Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว

สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวและอดีตนักโทษ 112 ได้รับการปล่อยตัว หลังอยู่ในเรือนจำ 7 ปี


[full-post]


Tanawat Wongchai

“ตอนเขาเริ่มสร้างทำไมถึงไม่ออกมาต่อต้าน ?”

คำถามนี้เป็นคำถามที่ฝ่ายต่อต้านการออกมาเรียกร้องของภาคประชาชนทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพตั้งคำถามถึงกิจกรรมเรียกร้องผืนป่าดอยสุเทพดังกล่าว (ติดตามอ่านความเคลื่อนไหวได้ที่เพจ ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ)

เมื่อวานได้มีโอกาสพูดคุยกับแกนนำของขบวนการเคลื่อนไหว ก็ทราบข้อมูลว่าหมู่บ้านป่าแหว่ง ซึ่งเป็นบ้านพักข้าราชการตุลาการนี้ เริ่มการก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2558 (จากรูปจะเห็นว่ารูปถ่ายจาก google map เมื่อปี พ.ศ.2557 ยังไม่มีการไถพื้นที่ขึ้นสูงเท่ากับปี พ.ศ.2561 : ขอบคุณภาพจาก บีบีซีไทย - BBC Thai) โดยในตอนแรกก็มีการสร้างอาคารสำนักงานศาลในพื้นที่ด้านล่างตามปกติ

ขออธิบายเสริมว่าถนนเส้นเลียบคลองชลประทาน (คนเชียงใหม่จะเรียกกันติดปากว่า “เส้นคันคลอง”) นับตั้งแต่ศูนย์ประชุมนานาชาติไปจนถึงสุดถนนทางเชื่อมกับอำเภอแม่ริม เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการทั้งหมด (รวมถึงสนามกีฬาสมโภช 700 ปี อีกด้วย) ดังนั้น ในตอนแรกประชาชนในพื้นที่จึงไม่ได้สังเกตุเห็นความผิดปกติใดๆ เพราะ การก่อสร้างอาคารสำนักงานของภาครัฐ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบนถนนเส้นนี้อยู่แล้ว

จนกระทั่งเมื่อมีการเริ่มไถพื้นที่ป่าบนดอยขึ้นไปสูงมากขึ้น จนเห็นได้ชัดเจน (ดังปรากฎในภาพด้านล่าง) ชาวบ้านในพื้นที่ก็ได้มีการเริ่มรณรงค์ต่อต้านการก่อสร้าง แต่ไม่เป็นข่าวเลย กระแสเงียบมาก ขนาดผมเป็นคนเชียงใหม่ และอาศัยอยู่ในอำเภอแม่ริม ต้องเดินทางผ่านเส้นทางนี้บ่อยๆ ก็เห็นถึงความอัปยศนี้ แต่ยังไม่เคยได้ยินหรือเห็นการรณรงค์เลย กระแสการต่อต้านนี้เริ่มหนาหูมากขึ้นในหมู่คนเชียงใหม่ช่วงกลางปี พ.ศ.2559 และกระแสทำท่าจะจุดติดในหมู่คนเชียงใหม่

แต่ช่วงปลายปี พ.ศ.2559 มีเหตุการณ์สวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 เกิดขึ้น ทำให้แกนนำตัดสินใจยุติการรณรงค์ไว้เป็นการชั่วคราว และกลับมาทำการรณรงค์ใหม่อีกครั้งหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงในช่วงปลายปี พ.ศ.2560

การรณรงค์ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีประชาชนทั่วทั้งประเทศให้ความสนใจ ไม่ใช่เพียงแค่คนเชียงใหม่อีกต่อไปแล้ว ความคับข้องใจของประชาชนที่มีต่อความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เกิดขึ้น ระหว่างการใช้อำนาจรัฐต่อประชาชนกับการใช้อำนาจรัฐต่อผู้มีอำนาจด้วยกันเอง จึงทำให้กระแสการต่อต้านหมู่บ้านป่าแหว่งลุกลามอย่างรวดเร็ว จนนำมาสู่การชุมนุมใหญ่เมื่อวานนี้ ที่มีประชาชนเข้าร่วมกว่าครึ่งหมื่น (นับว่าเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ในรอบหลายปีที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่)

ฟางเส้นสุดท้ายที่จุดให้คนเชียงใหม่ออกมาชุมนุมกันมากมายเป็นประวัติการณ์เมื่อวานนี้ คงมาจากคำพูดของข้าราชการบางท่าน ที่ขอให้ศาลอยู่ในหมู่บ้านป่าแหว่ง 10 ปี เพื่อพิสูจน์ตัวเอง และการที่ข้าราชการหลายๆ คนอ้างเหตุผลเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยในหมู่บ้านป่าแหว่งนั่นแหละ และจากการพูดคุยกับคนเชียงใหม่ที่ไม่ได้ออกไปชุมนุมแทบจะเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าต้อง “รื้อถอน” หมู่บ้านนี้ทิ้งเสีย (มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจว่าขนาดนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่คนหนึ่ง ที่มีอิทธิพลในพื้นที่เคยอยากจะสร้างกระเช้าลอยฟ้าขึ้นไปบนวัดพระธาตุดอยสุเทพ ยังถูกกลุ่มผู้สนับสนุนเขาต่อต้านเสียเละเทะ พูดอีกอย่างคือ ดอยสุเทพ เป็นเหมือนชีวิตจิตใจอย่างนึงของคนเชียงใหม่ที่พวกเขาไม่ยอมให้ใครมารุกราน ยิ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ด้วยแล้ว กระแสต่อต้านจึงขยายวงกว้างมากขึ้น)

ในเมื่อรัฐบาลมีนโยบายทวงคืนผืนป่าจากประชาชนได้ และมองว่าประชาชนไม่สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เหตุใดรัฐบาลถึงไม่สามารถทวงคืนผืนป่าจากศาล และมองว่าศาลก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผืนป่าได้เช่นกัน นี่คือความคับข้องใจอีกส่วนหนึ่งที่ถูกสื่อสารออกมาผ่านกลุ่มชาติพันธุ์ในงานเดินขบวนเมื่อวานนี้

ฟังแกนนำเล่าให้ฟังแล้วรู้สึกเห็นใจและเคารพในความพยายามของแกนนำเป็นอย่างมากกับการต่อสู้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาครับ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยยาก และไม่ค่อยมีคนสนใจเลยในตอนแรกเริ่ม แต่กลับกลายเป็นการรณรงค์ที่สร้างการตื่นตัวให้กับคนในสังคมได้มากมายขนาดนี้

หวังว่าฝ่ายที่ต่อต้านการรณรงค์ในครั้งนี้ จะเข้าใจแล้วนะครับว่าคนที่รณรงค์เค้าไม่ได้พึ่งมาทำการรณรงค์ เขารณรงค์มาตั้งแต่แรกแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นกระแสเท่านั้นเอง และอย่าคิดว่าการรณรงค์ทุกอย่างจะต้องเป็นการรณรงค์ที่ต่อต้านรัฐบาลทหารที่พวกคุณรักเสมอไปครับ หยุดมายาคติที่ว่าทุกอย่างในโลกนี้ทักษิณอยู่เบื้องหลังแล้วใช้เงินซื้อเสียทีเถอะครับ หวังว่าโควตา 8 บรรทัดในการอ่านของคนที่ต่อต้านการรณรงค์นี้จะยังไม่หมดนะครับ

ด้วยรักและอยากให้อ่านจนจบ[right-side]


ปล่อยตัวแล้ว! 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' บรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย หลังถูกขังนาน 7 ปี จากคดีหมิ่นสถาบันฯ ม.112 + คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตแม่ทัพภาคที่ 3



[right-side]

ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

Posted: 28 Apr 2018 10:03 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ค้านคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน จัดสรรนมโรงเรียนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ส่อเอื้อประโยชน์กลุ่มนมกล่อง

29 เม.ย. 2561 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ระบุว่าตามที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลล์บอร์ดได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยกำหนดเงื่อนไขในเรื่องการอนุญาตให้ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ นำน้ำนมดิบไปผลิตเป็นนมกล่องชนิดยูเอชทีในช่วงปิดภาคเรียนที่ 2ได้ไม่เกิน 60 วัน ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีการผลิตข้ามภาคเรียน ต้องใช้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพ โดยผ่านการสุ่มตรวจคุณภาพ จากกรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรรายเล็กรายน้อยว่า คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาการจัดสรรสิทธิและคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ภาคเรียนที่ 1/2561 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 และได้เลื่อนประชุมมาครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2561 แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการพิจารณาจัดสรรสิทธิการจัดจำหน่ายฯ เนื่องจากมีความพยายามที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเฉพาะราย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการนมกล่อง โดยหลีกเลี่ยงไม่ใช้หลักเกณฑ์ในหมวด 2 ของประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนภาคเรียนที่ 1/2561 ที่มิลล์บอร์ดได้ออกประกาศไว้ตาม พรบ.โคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ.2551 เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2561 ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้นำข้อมูลปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) การซื้อขายน้ำนมโคกับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ฟาร์มโคนมเพื่อแปรรูปจำหน่ายของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมทุกรายจากกรมส่งเสริมสหกรณ์มาใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดสรรสิทธิในการจำหน่ายนมโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1/2561 นี้ และไม่เกินค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมโคที่มีอยู่จริงตามที่กรมปศุสัตว์สำรวจย้อนหลัง 4 เดือน (พ.ย.2560-ก.พ.2561) และต้องเป็นน้ำนมโคที่ได้จากศูนย์รวบรวมน้ำนมโคที่กรมปศุสัตว์รับรอง GMP หรือ GAP เท่านั้น

การที่ผู้ประกอบการใช้สิทธิภาคเรียนที่ 1/2561 ครบจำนวนที่ได้รับการจัดสรรแล้ว แต่มีการผลิตนมโรงเรียนข้ามภาคเรียนชนิดยูเอชที เกินกว่าปริมาณน้ำนมดิบที่ได้รับการจัดสรร จะต้องนำปริมาณน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตนมข้ามภาคเรียนมาหักลดสิทธิที่จะได้รับการจัดสรรในภาคเรียนที่ 1/2561 ซึ่งต้องสอดคล้องตามปริมาณนมที่ได้รับจัดสรรสิทธิในแต่ละวัน พร้อมกันนี้การจัดสรรสิทธิต้องดูพื้นที่เป็นหลักเพื่อลดระยะเวลาขนส่งระหว่างโรงเรียนและสถานที่ผลิตด้วย

ทั้งนี้การประชุมของอนุมิลล์บอร์ดที่ผ่านมา 2 ครั้งไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะกลุ่มผู้ประกอบการนมกล่องไม่ยอมลดยอดเฉลี่ยลงมาตามที่หลักเกณฑ์กำหนด ยืนยันจะเอาแต่ยอดเดิมที่เคยได้รับเมื่อเทอมก่อน โดยไม่สนใจ MOU ที่กำหนดไว้ ทั้ง ๆ ที่ขัดต่อหลักเกณฑ์ อีกทั้งกรณีดังกล่าว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เคยชี้แนะแนวทางให้ไว้กับคณะกรรมการมิลล์บอร์ดจนมีการปรับหลักเกณฑ์จนเป็นที่พอใจกันของทุกฝ่าย แต่มาครั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการนมกล่องกลับไม่ยินยอมและยืนยันจะใช้ตัวเลขเดิม ทั้ง ๆ ที่ผิดหลักเกณฑ์ตามประกาศของมิลล์บอร์ด

ดังนั้นสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงเรียกร้องมายังคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนที่จะมีการประชุมกันใหม่ในวันที่ 30 เม.ย. 2561 นี้ ได้ยึดมั่นในประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนภาคเรียนที่ 1/2561 อย่างเคร่งครัด การจัดสรรสิทธิต้องเป็นธรรม โปร่งใส หากมีการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการนมกล่องโดยไม่คำนึงถึงประกาศดังกล่าว สมาคมฯจำต้องนำความไปร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. และฟ้องศาลปกครอง เพื่อเอาผิดคณะกรรมการฯและคณะอนุกรรมการฯทุกคนอย่างไม่ละเว้นเพื่อรักษาบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป


Posted: 28 Apr 2018 10:18 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ 'ให้บริษัทฯ ยักษ์ใหญ่ยุติการละเมิดสิทธิแรงงานและสนับสนุนทวงคืนความยุติธรรมให้สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย' โดยระบุว่าตามที่สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย มีหมายข่าวจะเดินทางยื่นหนังสือถึงประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย : เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย : และบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นทุนอเมริกาต้องยุติการละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศไทย โดยในวันที่ 1 พ.ค. 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00 นาฬิกา ณ หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เนื่องจาก 5 ปีที่ผ่านมาสมาชิกสหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ถูกนายจ้างกระทำการละเมิดและไม่เคารพสิทธิแรงงาน และการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ตลอดจนไม่เคารพสิทธิในการรวมกลุ่มกันเป็นสหภาพแรงงานฯ ของลูกจ้างในบริษัทฯ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติต่อสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ลูกจ้างถูกปรับลดเงินเดือนเหลือเพียงอัตราค่าแรงขั้นต่ำ การตัดสวัสดิการลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างสามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ และคิดล้มล้างสหภาพแรงงานดังที่ปรากฏข่าวตามสื่อต่าง ๆ นั้น

สหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เห็นว่าการกระทำของนายจ้างต่อกรณีสหภาพแรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ถือเป็นการละเมิดสิทธิแรงานอย่างรุนแรง ชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง อีกทั้งกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้าง ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้าง แรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า”

ดังนั้นสหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย จึงขอสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย โดยในวันที่ 1 พ.ค. 2561 สหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย พร้อมส่งสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมทวงคืนความยุติธรรมให้สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย : ยุติการละเมิดสิทธิแรงงาน ณ. หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย


Posted: 28 Apr 2018 10:26 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

นิด้าโพลเผยผลสำรวจประชาชน 1,250 คน พบ 85% มองการสร้างบ้านตุลาการดอยสุเทพไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่ให้ยุติก่อสร้างรื้อถอนคืนผืนป่า

29 เม.ย. 2561 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นประชาชนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ “นิด้าโพล” เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“คนไทยคิดอย่างไร กับโครงการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 23 เม.ย. 2561 จากประชาชนทุกรับการศึกษาทั่วประเทศ 1,250 หน่วยตัวอย่าง โดยสอบถามประชาชนถึงความเหมาะสมในการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.20 ระบุว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นการทำลายป่าไม้ ทำลายธรรมชาติ สิ้นเปลืองงบประมาณ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรมีสิ่งปลูกสร้าง และบางส่วนมองว่าบ้านพักควรสร้างในเมืองน่าจะดีกว่า รองลงมาร้อยละ 14.56 ระบุว่าเหมาะสม เพราะเป็นพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นการบุกรุกหรือรุกล้ำพื้นที่ป่า และเพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงาน และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านการรับทราบของประชาชนว่าตามกฎหมายแล้วสามารถสร้างบ้านพักบริเวณดอยสุเทพได้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.12 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 18.56 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นเรื่องการรื้อถอนบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพออกทั้งหมด พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 53.84 เห็นด้วย เพราะจะได้คืนผืนป่าให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม รองลงมาร้อยละ 43.68 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการรื้อถอน และยังสามารถใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีก และร้อยละ 2.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

และเมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 37.36 ระบุว่าให้ยุติการก่อสร้างรื้อถอนบ้านพักทั้งหมด และปลูกป่าทดแทนให้กลับเป็นตามเดิม รองลงมาร้อยละ 25.92 ระบุว่า ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปไม่ต้องรื้อถอนแต่ให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์แทน ร้อยละ 22.96 ระบุว่า ให้ยุติการก่อสร้างและรื้อถอนบางส่วนที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ7.52 ระบุว่า ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปและให้ตุลาการศาลเข้าไปใช้พื้นที่เหมือนเดิม เพราะถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 2.80 ระบุว่าให้ยุติการก่อสร้าง และทำความตกลงไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย และร้อยละ 1.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป และปลูกต้นไม้ทดแทนไปด้วย ให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการทำเป็นรีสอร์ทเพื่อให้คนในพื้นที่ได้มีงานทำ

[full-post]


