ภาพการประชุมปัญหาข้อห่วงใยเกี่ยวกับการออกระเบียบกระทรวงการคลัง 30 พ.ค.2561 ที่กระทรวงสาธารณะสุข (ที่มาภาพเฟสบุ๊ค เพจ ชมรมแพทย์ชนบท )
Posted: 30 May 2018 06:37 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
ที่ผ่านมานั้นการจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณนั้น อย่างน้อยที่ผ่านมาก็มีระเบียบปฏิบัติปี 2542 เป็นหนังสือจากกระทรวงการคลัง ที่กค. 0527.6/ว31 ลงวันที่ 26 เม.ย. 2542 ระบุว่าส่วนราชการใดจะจ้างให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ยกเว้นหน่วยงานที่ไม่ต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลังก็สามารถจ้างได้เลย ต่อมาได้มีจดหมายจากกระทรวงการคลังที่ กค. 0415/ว.23 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2546 ได้เปลี่ยนใหม่ว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด ใช้ดุลยพินิจสามารถจ้างลูกจ้างเงินชั่วคราวได้เอง โดยไม่ต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลัง และต่อมาก็มีระเบียบกระทรวงการคลัง 18 พ.ค. 2561 กลับไปเหมือนเดิม คือ เหมือนปี 2542 คือ ต้องขออนุญาตกระทรวงการคลังก่อน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ระเบียบทุกฉบับ ยังคงระบุว่า การจ้างลูกจ้างชั่วคราวให้จ้างในอัตราไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งและไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้าง ทั้งนี้หากจะจ้างในอัตราสูงกว่าอัตราค่าข้างขั้นต่ำให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
ยกเว้นเพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงฯ โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง กรณีนี้พึ่งระบุเมื่อ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหากไปดูระเบียบกระทรวงสาธารณะสุขก็ยังคงใช้คำเดียวกันคือ ไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ยกเว้นเพียงการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่ใช้บัญชีเงินเดือนข้าราชการและเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีได้
บุษยรัตน์ ตั้งคำถามว่า คนกลุ่มนี้ได้สิทธิอะไรบ้าง พร้อมอธิบายว่า (1) ลาป่วยตามจริง แต่ได้ค่าจ้าง 15 วัน หากลาเกินจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลา (2) ลาคลอดบุตร 90 วัน ได้ค่าจ้าง 45 วัน และต้องทำงานมาแล้วประมาณ 7 เดือนถึงใช้สิทธินี้ได้ และใช้ได้เฉพาะรายเดือนเท่านั้น (3) ไม่มีสิทธิลากิจใดๆทั้งสิ้นในทุกกรณี หากลาเกิน 15 วัน สามารถถูกเรียกสอบสวนทางวินัยได้ (4) ลาพักผ่อนไม่เกิน 10 วัน และ (5) อื่นๆเป็นไปตามสิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33
อีกเรื่องที่สำคัญและคุณหมอๆ ควรใส่ใจ คือ ยังคงมีลูกจ้างอีกกลุ่มที่เรียกว่า จ้างเหมาบริการ เช่น พนักงานขับรถยนต์พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด แม่บ้าน คนสวน คนงานต่างๆ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล การจ้างแบบนี้เป็นไปตามที่หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0406.4/ว 67 ลงวันที่ 14 ก.ค. 2553 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ้างไว้ว่า เป็น สัญญาจ้างทำของ ไม่ถือเป็นบุคคลของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ สวัสดิการที่พึงได้รับจากทางราชการเช่นเดียวกับข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือบุคลากรอื่นของรัฐได้รับ และไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งปัญหาลูกจ้างกลุ่มนี้ คือ ทำงานเหมือนข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ กระทั่งลูกจ้างชั่วคราวทุกประการ แต่ไม่มีสิทธิใดๆคุ้มครองทั้งสิ้น
