับการสนับสนุนจากแหล่ งต่าง ๆ จาก สถานีภูธรจังหวัด งบประมาณจากท้องถิ่น และงบประมาณจากภาค เอกชน ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุ นงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก แต่งบประมาณก็ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ กำหนดงบประมาณที่จะได้รับให้เพี ยงพอกับรายจ่ายจริงได้ โดยปัญหาด้านงบประมาณเป็นปั ญหาใหญ่ที่ผู้บริหารและเจ้าหน้ าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิ ญ ทั้งนี้ปัญหาด้านอื่น ๆ สามารถขอความร่วมมือจากหน่ วยงานต่าง ๆ ได้ แต่ปัญหาด้านงบประมาณนั้น บางครั้งการขอรับความช่วยเหลื อจากภาคเอกชน อาจจะได้รับเป็นสิ่งของรางวั ลแทนการให้เป็นตัวเงิน ดังนั้น จึงทำให้ไม่มีเบี้ยเลี้ยงและสวั สดิการตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ ที่ทำงานในช่วงเทศกาล แต่ต้องทำงานหนักกว่าเดิม และสถานีตำรวจบางแห่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจต้ องรองบประมาณตกเบิก ซึ่งใช้เวลานานหลายเดือน ปัญหาเหล่านี้จึงทาให้เจ้าหน้ าที่ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิ บัติงาน
ส่วนด้านการจัดสรรกำลังพลนั้น ในแต่ละสถานีตำรวจมีการจั ดสรรกำลังพลกันเองภายในหน่ วยงานตามจำนวนเจ้าหน้าที่ ในระบบหมุนเวียน ซึ่งมีฝ่ายธุรการกำลังพลจั ดเวรตั้งจุดตรวจและเจ้าหน้าที่ ตำรวจสายตรวจ และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปอยู่ ประจาที่ที่ถูกกำหนด เนื่องจากในช่วงเทศกาล ต้องใช้กำลังพลปฏิบัติ งานจำนวนมาก จึงได้มีการขอกำลังเสริมจากหน่ วยงานที่มาบูรณาการร่วมในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครเจ้าหน้าที่ป้องกันภั ยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มาร่วมทำงานประจำในหน่วยที่ตั้ งจุดตรวจต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งการทำงานได้มีการประสานงาน ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่ น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลประจำอำเภอ อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นต้น โดยปัญหาที่พบคือในช่ วงเทศกาลซึ่งมีการตั้งด่ านตรวจหลายจุดมากกว่าในช่ วงเวลาปกติ จึงประสบปัญหากำลังพลไม่เพี ยงพอต่อการตั้งจุดตรวจในแต่ละพื้ นที่ และไม่สามารถจัดกำลังเจ้าหน้าที่ ให้ครบทุกจุดได้ ในบางครั้งต้องมอบหมายงานให้เจ้ าหน้าที่ตำรวจที่ไม่ใช่เจ้าหน้ าที่ตำรวจจราจร เจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็จะไม่มีชุ ดตรวจคือ เสื้อสะท้อนแสง และกระบอกไฟฉาย แต่ต้องปฏิบัติงานในด่านกลางคืน ทำให้เสี่ยงอันตรายต่อเจ้าหน้ าที่เหล่านี้มาก และการปฏิบัติงานหนักส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิ ดความเครียดขึ้นได้
ในด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สาหรั บการตั้งด่านตรวจเพื่อการป้องกั นอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาลปี ใหม่ พ.ศ.2556 นั้นเป็นวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ สาหรับการตั้งจุดด่านตรวจ ปกติใช้อุปกรณ์ชุดเดิมที่มีอยู่ แต่ในช่วง 7 วันอันตรายจะนำอุปกรณ์เหล่านั้ นมาใช้มากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น จึงต้องจัดเตรียมพร้อมอุปกรณ์ อยู่ตลอด วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สาหรั บการตั้งด่านตรวจเพื่อการป้องกั นอุบัติเหตุจราจร ได้แก่ ไฟตั้งด่านอุปกรณ์ตรวจจั บความเร็ว, หลอดไฟราว, เสื้อสะท้อนแสง, กรวย, กระบอกไฟฉายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์นี้สื บเนื่องมาจากปัญหาเรื่ องงบประมาณการจัดซื้อวัสดุอุ ปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สำหรั บการทำงาน และบางครั้งวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ชำรุด ต้องใช้เวลานานในการจัดซื้อ
สำหรับปัจจัยภายนอก เป็นปัญหาที่เกิดนอกหน่วยงาน จากการสอบถามผู้บริหารสถานี ตำรวจด้วยคำถามปลายเปิดพบว่าปั จจัยภายนอก ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่ องจากประชาชนขาดวินัยด้านจราจร ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมี การกวดขันอย่างเข้มงวด แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้ งหมด นอกจากนี้ บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิ บัติงานตามหน้าที่แต่ประชาชนเกิ ดความไม่พอใจ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รั บการต่อต้าน และมีทัศนคติด้านลบจากประชาชน เนื่องจากการจับกุมผู้ที่ไม่ปฏิ บัติตามกฎจราจรนั้น บุคคลเหล่านี้มักจะคิดว่ าตนเองไม่ผิด หรือต้องการหลีกเลี่ยงความผิดที่ ได้กระทำ บางครั้งจึงมีการตำหนิเจ้าหน้ าที่ตำรวจด้วยคำพูดส่งผลให้เจ้ าหน้าที่ตำรวจเกิดความรู้สึกที่ ไม่ดี และขาดขวัญกำลังใจในการบริ การประชาชนในที่สุด
ทั้งนี้ ในงานศึกษาของ พ.ต.ท.วินิจฉัย มีข้อเสนอแนะว่า การป้องกันอุบัติเหตุในช่ วงเทศกาล ควรมีการพิจารณาการจัดตั้งกองทุ นจราจรโดยนำเงินรายได้ของรั ฐมาสนับสนุนเข้ากองทุน ควรศึกษาการจัดทำรูปแบบหลักสู ตรในการฝึกวินัย และให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบต่ าง ๆ เกี่ยวกับจราจร การป้องกันอุบัติเหตุ โดยนำหลักสูตรไปใช้ฝึกสอนแก่เด็ กมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา มีโครงการรณรงค์ให้ความรู้ ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรณรงค์ในการใช้ รถโดยสารสาธารณะในการเดินทางช่ วงเทศกาล รวมทั้งมีการควบคุมการบังคับใช้ กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวดจริงจัง รวมไปถึงจัดตั้งศูนย์ อำนวยความสะดวก จุดบริการประชาชนเพิ่มขึ้น โดยจุดบริการประชาชนมีการให้บริ การแบบ One Stop Service นอกจากนี้รัฐควรเพิ่มการจั ดสรรงบประมาณให้ครอบคลุ มการทำงานในช่วงเทศกาล และจัดตั้งทีมงานปฏิบัติ การเฉพาะกิจช่วงเทศกาลขึ้นปี ใหม่แบบบูรณาการร่วมกับหน่ วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานขนส่งทางบก ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน รวมไปถึงกรมทางหลวง เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น