Posted: 01 Nov 2018 05:52 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-11-01 19:52
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ
สำรวจรายละเอียดของความไม่สงบและความยากลำบากที่ประชาชนชายขอบจำนวนมากต้องเผชิญหนักหน่วงยิ่งขึ้นเพราะโลกเข้าใจว่าทุกอย่างในพม่าเป็นไปด้วยดี เริ่มต้นที่ ‘แม่ตาวคลินิก’ ก่อตั้งโดยหมอซินเธีย และเป็นที่พึ่งคนยากไร้ชายแดนไทย-พม่าเกือบ 30 ปี ซึ่งเผชิญการถูกตัดงบประมาณจากผู้บริจาคชาติตะวันตก พร้อมมาตรการรับมือทั้งปรับกำลังคน เพิ่มประสิทธิภาพงานสาธารณสุข เริ่มใช้ระบบร่วมจ่าย โดยยังคงรักษาภารกิจสำคัญอย่างการอบรมบุคลากรสาธารณสุขชายแดน และเน้นป้องกันโรค
สถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ พม่า ที่เปลี่ยนจากรัฐบาลทหารซึ่งปกครองมาตั้งแต่ปี 2505 มาสู่รัฐบาลพลเรือนนำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปปี 2553 และ 2558 นั้น แม้จะยังไม่ทำให้ประเทศเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบเต็มที่เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2551 ยังสงวนอำนาจทางการเมืองให้กับกองทัพพม่า แต่ก็เพียงพอให้ชาติตะวันตกปรับความสัมพันธ์ต่อพม่า ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร เข้ามาลงทุน รวมทั้งบริจาคทุนให้ความช่วยเหลือกับ ‘พม่า’ มากขึ้น
การเมืองภายในของประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้มีความเฉพาะตัวและซับซ้อน กระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Armed Organizations - EAOs) เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2554 นำมาสู่การริเริ่มลงนามเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ (National Ceasefire Agreement - NCA) เมื่อ 15 ตุลาคม 2558 มีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ 8 กลุ่มจาก 15 กลุ่มร่วมลงนาม และในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ก็มีเพิ่มอีก 2 กลุ่ม
แต่ถึงแม้จะมีการเจรจาสันติภาพมาตั้งแต่ปี 2554 ก็ตาม ในปัจจุบันขั้นตอนการเจรจาสันติภาพและการเจรจาทางการเมืองก็ยังไม่มีความคืบหน้า ในทางตรงข้ามกองทัพพม่าเองก็ขยายกำลังทางทหาร รวมทั้งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกทางการทหารเข้าไปในพื้นที่ของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย นำไปสู่การเผชิญหน้าและการปะทะทางทหารหลายครั้ง ซ้ำยังเลวร้ายลงไปอีกเมื่อกองทัพพม่ากวาดล้างชุมชนมุสลิมโรฮิงญาในเดือนสิงหาคมปี 2560 จนล่าสุดมีผู้อพยพมากกว่า 8 แสนคนที่ชายแดนบังกลาเทศ
สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า เพราะหลังรัฐบาลตะวันตกปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลพม่า ผู้บริจาคจากประเทศตะวันตกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็เริ่มตัดงบประมาณตามชายแดน หรือย้ายไปให้ความช่วยเหลือภายในพื้นที่ประเทศพม่าแทน
รายงานชุดนี้จะเข้าไปสำรวจรายละเอียดของความไม่สงบในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์และความยากลำบากที่ประชาชนชายขอบจำนวนมากต้องเผชิญหนักหน่วงยิ่งขึ้นเพราะโลกเข้าใจว่าทุกอย่างในพม่าเป็นไปด้วยดี เริ่มต้นที่ ‘แม่ตาวคลินิก’ สถานพยาบาลหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สอด และดำเนินการมาเกือบ 30 ปี จากนั้นในตอนต่อไปจะสำรวจชุมชนผู้อพยพจากรัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยง
ทำความเข้าใจการเมืองพม่าภายใน 1 นาที
1 ปีหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ รัฐบาลกลางก็นำพาพม่าเข้าสู่สงครามกลางเมืองกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกร้องอิสรภาพ โดยเฉพาะสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union – KNU) ตั้งแต่ปี 2492