แม้มีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ยืนยันว่า จ้างเหมาบริการ คือ จ้างแรงงาน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองในฐานะลูกจ้าง แต่หน่วยงานของรัฐก็ยังละเลย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 349/2556, อ. 531/2557 เนื่องจากลูกจ้างเหล่านี้ต้องมาปฏิบัติงานตามวันเวลาราชการ และต้องปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของผู้แทนของส่วนราชการ หาใช่เป็นการปฏิบัติงานโดยมีอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้น อีกทั้งยังมีการจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ใด มิได้มีการตรวจรับงาน คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ตามที่สัญญาจ้างทำของระบุแนวทางไว้
สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่าว จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ และเมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์จึงเป็นนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้าง ดังนั้นการที่ส่วนราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติกรณีดังกล่าว แม้จะกำหนดชื่อสัญญา ว่าเป็น สัญญาจ้างเหมาบริการ หรือฝ่ายลูกจ้างจะลงชื่อตามที่ระบุไว้ในสัญญาในฐานะเป็นผู้รับจ้างหรือฝ่ายนายจ้างจะลงชื่อระบุว่าเป็นผู้ว่าจ้างก็ตาม ในการพิจารณานิติสัมพันธ์ที่แท้จริงจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า สัญญาจ้างเหมาบริการ มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของอำพรางสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นนิติสัมพันธ์ที่แท้จริง และลูกจ้างเหล่านี้ก็กลายเป็นแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 ได้เท่านั้นเอง แม้มีนายจ้างชัดเจนเพียงใดก็ตาม
[full-post]
ปม 'ระเบียบคลังใหม่ว่าด้วยการจ้างพนักงาน' รมว.สาธารณสุข นำทีมถก รมว.คลัง 31 พ.ค.นี้ ด้าน'แพทย์ชนบท' ลั่นต้องยกเลิก และแก้ระเบียบเงินบำรุง สธ. ข้อ 10 ถึงจะงดชุมนุม 1 มิ.ย.นี้ นักวิจับสิทธิแรงงานเปิดประเด็นสวัสดิการลูกจ้างชั่วคราวภาครัฐที่หายไปจากกระแส
30 พ.ค.2561 จากกรณีกระทรวงการคลัง ออกระเบียบใหม่ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมาว่าด้วยการจ้างพนักงาน หรือ ลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ 2561 จนเกิดกระแสคัดค้านจาก ชมรมแพทย์ชนบทนัดรวมตัวแต่งดำมาประท้วงที่กระทรวงการคลัง วันที่ 1 มิ.ย.61 นั้น
รมว.สาธารณสุข นำทีมถก รมว.คลัง 31 พ.ค.นี้
ล่าสุดวันนี้ (30 พ.ค.61) เดลินิวส์ รายงานว่า นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ผอ.รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารเขตสุขภาพ ราวๆ 800 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับระเบียบดังกล่าว
โดยในช่วงแรก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนในการรับฟังความคิดเห็นก่อน โดยการประชุมดำเนินไปได้ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะกรรมการชมรมแพทย์ชนบทได้ขึ้นแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวตอนหนึ่งแนวตัดพ้อ ว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้ถึงเวลาเกษียณแล้วควรทำอะไรที่ถูกต้อง และไม่ควรอิงตามระเบียบกระทรวงการคลัง และปรับปรุงระเบียบเงินบำรุง ของกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่แตกต่างจากระเบียบกระทรวงการคลังเลย ปรากฎว่าระหว่างที่นพ.อารักษ์กล่าวอยู่นั้น พบว่ามีแพทย์จำนวนหนึ่งต่างทยอยเดินออกจากห้องประชุม ซึ่งจากการสอบถามต่างรู้สึกไม่พอใจและต้องการทำความเข้าใจเรื่องระเบียบที่ออกมาจริงๆ ไม่ได้ต้องการมาฟังอะไรแบบนี้ จนกระทั่งนพ.เจษฎา เดินทางมาถึงที่ประชุมกลุ่มแพทย์จึงได้กลับเข้าไปในห้องประชุมอีกครั้ง