Posted: 28 Apr 2018 10:39 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ไฟไหม้โรงงานผลิตแผงวงจรไฟฟ้าในไต้หวัน คนไทยเสียชีวิต 2 คน/บอร์ด สปส.เห็นชอบประกันบำนาญขั้นต่ำให้กับผู้ประกันตน/แรงงานไทยแบกหนี้สูงสุดในรอบ 10 ปี เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.37 แสนบาท/“สมานฉันท์แรงงานไทย” จ่อร้อง 10 ข้อ เดิมวันแรงงาน หลังปี 2560 ไม่คืบหน้า/ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1.5 ล้านราย เมินฝึกอาชีพ

ไฟไหม้โรงงานผลิตแผงวงจรไฟฟ้าในไต้หวัน คนไทยเสียชีวิต 2 คน

เมื่อเวลา 21:26 น. วันที่ 28 เม.ย. 2561 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงานชินพูน (CHIN POON INDUSTRIAL) สาขาผิงเจิ้น เนื่องจากเป็นโรงงานผลิตแผงวงจรไฟฟ้าหรือ PCB รายใหญ่ของโลก เพลิงลุกลามไปยังหอพักคนงานต่างชาติที่อยู่ติดกัน คนงานต่างชาติในหอพัก ซึ่งประกอบด้วยคนงานไทยเพศชาย 180 คน และแรงงานหญิงเวียดนาม 130 คน ขณะเกิดเหตุบางคนทำงานกะกลางคืน บางคนนอนอยู่ในหอพัก แต่ละคนวิ่งหนีกันอลหม่าน ข้าวของส่วนใหญ่ไม่ได้เอาติดตัวไปด้วย

ตำรวจดับเพลิงรุดไปที่เกิดเหตุ แต่เนื่องจากภายในโรงงานมีวัตถุไวไฟปริมาณมากและเกิดการระเบิดหลายครั้ง จนถึงรุ่งเช้า 06.00 น. จึงควบคุมเพลิงเอาไว้ได้ อย่างไรก็ตาม เหตุเพลิงไหมครั้งนี้ สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง มีตำรวจดับเพลิงเสียชีวิต 6 นาย บาดเจ็บสาหัส 1 นาย ในส่วนของแรงงานไทย เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ นายภานุพงษ์ และนายเชิดศักดิ์ โรงงานชินพูน สาขาผิงเจิ้น ผลิตแผลวงจรไฟฟ้าหรือ PCB ว่าจ้างแรงงานต่างชาติประมาณ 500 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานไทย 250 คน เวียดนาม 220 คน และฟิลิปปินส์ 30 คน หอพักที่เกิดเหตุเพลิงไหม้มีคนงานต่างชาติพักรวมกัน 380 คน ที่เหลือพักอยู่ในหอพักนอกโรงงาน ขณะนี้ นายจ้างได้จัดให้คนงานทั้ง 380 คน ไปพักตามหอพักในโรงงานชินพูนสาขาหนานข่านและหอพักชั่วคราวแล้ว

ที่มา: Radio Taiwan International, 29/4/2561

กระทรวงแรงงานเปิดติวช่างติดตั้ง 'กล้องติดรถ-จีพีเอส' ฟรี
นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้รถโดยสารสาธารณะ เช่น รถทัวร์ประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้น ให้มีการติดตั้ง GPS Tracking ให้แล้วเสร็จในปี 2562 จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่าในช่วงเดือนระหว่างมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 มีรถที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวติดตั้ง GPS Tracking จำนวนถึง 471,123 คัน ประกอบกับปัจจุบันประชาชนทั่วไปนิยมติดตั้งกล้องวงจรปิดในรถยนต์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเมื่อเกิดเหตุ เป็นเครื่องมือป้องกันการโจรกรรม การทำลายทรัพย์สินและเหตุร้ายต่างๆ นั้น ทำให้ช่างฝีมือในสาขาช่างการติดตั้งและบำรุงระบบกล้องวงจรปิดในรถยนต์และ GPS Tracking เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้มอบหมายกพร. กระทรวงแรงงาน ดำเนินการขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและความต้องการดังกล่าว โดยเฉพาะการใช้แนวทางประชารัฐร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ โดยล่าสุด กพร.ร่วมกับบริษัท ดิจิตอลโฟกัส จำกัด ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมฝึกยกระดับฝีมือ สาขาช่างการติดตั้งและบำรุงระบบกล้องวงจรปิดในรถยนต์และ GPS Tracking

นายสุทธิ กล่าวว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2561 ทั้งสองหน่วยงานได้เปิดโปรแกรมหลักสูตรการฝึกอบรมขึ้นในหน่วยงานสังกัดกพร. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ สพร. 13 กรุงเทพมหานคร ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2561 สพร. 17 ระยองฝึกอบรมระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2561 สพร. 5 นครราชสีมา ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม- 1 มิถุนายน 2561 สพร. 19 เชียงใหม่ ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2561 สพร. 11 สุราษฎร์ธานี ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2561 และสพร. 12 สงขลา ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2561 ระยะเวลาการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง จะมีบรรยายภาคทฤษฎี การสาธิต และฝึกภาคปฏิบัติภายใต้ หัวข้อความปลอดภัยการทำงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ อุปกรณ์กล้องและอุปกรณ์สำหรับติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในรถยนต์และ GPS Tracking การตั้งค่าระบบ การติดตั้งระบบและการตั้งค่าโปรแกรมบริหารจัดการระบบกล้องวงจรปิดในรถยนต์ การตรวจสอบความถูกต้อง การทดสอบและการวิเคราะห์ปัญหา รวมถึงการวัดและประเมินผล เป็นต้น ตั้งเป้าผู้เข้ารับฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 240 คน

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 28/4/2561

บอร์ด สปส.เห็นชอบประกันบำนาญขั้นต่ำให้กับผู้ประกันตน

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 24 เมษายน เห็นชอบให้มีการประกันบำนาญขั้นต่ำสำหรับผู้ประกันตนรับเงินบำนาญชราภาพไม่ถึง 5 ปีแล้วเสียชีวิต โดยปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จากปัจจุบันจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่า ให้เพิ่มเป็นจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือ หลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน เว้นแต่จำนวนเดือนที่เหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เดือน โดยขั้นตอนหลังจากนี้สำนักงานประกันสังคมจะเสนอร่างแก้ไขกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีชราภาพ พ.ศ.2550 เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการประกันสังคม เสนอให้กระทรวงแรงงานพิจารณาก่อนส่งให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงนามประกาศใช้ต่อไป

ที่มา: MGR Online, 27/4/2561

แรงงานไทยแบกหนี้สูงสุดในรอบ 10 ปี เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.37 แสนบาท

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าจากการสำรวจกลุ่มแรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท/เดือน จำนวน 1,194 ตัวอย่างทั่วประเทศ เพื่อสอบถามสถานะแรงงานไทย พบว่าภาระหนี้สินครัวเรือนของแรงงานไทยปี 2561 มีมูลค่าสูงสุดรอบ 10 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2552 เฉลี่ยแรงงานเป็นหนี้ 1.37 แสนบาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.95% เทียบกับปี 2560 แบ่งเป็นกู้หนี้ในระบบสัดส่วน 65.4% ดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 10.6% ต่อปี และกู้หนี้นอกระบบสัดส่วน 34.6% ดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 20.1% ต่อเดือน

ทั้งนี้ภาระหนี้แรงงานไทยพบว่าผู้ตอบสัดส่วน 96.0% ตอบมีหนี้ ซึ่งเป็นสัดส่วนการตอบที่สูงสุดรอบ 10 ปีเช่นกัน โดยสาเหตุของการก่อหนี้ โดยผู้ตอบส่วนใหญ่ 36.1% นำหนี้เพื่อใช้จ่ายทั่วไป รองลงมาก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ก่อหนี้เพื่อลงทุน ก่อหนี้เพื่อซื้อบ้าน ก่อหนี้เพื่อรักษาพยายาบาล และก่อหนี้เพื่อใช้เงินกู้ ขณะที่การผ่อนชำระหนี้ของแรงงานไทยพบว่า มีการใช้หนี้ต่อเดือนประมาณ 5,326 บาท และเมื่อถามว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเคยผิดนัดผ่อนชำระหรือไม่ ส่วนใหญ่ 85.4% ตอบเคยผิดนัดชำระ สาเหตุจากรายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น ภาระหนี้สินมากขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น

นอกจากนี้ยังได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงหยุดวันแรงงานวันที่ 1 พ.ค. 2561 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในช่วงวันแรงงานของกลุ่มแรงงานประมาณ 2,193 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7% เทียบกับการใช้จ่ายปี 2560 โดยมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุดรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งสาเหตุของมูลค่าการใช้จ่ายวันแรงงานที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยกิจกรรมที่แรงงานทำช่วงวันแรงงาน คือ ท่องเที่ยว สังสรรค์ ทานอาหารนอกบ้าน ดูหนัง ซื้อของ เป็นต้น

ที่มา: โพสต์ทูเดย์, 26/4/2561

สนช.ลงมติเอกฉันท์เห็นชอบกับการแก้ไข พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ที่มีการปรับลดโทษ และปรับปรุงระบบการอนุญาต เพื่อปลดล็อคปัญหาแรงงานข้ามชาติ

26 เม.ย. 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ลงมติเอกฉันท์ 177 เสียง เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และมีมติ 176 เสียง เห็นชอบกับพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ

พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน ชี้แจงหลักการและเหตุผลการเสนอกฎหมาย เพื่อปลดล็อกและแก้ปัญหากรณีการใช้แรงงานต่างชาติในประเทศไทยที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ เพื่อให้มีการใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็น ลดขั้นตอนการดำเนินการให้สะดวกและง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสม เพื่อให้การบังคับใช้มีประสิทธิภาพ โดยมั่นใจว่า การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้

ขณะที่การอภิปรายของสมาชิก ส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยไม่ให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในระดับกรรมกรซึ่งคนไทยไม่นิยมทำ ขณะที่สมาชิกบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า การปรับลดโทษและยกเว้นการปฏิบัติบางเรื่อง จะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยไม่มีนายจ้าง ซึ่งอาจเข้ามาแย่งงานคนไทย หรือทำธุรกิจใต้ดิน

สำหรับสาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อให้มีการใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น และกำหนดกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน อาทิ กรณีนายจ้างจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายทำงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน รวมถึงยกเลิกประกาศเขตที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดยให้แรงงานสามารถทำงานและพักที่ใดก็ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันห้ามนายจ้างเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ จนเป็นเหตุให้เกิดการค้ามนุษย์ รวมทั้งการปรับปรุงอัตราโทษให้มีความเหมาะสม อาทิ มาตรา 101 ที่กำหนดโทษแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตจากเดิมจำคุก 5 ปี ปรับ 2 หมื่น-1 แสนบาท โดยตัดโทษจำคุกออก เหลือเพียงโทษปรับ 5 พัน-5 หมื่นบาท เช่นเดียวกับ มาตรา 102 ที่กำหนดให้นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จากโทษปรับเดิมตั้งแต่ 4-8 แสนบาท ต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน เหลือ 1 หมื่น-1 แสนบาทต่อคน และใครทำผิดซ้ำซากจะจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5 หมื่น-2 แสนบาท และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ ในบทเฉพะกาลกำหนดมิให้นำมาตราที่ถูกพักการบังคับใช้มาบังคับใช้จนกว่าจะถึงวันที่ 1 ก.ค.นี้

ขณะที่สาระสำคัญของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ที่มา: TNN24, 26/4/2561

ธุรกิจแพปลา จ.ตรังวิกฤต

หลังจากที่รัฐบาลวางมาตรการล้อมกรอบให้ผู้ประกอบการปฎิบัติตามนโยบายป้องกันการค้ามนุษย์ อย่างเข้มงวดและเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นระยะทางกำหนดจากเดิม 3,500 เมตร ออกไปเป็น 4,500 เมตร ซึ่งเป็นทะเลน้ำลึกปริมาณสัตว์น้ำมีจำนวนลดลง หรือแม้กระทั้งเรื่องของเวลา จากเดิมที่ออกได้ทั้งปี แต่มากำหนดให้เหลือเพียง 205 วัน

อีกทั้งยังมีการจัดระเบียบวางกฎเกณฑ์เข้มงวดกับบรรดาลูกเรือ ทำให้ผู้ประกอบการประมงกันตัง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักอีกทั้งการกำหนดระยะเวลาให้ออกได้ปีละ 205 วัน แต่ในรอบปีหนึ่งทำได้เพียง 100 กว่าวัน ที่แย่ยิ่งกว่านั้น ลูกเรือประมงที่ออกเรือจะต้องทำประวัติอย่างละเอียด พร้อมทั้งถ่ายรูปทุกคน หากลูกเรือป่วยต้องนำเข้าฝั่ง การจะหาลูกเรือมาทดแทนก็ไม่ได้ต้องเป็นคนเดิม เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหา

นายสุบิน เกตุรัตน์ อายุ 51 ปี เจ้าของเรือธงมานะ1กล่าวว่าสาเหตุที่เจ้าของเรือประมงพาณิชย์หลายลำประกาศขาย เหตุเพราะความยุ่งยากในการประกอบธุรกิจที่จะต้องมีเอกสารประกอบกิจการมากมายทั้งที่เกี่ยวกับตัวเรือ เกี่ยวกับสัตว์น้ำทะเลที่หาได้ แหล่งที่มาของสัตว์น้ำ

รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว มีข้อกำหนดหลายประการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำให้ดำเนินธุรกิจยาก เพราะหากกระทำความผิดโทษจะหนักมากเช่น ปรับเป็นเงินสูงมาก เช่น5แสนบาท หรือสูงถึง30ล้านส่วนตัวเองแม้จะมีคนประกาศขายเรือ ถ้ากฎหมายเป็นแบบนี้ จะไม่ซื้อเรือใหม่อย่างเด็ดขาด แต่หากมีอยู่แล้วก็จะรักษาไว้ทำงานปกติ แต่จะใช้แรงงานคนไทยในพื้นที่ จะไม่จ้างแรงงานต่างด้าวด้านนายตรังปกรณ์ พรพิมลวัฒน์เจ้าของธุรกิจแพปลารับซื้อสัตว์น้ำ เพื่อส่งขายให้กับห้องเย็น ในฐานะเป็นผู้ประกอบกิจการกล่าวว่ากฎหมายที่ออกมาส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการกิจการประมงเป็นอย่างมาก ตนเองมีแพปลาอยู่ทั้งหมด4แห่งคือ ที่ จ.สงขลา,จ.ปัตตานี,จ.สตูล และ จ.ตรัง ขณะนี้หยุดรับซื้อไปแล้ว3แห่ง คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดตรังเท่านั้น

และคาดว่าจะต้องหยุดกิจการในเร็วๆนี้เช่นกันเพราะจากเดิมที่เคยรับซื้อได้วันละ 30-40 ตันแต่ขณะนี้รับซื้อได้แค่วันละไม่กี่ร้อยกิโลกรัมสาเหตุที่ต้องหยุดรับซื้อ เนื่องจากว่าวัตถุดิบมีน้อยและปัจจุบันการซื้อสัตว์น้ำก็จะยุ่งยากมาก การรับซื้อสัตว์น้ำจากเรือประมง จะต้องมีหลักฐานแสดงถิ่นกำเนิด หรือแหล่งที่ได้มาของสัตว์น้ำชนิดนั้นๆ ด้วย

ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องนำไปแสดงกับห้องเย็นในการขายด้วยแต่ในที่นี้ หากแพปลารับซื้อจากเรือประมงพื้นบ้าน ก็ทำให้ไม่สามารถทำได้ เพราะเรือประมงพื้นบ้านไม่มีหนังสือรับรองแหล่งที่มาของสัตว์น้ำจึงซื้อไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐานไปแสดงต่อห้องเย็นที่เราทำธุรกิจด้วยทำให้พ่อค้าคนกลางอย่างธุรกิจแพปลาอยู่ไม่ได้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงเป็นต้นเหตุทำให้ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมากเกินครึ่ง และเชื่อว่าไม่นานคงเลิกกิจการทั้งหมด

ที่มา: Nation TV, 26/4/2561

“สมานฉันท์แรงงานไทย” จ่อร้อง 10 ข้อ เดิมวันแรงงาน หลังปี 2560 ไม่คืบหน้า

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. และเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. นำตัวแทนแรงงานยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล โดยในปีนี้คณะทำงานจัดงานวันกรรมกรสากล คสรท.และสรส. มีมติร่วมกันว่าจะเดินขบวนจากอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ หรือ วันกรรมกรสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี และได้มีการทำหนังสือขออนุญาตเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในปีนี้จะไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องใหม่ต่อรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการทวงถามข้อเรียกร้องเดิม จำนวน 10 ข้อ ตั้งแต่ปี 2560 เพราะยังไม่มีข้อใดได้รับการแก้ไข อาทิ ค่าจ้างแรงงานเท่ากันทั้งประเทศ ประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค และปัญหาของแรงงานยังมีความรุนแรงมากขึ้น

สำหรับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน 3.ต้องใช้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ จำนวน 3 ฉบับ เกี่ยวกับเสรีภาพและการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน 4.รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้บริการดี มีคุณภาพ อาทิ ยกเลิกการแปรรูปและแปลงภาพทุกรูปแบบ 5.รัฐต้องยกเลิกนโยบายลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว 6.รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม อาทิ ให้โครงสร้างการบริหารสำนักงานประกันสังคมเป็นอิสระ เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน และผู้ชราภาพ และให้มีการจ่ายเงินสมทบในสัดส่วนเท่ากันระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง 7.รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและใช้กฎหมายเคร่งครัดกรณีไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย 8.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิแรงงาน อาทิ ชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเลิกจ้างหรือเลิกกิจการ 9.รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกเข้าถึงสิทธิ์ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน และ10.รัฐต้องจัดสรรงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้บริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา: Spring News, 25/4/2561

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1.5 ล้านราย เมินฝึกอาชีพ

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่าความคืบหน้าการดำเนินมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจนเฟส 2) ว่ามีผู้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการเมื่อเดือน ก.พ.2561 จำนวน 6.4 ล้านราย จากผู้มีบัตร 11.4 ล้านราย ขณะที่ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้มีบัตรฯ ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี และอยู่ในวัยแรงงาน 5.26 ล้านราย

อย่างไรก็ดีในกลุ่มเป้าหมายหลัก มีจำนวนนี้เป็นผู้แจ้งความประสงค์เข้าฝึกอาชีพจำนวน 3.11 ล้านราย จึงเหลือกลุ่มเป้าหมายอีก 2.14 ล้านรายราย เท่ากับว่าผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (เอโอ) ต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้มีบัตรเป็นรายบุคคลในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.2561 ราว 8.5 ล้านราย ล่าสุดเอโอสามารถสัมภาษณ์คนจนที่แจ้งความประสงค์ไปได้เพียง 5 ล้านราย ยังเหลืออีก 3.5 ล้านราย ดังนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2561 จึงเสนอให้ขยายเวลาในการสัมภาษณ์ออกไปอีก 1 เดือนจนถึงเดือน พ.ค.2561

ทั้งนี้พบว่ากลุ่มคนที่สัมภาษณ์ไปแล้ว 5 ล้านรายระบุว่าไม่ต้องการพัฒนาตนเองถึง 30% หรือประมาณ 1.5 ล้านราย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอายุมากแล้วเกินกว่า 60 ปี บางคนไม่พร้อมในการฝึกอาชีพ และติดพื้นที่ไม่อยากเดินทาง ซึ่งนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายให้ทีมเอโอไอไปพูดคุยกับคนในกลุ่มนี้ใหม่ว่าไม่สนใจเข้าร่วมพัฒนาตนเองเพราะอะไร

สำหรับกลุ่มคนที่สัมภาษณ์ไปแล้ว 70% หรือประมาณ 3.5 ล้านคนสนใจพัฒนาตนเองนั้นในจำนวนนี้ 2 ล้านคนสนใจฝึกอาชีพ โดยประมาณ 1 ล้านคนสนใจด้านการเกษตร กระทรวงการคลังส่งข้อมูลไปให้กระทรวงเกษตรในการดำเนินการต่อแล้วและอีก 3 หมื่นคนอยากได้งานประสานไปยังกระทรวงแรงงานแล้ว ส่วนที่เหลือต้องการสินเชื่อ และมาตรการช่วยเหลือด้านอื่น ๆ

ส่วนคนที่แจ้งความประสงค์จะพัฒนาตนเองแต่ต่อมาขอยกเลิกการแสดงความประสงค์ หรือไม่มาสัมภาษณ์ภายในเดือนมี.ค.-เม.ย.2561 หรือเข้ารับการสัมภาษณ์แล้ว แต่ไม่เลือกพัฒนาตนเอง หรือผู้ที่เลือกพัฒนาตนเอง แต่ต่อมาไม่พัฒนาตนเองโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือผู้ที่เข้ารับการอบรมแล้วแต่ไม่ตั้งใจประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังหยุดการจ่ายเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 100 บาทต่อคนต่อเดือน แล้วแต่กรณีตั้งแต่เดือนมิ.ย.2561 เป็นต้นไป หรือในเดือนถัดไปนับแต่ทราบผลการพิจารณาการไม่พัฒนาตนเอง ส่วนเงินที่จ่ายไปแล้วตั้งแต่เดือนมี.ค.-พ.ค.อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเรียกคืนหรือไม่อย่างไร

ที่มา: คมชัดลึก, 25/4/2561

เพลิงไหม้โรงงานผลิตฉนวนกันความร้อน สมุทรปราการ เสียหายหนัก

เวลา 00.30 น. วันที่ 24 เมษายน 2561 พ.ต.อ.ประเสริฐ บัวขาว ผกก.สภ.สำโรงใต้ จ.สมุทรปราการ ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุปราการ ว่ามีเพลิงไหม้โรงงานผลิตฉนวนกันความร้อน ชื่อบริษัท มิค เซล จำกัด เลขที่ 45/14-15 หมู่ 10 ซอยวัดบางฝ้าย ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

จากนั้นจึงแจ้งขอรถดับเพลิงจากเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพรายและเทศบาลใกล้กว่า 30 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูและหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ รุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ

ที่เกิดเหตุเป็นอาคารโกดังขนาดใหญ่ 2 ชั้น เพลิงกำลังโหมลุกไหม้อย่างรุนแรง และมีเสียงระเบิดอยู่เป็นระยะอยู่ภายใน ประกอบกับในโกดังโรงงานเก็บฉนวนกันความร้อนที่มีโฟมเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีและมีกระแสลมกรรโชกแรง ทำให้เพลิงไหม้ขยายวงกว้างไปติดกับบ้านพักคนงานและลานจอดรถที่อยู่ตรงข้ามโรงงานทำให้มีรถยนต์และจักรยานยนต์เสียหายกว่า 20 คัน

ความร้อนทำให้รถบรรทุกของโรงงานที่บรรทุกฉนวนกันความร้อนที่จอดอยู่หลายคันอยู่ห่างไปกว่า 100 เมตร มีเพลิงลุกไหม้ เจ้าหน้าที่ต้องแบ่งกำลังมาฉีดน้ำเลี้ยงที่รถบรรทุกฉนวนกันความร้อน กว่าเจ้าหน้าที่จะควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัดต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง และต้องฉีดน้ำเลี้ยงจนถึงเช้า และยังมีผู้สำลักควัน 4 ราย

จากการสอบถามพนักงานโรงงาน เล่าว่าตนเองทำงานอยู่ที่โรง 1 ซึ่งอยู่ใกล้กัน ก็ได้รับคำสั่งว่าให้นำรถที่จอดอยู่ในลานจอดรถออกมา ขณะนั้นเห็นไฟลุกไหม้อยู่ช่วงตรงกลางโกดัง หลังจากนั้นไม่นานเพลิงก็ลุกไหม้เต็มพื้นที่โรงงาน

เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนสาเหตุต้องรอเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานลงเก็บหลักฐานหาสาเหตุของเพลิงในครั้งนี้ต่อไป เบื้องต้นประเมินว่ามีความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 24/4/2561

สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ปี 2561 (ม.ค. - มี.ค. 2561) กองทุนประกันสังคม สร้างผลตอบแทนได้ถึง 13,389 ล้านบาท

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผย ผลการดำเนินงานการบริหารการลงทุนประกันสังคม กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ช่วงระหว่างเดือนมกราคม มีนาคม 2561 ว่า สถานะเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ 31 มีนาคม 2561 มีเงินลงทุนจำนวน 1.79 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยเงินสมทบที่จัดเก็บจากผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลจำนวน 1.25 ล้านล้านบาท และดอกผลจากการลงทุนสะสม 540,000 ล้านบาท โดยเงินลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น หลักทรัพย์ที่มีความมั่งคงสูงร้อยละ 79 และหลักทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21 ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ที่กำหนดกรอบการลงทุนในหลักทรัพย์เสี่ยงไม่เกินร้อยละ 40 และอยู่ภายใต้ค่าความเสี่ยงที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 2561 ตั้งแต่มกราคม มีนาคม 2561 สำนักงานประกันสังคมสามารถสร้างผลตอบแทนกองทุนประกันสังคมได้ จำนวน 13,389 ล้านบาท

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม ได้มีการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ อาทิ จำนวนการใช้บริการของผู้ประกันตน ทั้ง 7 กรณี อัตราการใช้บริการทางการแพทย์ จำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จำนวนสถานประกอบการ รวมทั้งข้อมูล การลงทุนผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคมขอให้ผู้ประกันตนมีความเชื่อมั่นในความมุ่งมั่นในการบริหารกองทุนและสร้างผลตอบแทนสะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กองทุนประกันสังคมสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการดูแล และพัฒนาสิทธิประโยชน์กลับคืนสู่ผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

ที่มา: Nation TV, 23/4/2561

รัฐเปิด 80 ศูนย์ทั่วประเทศรับขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าเรื่องการจัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงตราวีซ่า และการอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา โดยหลังจากเสร็จสิ้นการยื่นเรื่องขอจัดทำและปรับปรุงทะเบียนประวัติกับกรมการจัดหางาน ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ หรือ OSS สำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.61 และแรงงานต่างด้าวยังมีเวลาดำเนินการทุกขั้นตอนให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 30 มิ.ย.61 นั้น

ล่าสุด กระทรวงแรงงานจะเปิดศูนย์ให้บริการใน กทม. 4 แห่ง และในต่างจังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง รวมเป็น 80 แห่ง ดำเนินการระหว่างวันที่ 23 เม.ย. - 30 มิ.ย.61 เพื่อให้แรงงานต่างด้าวทั้งกลุ่มที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินการไม่ครบทุกขั้นตอนและกลุ่มที่ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ และยื่นเอกสารผ่านศูนย์ OSS หรือ สำนักงานจัดหางาน

รวมทั้งกลุ่มที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ คือ ผู้ที่มีบัตรสีชมพูที่ทำงานได้ถึง 30 มิ.ย. กับกลุ่มที่ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ และศูนย์ OSS/สำนักงานจัดหางาน ไปปรับปรุงและจัดทำทะเบียนประวัติ จัดทำบัตรประจำตัวและใบอนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ ตรวจลงตราวีซ่า หรือพิสูจน์สัญชาติ

ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าว คำนึงถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามตามขั้นตอนที่ภาครัฐกำหนด โดยเร่งไปติดต่อและดำเนินการ ณ จุดที่ประกาศไว้ เช่นเดียวกับที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมาแล้วในครั้งก่อน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและช่วยให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลในการดูแลคุณภาพชีวิตของแรงงานทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งกำชับให้เร่งไปดำเนินการตั้งแต่เนิ่น ๆ

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.-31 มี.ค.61 ที่ผ่านมา มีงานต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายไปลงทะเบียนทั้งหมด 1,320, 035 คน จากทั้งหมด 1,379,225 คน หรือคิดเป็น 96% แบ่งเป็นผู้ที่ดำเนินการทุกขั้นตอนแล้วและอยู่ในไทยได้จนถึงปี 2563 ราว 960,000 คน และยังเหลืออีกประมาณ 470,000 คน ที่ต้องไปดำเนินการในช่วง 2 เดือนนี้

ที่มา: moneychannel.co.th, 23/4/25614

ต.ค.2560-มี.ค.2561 พบกิจการ 1,156 แห่ง จ่ายโบนัสให้พนักงาน 61,084 คน รวมเป็นเงิน 363 ล้านบาท

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561) กสร.ได้เข้าไปส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดสวัสดิการเพื่อแรงงานแล้ว 7,776 แห่ง

ทั้งนี้จากการเข้าไปส่งเสริมพบว่าสวัสดิการเป็นเงินที่แรงงานได้ประโยชน์สูงสุดคือ 'เงินโบนัสพนักงาน' ซึ่งมีสถานประกอบกิจการจัดโบนัสเป็นสวัสดิการ 1,156 แห่ง ลูกจ้างได้รับประโยชน์ 61,084 คน คิดเป็นเงิน 363 ล้านบาท รองลงมาคือ จัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้พนักงาน 63 แห่ง ลูกจ้าง 10,046 คน เป็นเงิน 268 ล้านบาท และจัดชุดทำงานให้พนักงาน 3,330 แห่ง ลูกจ้าง 174,561 คน เป็นเงิน 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ ได้แก่ จ่ายเงินค่าอาหาร จัดที่พัก เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล จัดเงินกู้ยืม เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ จัดอาหารให้ฟรี และจัดเลี้ยงสรรค์ประจำปี ตามลำดับ

นายทศพล กล่าวต่อว่าการจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมายเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดเพิ่มเติมขึ้น แสดงให้เห็นว่านายจ้างหรือสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ให้ความความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของแรงงาน และครอบครัว เพื่อช่วยให้พวกเขามีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภาพแรงงานและความสำเร็จในการประกอบการของนายจ้างอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 23/4/2561


Posted: 28 Apr 2018 10:44 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

กันธิชา ฉิมศิริ นักธุรกิจ นักแข่งรถ และอดีตมิสซิสยูนิเวิร์สปี 2016 กับบทบาทใหม่ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังคนรุ่นใหม่ หวังผลักดันเศรษฐกิจ สร้างสวรรค์นักช้อปดึงรายได้เข้าประเทศ ไม่เพิ่มความขัดแย้ง พร้อมร่วมงานกับทุกรัฐบาล

สัญญาณการเลือกตั้งที่ (น่า) จะเกิดขึ้นในปีหน้า ทำให้กลุ่มการเมืองหลายกลุ่มแสดงเจตจำนงต้องการก่อตั้งพรรคตามอุดมการณ์ความคิดความเชื่อของตน หนึ่งในพรรคการเมืองใหม่ที่เปิดตัวคือพรรคพลังคนรุ่นใหม่ไทยนำโดยกันธิชา ฉิมศิริ อดีตมิสซิสยูนิเวิร์ส 2016 นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง และยังเป็นนักแข่งรถ วันนี้เธอยังรับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคด้วยตนเอง

‘ประชาไท’ มีโอกาสพูดคุยกับ ‘ยุ้ย’ ชื่อเล่นที่กันธิชาใช้เรียกแทนตัวเอง ถึงความเชื่อ ความเป็นมา และแนวคิดที่เธออยากผลักดันให้เกิดขึ้น หากพรรคของเธอมีโอกาสร่วมบริหารประเทศ

1

“ในเรื่องชีวิต ยุ้ยก็ประสบความสำเร็จแล้ว ตอนนี้ก็อิ่มตัว อยากกลับมาเมืองไทย กลับมาพัฒนาเมืองไทย แล้วยุ้ยก็พอจะรู้จักกับเพื่อน มีหลายคนที่จะเข้าร่วมทำงานกับพรรค จึงตัดสินใจก่อตั้งพรรค พรรคที่ทุกคนสามารถออกความคิดเห็นได้”

10 วัน คือจำนวนที่กันธิชาใช้เพื่อไตร่ตรองว่าเธอจะลงเล่นการเมืองหรือไม่ เธอเล่าว่า เพื่อนโทรมาชวนขณะที่เธอกำลังเดินทางไปแข่งรถที่ต่างประเทศ ลังเลในช่วงแรก พอเธอกลับถึงไทยและเพื่อนโทรมาสอบถามอีกครั้ง เธอก็ตัดสินใจก่อตั้งพรรค

กันธิชาเลือกชื่อพรรคพลังคนรุ่นใหม่ไทยเพราะเธอ เพื่อสะท้อนความเป็นไทยแลนด์ 4.0 และเข้ากันได้กับการรวมพลังของคนรุ่นใหม่เช่นพรรคเธอ เธอคิดว่านี่เป็นเวลาที่อายุมากแล้วต้องส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่อย่างเธอแล้ว สมาชิกพรรคขณะนี้เธอวางตัวสมาชิกสำหรับลงเลือกตั้งแบบเขตไว้ครบแล้ว 350 คน และยังมีสมาชิกสำหรับบัญชีรายชื่ออีก 28 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเจ้าของธุรกิจ