สถานการณ์ยิ่งสลับซับซ้อน เมื่อนายพลเนวินทำรัฐประหารในปี 2505 พม่าถูกปกครองด้วยรัฐบาลทหารกว่า 5 ทศวรรษ มีการปราบปรามการลุกฮือของประชาชนในเหตุการณ์ ‘8888’ ปี 2531 และไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่พรรค NLD ชนะในปี 2533 รวมทั้งปราบปรามการชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาค่าเชื้อเพลิงนำโดยพระสงฆ์ซึ่งลุกลามเป็น ‘การปฏิวัติชายจีวร’ ในปี 2550
ต่อมามีการลงประชามติรัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งทำให้กองทัพพม่าหันมาสืบทอดอำนาจผ่านโครงสร้างทางการเมืองต่างๆ และนำมาสู่การเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2553 ทำให้ได้รัฐบาลกึ่งทหารกึ่งพลเรือน นำโดยพรรคสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลทหารพม่า ในนาม สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC)
ภายหลังการสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีของเต็งเส่ง อดีตนายทหารในกองทัพพม่าเมื่อ 30 มีนาคม 2554 นำมาสู่การประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2554 ว่าต้องการเจรจาสันติภาพกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศ
ผลจากกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2554 นำมาสู่การริเริ่มเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ จนกระทั่งเมื่อ 15 ตุลาคม 2558 มีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ 8 กลุ่มจากทั้งหมด 15 กลุ่มที่ริเริ่มลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ (National Ceasefire Agreement - NCA) กับรัฐบาลพม่า
ในจำนวนนี้มีกลุ่มที่สำคัญอย่าง สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) ลงนามด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีอีก 2 กลุ่มร่วมลงนาม คือ สหภาพประชาธิปไตยละหู่ (Lahu Democratic Union - LDU) และพรรครัฐมอญใหม่ (New Mon State Party - NMSP) [1], [2]
ตามมาด้วยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2558 เปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลพรรค USDP ไปสู่รัฐบาลพรรค NLD ที่นำโดยอองซานซูจี ในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐจนถึงปัจจุบัน แบ่งอำนาจกับกองทัพพม่าที่ยังคงมีโควตาที่นั่ง 1 ใน 4 ของสภาทุกระดับและมีบทบาทสำคัญทั้งในทางการเมืองและความมั่นคงตามที่รัฐธรรมนูญพม่าฉบับปี 2551 กำหนด
รู้จักแม่ตาวคลินิก ที่พึ่งคนยากไร้ชายแดนเกือบ 30 ปี
แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง รักษาผู้ป่วยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ภาพถ่ายในปี 2532 (ที่มา: แม่ตาวคลินิก)
แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง รักษาผู้ป่วยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ภาพถ่ายในปี 2533 (ที่มา: แม่ตาวคลินิก)
บัตรบันทึกการได้รับวัคซีนป้องกันโรคในเด็ก แปลเป็นภาษาอังกฤษและพม่า โดยบัตรบันทึกนี้ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุขจังหวัดตาก
คุณแม่พาเด็กทารกเข้ารับการตรวจสุขภาพและรับวัคซีนป้องกันโรคที่แม่ตาวคลินิก
แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง
แผนกเวชระเบียนในช่วงเช้าที่แม่ตาวคลินิก
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแม่ตาวคลินิกขณะอบรมคุณแม่หลังคลอด เรื่องอนามัยแม่และเด็ก และข้อมูลการฉีดวัคซีน จากสถิติของแม่ตาวคลินิกตลอดปี 2560 มีเด็กที่คลอดและเกิดมีชีพทั้งสิ้น 2,152 ราย (แฟ้มภาพ/มีนาคม 2560)
ไม่ไกลจากตัวเมืองแม่สอดไปทางทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของแม่ตาวคลินิก ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2532 โดยแพทย์หญิงซินเธีย หม่อง หรือคุณหมอซินเธีย รับรักษาคนไข้ยากจนตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทั้งประชากรในพื้นที่ชายแดนทั้งสองประเทศ แรงงานข้ามชาติและผู้อพยพ