นพ.เจษฎา กล่าวตอนหนึ่งว่า จากการรือร่วมกับกระทรวงการคลังเบื้องต้นในวันที่ 31 พ.ค.นี้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข พร้อมทั้งผู้แทนกทระทรวงฯอีก 5 คน ได้นัดหารือร่วมกับรมว.คลัง เพื่อหาทางออกเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยังบอกด้วยว่าระเบียบของกระทรงวการคลังไม่ชัดเจน ทำให้ตีความยากและขอให้มีการปรับปรุง ดังนั้นเชื่อว่าในการหารือระดับรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้น่าจะจบ
ด้าน ประธานชมรมแพทย์ชนบทขอร่วมวงถก ลั่นต้องยกเลิกระเบียบ ก.คลัง และแก้ระเบียบเงินบำรุงสธ. ในข้อ 10 ถึงจะงดชุมนุมในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
30 พ.ค.2561 จากกรณีกระทรวงการคลัง ออกระเบียบใหม่ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมาว่าด้วยการจ้างพนักงาน หรือ ลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ 2561 จนเกิดกระแสคัดค้านจาก ชมรมแพทย์ชนบทนัดรวมตัวแต่งดำมาประท้วงที่กระทรวงการคลัง วันที่ 1 มิ.ย.61 นั้น
รมว.สาธารณสุข นำทีมถก รมว.คลัง 31 พ.ค.นี้
ล่าสุดวันนี้ (30 พ.ค.61) เดลินิวส์ รายงานว่า นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ผอ.รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารเขตสุขภาพ ราวๆ 800 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับระเบียบดังกล่าว
โดยในช่วงแรก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนในการรับฟังความคิดเห็นก่อน โดยการประชุมดำเนินไปได้ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะกรรมการชมรมแพทย์ชนบทได้ขึ้นแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวตอนหนึ่งแนวตัดพ้อ ว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้ถึงเวลาเกษียณแล้วควรทำอะไรที่ถูกต้อง และไม่ควรอิงตามระเบียบกระทรวงการคลัง และปรับปรุงระเบียบเงินบำรุง ของกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่แตกต่างจากระเบียบกระทรวงการคลังเลย ปรากฎว่าระหว่างที่นพ.อารักษ์กล่าวอยู่นั้น พบว่ามีแพทย์จำนวนหนึ่งต่างทยอยเดินออกจากห้องประชุม ซึ่งจากการสอบถามต่างรู้สึกไม่พอใจและต้องการทำความเข้าใจเรื่องระเบียบที่ออกมาจริงๆ ไม่ได้ต้องการมาฟังอะไรแบบนี้ จนกระทั่งนพ.เจษฎา เดินทางมาถึงที่ประชุมกลุ่มแพทย์จึงได้กลับเข้าไปในห้องประชุมอีกครั้ง
นพ.เจษฎา กล่าวตอนหนึ่งว่า จากการรือร่วมกับกระทรวงการคลังเบื้องต้นในวันที่ 31 พ.ค.นี้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข พร้อมทั้งผู้แทนกทระทรวงฯอีก 5 คน ได้นัดหารือร่วมกับรมว.คลัง เพื่อหาทางออกเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยังบอกด้วยว่าระเบียบของกระทรงวการคลังไม่ชัดเจน ทำให้ตีความยากและขอให้มีการปรับปรุง ดังนั้นเชื่อว่าในการหารือระดับรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้น่าจะจบ
ด้าน ประธานชมรมแพทย์ชนบทขอร่วมวงถก ลั่นต้องยกเลิกระเบียบ ก.คลัง และแก้ระเบียบเงินบำรุงสธ. ในข้อ 10 ถึงจะงดชุมนุมในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
ส่วนหนึ่งของภาพบุคลากรของสาธารณะสุข แสดงออกซึ่งการคัดค้านระเบียบดังกล่าว ที่เผยแพร่ในเฟสบุ๊คแฟนเพจ ชมรมแพทย์ชนบท
'แพทย์ชนบท' ลั่นต้องยกเลิก และแก้ระเบียบเงินบำรุง สธ. ข้อ 10 ถึงจะงดชุมนุม 1 มิ.ย.นี้