2

“จริงๆ แล้ว ยุ้ยก็อยู่เมืองไทยมานาน ยุ้ยคิดว่าคนไทยเป็นคนเก่ง มีความสามารถ แต่ตอนนี้ขาดความสามัคคีและขาดความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจจากต่างประเทศ เพราะเกิดการประท้วงชุมนุมในช่วงที่ผ่านๆ มา ถามว่าผิดหรือไม่ที่จะประท้วง ทุกคนมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่ยุ้ยมองว่าการที่เราวางตัวให้อยู่ในภาวะปกติจะส่งผลดีต่อส่วนร่วมมากที่สุด หนึ่งคือเรื่องความเชื่อมั่นของต่างประเทศ สองคือใครจะไปจะมาก็รู้สึกปลอดภัย

“ยุ้ยมองว่าตอนนี้ประเทศไทยขาดความเชื่อมั่น ยุ้ยดีใจที่จะเกิดการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้า เพราะประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นเยอะมาก เงินลงทุนจากต่างประเทศตอนนี้ชะลอตัวต่อเพราะขาดความเชื่อมั่น ลำพังเงินของคนไทยอย่างเดียวไม่พอ ถ้ามีเงินลงทุนจากต่างประเทศด้วยก็จะยิ่งโตได้เร็วขึ้น รายได้ประชากรของประเทศไทยตอนนี้เฉลี่ยต่อคนก็ถือว่าต่ำมาก ยุ้ยอยากใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีด้านบริหารธุรกิจ นโยบายของพรรคจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพราะถ้าธุรกิจดีจะส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม ต่อคนรากหญ้า”

กันธิชาเชื่อว่า หากปีหน้ามีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย สถานการณ์ทุกอย่างจะดีขึ้น ความมั่นใจของต่างชาติต่อประเทศไทยจะกลับคืนมา เราถามว่าก่อนหน้านี้เคยไปร่วมประท้วงหรือไม่ เธอตอบว่า

“ไม่เคยไปประท้วง เพราะยุ้ยไม่มีหน้าที่หรือผลประโยชน์อะไรเกี่ยวกับการเมืองเลย แล้วยุ้ยคิดว่าต่อให้มีก็คงไม่ไป เพราะเราควรวางตัวที่ส่งผลดีกับประเทศดีกว่า บางครั้งสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราไม่รู้มันก่อผลเสียให้แก่ประเทศ”

3

กันธิชากล่าวว่า เธอมีผู้ช่วยเลขานุการทำหน้าที่วางแนวทางการหาเสียงไว้แล้ว โดยเธอจะคอยตรวจดูความเรียบร้อยอีกที สิ่งที่เธอเห็นว่าพรรคของเธอต้องยึดถือคือความสามัคคี ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเธอก็คิดว่าการเป็นผู้หญิงของเธอน่าจะช่วยรักษาสถานการณ์ ลดความแรง ความไม่ลดราวาศอกของสมาชิกในพรรคได้

“เงินทุนพรรค ยุ้ยใช้ทุนส่วนตัว ในอนาคตอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการหาเสียง รอให้เวลามาถึงก่อน ยุ้ยจะจัดทีมช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งคงจะเป็นส่วนตัวของใครของมัน เป็นอเมริกัน แชร์ เพราะทุกคนที่จะมาอยู่ตรงจุดนี้ต้องทำการบ้านมาก่อนอยู่แล้ว ซึ่งยุ้ยคิดว่าก็เป็นธรรม”

ในส่วนตัวเธอนั้น ตอนนี้ยังคงออกงานเป็นปกติ ซึ่งเธอก็ใช้โอกาสในจุดนี้สร้างการรับรู้และสร้างพันธมิตรไปด้วยในตัว

4

หากได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แนวทางที่กันธิชาต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นมุ่งเน้นไปที่เรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก

“อย่างแรก ยุ้ยจะเสนอให้มีการเชิญต่างชาติจากรอบโลกมาจัดประชุมโดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ประชาสัมพันธ์ทั่วโลกว่าถ้ามีนักลงทุนที่ไม่ใช่คนไทยมาลงทุนในไทย 150 ล้านขึ้นไป เราจะให้วีซ่า 3 ปี และอาจจะให้ไปถึงครอบครัวด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้น เกิดการกระจายรายได้ ประเทศไทยมีแต่ได้กับได้ รัฐอาจจะตั้งโครงการจิตอาสาขึ้น หมายถึงเวลาที่รัฐจัดกิจกรรม คนที่มาช่วย ยุ้ยจะให้ลงชื่อเพื่อลดภาษีรายได้ร้อยละ 5 เป็นการตอบแทนประชาชนที่มาช่วยงานรัฐบาล

“เรื่องต่อมา ตอนนี้คนไทยชอบไปช้อปปิ้งต่างประเทศ คนมีเงินพยายามจะหาที่ซื้อของที่ถูกที่สุด คนไทยเดินทางไปช้อปปิ้งฮ่องกง ไปซื้อของแบรนด์เนม ทำให้ประเทศไทยขาดรายได้ เราต้องมองแบบที่คนรวยคิดด้วยว่าทำไมถึงบินไป เพราะมันถูกกว่า ไม่มีภาษี ถามว่าเราจะทำอย่างไรให้เขาบินมาเมืองไทยบ้าง ยุ้ยจะจัดให้ห้างใหญ่ๆ เป็นพื้นที่ฟรีภาษี และกระจายไปยังหัวเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ ตามภาคต่างๆ เพื่อดึงรายได้จากนักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าคนไทยก็จะขายของได้มากขึ้น เงินทองจะหมุนเวียนในประเทศ”

นอกจากนี้ กันธิชายังจะสนับสนุนให้สาวประเภทสองสามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อได้ รวมถึงการจัดกิจกรรมเกย์ เฟสติวัล เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศ รวมถึงการออกกฎเกณฑ์ให้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ต้องมีพื้นที่สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ เธออเชื่อว่าแนวทางที่เธอคิดนี้จะสามารถช่วยเหลือคนได้ทุกเพศ ทุกวัย

5

เมื่อถามถึงความขัดแย้งทางการเมืองกว่าทศวรรษ กันธิชาแสดงทัศนะว่า ยังมีทางออก แต่ต้องอาศัยการประนีประนอม การเจรจาพูดคุยเพื่อไม่ให้สถานการณเลวร้ายไปกว่านี้

ในส่วนที่ว่าหากได้นายกรัฐมนตรีคนนอก เธอจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่

“พรรคยุ้ยเป็นพรรคเล็กๆ จุดประสงค์ของยุ้ยไม่ได้ต่อต้านว่าใครจะมาเป็นผู้นำ ยุ้ยถือว่าหลังจากเลือกตั้งแล้ว คุณคือคนที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น ยุ้ยไม่ได้เข้ามาเพื่อขัดแย้ง แต่ยุ้ยมีจุดประสงค์เดียวคือการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้า ยุ้ยต้องร่วมงานและสนับสนุนผู้ที่ขึ้นมาเป็นนายกฯ ได้ ถึงวินาทีนั้นแล้วคนคนนั้นคือคนที่เหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ใช่คนที่เหมาะสมเขาจะยืนอยู่จุดนั้นไม่ได้” เธอกล่าวตอบ


Posted: 28 Apr 2018 11:55 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

กิจกรรม 'รวมพลคนเชียงใหม่ทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ" คนเชียงใหม่หลายพันคนร่วมประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อส่งสัญญาณไปยังนายกรัฐมนตรีให้คืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพที่ถูกนำไปสร้างเป็นบ้านพักตุลาการ

29 เม.ย. 2561 สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่าเมื่อเวลา 08.00 น. ที่บริเวณลานเอนกประสงค์ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ พร้อมด้วยเครือข่ายองค์กรจำนวน 44 เครือข่าย และประชาชนชาวเชียงใหม่จำนวนหลายพันคน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม "รวมพลคนเชียงใหม่ทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ" เพื่อร่วมกันอ่านแถลงการณ์ประกาศเจตนารมณ์เรียกร้องให้มีการดำเนินการรื้อถอนบ้านพักตุลาการออกจากดอยสุเทพ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในพื้นที่คอยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เพื่อให้การชุมนุมในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้สัญจรใช้รถใช้ถนน และดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมในครั้งนี้อีกด้วย


แถลงการณ์เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ฉบับที่ 1 เรื่อง ต้องคืนผืนป่าดอยสุเทพเท่านั้น 29 เมษายน 2561

ดอยสุเทพ เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ชัยมงคลสำคัญของเมืองเชียงใหม่ล้านนา ต่อเนื่องมาถึง 722 ปี เป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยพญามังรายมหาราชเจ้า กษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ ทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งขององค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง มีพิธีกรรมสักการบูชา สืบเนื่องต่อกันมา

ดังนั้นพื้นที่ดอยสุเทพจึงเป็นสมบัติอันสูงค่าร่วมกันของชาวเมืองขนบจารีตที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี จากบรรพชน คนเชียงใหม่รุ่นสู่รุ่น จากปู่ทวดย่ายาย สู่ลูกหลานเหลน ความผูกพันดังกล่าวจึงลึกซึ้ง มีศักดิ์และสิทธิ์เหนือกว่ากฎหมายใด ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง

ประชาชนคนเชียงใหม่ จึงผูกพันกับดอยสุเทพ.. ตื่นมาก็เห็น กลับถึงบ้านก็เห็น เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ชาวเชียงใหม่ ตลอดถึงชาวไทยทั้งปวง จึงมีสิทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ที่จะปกปัก ดูแลรักษา มิให้ดอยสุเทพ รวมถึงอาณาเขตป่าที่ประกอบขึ้นเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพวกเรา ถูกกระทำย่ำยี บีฑา ละเมิดทำลาย

โครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการ “หมู่บ้านป่าแหว่ง” แม้จะอ้างว่าก่อสร้างในพื้นที่ราชพัสดุ แต่แท้จริงแล้วก็คือเขตป่าดอยสุเทพที่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียว มีการถางทำลาย เปิดหน้าดิน ก่อความอัปลักษณ์ อุจาดนัยน์ตา ก่อให้เกิดอัปมงคลใหญ่ ระดับ “ขึดหลวง” ล่วงละเมิดสิทธิ์ของประชาชนชาวเมือง ละเมิดระบบนิเวศวัฒนธรรม อันเป็นสมบัติอันล้ำค่า ไม่มีแม้แต่ไต่ถาม ขอความเห็นใดๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ จนใกล้แล้วเสร็จ

เจตจำนงเรา ต้องการสิ่งเดียวเท่านั้น คือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอุจาดอัปมงคล และคืนพื้นที่ป่าให้ป่ากลับเป็นป่า ให้ดอยยังเป็นดอย!

เราขอเรียกร้อง ให้รัฐบาลต้องตัดสินใจเร่งแก้ไขโดยด่วนทันที ให้มีการประกาศคำมั่นสัญญาจะคืนผืนป่าดอยสุเทพกลับคืน

เครือข่ายประชาชนขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ และพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าในที่นี้ ขอประกาศยืนยันเจตนาอันแน่วแน่ ที่จะดูแลรักษาป้องกันมิให้ผู้ใดมาทำลายดอยสุเทพ ที่อันเป็นมิ่งขวัญและหลักชัยทางจิตวิญญาณของชาวเมืองสืบกันมาแต่ครั้งโบราณกาล ให้ยืนยงสืบไป เพราะนี่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเรา

เราขอประกาศว่า :-
พวกเราจะยืนหยัดสู้ เพื่อรักษาเจตนานี้ โดยไม่ท้อถอย
เราต้องการป่าดอยสุเทพที่สมบูรณ์
ไม่ต้องการป่าแหว่ง
คืนป่าให้ดอยสุเทพ
คืนป่าให้กับประชาชน
เอาป่าดอยสุเทพคืนมา เอาป่าแหว่งคืนไป!

0000

ทั้งนี้ภายหลังการชุมนุมกันที่บริเวณลานเอนกประสงค์ประตูท่าแพแล้ว ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนมายังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พร้อมด้วยการตีกลองสะบัดชัยและชูป้ายข้อความเรียกร้อง โดยพร้อมใจกันผูกริบบิ้นและถือผ้าสีเขียวผืนใหญ่แสดงสัญลักษณ์เรียกร้องขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ เพื่อร่วมกันกราบสักการะ และกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ที่จะปกปักรักษาดอยสุเทพให้มีสภาพสมบูรณ์อยู่เป็นสง่าราศรีคู่เมืองเชียงใหม่ตลอดไป โดยตั้งแต่ช่วงเช้าพบว่าบรรยากาศโดยภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากนั้นจึงแยกย้ายการชุมนุมด้วยความสงบเรียบร้อย

สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังกันในการประกาศเจตนารมณ์ ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพซึ่งเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพจัดขึ้น เพื่อเน้นย้ำจุดยืนในการเรียกร้องให้มีการยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณเชิงดอยสุเทพ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณ ไปถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาตัดสินใจ แก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวนี้ ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนชาวเชียงใหม่ ที่ต้องการให้รื้อถอนบ้านพักแล้วฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาดังเดิม

บรรยากาศการชุมนุมจากโซเชียลมีเดีย


Posted: 29 Apr 2018 12:20 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

จาตุรนต์ ฉายแสง

อนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรขึ้นกับว่าประชาชนจะสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของคสช.หรือไม่? สนับสนุนนายกฯ คนนอกหรือไม่?

ผมได้แสดงความเห็นไปแล้วว่าประเด็นนี้ได้พัฒนามาจนเป็นประเด็นที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น คือ จะสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งหรือไม่?

ผมเชื่อว่า จากวันนี้ไปถึงวันเลือกตั้งที่จะมีขึ้น (เมื่อไหร่ยังไม่ทราบ) เรื่องสำคัญ 2 เรื่องแรกที่ประชาชนจะถามจากพรรคการเมือง คือ

1.จะมีนโยบายในการแก้ปัญหาของประเทศอย่างไร? จะทำให้ประชาชนพ้นจากความเดือดร้อนได้อย่างไร?

2.จะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หากพล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นมา พรรคของท่านจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่

ในความเห็นของผม สำหรับคำถามที่ 2 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยควรจะประกาศให้ชัดเจนว่าจะหยุดวงจรการสืบทอดอำนาจเผด็จการของคสช. จะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ และหากพลเอกประยุทธ์ได้เป็นนายกฯ ก็จะไม่เข้าร่วมรัฐบาลนั้น

เหตุใดไม่ควรสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ

คำตอบต่อคำถามนี้ ไม่ซับซ้อนอะไรเลย ที่ไม่ควรสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งอีก ก็เพราะพลเอกประยุทธ์ได้ทำสิ่งต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้

1.เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดสร้างเงื่อนไขให้เกิดการรัฐประหาร

2.เป็นผู้นำในการทำรัฐประหาร ทำให้ประเทศถอยหลังและเกิดความเสียหายใหญ่หลวงตามมาโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ

3.เลื่อนการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้ไม่เป็นที่เชื่อถือในสายตาชาวโลกและชาวไทย

4.ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นการวางระบบสืบทอดอำนาจเผด็จการยาวนาน

5.ไม่ปฏิรูปใดๆ แต่กลับวางยุทธศาสตร์และแผนปฏิรูปที่ล้าหลัง และให้มีผลไปอีกยาวนาน

6.ทำลายพรรคการเมืองและระบบพรรคการเมืองเพียงเพื่อประโยชน์ในการสืบทอดอำนาจของตนเอง

7.ใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย หวังผลในการปูทางไปสู่การเป็นรัฐบาล โดยไม่คำนึงว่า จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองหรือไม่

8.จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของรัฐบาลได้

9.ทำลายระบบในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น จนอ่อนแอไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีอิสระ ไม่เป็นกลางและไม่เป็นที่เชื่อถือ ทำงานอย่างลูบหน้าปะจมูก

10.จากหลายข้อข้างต้นและการขาดความรู้ความสามารถในการบริหารประเทศ ทำให้เศรษฐกิจเสียหาย ประชาชนทำมาค้าขายไม่ได้ เดือดร้อนยากจนไปทั่ว และอาจเสียหายไปอีกยาวนาน

หากปล่อยให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งและสืบทอดอำนาจต่อไปยาวนาน ปัญหาต่างๆ ที่พลเอกประยุทธ์กับพวกได้สร้างไว้ ย่อมไม่ได้รับการแก้ไขและจะยิ่งเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมากมายมหาศาล


Posted: 29 Apr 2018 12:34 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

นุชประภา โมกข์ศาสตร์

หลายปีที่ผ่านมามีการพูดถึงการพัฒนาไทยให้เป็น "รัฐสวัสดิการ" กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเวทีเสวนาทางวิชาการและเวทีการเมือง โดยหลายฝ่ายเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า "รัฐสวัสดิการ" คือการสร้างทางเลือกที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีสิทธิในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมมากขึ้นเหมือนกับหลักประกันสังคมของประเทศสวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ และฟินแลนด์ที่ประสบความสำเร็จในการให้รัฐเป็นผู้จัดสรรสวัสดิการเพื่อดูแลประชาชน รัฐสวัสดิการจึงกลายเป็น "หมุดหมาย" ที่หลายประเทศพยายามผลักดันรวมถึงไทยเอง อย่างไรก็ตามการจะก้าวขึ้นไปสู่ประเทศที่เป็น "รัฐสวัสดิการ" ได้นั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้นในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอยากลองทบทวนถึงบริบทของประเทศที่ประสบความเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการ รวมถึงแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆ ผ่านระบบเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เพื่อเสนอให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการไปสู่รัฐสวัสดิการของไทย โดยสิ่งแรกที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาไปสู่สังคมที่เท่าเทียมกันคือการเข้าใจความหมายของ "รัฐสวัสดิการ" ผ่านการศึกษาบริบทการเติบโตของรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ เพราะประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการต่างมีการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจมาอย่างสม่ำเสมอ และยังคำนึงถึงการวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้าง "นวัตกรรม" ที่จะนำพาประเทศให้เดินไปถึงจุดหมายในการเป็นรัฐสวัสดิการที่สามารถให้สวัสดิการในด้านต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างและสถาบันทางการเมือง การปฏิรูประบบภาษี การเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ การมีภาครัฐขนาดใหญ่ การส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่ การเป็นประชาธิปไตย ฯ ลฯ ดังนั้นการถกเถียงถึงการไปสู่รัฐสวัสดิการของไทยเองก็จำเป็นต้องพิจารณาภาพรวมของประเทศต่างๆ ที่เคยผ่านบทเรียนในการคิดค้นนวัตกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจจนประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบรัฐสวัสดิการเช่นกัน

ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนขอหยิบยกประเทศสวีเดนมาเป็นกรณีตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการ โดยจะพิจารณาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ บริบททางการเมือง ระบบเศรษฐกิจ แนวคิดทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกคร้ังที่สองที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันภายในประเทศเพื่อเคลื่อนย้ายระบบเศรษฐกิจและสังคมเข้าสู่ระบบรัฐสวัสดิการก่อนจะนำมาวิเคราะห์ระบบสวัสดิการของไทยเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและข้อจำกัดต่างๆ ในการไปสู่รัฐสวัสดิการของสวีเดนอันจะช่วยให้เข้าใจบริบททางเศรษฐกิจการเมือง วัฒนธรรมการเมือง พรรคการเมือง ตลอดจนนวัตกรรมทางการเมืองจำนวนมากที่รัฐบาลสวีเดนนำมาสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสำเร็จของสวีเดนผ่านมุมมองเชิงทฤษฎีเพียงอย่างเดียวนั่นการเป็นประชาธิปไตย หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยปราศจากการศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และบริบทของการให้รัฐเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายการจ้างงานเต็มที่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนารัฐสวัสดิการในสวีเดนเช่นเดียวกัน

สำหรับการศึกษาระบบรัฐสวัสดิการของสวีเดนผ่านมิติทางประวัติศาสตร์พบว่าแนวคิดในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันในสวีเดนมีขึ้นก่อนที่รัฐสวัสดิการจะถือกำเนิดขึ้นหลายศตวรรษ กล่าวคือสวีเดนมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ไล่เรียงมาต้ังแต่วิวัฒนาการและคุณลักษณะที่เฉพาะของรัฐสวีเดนหลัง ค.ศ. 1668 ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของระบบฟิวดัล รวมถึงการสร้างสมดุลทางอำนาจระหว่างชนชั้นต่างๆ ในสังคมนำโดยชนชั้นชาวนาที่แยกตัวออกมาจากการกำกับดูแลของรัฐศักดินา อันเป็นผลของการปฏิรูปที่ดินและการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวนาที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ทำให้ชาวนาสามารถเลื่อนลำดับชั้นทางสังคมจนสามารถขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในอดีตชนชั้นชาวนาจึงเป็นกลุ่มที่เข้าไปมีอิทธิพลในการบริหารจัดการระบบภาษีของสวีเดน ความเข้มแข็งของชาวนากลายเป็นรากฐานที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ของสวีเดนไม่ว่าจะเป็นการถือกำเนิดของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบำนาญ ระบบประกันสังคม ฯ ลฯ รวมถึงการพัฒนารัฐสวัสดิการในสวีเดนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

นอกจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ แล้วพัฒนาการของรัฐสวัสดิการในสวีเดนต้องใช้นวัตกรรมทางการเมืองจำนวนมากเข้ามาเกียวข้อง เช่น การจัดตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตย (ในฐานะตัวแทนของชนชั้นแรงงาน) ใน ค.ศ. 1889 ตามมาด้วยการจัดตั้งองค์กรแรงงาน ค.ศ. 1898 การประกาศใช้นโยบาย Cow Trade และนโยบาย "บ้านมวลชน" (folkhemmet) ในทศวรรษ 1930 ของรัฐบาลที่นำมาสู่การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทุนกับแรงงานที่เรียกว่านโยบายข้อตกลงร่วมกัน (Swedish collective bargaining agreement) เซ็นต์ลงนามใน ค.ศ. 1938 นโยบายนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ "การประนีประนอมครั้งประวัติศาสตร์" (historic compromise) ของแรงงานกับทุน ซึ่งบริบทดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นในสังคมอื่นๆ รวมถึงไทยเอง ข้อตกลงร่วมกันมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของสวีเดนที่กำลังถดถอยอันเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Depression) ในทศวรรษ 1930

ขณะที่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นบริบทที่รัฐสวัสดิการเติบโตและลงหลักปักฐานในสวีเดนอันเป็นผลมาจากนวัตกรรมทางการเมืองและแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนหน้านี้ รัฐสวัสดิการกลายเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจสังคม (socio-economic institution) ที่เปลี่ยนสวีเดนจากประเทศที่เคยมีลักษณะของรัฐทุนนิยมผูกขาดมาสู่ประเทศที่นำสถาบันทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงเพื่อสร้างดุลยภาพในการกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และรักษาสมดุลทางชนชั้นผ่านการสะสมทุนและการกระจายทุนโดยสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาพลังการผลิตและการแข่งขันในระดับนานาชาติ รัฐสวัสดิการของสวีเดนจึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งในการสร้าง "ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ" (economic democracy) โดยมุ่งเน้นไปที่การประสาน "ประสิทธิภาพ" และ "ความเสมอภาค" ผ่านระบบสวัสดิการและนโยบายสาธารณะต่างๆ อย่างได้สัดส่วนกันเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองรัฐบาลภายใต้พรรคสังคมประชาธิปไตยของสวีเดนใช้แนวคิดที่เรียกว่า "ระบบเศรษฐกิจที่กำกับดูแลโดยรัฐ" (Swedish embedded liberalism) หรือรัฐสวัสดิการแบบคลาสสิคเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจด้วยการประสานนโยบายการจ้างงานเต็มที่และระบบสวัสดิการแบบ "เบเวอร์ริดจ์" หรือการจัดสวัสดิการแบบครอบคลุมถ้วนหน้า โดยต่อมาเรียกว่าระบบสวัสดิการแบบไตรภาคี (Tripatism) ที่รัฐ ทุนและแรงงานมีส่วนร่วมในการกระตุ้นพลังการผลิตและลดทอนผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกัน ความสำเร็จของรัฐสวัสดิการในสวีเดนจึงไม่ได้เกิดจากระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวแต่ยังเกิดจากรากฐานทางวัฒนธรรมการเมืองแบบข้อตกลง (cultural of consensus) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การบริหารจัดการภาษี การประสานความร่วมมือบางอย่างของรัฐ กลุ่มธุรกิจและสหภาพแรงงานตามหลักภราดรภาพ (solidarity) ความสำเร็จของระบบสังคมประชาธิปไตย การอยู่ในบริบทที่รัฐแทรกแซงระบบเศรษฐกิจตามนโยบายเคนเซียน การเติบโตของเศรษฐกิจ (the rise of Swedish economy) รวมถึงการมีรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของชนชั้นแรงงานที่สามารถครองอำนาจยาวนานติดต่อกันเป็นเวลา 44 ปี ฯ ลฯ โดยในช่วงที่รัฐสวัสดิการเติบโตรัฐยังคงมีบทบาทในการแทรกแซงและแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การนำแผนเศรษฐกิจเรด-แมดเนอร์ (Rehn-Meider economic model) มาแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากนโยบายการจ้างงานเต็มที่ ซึ่ง Rehn และ Meidner เรียกนโยบายนี้ว่านโยบายส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่ที่ไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ (noninflationary full employment proposal) อันนำมาสู่นโยบาย "งานเท่ากันได้ค่าจ้างเท่ากัน" (equal pay for equal work) พร้อมๆ ไปกับนโยบายกระตุ้นตลาดแรงงาน (Active labor market policy) ของรัฐ แผนเศรษฐกิจแบบเรด-แมดเนอร์และนโยบายกระตุ้นตลาดแรงงานจึงกลายเป็น "นวัตกรรม" ที่ใช้รักษาระบบรัฐสวัสดิการในสวีเดนระหว่าง ค.ศ. 1950-1980 ขณะที่การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (progressive tax system) เป็น "ข้อตกลง" ของรัฐ สหภาพแรงงานและสมาพันธ์นายจ้างเพื่อให้รัฐนำ "ส่วนเกิน" จากพัฒนาเศรษฐกิจมาจัดสรรปันส่วนไปสู่ชนชั้นแรงงานและประชาชนในสวีเดนผ่านระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันการว่างงาน เงินช่วยเหลือสำหรับเด็กและครอบครัว ระบบบำนาญ ฯ ลฯ ระบบภาษีของสวีเดนจึงกลายเป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการเช่นเดียวกัน

การใช้แผนเศรษฐกิจเรน-แมดเนอร์ ความร่วมมือของรัฐ ทุนและแรงงาน โครงสร้างทางภาษี การเป็นประชาธิปไตย และนวัตกรรมทางเศรษฐกิจสังคมทำให้บริบทในช่วงหลังสงครามโลกคร้ังที่สองเป็นบริบทที่มีความลื่นไหลต่อการเป็นรัฐสวัสดิการของสวีเดน และด้วยความลื่นไหลของบริบทเหล่านี้เองที่ทำให้รัฐสวัสดิการดำเนินไปอย่างราบรื่นติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 3 ทศวรรษ

ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐสวัสดิการของสวีเดนคือวิวัฒนาการของรัฐในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องอาศัย "นวัตกรรม" จำนวนมากในการขับเคลื่อน สวีเดนจึงไม่ได้มีจุดต้ังต้นที่การเป็นรัฐสวัสดิการแต่เริ่มจากการค่อยๆ ขยับขยายระบบสวัสดิการที่มีอยู่ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มต่างๆ จนเติบโตเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่

การศึกษารัฐสวัสดิการในสวีเดนทำให้เราได้เห็นบริบทที่ครอบคลุมหลากหลายมิติทั้งมิติในเชิงประวัติศาสตร์ มิติในเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองรวมถึงมิติของความพยายามในการรักษารัฐสวัสดิการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านกลไกต่างๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยช่วยให้ประชาชนยอมรับระบบภาษี การแทรกแซงระบบเศรษฐกิจและการสร้างภาครัฐขนาดใหญ่ รวมถึงยอมรับการพัฒนารัฐสวัสดิการ ปัจจุบันรัฐสวัสดิการในสวีเดนจึงเป็นสถาบันที่ช่วยปกป้องพลเมืองจากผลกระทบของระบบทุนนิยมอย่างราบด้านมากที่สุดสถาบันหนึ่ง โดยหลักความร่วมมือภายใต้รัฐสวัสดิการไม่ได้กระทบต่อการสะสมทุนหรือประสิทธิภาพของกลไกตลาดมากเกินไปแต่กลับมีส่วนช่วยทำให้กลไกตลาดทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้รัฐสวัสดิการกลายเป็นต้นแบบของสถาบันที่ลดปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการศึกษารัฐสวัสดิการของสวีเดนก็ช่วยทำให้เห็นถึงข้อจำกัดในการผลักดันไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการเช่นกัน กล่าวคือ ในปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้อยู่ในบริบทที่รัฐแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานเหมือนประเทศสวีเดนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไทยอยู่ในบริบทของยุคเสรีนิยมใหม่ซึ่งเป็นบริบทที่รัฐส่งเสริมการกลับขึ้นมามีบทบาทชี้นำของระบบตลาด นอกจากนี้ไทยยังขาดยุทธศาสตร์และนวัตกรรมจำนวนมากที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อนประเทศให้เป็นรัฐสวัสดิการ โดยเฉพาะความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน การมีพรรคการเมืองจากชนชั้นล่าง การมีรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การมีระบบภาษีที่ส่งเสริมการกระจายส่วนเกินทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเป็นประชาธิปไตย ฯ ลฯ

ตัวอย่างของรัฐสวัสดิการในสวีเดนชี้ให้เห็นว่าการผลักดันแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการของไทยมี "ข้อจำกัด" หลายอย่างโดยเฉพาะบริบททางเศรษฐกิจการเมือง และ "นวัตกรรม" ในการขับเคลื่อนที่ต้องอาศัยเวลาในการคิดค้น ทดลอง และประเมินผลอย่างรัดกุม เนื่องจากรัฐสวัสดิการคือนัยยะของการ "ปฏิรูป" ระบบทุนนิยมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มทุน และสหภาพแรงงาน รวมถึงยังต้องมีแนวคิดและบริบททางเศรษฐกิจการเมืองเอื้ออำนวยเพื่อให้รัฐเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจและจัดสรรบริการต่างๆ ไปให้กับประชาชน นอกจากนี้รัฐสวัสดิการยังแสดงถึงนัยยะของการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน (institutional change) ด้วยการเพิ่มระดับการแทรกแซงของรัฐและให้สังคมเข้ามากำกับดูแลระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่ในปัจจุบันข้อจำกัดสำคัญของไทยประกอบไปด้วย ประการแรกไทยยังมีขนาดเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอในการรองรับต้นทุนและค่าใช้จ่ายภาคสาธารณะโดยเฉพาะงบประมาณที่จะนำมาจัดสรรสวัสดิการในด้านต่างๆ ให้กับประชาชนแบบครอบคลุมถ้วนหน้า ประการที่สองไทยยังไม่มีระบบภาษีที่เก็บในอัตราก้าวหน้า รวมถึงการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ประการที่สามไทยไม่มีวัฒนธรรมการเมืองที่เอื้ออำนวยในการให้สังคมเข้ากำกับดูแลเศรษฐกิจ รวมถึงไม่มีรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ประการที่สี่ไทยยังเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมผูกขาดและระบบอำนาจนิยมมีความเข้มแข็ง การกระตุ้นให้นำส่วนเกินมากระจายไปสู่สังคมจึงมักถูกขัดขวางจากกลุ่มทุนและชนชั้นปกครอง นอกจากนี้การผ่อนปรนระหว่างทุนกับแรงงานเกิดขึ้นได้ยากในสังคมไทยเพราะสหภาพแรงงานไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายทางการเมือง ปัจจุบันลักษณะของโครงสร้างสังคมไทยจึงเอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (efficiency) แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเสมอภาค (equality)ในสังคมเพราะรัฐและทุนยังไม่สามารถร่วมกันออกแบบสังคมที่ประสานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายได้

ดังนั้นการอธิบายบริบทของไทยในภาพรวมนำมาสู่ข้อสรุปได้ว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ดีหากเราไม่ได้ปักหมุดหรือมีจุดตั้งต้นว่าไทยควรจะเป็นรัฐสวัสดิการ แต่ควรจะเริ่มต้นจากการค่อยๆ ขยับขยายระบบสวัสดิการที่มีอยู่ออกไป เช่น การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน การยกระดับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปสู่ระบบบำนาญชราภาพแห่งชาติ การบูรณาการระบบหลักประกันสุขภาพของข้าราชการ พนักงานเอกชนและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เป็นระบบเดียวกัน รวมถึงการขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ เป็นต้น

ในปัจจุบันยังมีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ไม่มีหลักประกันทางสังคมรองรับความเสี่ยงจากการทำงาน ดังนั้นในอนาคตประเด็นเกี่ยวกับการขยับขยายนโยบายทางสังคมหรือระบบสวัสดิการจะเป็นประเด็นที่มีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปฏิรูประบบสวัสดิการของไทยจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าย่อมขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความตื่นตัวของสังคม รวมถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจ ระบบการเมือง พรรคการเมือง การสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง รัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนและระบบภาษีที่จะเป็นหลักประกันขั้นต้นในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ผู้เขียนอยากเสนอในบทความชิ้นนี้คือการให้สังคมหันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับการไปสู่รัฐสวัสดิการของไทยมากขึ้นเพื่อให้เราเข้าใจข้อจำกัดในเชิงบริบททางเศรษฐกิจการเมืองไทยเพื่อสร้างประเด็นใหม่ๆ ในการถกเถียงเชิงวิชาการ เนื่องจากในปัจจุบันประเด็นในการถกเถียงเกี่ยวกับการพัฒนารัฐสวัสดิการถูกจำกัดอยู่ที่ "ประชาชนจะได้อะไรจากการที่ไทยเป็นรัฐสวัสดิการ" และ "ประชาชนจะสูญเสียอะไรจากการที่ไทยไม่ได้เป็นรัฐสวัสดิการ" โดยที่ยังไม่มีการคำนึงถึงข้อจำกัดในแง่ของระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง พรรคการเมือง นโยบายทางการเมือง ระบบภาษี รวมถึงปัญหาของระบอบประชาธิปไตยไทยฯลฯ ซึ่งการศึกษาพัฒนาการของรัฐสวัสดิการในสวีเดนช่วยให้มองเห็นข้อจำกัดของบริบทและเงื่อนไขในการไปสู่รัฐสวัสดิการของไทยได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เมื่อเข้าใจถึงข้อจำกัดในภาพรวมจะทำให้สามารถเข้าใจปัญหาต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์และการประเมินขีดความสามารถของไทยในการผลักดันนโยบายสวัสดิการสอดรับกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจข้อจำกัดต่างๆ นั้นช่วยทำให้เห็นว่าเพราะอะไรไทยจึงไม่สามารถก้าวขึ้นไปเป็นประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการที่ทัดเทียมกับประเทศในแถบสแกนดิเนเวียได้ เพราะรัฐสวัสดิการไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยในเชิงเศรษฐกิจและการเมืองเพียงอย่างเดียวแต่ยังเกิดจากโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม ดังนั้นผู้เขียนขอทิ้งท้ายด้วยคำถามสำคัญที่อาจมีประโยชน์ในการถกเถียงในวงวิชาการเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการสังคมของไทยว่า ในปัจจุบันสังคมไทยมี "นวัตกรรม" อะไรบ้างที่จะขับเคลื่อนให้ไทยเป็นประเทศที่ให้ความคุ้มครองแรงงานในด้านสวัสดิการอย่างรอบด้านและมีคุณภาพ ผู้เขียนคิดว่าคำถามข้างต้นสามารถสร้างขอบเขตในการ scope ประเด็นเกี่ยวกับการไปสู่รัฐสวัสดิการของไทยเล็กลง ซึ่งการ scope ประเด็นสามารถปูทางไปสู่การพัฒนานโยบายสวัสดิการที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสและเพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสวัสดิการในไทยในอนาคตต่อไป




เกี่ยวกับผู้เขียน: นุชประภา โมกข์ศาสตร์ มหาบัณฑิตเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[right-side]


Posted: 29 Apr 2018 01:25 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

เพจเพื่อนสมยศแจ้ง สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังในคดี 112 จะได้รับการปล่อยตัวพรุ่งนี้เช้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังถูกคุมขังมาเป็นเวลา 7 ปี

29 เม.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'เพื่อนสมยศ [ Friends of Somyot ]' โพสต์ข้อความแจ้งว่า สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะได้รับการปล่อยตัวในวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.61) เวลา 6.00 น. ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังถูกคุมขังมาเป็นเวลา 7 ปีทั้งคดีนี้ รวมกับคดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร

สำหรับ สมยศ นอกจากบทบาทในเราเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและ บรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin แลัว เขายังเป็นนักรณรงค์เรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่ทศวรรษ 2520 มีบทบาทสำคัญในการร่วมเรียกร้องเรื่องค่าแรงขั้นต่ำและการส่งเสริมการรวมตัวของกรรมกร รวมถึงระบบประกันสังคม

โดยในปี 2549 เขามีบทบาทต่อต้านการรัฐประหารของ คมช. เคยเป็นแกนนำ นปช. รุ่น 2 หลังแกนนำ นปช. รุ่นแรกถูกจำคุกจากเหตุชุมนุมในเดือนเมษายนปี 2552 และหลังจากนั้นไม่นานเขาก่อตั้งกลุ่ม “24 มิถุนาประชาธิปไตย” ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นเขายังเป็นพิธีกรรายการ “เสียงกรรมกร” ผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม DTV ด้วย

สมยศ ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2554 หรือ 5 วันหลังจากที่มีการรณรงค์ล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อให้รัฐสภายกเลิกมาตรา 112 โดยในระหว่างสู้คดี เขาถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัว ระหว่างไต่สวนคดี สมยศยังถูกนำตัวไปขึ้นศาลยังจังหวัดต่างๆ ถึง 4 แห่งตามที่อยู่ของพยานโจทก์ ได้แก่ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระแก้ว สงขลา ซึ่งทำให้ครอบครัวเพื่อนของเขาต้องเดินทางไปเยี่ยมด้วยความลำบาก เพราะจะมีการย้ายตัวจำเลยไปก่อน 2-4 สัปดาห์ ก่อนขึ้นศาล เขาถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการที่เขาเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งตีความว่าบทความ 2 ชิ้นของผู้ใช้นามปากกา “จิตร พลจันทร์” มีลักษณะเสียดสีและเข้าข่ายผิดกฎหมายมาตรา 112 โดยสมยศต่อสู้ในประเด็นหลักว่าเขาไม่ใช่ผู้เขียนบทความ เป็นเพียงบรรณาธิการ และเนื้อหานั้นมิได้หมายความถึงสถาบันกษัตริย์


เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2556 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี ต่อมาวันที่ 19 ก.ย.2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และในวันที่ 23 ก.พ.2560 มีคำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่าที่จำเลยฎีกาต่อสู้ว่า มิได้มีเจตนากระทำผิด และข้อความในบทความหมายถึงอำมาตย์นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งในขั้นฎีกาไม่อาจต่อสู้ในข้อเท็จจริงได้อีก อย่างไรก็ตาม ตามที่จำเลยได้ต่อสู้มารับฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงบรรณาธิการ มิใช่ผู้เขียนและยังให้ข้อมูลว่าใครเป็นผู้เขียน จำเลยยืนยันว่ามีความจงรักภักดี อีกทั้งเมื่อพิจารณาประกอบกับอาชีพ อายุและประวัติของจำเลย ทั้งจำเลยก็ต้องโทษมาเป็นระยะเวลาพอควรแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้โทษจำคุก เหลือกระทงละ 3 ปี รวม 2 กระทง 6 ปี ทั้งนี้เมื่อรวมกับโทษจำคุกคดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อีก 1 ปี ทำให้สมยศต้องจำคุกรวมเป็นเวลากว่า 7 ปี

ในช่วงที่ถูกจองจำ สมยศ ยังได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนที่น่ายกย่องประจำปี 2555 จากกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร และในเดือนพฤศจิกายนปี 2559 เขายังได้รับรางวัลชุน แต อิล จากสมาหพันธ์แรงงานกลางเกาหลี KCTU โดย "ประกายดาว" ลูกสาวของสมยศเดินทางไปรับรางวัลแทนพ่อผู้ถูกคุมขัง


Posted: 29 Apr 2018 01:43 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ใบตองแห้ง

“ขบวนการเอาคืนศาลยิ่งรณรงค์ยิ่งจ๋อย ชาวบ้านรู้ทันหูตาสว่างแล้วว่าใครทำมาแต่ต้น และอยู่นอกเขตอุทยานฯ ทั้งไม่มีอะไรผิดเลย เข้าไปดูเพจบางคนเมื่อครู่มีคนตามแค่ 2 คน พอได้แล้วมั้ง ปล่อยรัฐบาลท่านว่า ไปเถิด”

ไพศาล พืชมงคล ดิสเครดิตภาคประชาสังคมที่คัดค้านบ้านพักศาลดอยสุเทพ ดูเหมือนได้ผล คือโยนตัวเองเข้า กองไฟ มีคนเข้าไปคอมเมนต์ดุเดือดหลายสิบคน มีคนกดไลก์ 200 กว่าราย ขณะที่เพจ “ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” นัดรวมพลังวันอาทิตย์ มีคนกดไลก์ 1.4 พัน แชร์ไป 900 ไม่ทราบผู้ช่วยรองนายกฯ ดูเพจไหนที่มีคนตามแค่ 2 คน

โยนตัวเองไม่เป็นไร อย่าโยนศาลเข้าไปด้วยเลย เพราะโต้กันไปโต้กันมา อารมณ์ชาวบ้านยิ่งบานปลาย

คนค้านบ้านพักศาลเป็นขบวนการเอาคืน? หมายถึงใคร คิดง่ายเหมาคนเชียงใหม่เป็นเสื้อแดงหมดรึไง ไม่เบิ่งเนตรดูเสียบ้างว่าหัวเรี่ยวหัวแรงคัดค้านส่วนใหญ่ไม่มีสี หรือเป็นเสื้อเหลืองด้วยซ้ำไป นักการเมืองที่หนุนให้รื้อบ้านพักศาลก็คืออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนนายกฯ ด่าใครไม่รู้ว่าอย่าฉวยโอกาส

ขนาด “ดี้ นิติพงษ์” ยังบอกว่าทุบเถอะ อย่าเสียดายวัตถุเลย ตั้งต้นใหม่เสียเงินภาษีหลายร้อยล้านก็ยอม เพราะมูลค่าของการที่ประชาชนต้องเคารพการตัดสินของตุลาการ อย่างเต็มใจ แพงกว่าบ้านพักยิ่งนัก


“ข้าแต่ศาลที่เคารพ?นิ่งเสียเถิด อย่าปล่อยตัวเองให้เป็นเหยื่อคนที่กำลังจะอาศัยจุดอ่อนของท่าน มาทำลายความน่าเชื่อถือของอำนาจอธิปไตยหนึ่งในสามของบ้านเมืองเลย”

ฮั่นแน่ ดี้ก็ลงท้ายคล้ายกัน แต่ยังเข้าใจสถานการณ์มากกว่า รู้ว่าถ้าเรื่องบานปลายจะเสียหายต่อความเคารพศรัทธา

อันที่จริง การที่ประชาชนจะเคารพคำตัดสิน ต้องขึ้นกับเหตุผลในคำพิพากษา ไม่ใช่เพราะเชื่อว่าศาลเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใครวิจารณ์ติดคุก หรือเป็นเทพเหนือมนุษย์ ตัดสินยังไงก็ยุติธรรม

เพียงแต่การที่ชาวบ้านศรัทธาผู้พิพากษา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีกรอบจริยธรรม ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดมาตั้งแต่บรรพตุลาการ เช่น เข้มงวดการคบหาสมาคม ห้ามรับ จ๊อบ (เว้นแต่เขียนตำรา สอนหนังสือ) ครอบครัวก็ต้องทำอาชีพเหมาะสม (ผู้พิพากษาจึงเงินเดือนสูงกว่าคนอื่น)

“ผู้พิพากษาพึงมีความสันโดษ ครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวม กิริยามารยาท มีอัธยาศัย” เขียนแบบนี้ วิชาชีพอื่นไม่มีนะครับ

กรณีบ้านพักศาล เป็นอย่างที่กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ทวีตว่า “ไม่มีใครบอกว่าผิดกฎหมายหรอก เขาบอกไม่ควรทำ ไม่เหมาะสมมากกว่า” แถมยังมา 2 เด้งอีกต่างหาก

เด้งที่ 1 ไม่ผิดซักนิดเดียว ขออนุมัติถูกต้องทุกประการ แต่โปรดดูภาพถ่ายทางอากาศหลายๆ ครั้ง ทำไมเขาเรียกว่า “หมู่บ้านป่าแหว่ง” นั่นคือดอยสุเทพ ที่คนเชียงใหม่เคารพศรัทธา ฉะนั้นเลิกเถียงเรื่องกฎหมายดีกว่า เลิกงัดเอามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาเทียบ

เด้งที่ 2 บ้านพัก 38 หลัง ผู้คัดค้านเปรียบเทียบว่าราวกับบ้านพักตากอากาศ ในขณะที่ภาพประทับแห่งความเคารพศรัทธาของสังคมคือ “สันโดษ เรียบง่าย สุภาพ สำรวม”

ฉะนั้น อย่าโยนเลยว่า ชาวบ้านรู้ทัน หูตาสว่าง ใครทำมาตั้งแต่ต้น ไพศาลก็ยืนยันเองว่าไม่ผิดกฎหมาย ใครล่ะ ควรรู้แก่ใจว่าไม่เหมาะสม

พูดอย่างนี้ไม่ได้มาเอาคืนหรือทำลายความน่าเชื่อถือ แต่มาเชียร์ดี้ต่างหาก ว่า “นิ่งเสียเถิด” เพราะอันที่จริง ผู้ต้องตัดสินใจควรเป็นรัฐบาล ศาลน่าจะบอกว่าแล้วแต่รัฐบาล ถ้ารัฐจัดงบให้รื้อย้าย หาที่ให้สร้างใหม่ ศาลก็ยินดี แม้อาจต้องเดินทางไกลหน่อย หรือระหว่างนี้ต้องหาที่พักชั่วคราวก่อน ผู้พิพากษาก็พร้อมลำบากลำบน เพราะมีหน้าที่ อำนวยความยุติธรรมให้ประชาชน

กรณีบ้านพักศาล ถ้ารัฐบาลตัดสินใจให้งบรื้อย้ายคืนสภาพป่า ก็น่าจะจบ แต่อุทาหรณ์คือผู้พิพากษาน่าจะเข้าใจว่า เมื่อประชาชนเคารพ และรู้ว่าเป็นวิชาชีพที่ค่าตอบแทนสูง ข้อเรียกร้องและแรงกดดันก็ย่อมสูงตามไปด้วยเช่นกัน



ที่มา: https://www.khaosod.co.th/politics/news_1015948


Posted: 29 Apr 2018 01:57 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

พจนา วลัย

จิตวิญญาณของวันกรรมกรสากล (May Day) คือ การเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยตัวเอง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสหภาพแรงงานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา คนงานเมืองชิคาโกในสมัยนั้นรณรงค์กำหนดชั่วโมงทำงานไม่ให้เกินวันละ 8 ชั่วโมงทุกแห่ง และได้กลายเป็นประเด็นร่วมในการเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ข้อเรียกร้องนี้ได้ถูกเสนอให้พิจารณาในที่ประชุมใหญ่ขององค์กรกรรมกรสากล ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หรือที่เรียกกันว่า “สากลที่หนึ่ง” ในปี 2429 พร้อมกับมีการเสนอให้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมในปีนี้เป็นวันกรรมกร อีกทั้งเป็นวันแห่งการแสดงออกซึ่งความสมานฉันท์สากล หรือ International Solidarity นั่นคือชนชั้นแรงงานไม่มีการแบ่งแยกสีผิว ศาสนา ความเชื่อ และพรมแดน

สำหรับประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 โดยการนำของสมาคมสหอาชีวะกรรมกรนครกรุงเทพฯ และสมาคมไตรจักร์ สมาคมของคนถีบสามล้อ ร่วมชุมนุม ณ สนามหญ้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ บริเวณวังสราญรมย์ มีคนงานเข้าร่วมราว 3,000 คน ถัดมาในปี 2490 สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย (มีสมาชิกจาก 60 สาขาอาชีพรวม 75,000 คน) ที่เพิ่งถือกำเนิดได้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานวันกรรมกรสากลอย่างยิ่งใหญ่ มีคนงานเข้าร่วมงานกว่า 100,000 คน โดยได้เรียกร้องให้เอาระบบการทำงานแบบ 888 หรือระบบสามแปด คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาเล่าเรียน 8 ชั่วโมงมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องสากล และยังเรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างสำหรับการทำงานล่วงเวลา ให้ยอมรับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและรวมกลุ่มจัดตั้งของกรรมกร คนงานต้องมีสิทธินัดหยุดงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง ให้มีการประกันสวัสดิภาพของลูกจ้าง และที่สำคัญคือให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันหยุดงานของกรรมกร เพื่อเชิดชูกรรมกรทั่วโลกให้สามัคคีกัน