เดลินิวส์รายงานด้วยว่า นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ยืนยันว่าการเรียกร้องของเราไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และตนก็จะขอไปรวมพูดคุยกับกระทรวงการคลังในวันที่ 31 พ.ค.นี้ด้วย ซึ่งผลสรุปของวันพรุ่งนี้จะเป็นที่มาว่าเราจะยกเลิกการชุมนุมที่กระทรวงการคลังในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ หรือไม่ โดยเราขอยืนยันว่าให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง และปรับแก้ระเบียบเงินบำรุงกระทรวงสาธารสุข ในข้อที่ 10 เพราะมีการเอาไปผูกโยงให้การจ้างงานลูกจ้างต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง ดังนั้นต้องยกเลิก 2 ข้อนี้
เดลินิวส์รายงานด้วยว่า นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ยืนยันว่าการเรียกร้องของเราไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และตนก็จะขอไปรวมพูดคุยกับกระทรวงการคลังในวันที่ 31 พ.ค.นี้ด้วย ซึ่งผลสรุปของวันพรุ่งนี้จะเป็นที่มาว่าเราจะยกเลิกการชุมนุมที่กระทรวงการคลังในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ หรือไม่ โดยเราขอยืนยันว่าให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง และปรับแก้ระเบียบเงินบำรุงกระทรวงสาธารสุข ในข้อที่ 10 เพราะมีการเอาไปผูกโยงให้การจ้างงานลูกจ้างต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง ดังนั้นต้องยกเลิก 2 ข้อนี้
สำหรับกรณีมีกระแสข่าวถูกฝ่ายปกครองกดดันเรื่องการปลดป้ายคัดค้าน และห้ามมาชุมนุมในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า มีบางรพ.ที่มีทหารไปเจรจา ส่วนตนได้รับการเจรจาทางโทรศัพท์ ก็ไม่เป็นไร ไม่ให้ขึ้นป้ายหน้ารพ.เราก็ย้ายไปขึ้นป้ายหน้าห้องผู้ป่วยนอกแทน
ครม. แจง หากมีความจำเป็น ให้ไปทำความตกลงกับคลังก่อน
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยสาระสำคัญ คือ ปรับเพิ่มการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ประกันตน จากเดิมเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน ปรับเป็น 600 บาทต่อบุตร 1 คน ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค.61 และปรับเพิ่มจำนวนบุตรจากเดิม 2 คน อายุไม่เกิน 6 ปี เป็นบุตร 3 คน อายุไม่เกิน 6 ปี โดยให้มีผลย้อนหลังถึง 20 ต.ค.58
ส่วนกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณปี 2561 เช่น กระทรวงสาธารณสุขอาจมีรายได้จากการเปิดคลินิกนอกเวลาแล้วนำรายได้ดังกล่าวไปจ้างพนักงาน หรือลูกจ้างชั่วคราว ต่อจากนี้ไประเบียบฯ ขอให้หน่วยงานราชการพึงหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว แต่หากหน่วยงานใดได้ดำเนินการไปก่อนที่ระเบียบฯ จะออกมาก็ให้ยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเมื่อหมดสัญญา แต่หากมีความจำเป็นขอให้ไปทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มี.ค.61 มีลูกจ้างที่เป็นแพทย์ 181 อัตรา, ทันตแพทย์ 4 อัตรา, เภสัชกร 202 อัตรา เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีข้อตกลงกับกระทรวงการคลังไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่จะบังคับใช้กับหน่วยงานอื่น
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยสาระสำคัญ คือ ปรับเพิ่มการจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ประกันตน จากเดิมเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน ปรับเป็น 600 บาทต่อบุตร 1 คน ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค.61 และปรับเพิ่มจำนวนบุตรจากเดิม 2 คน อายุไม่เกิน 6 ปี เป็นบุตร 3 คน อายุไม่เกิน 6 ปี โดยให้มีผลย้อนหลังถึง 20 ต.ค.58
ส่วนกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างโดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณปี 2561 เช่น กระทรวงสาธารณสุขอาจมีรายได้จากการเปิดคลินิกนอกเวลาแล้วนำรายได้ดังกล่าวไปจ้างพนักงาน หรือลูกจ้างชั่วคราว ต่อจากนี้ไประเบียบฯ ขอให้หน่วยงานราชการพึงหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว แต่หากหน่วยงานใดได้ดำเนินการไปก่อนที่ระเบียบฯ จะออกมาก็ให้ยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเมื่อหมดสัญญา แต่หากมีความจำเป็นขอให้ไปทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มี.ค.61 มีลูกจ้างที่เป็นแพทย์ 181 อัตรา, ทันตแพทย์ 4 อัตรา, เภสัชกร 202 อัตรา เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีข้อตกลงกับกระทรวงการคลังไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่จะบังคับใช้กับหน่วยงานอื่น
ประเด็นสวัสดิการลูกจ้างชั่วคราวภาครัฐที่หายไปจากกระแส ขณะที่ บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิจัยประเด็นสิทธิแรงงาน ให้สัมภาษณ์กับประชาไท กรณีนี้ด้วยว่า ที่น่าอดสูใจที่สุดในเรื่องนี้ คือ บรรดาแพทย์ชนบทจำนวนมากต่างออกมาประณามระเบียบฉบับนี้ว่า ถอยหลังเข้าคลอง รวบอำนาจ ต่างๆ นานา แต่แทบไม่มีซักคนที่ใหญ่ๆ โตๆ เหล่านั้น ที่พูดถึงสวัสดิการที่ลูกจ้างชั่วคราวภาครัฐกลุ่มนี้ต้องเผชิญจากการจ้างด้วยวิธีคิดแบบนี้ โดยเฉพาะการที่ระบุว่าให้จ้างได้ไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งและวุฒิ และไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้าง มีแต่กล่าวเพียงว่าตนเองจะประสบปัญหาใดบ้างจากระเบียบดังกล่าว แต่ไม่สนใจว่าลูกจ้างเหล่านี้เผชิญปัญหาใดบ้าง
ที่ผ่านมานั้นการจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณนั้น อย่างน้อยที่ผ่านมาก็มีระเบียบปฏิบัติปี 2542 เป็นหนังสือจากกระทรวงการคลัง ที่กค. 0527.6/ว31 ลงวันที่ 26 เม.ย. 2542 ระบุว่าส่วนราชการใดจะจ้างให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ยกเว้นหน่วยงานที่ไม่ต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลังก็สามารถจ้างได้เลย ต่อมาได้มีจดหมายจากกระทรวงการคลังที่ กค. 0415/ว.23 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2546 ได้เปลี่ยนใหม่ว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด ใช้ดุลยพินิจสามารถจ้างลูกจ้างเงินชั่วคราวได้เอง โดยไม่ต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลัง และต่อมาก็มีระเบียบกระทรวงการคลัง 18 พ.ค. 2561 กลับไปเหมือนเดิม คือ เหมือนปี 2542 คือ ต้องขออนุญาตกระทรวงการคลังก่อน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ระเบียบทุกฉบับ ยังคงระบุว่า การจ้างลูกจ้างชั่วคราวให้จ้างในอัตราไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งและไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้าง ทั้งนี้หากจะจ้างในอัตราสูงกว่าอัตราค่าข้างขั้นต่ำให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
ยกเว้นเพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงฯ โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง กรณีนี้พึ่งระบุเมื่อ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหากไปดูระเบียบกระทรวงสาธารณะสุขก็ยังคงใช้คำเดียวกันคือ ไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ยกเว้นเพียงการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่ใช้บัญชีเงินเดือนข้าราชการและเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีได้
- 7 ปีหลังความตาย 'คณาพันธุ์ ปานตระกูล' กับความคืบหน้าของลูกจ้างชั่วคราวกระทรวงสาธารณสุข