ในประวัติศาสตร์ของกรรมกร การมีสิทธิที่จะกำหนดอนาคตของตนเองด้วยการเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมเกิดขึ้นจากการคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในฐานะคนทำงานสร้างโลก เป็นเจ้าของประเทศ ผู้เปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งจะต้องได้รับการเคารพจากผู้นำรัฐบาลผู้บริหารบริษัท ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมให้มีการศึกษาที่ดี มีงานทำ มีหลักประกันชีวิต แต่ความเป็นจริงที่ผ่านมา แรงงานต้องต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ที่ดีด้วยตัวเอง เพราะรัฐไม่ได้ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ยื่นให้แต่เพียงผลประโยชน์เศษเสี้ยว

ดังนั้น โดยเฉพาะในยุคของการปกครองของรัฐบาลทหารที่มาจากการทำรัฐประหาร การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานจำเป็นต้องเร่งรื้อฟื้นอำนาจการต่อรองของแรงงานทุกภาคส่วน เนื่องจากมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพในวงกว้าง มีการเลิกจ้างผู้นำ/สมาชิกสหภาพแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลดทอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายที่สำคัญ โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั้งผลที่ออกมายังไม่เป็นคุณประโยชน์ต่อประชาชน ดังนั้น ในการเรียกร้องของฝ่ายแรงงานต่อรัฐบาลทหาร รวมถึงพรรคการเมืองที่เตรียมการเลือกตั้งในอนาคตควรโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจการเมืองให้ยุติธรรมกับผู้ใช้แรงงานซึ่งมีข้อเสนอ 6 ข้อ ดังนี้

ข้อเสนอที่ 1 ยกเลิกรูปแบบการจ้างงานไม่มั่นคง เช่น ลูกจ้างเหมาช่วง ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างสัญญาจ้างระยะสั้น ที่ดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน ดิ้นรนในการหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทย ไม่เป็นการสร้างขวัญกำลังใจและคุณภาพของกำลังแรงงานในระยะยาว ดังนั้น รัฐบาลต้องมีนโยบายการจ้างงานที่มั่นคง (Job security) ไม่ใช่พร่ำถึงแต่ความมั่นคงแห่งชาติ โดยบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในภาครัฐและเอกชนให้เป็นพนักงานรายเดือน ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างงาน และจ้างงานโดยตรง

ข้อเสนอที่ 2 ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอัตราเดียวกันทั่วประเทศและครอบคลุมสมาชิกครอบครัวอีก 2 คนตามมาตรฐานแรงงานสากล ไม่ใช่ค่าจ้างที่เลี้ยงคนทำงานเพียงคนเดียวเพราะเป็นเรื่องไร้เหตุผลที่จะปล่อยให้คนหาเลี้ยงชีพแบบวันต่อวัน ซึ่งผลักให้คนงานต้องทำงานยาวนาน พึ่งพาการทำงานล่วงเวลาโดยไม่จำเป็น ไม่มีเวลาพักผ่อน ดูแลครอบครัว ศึกษาหาความรู้ อบรมทักษะฝีมือเพิ่มเติม ตามระบบสามแปด และส่งผลต่อการสร้างภาระหนี้สินซึ่งนายจ้างต้องปรับตัวเพื่อให้กำลังแรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ไปพร้อมกับขึ้นเงินเดือนแก่ลูกจ้างตามอายุงานด้วย

ข้อเสนอที่ 3 สร้างเสริมสวัสดิการสังคมถ้วนหน้าทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย และเก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนทุกคน (รัฐสวัสดิการ) เช่น เรียนฟรี มีระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพราคาถูก มีบำเหน็จบำนาญที่สามารถดำรงชีพได้

ข้อเสนอที่ 4 ยอมรับอำนาจเจรจาต่อรองและบทบาทในการบริหารองค์กรร่วมของลูกจ้าง โดยรัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เสรีภาพในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองร่วม ต้องเปิดพื้นที่และออกกฎระเบียบที่เอื้อให้ลูกจ้างรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน โดยปราศจากการกลั่นแกล้งจากนายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชนและให้สหภาพแรงงานอยู่ในโครงสร้างการบริหารองค์กรหรือบุคคลร่วมกับนายจ้างเพื่อสร้างความรับผิดชอบ (accountable) ซึ่งกันและกัน

ข้อเสนอที่ 5 ควบคุมตรวจสอบภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานแรงงานสุขภาพอนามัย ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อชีวิต และควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยจัดให้ตัวแทนลูกจ้าง ประชาชนในชุมชนใกล้เคียง เข้าไปตรวจสอบกระบวนการผลิต การควบคุมภายใน เพื่อประกันความปลอดภัยในการทำงาน ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อิเล็กทรอนิกส์

ข้อเสนอที่ 6 สังคมไทยจะต้องไม่ยอมรับวัฒนธรรมอำนาจนิยม การใช้ความรุนแรง และเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่แตกต่างกันในเรื่องเพศ อายุ ร่างกาย เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ความคิดเห็นทางการเมือง เช่น แรงงานข้ามชาติ แรงงานหญิง แรงงานผู้พิการ เพศที่หลากหลาย ผู้เสียประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างเสรีภาพในการแสดงออก ประชาธิปไตยและความสมานฉันท์ในสังคม

เพราะการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนกับการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ ลูกจ้างคือองค์ประกอบหนึ่งของระบบการผลิต หากปล่อยให้กำลังแรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมอยู่อย่างด้อยศักดิ์ศรีกว่าชนชั้นอื่น ก็เท่ากับว่านายจ้าง/ผู้บริหารเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ความมั่นคงของชาติ (National Security) จึงเกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันให้นายทุนทำกำไรและสะสมทุนอย่างมหาศาลมากกว่าการสร้างความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้าง เพราะท้ายสุดเมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ก็เลือกที่จะเลิกจ้างคนงานด้วยดุลพินิจของศาลอยู่บ่อยๆ คือ “หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทํางานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกําหนดจํานวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน”


สมานฉันท์วันกรรมกรสากล 2561
พจนา วลัย นักกิจกรรมกลุ่มสังคมนิยมแรงงาน[right-side]

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (แฟ้มภาพ)

Posted: 29 Apr 2018 02:27 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ประเมินสถานการณ์แรงงานช่วงครึ่งปีหลัง 2561 และเสนอแนวทาง 10 ข้อต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันแรงงาน เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน

29 เม.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานมีหนี้สินรวมเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุดในรอบ 10 ปีว่าเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการกระจายรายได้ที่ดีพอทำให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันจึงจำเป็นต้องก่อหนี้ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมาและการเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินได้บ้าง แรงงานระดับล่างรายได้ต่ำยังคงมีภาระหนี้ครัวเรือนในระดับสูง สะท้อนว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกปีโดยต้องปรับขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวของระบบประกันสังคม ทั้งในด้านสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและในด้านกองทุน ควรมีศึกษาเพื่อนำเอาการใช้ Automatic Adjustment มาปรับใช้ในไทย ได้แก่ Wage Adjustment การปรับมูลค่าของค่าจ้างในอดีต ให้เป็นค่าจ้าง ณ วันที่ขอรับสิทธิ Earning Base Adjustment การปรับฐานหรือเพดานค่าจ้างสำหรับการกำหนดเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ Cost of Living Adjustment การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ตามค่าครองชีพ Benefit Formula Bend Point Adjustment ปรับช่วงค่าจ้างในการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่ต่างกันเพื่อให้สิทธิประโยชน์เหมาะสมกับทุกกลุ่มค่าจ้าง

"อัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์การเลิกจ้างจะยังคงเพิ่มขึ้นในบางธุรกิจอุตสาหกรรม ภาวะการเลิกจ้างยังคงมีอยู่ในกิจการอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า เป็นต้น กิจการรถโดยสารเอกชน กิจการบริการสถานบันเทิง กิจการก่อสร้างขนาดเล็ก กิจการสื่อสารมวลชน (กระทบหนัก คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ทีวีดิจิทัลและธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม) กิจการอุดมศึกษา ธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง กิจการค้าปลีกร้านค้าขนาดเล็ก กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยไปทำงานนอกระบบประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น ต้องติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการจ้างงานที่มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทดแทนคนงานในกระบวนการผลิตมากขึ้น หรืองานบริการที่มีกระบวนการทำงานซ้ำ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทดแทน ขณะที่มีรูปแบบการทำงานใหม่และหลากหลายอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำอาชีพอิสระการรับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการอบรมพัฒนาฝีมือทักษะแรงงาน และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี" ดร.อนุสรณ์ ระบุ

ขณะที่ยังมีภาวะขยายตัวของการจ้างงานและการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรมและงานบางลักษณะ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะช่างฝีมือประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว บุคลากรทางการแพทย์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ งานแม่บ้านและกิจการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังมีความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน การปรับค่าแรงตามมาตรฐานแรงงานฝีมือแรงงานจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาแรงงานทักษะและช่างเทคนิคให้ทำงานในระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป ส่วนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวจะทำให้ปัญหาการใช้แรงงานทาสในไทยลดลง ลดการติดสินบนและคอร์รัปชันในระบบการจ้างงานแรงงานต่างด้าว คุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวดีขึ้น

ทั้งนี้ ดร.อนุสรณ์ ได้มีข้อเสนอสิบข้อต่อรัฐบาลและขบวนการแรงงาน องค์กรนายจ้าง เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติหรือวันกรรมกรสากล ดังนี้ ข้อหนึ่ง เสนอให้เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน ข้อสอง รัฐบาลควรจัดระบบสวัสดิการถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2570 และสร้างรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ประกันรายได้พื้นฐานขั้นต่ำและประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองไทยทุกคน ข้อสาม พิจารณาดำเนินการแปรเปลี่ยน สำนักงานประกันสังคม จาก หน่วยราชการ เป็น องค์กรของรัฐหรือองค์กรมหาชนที่บริหารงานแบบเอกชนจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ปรับระบบค่าตอบแทนของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนประกันสังคมให้แข่งขันได้กับภาคเอกชนเพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบเดียวกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต เป็นต้น

ข้อสี่ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อกระจายกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตประเภท “ทุน” สู่ผู้ใช้แรงงาน ก่อให้เกิด “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของประชาธิปไตยทางการเมือง ธนาคารแรงงานจะเป็นสถาบันสำคัญในการพัฒนา ธุรกิจรายย่อย (Micro Business) และ วิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน (Social enterprise or Cooperative for workers and the poor) ข้อห้า รัฐบาลไทยควรทำสัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิพื้นฐานในการรวมกลุ่ม และ อำนาจในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นสิทธิแรงงานพื้นฐานและเป็นสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ระดับความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสถานประกอบการในไทยโดยภาพรวมยังอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในสถานประกอบการมากขึ้น ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รวมกลุ่มกัน และ กลไกองค์กรลูกจ้างและสหภาพแรงงานที่มีคุณภาพยังทำให้ ระบบแรงงานสัมพันธ์ดีขึ้นในระยะยาวอีกด้วย

ข้อหก การเตรียมมาตรการรับมือกับผลกระทบจาก Disruptive Technology (เทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ) ต่อแรงงาน รวมทั้งมีมาตรการพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับผู้ที่มีทักษะไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ในขณะนี้หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่วนในระยะยาว หากมี Disruptive Technology and Innovation การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจ บวกเข้ากับพลวัตของระบบทุนนิยมโลก แล้วเราไม่มียุทธศาสตร์ในตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในระบบการศึกษาไทยให้สามารถผลิตคนคุณภาพใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ หากเรามียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราจะไม่เผชิญกับปัญหาวิกฤติการจ้างงานและเศรษฐกิจในอนาคต มีการคาดการณ์โดยนักอนาคตศาสตร์ว่า ในปี ค.ศ. 2030 ความก้าวหน้าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานแบบเดิมในบางอาชีพหายไปไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านตำแหน่งงาน ขณะเดียวกันก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆที่คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งระบบการศึกษาไทยต้องทำหน้าที่ในการผลิตคนรองรับตั้งแต่วันนี้ ขณะเดียวกัน IMD คาดการณ์ว่า ตำแหน่งงานในประเทศไทยจะหายไปจำนวนมากในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่าในหลายกิจการอุตสาหกรรม ข้อเจ็ด ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสร้างระบบ กลไกและกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานในระบบเหมาช่วง กลุ่มที่น่าเห็นใจมากที่สุด คือ บรรดาแรงงานทักษะต่ำและเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหลายที่อยู่ภายใต้ระบบการทำงานในบริษัทเหมาช่วงจะได้รับผลกระทบจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากที่สุด แม้นระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการผลิตและยอดขาย ปัญหาในระบบการผลิตแบบเหมาช่วงเป็นปัญหาในระดับสากล เรื่อง ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการในระบบการผลิตแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเองก็แสวงหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิต การผลิตที่มีความยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเลือกที่จะ ส่งออกงานในบางลักษณะให้บริษัทเหมาช่วงรับไปทำเพื่อให้มีการจ้างงานแบบยืดหยุ่น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานไปจัดระบบให้ระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วง มีมาตรฐานการจ้างงานที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาช่วงจะถูกเอาเปรียบอย่างมาก หลักคิดของการยกระดับมาตรฐานระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงเพื่อให้เกิดการคุ้มครองแรงงาน เพราะแรงงานแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ และเกี่ยวกับความอยู่รอดและคุณภาพของชีวิตของคนงานและครอบครัว การกำหนดมาตรฐานแรงงานในระบบเหมาช่วงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้วยไม่สามารถกำหนดจากอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงาน ความผันผวนของภาวะการผลิตและเศรษฐกิจเท่านั้น อีกประการหนึ่งลูกจ้างโดยเฉพาะในระบบเหมาช่วงมีอำนาจต่อรองน้อย ลูกจ้างในบริษัทเหมาช่วงมักไม่มีสหภาพแรงงาน

ข้อแปด รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้ง ระบบความปลอดภัยในการทำงาน และ รัฐบาลควรจัดสรรเงินงบประมาณให้สถาบันปลอดภัยฯ กระทรวงแรงงานให้เพียงพอ ข้อเก้า ขอเสนอให้มีการขยายการคุ้มครองกองทุนเงินทดแทนไปสู่แรงงานซึ่งปัจจุบันไม่เข้าข่ายการบังคับใช้กฎหมาย เช่น แรงงานอิสระ เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่) และกลุ่มแรงงานอื่นที่ได้รับการยกเว้นโดยกฎหมาย สำหรับกลุ่มแรงงานที่มีสถานภาพพิเศษออกไป อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องมีกลไกที่ใกล้เคียงหรือเทียมเท่าให้กับพนักงานลูกจ้าง ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานและควรมีแนวทางปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวในประเด็นคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือ อันตรายจากการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล และ ข้อสิบ ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสูงกว่าต้นทุนการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนในการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานให้ลดลง

[full-post]


Posted: 29 Apr 2018 08:37 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

โรซา ลัคแซมเบิร์ก เขียน
ปวงชน อุนจะนำ แปล[i]

คำนำผู้แปล

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกๆปีถือเป็นวันสำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ.” แม้วันที่ว่านี้จะไม่ถือเป็นวันหยุดราชการและหน่วยงานราชการทุกแห่งยังคงเปิดทำการตามปกติ แต่ก็ถือว่าเป็นวันหยุดของภาคเอกชน, หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ, และสถาบันทางการเงิน. นอกจากรัฐบาลไทยจะมุ่งหวังให้มีการระลึกถึงผู้ใช้แรงงานไทยในวันนี้, “วันแรงงานแห่งชาติ” ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ตัวผู้ใช้แรงงานเองจะได้ทำการพักผ่อน, เฉลิมฉลอง, และสังสรรค์นันทนาการกับครอบครัวและเพื่อนฝูงหลังจากทำงานมาอย่างหนักตลอดทั้งปี. อย่างไรก็ตาม, หากพิจารณาให้กว้างขึ้นไปกว่าวาทกรรมที่ยึดโยงกับคำว่า “แห่งชาติ” ที่ฟังดูคับแคบ, วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกๆปียังถือเป็นวันสำคัญของโลก เนื่องจากเป็น “วันแรงงานสากล” (International Workers’ Day) หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วันเมย์เดย์” (May Day). วันแรงงานสากลที่ว่านี้ถือเป็นวาระประจำปีที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกรรมกรทั่วโลก เพราะมันไม่เพียงแต่เป็นวาระของการระลึกถึงการเสียสละและความเหนื่อยยากของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก หากแต่มันยังเป็นวาระของการรำลึกถึงการล้อมปราบการประท้วงมวลชนกรรมกรที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกต (Haymarket Square) ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1886.