- "ลูกจ้างชั่วคราว" อัตวินิบาตกรรม "ชีวิตของผมคงจะกระตุ้นพวกท่านให้มีความอนุเคราะห์ลูกจ้างชั่วคราวบ้าง
- 'พยาบาลลูกจ้างชั่วคราว' ทวงสัญญา บรรจุเป็น ขรก.ประจำ
บุษยรัตน์ ตั้งคำถามว่า คนกลุ่มนี้ได้สิทธิอะไรบ้าง พร้อมอธิบายว่า (1) ลาป่วยตามจริง แต่ได้ค่าจ้าง 15 วัน หากลาเกินจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลา (2) ลาคลอดบุตร 90 วัน ได้ค่าจ้าง 45 วัน และต้องทำงานมาแล้วประมาณ 7 เดือนถึงใช้สิทธินี้ได้ และใช้ได้เฉพาะรายเดือนเท่านั้น (3) ไม่มีสิทธิลากิจใดๆทั้งสิ้นในทุกกรณี หากลาเกิน 15 วัน สามารถถูกเรียกสอบสวนทางวินัยได้ (4) ลาพักผ่อนไม่เกิน 10 วัน และ (5) อื่นๆเป็นไปตามสิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33
อีกเรื่องที่สำคัญและคุณหมอๆ ควรใส่ใจ คือ ยังคงมีลูกจ้างอีกกลุ่มที่เรียกว่า จ้างเหมาบริการ เช่น พนักงานขับรถยนต์พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด แม่บ้าน คนสวน คนงานต่างๆ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล การจ้างแบบนี้เป็นไปตามที่หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0406.4/ว 67 ลงวันที่ 14 ก.ค. 2553 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ้างไว้ว่า เป็น สัญญาจ้างทำของ ไม่ถือเป็นบุคคลของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ สวัสดิการที่พึงได้รับจากทางราชการเช่นเดียวกับข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือบุคลากรอื่นของรัฐได้รับ และไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งปัญหาลูกจ้างกลุ่มนี้ คือ ทำงานเหมือนข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ กระทั่งลูกจ้างชั่วคราวทุกประการ แต่ไม่มีสิทธิใดๆคุ้มครองทั้งสิ้น
แม้มีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ยืนยันว่า จ้างเหมาบริการ คือ จ้างแรงงาน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองในฐานะลูกจ้าง แต่หน่วยงานของรัฐก็ยังละเลย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 349/2556, อ. 531/2557 เนื่องจากลูกจ้างเหล่านี้ต้องมาปฏิบัติงานตามวันเวลาราชการ และต้องปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของผู้แทนของส่วนราชการ หาใช่เป็นการปฏิบัติงานโดยมีอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้น อีกทั้งยังมีการจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ใด มิได้มีการตรวจรับงาน คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ตามที่สัญญาจ้างทำของระบุแนวทางไว้
สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่าว จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ และเมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์จึงเป็นนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้าง ดังนั้นการที่ส่วนราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติกรณีดังกล่าว แม้จะกำหนดชื่อสัญญา ว่าเป็น สัญญาจ้างเหมาบริการ หรือฝ่ายลูกจ้างจะลงชื่อตามที่ระบุไว้ในสัญญาในฐานะเป็นผู้รับจ้างหรือฝ่ายนายจ้างจะลงชื่อระบุว่าเป็นผู้ว่าจ้างก็ตาม ในการพิจารณานิติสัมพันธ์ที่แท้จริงจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า สัญญาจ้างเหมาบริการ มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของอำพรางสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นนิติสัมพันธ์ที่แท้จริง และลูกจ้างเหล่านี้ก็กลายเป็นแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 ได้เท่านั้นเอง แม้มีนายจ้างชัดเจนเพียงใดก็ตาม
แสดงความคิดเห็น