วันที่ 1 พฤษภาคม คศ. 1886, กรรมกรที่เมืองชิคาโกได้นัดหยุดงานและออกมาเรียกร้องบนท้องถนนพร้อมๆกับกรรมกรหลายแสนคนทั่วสหรัฐฯ ให้มีการออกกฎหมายจำกัดชั่วโมงการทำงานไม่ให้เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน. ในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองยุคศตวรรษที่ 19, ตามที่คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ได้อธิบายไว้ในหนังสือที่ชื่อ ทุน เล่มที่ 1 (Capital Volume I), การเรียกร้องให้มีการจำกัดชั่วโมงทำงานของกรรมกรในโรงงานถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับชนชั้นนายทุนและผู้มีอำนาจในรัฐเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากธรรมเนียมที่เป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้นคือการจ่ายค่าแรงในราคาที่ถูกที่สุดแต่กลับบังคับให้กรรมกรทำงานให้นานกว่าค่าแรงที่ได้รับให้มากที่สุด. ในหลายๆกรณี, ดังที่มาร์กซ์ได้ยกตัวอย่างไว้, ไม่เพียงแค่ผู้ชายหากแต่รวมไปถึงสตรีและเด็ก ต่างจำต้องขายแรงงานและทำงานหามรุ่งหามค่ำเป็นเวลา 10, 12, 16, หรือกระทั่ง 24 ชั่วโมงต่อวันอย่างไม่ได้หยุดพัก เพื่อให้ได้ค่าแรงมาประทังชีพ.[2] เรียกได้ว่า ตราบใดที่เครื่องจักรในโรงงานยังทำงานได้อยู่อย่างเป็นปกติและต่อเนื่อง, ตราบนั้นนายทุนก็พร้อมที่จะจัดหากรรมกรผลัดเวรกันเข้าไปทำงานทั้งวันและทั้งคืนอย่างไม่หยุดหย่อน.


ภาพวาดสะท้อนเหตุการณ์ความวุ่นวายในจัตุรัสเฮย์มาร์เกต นครชิคาโก
ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 4 พฤษภาคม คศ.1886
ที่มาของภาพ: Wikipedia

ด้วยบริบทที่กล่าวมา, การนัดหยุดงานทั่วสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายจำกัดชั่วโมงทำงานไม่ให้เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันในวันที่ 1 พฤษภาคม คศ.1886 จึงถือเป็นการกระทำที่สร้างความไม่พอใจให้กับชนชั้นนายทุนและผู้มีอำนาจในรัฐเป็นอย่างมาก. ที่ชิคาโก, เมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ และเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวกรรมกร, กระแสการนัดหยุดงานได้รับการจุดติดและลุกลามจากโรงงานไปสู่ท้องถนน. และนั่นก็นำไปสู่การล้อมปราบผู้ประท้วงของเจ้าหน้าที่รัฐที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกต, การก่อจลาจลบนท้องถนน, และการนองเลือดของทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชนในวันที่ 4 พฤษภาคม คศ. 1886. โศกนาฎกรรมที่ว่ามาได้นำไปสู่การที่เจ้าหน้าที่รัฐทำการกวาดล้างสมาชิกสหภาพแรงงาน, เกิดกระแสการต่อต้านชนชั้นแรงงานและลัทธิคอมมิวนิสต์ในสังคมอเมริกัน, และเกิดกระแสสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐอย่างออกนอกหน้าของชนชั้นกระฎุมพีอเมริกันในเวลาต่อมา. กระนั้นก็ตาม, ความสูญเสียและความพ่ายแพ้ของกรรมกรในเหตุการณ์ที่ชิคาโกก็หาได้เป็นวีรกรรมที่สูญเปล่า. ในปีค.ศ. 1890, ที่ประชุมของตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์และสหภาพแรงงานทั่วโลกที่รู้จักกันในนาม “สากลที่สอง” (The Second International) ได้ลงมติให้มีการประกาศนัดหยุดงานของกรรมกรและออกมาเดินขบวนแสดงพลังของชนชั้นแรงงานทั่วโลกในวันที่ 1 พฤษภาคม เพื่อเป็นการเรียกร้องให้หลักการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันได้รับการนำไปปฏิบัติกับกรรมกรทั่วโลก. นอกจากนั้น, มันยังเป็นการรำลึกและเฉลิมฉลองวีรกรรมของพี่น้องกรรมกรที่สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บไปในการถูกล้อมปราบที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกตอีกด้วย. และนั่นก็คือหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์กรรมาชีพทั่วโลก เพราะในเวลาต่อมา วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 ได้ถือเป็นครั้งแรกของการจัดวันแรงงานสากล หรือพูดง่ายๆว่า วันเมย์เดย์ของเหล่ากรรมกรทั่วโลกได้รับการสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการในวันนั้นนั่นเอง.[3]

ปีค.ศ. 1894, โรซา ลัคแซมเบิร์ก (Rosa Luxemburg), นักปรัชญา, นักเศรษฐศาสตร์, และนักปฏิวัติสังคมนิยมที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ, ได้เขียนงานสั้นๆที่ชื่อ “อะไรคือต้นกำเนิดของวันเมย์เดย์?” (What Are the Origins of May Day?).[4] ความน่าสนใจของงานชิ้นนี้ก็คือ ลัคแซมเบิร์กได้พาผู้อ่านไปพบกับต้นกำเนิดของวันเมย์เดย์ที่สามารถสืบสาวประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปไกลกว่าวีรกรรมของกรรมกรที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกตในปี ค.ศ. 1886. นอกจากนั้น, เธอยังได้พาผู้อ่านไปพบกับเบื้องหน้าเบื้องหลังของการประชุมของสหภาพแรงงานสากลกับการลงมติให้มีการนัดหยุดงานทั่วโลกในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1890 ซึ่งที่ประชุมไม่ได้มีใครคาดคิดมาก่อนว่า การจัดวันเมย์เดย์จะประสบความสำเร็จ, ได้รับการยอมรับ, และกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา. ที่สำคัญที่สุด, เธอได้เน้นย้ำให้ผู้อ่านได้ตระหนักว่า แม้การเรียกร้องให้นายจ้างจำกัดการทำงานในโรงงานของกรรมกรไม่ให้เกิน 8 ชั่วโมงจะประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาและกลายเป็นชัยชนะของชนชั้นแรงงานทั่วโลก, แต่การต่อสู้ทางชนชั้นจะยังคงดำเนินต่อไปและไม่มีทางเสร็จสิ้น ตราบใดที่ระบบทุนนิยมยังดำรงอยู่ และชนชั้นกระฎุมพียังคงกดขี่ขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพอยู่ร่ำไป.

ด้วยเหตุนี้, ในวาระที่วันที่ 1 พฤษภาคมได้หวนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในปีนี้, การย้อนรอยกลับไปดูว่า “อะไรคือต้นกำเนิดของวันเมย์เดย์?” ผ่านคำบอกเล่าของนักปฏิวัติคนสำคัญอย่างลัคแซมเบิร์ก น่าจะทำให้ผู้อ่านทุกๆท่านได้รู้จักที่มาที่ไปของวันสำคัญที่ว่านี้มากยิ่งขึ้น และไม่สงวนการเฉลิมฉลองและการระลึกถึงชนชั้นแรงงานไว้ให้กับ “วันแรงงานแห่งชาติ” ของราชอาณาจักรไทยแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเผื่อแผ่การตระหนักรู้ทางสังคมให้กับพ่อแม่พี่น้องผู้ใช้แรงงานทั่วทุกหนทุกแห่ง ที่เสียสละและแบกโลกใบนี้ไว้ทั้งใบด้วยหยาดเหงื่อและสองมือตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน.

โรซา ลัคแซมเบิร์ก นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวโปลิช-เยอรมัน
ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1871-1919.
ที่มาของภาพ: Wikipedia

เนื้อหา

แนวคิดอันน่ายินดีว่าด้วยการใช้การเฉลิมฉลองวันหยุดของกรรมาชีพเป็นยุทธวิธีในการบรรลุการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในออสเตรเลีย. กรรมกรที่นั่นได้ตัดสินใจร่วมกันในปีค.ศ. 1856 ที่จะจัดให้มีการนัดหยุดงานกันอย่างเด็ดขาดหนึ่งวัน พร้อมกับมีการประชุมและงานมหรสพ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนให้มีการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน.

วันแห่งการเฉลิมฉลองที่ว่านี้ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 21 เมษายน. ในตอนแรก, กรรมกรออสเตรเลียนตั้งใจจัดงานนี้ไว้สำหรับแค่ปีค.ศ.1856 เท่านั้น. แต่การเฉลิมฉลองครั้งแรกนี้กลับมีผลเป็นอย่างมากต่อเหล่ามวลชนกรรมาชีพของออสเตรเลีย, มันทำให้พวกเขากลับมาคึกคักและนำไปสู่การรณรงค์เคลื่อนไหวใหม่ๆ, นั่นก็นำไปสู่การตกลงกันว่า การเฉลิมฉลองเช่นนี้จะต้องมีการทำซ้ำอีกในทุกๆปี.

จะว่าไปแล้ว, อะไรเล่าที่จะสามารถทำให้กรรมกรมีความกล้าหาญและศรัทธาในพลังของตนเองขึ้นมา ถ้าไม่ใช่การรวมพลกันหยุดงานซึ่งพวกเขาได้ตัดสินใจทำกันด้วยตนเอง? อะไรเล่าที่จะสามารถทำให้ผู้ที่เป็นทาสตลอดกาลในโรงงานและห้างร้านต่างๆมีความกล้าหาญขึ้นมา ถ้าไม่ใช่การชุมนุมกันของกองกำลังตนเอง? ด้วยเหตุนี้, แนวคิดที่ว่าด้วยการเฉลิมฉลองของกรรมาชีพจึงได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว และมันได้เริ่มแพร่กระจายจากออสเตรเลียไปยังประเทศอื่นๆ จนกระทั่งมันได้ยึดครองโลกทั้งใบของกรรมาชีพในที่สุด.

คนกลุ่มแรกที่เอาอย่างกรรมกรออสเตรเลียนก็คือ คนอเมริกัน. ในปีค.ศ. 1886, พวกเขาตัดสินใจกันว่า ควรให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันของการนัดหยุดงานสากล. ในวันที่ว่านี้ กรรมกรอเมริกันสองแสนคนหยุดทำงานและเรียกร้องให้มีการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน. ต่อมา, การคุกคามของตำรวจและกฏหมายได้ปิดกั้นมิไห้กรรมกรได้ทำการประท้วงในระดับเดียวกันแบบนี้ได้อีกเป็นเวลาหลายปี. อย่างไรก็ตาม ในปีค.ศ. 1888 พวกเขายึดมั่นในการตัดสินใจของตนอีกครั้งและตกลงกันว่า การเฉลิมฉลองครั้งต่อไปจะเป็นวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890.

ในขณะเดียวกัน, ขบวนการเคลื่อนไหวมวชนของกรรมกรในยุโรปได้เติบโตขึ้นอย่างแข้มแข็งและมีชีวิตชีวา. การแสดงออกอย่างทรงพลังเป็นที่สุดของขบวนการที่ว่านี้ปรากฏให้เห็นที่การประชุมระดับสูงขององค์กรแรงงานสากลในปีค.ศ. 1889. ณ การประชุมนี้, ซึ่งมีกลุ่มผู้แทนเข้าร่วม 400 กลุ่ม, ได้มีการลงมติกันว่า การทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันจะต้องเป็นข้อเรียกร้องแรกสุด. จากนั้นผู้แทนจากสหภาพแรงงานฝรั่งเศสนามว่าลาวีน, ซึ่งเป็นกรรมกรจากเมืองบอร์กโดซ์, ยกระดับข้อเรียกร้องที่ว่านี้ให้ได้รับการปฏิบัติในทุกๆประเทศผ่านการนัดหยุดงานกันทั่วทุกหนทุกแห่ง. ผู้แทนของกรรมกรอเมริกันได้ร้องขอให้พิจารณาถึงการตัดสินใจของเหล่าสหายของเขาที่จะให้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890, และที่ประชุมก็ได้ลงมติให้วันที่ว่านี้เป็นวันเฉลิมฉลองสากลของกรรมาชีพ.

ในกรณีนี้, ดังเช่นที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียสามสิบปีก่อนหน้านั้น, กรรมกรคิดกันจริงๆแค่ว่า มันจะเป็นการแสดงพลังแค่ครั้งเดียวจบ. ที่ประชุมลงมติว่า กรรมกรในทุกๆประเทศจะแสดงพลังร่วมกันเพื่อการจำกัดเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1890. ไม่ได้มีใครพูดถึงแผนการนัดหยุดงานซ้ำอีกในปีต่อๆไป.

เป็นเรื่องธรรมดาที่จะไม่มีใครคาดคิดว่า แนวคิดนี้จะประสบความสำเร็จอย่างฉับพลัน และมันจะถูกนำไปประยุกต์ใช้โดยชนชั้นแรงงานอย่างรวดเร็ว. อย่างไรก็ตาม, การได้เฉลิมฉลองวันเมย์เดย์แค่ครั้งเดียวในตอนนั้นก็เพียงพอแล้วในการกระตุ้นเร้าให้ทุกคนตระหนักและรู้สึกขึ้นมาได้ว่า วันเมย์เดย์จะต้องเป็นประเพณีที่กระทำกันทุกๆปีและต่อเนื่องไปเรื่อยๆ.

ในการจัดวันเมย์เดย์ครั้งแรก ข้อเรียกร้องก็คือให้เริ่มใช้หลักการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน. แม้ว่าเป้าหมายที่ว่านี้จะสำเร็จลุล่วง, วันเมย์เดย์ก็ไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด. ตราบใดที่การต่อสู้ของกรรมกรต่อชนชั้นกระฎุมพีและชนชั้นปกครองยังคงดำรงอยู่, ตราบใดที่ข้อเรียกร้องทั้งหมดของกรรมกรยังไม่ได้รับการตอบสนอง, ตราบนั้นวันเมย์เดย์ก็จะเป็นการแสดงออกถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นประจำทุกปีต่อไป.

และเมื่อวันที่ดีกว่านี้ได้ทอแสงมาให้เห็น, เมื่อชนชั้นแรงงานของโลกได้ชัยชนะจากการปลดปล่อยตนเอง เมื่อนั้นเองที่มนุษยชาติทั้งมวลก็อาจจะหันมาเฉลิมฉลองวันเมย์เดย์เช่นกัน เพื่อเป็นการระลึกถึงการต่อสู้อันขื่นขมและความทุกข์ทรมานที่เหลือล้นในอดีตที่ผ่านมา.





[1] ผู้แปลขอขอบคุณ กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ ที่ช่วยปรับปรุงสำนวนการแปลและให้คำแนะนำในส่วนของคำนำการแปล


[2] ผู้ที่สนใจประเด็นปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันกับชีวิตของชนชั้นแรงงานในศตวรรษที่ 19 โปรดดู Karl Marx, Capital Volume I. trans. Ben Fokes (New York: Penguin Books, 1976), Chapter 10.


[3] ประวัติศาสตร์โดยย่อของเหตุการณ์ที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกตและการสถาปนาวันแรงงานสากลที่กล่าวมานี้ เป็นการสรุปใจความสำคัญมาจาก “Haymarket Affair.” Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Haymarket_affair#Aftermath_and_red_scare. (accessed April 26, 2018).


[4] แปลจาก Rosa Luxemburg, “What Are the Origins of May Day?” in Selected Political Writings of Rosa Luxemburg. trans. Dick Howard (New York: Monthly Review Press, 1971), 315-16. หรือดูฉบับออนไลน์ได้จาก https://www.marxists.org/archive/luxemburg/1894/02/may-day.htm หรือ https://www.jacobinmag.com/2016/05/may-day-rosa-luxemburg-haymarket.

[full-post]
ขับเคลื่อนโดย Blogger.