หมอซินเธีย หม่อง เกิดในครอบครัวชาวกะเหรี่ยงที่ย่างกุ้งในปี 2502 พ่อเป็นผู้ช่วยพยาบาล เธอเติบโตที่มะละแหม่ง รัฐมอญ ต่อมาเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ช่วงปี 2523 ซึ่งขณะนั้นขบวนการนักศึกษาพม่าเริ่มก่อตัว ปี 2530 หมอซินเธียเริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านอินตู (Eain Du) ในรัฐกะเหรี่ยง เมืองที่อยู่ไม่ไกลจากผาอันเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงและเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับเมืองเมียวดีที่ชายแดนไทย-พม่า ที่นี่เองคุณหมอได้เห็นการละเมิดของกองทัพพม่า ทั้งการบังคับเก็บภาษี การเกณฑ์แรงงาน การเข้าถึงแพทย์เป็นไปอย่างจำกัดในขณะที่วัณโรคกำลังระบาด
กระทั่งเกิดการลุกฮือประท้วงในย่างกุ้งและลามไปทั่วประเทศในปี 2531 หรือเหตุการณ์ 8888 (วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988) คุณหมอเข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย หลังกองทัพพม่าปราบปรามนักศึกษาในเดือนสิงหาคมนั้น วันที่ 21 กันยายนคุณหมอและเพื่อนอีก 14 คนก็ตัดสินใจเดินเท้าเป็นเวลา 10 คืนจนมาถึงชายแดนไทย
หมอซินเธียรักษาผู้คนที่เจ็บป่วยและบาดเจ็บตามแนวชายแดน จนกระทั่งมีความคิดเปิดแม่ตาวคลินิก ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2532 เริ่มต้นจากบ้านไม้หลังเล็กๆ ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในสภาพขาดแคลนเวชภัณฑ์ ใช้หม้อหุงข้าวฆ่าเชื้ออุปกรณ์ อีกทั้งเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ก็ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมทางการแพทย์
โดยแม่ตาวคลินิกกำลังจะเข้าสู่ปีที่ 30 ในปี 2562 เป็นสถานพยาบาลที่มีความสำคัญมากของชายแดน แต่ละปีรักษาผู้ป่วยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ในจำนวนนี้เป็นการทำคลอดราว 2,300 ราย ที่นี่ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านสาธารณสุขให้กับอาสาสมัครและบุคลากรสาธารณสุขขั้นพื้นฐานมาแล้วมากกว่า 2,000 คน เจ้าหน้าที่เหล่านี้กลับเข้าไปมีบทบาทสำคัญในพื้นที่ห่างไกลทางด้านตะวันออกของพม่าซึ่งเป็นถิ่นฐานของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ ครอบคลุมพื้นที่ รัฐฉาน รัฐกะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ ผ่านระบบสร้างเสริมศักยภาพสุขภาพ (Health System Strengthening - HSS) ที่เป็นการร่วมมือกันขององค์กรด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ 8 องค์กร
อินโฟกราฟฟิกโดย กิตติยา อรอินทร์
สถานการณ์ท้าทายเมื่อแหล่งทุนทยอยยุติความช่วยเหลือ
ผลจากการเจรจาหยุดยิงและกระบวนการสันติภาพที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2554 จนเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2558 ตามมาด้วยการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558 ที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลพรรค NLD ดูเหมือนพม่าจะเปิดกว้างต่อนานาชาติมากขึ้น แม้จะยังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ แต่เมื่อบรรยากาศทางการเมืองส่วนกลางผ่อนคลายก็ทำให้ความสนับสนุนจากต่างประเทศเริ่มเข้าสู่พม่ามากขึ้น
ทิศทางเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดนซึ่งยังคงประสบปัญหาด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
จากข้อมูลของมูลนิธิสุวรรณนิมิตซึ่งเป็นองค์กรร่มของแม่ตาวคลินิกเปิดเผยว่า งบประมาณที่แม่ตาวคลินิกได้รับจากองค์กรผู้บริจาคในปี 2561 เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จริงๆ เพียง 25% เท่านั้น โดยผู้บริจาคหลัก เช่น UK Aid ของสหราชอาณาจักร และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USAID แจ้งว่าไม่สามารถให้งบประมาณช่วยเหลือสำหรับชายแดนไทย-พม่าได้อีกต่อไป และต้องย้ายไปดำเนินการภายในประเทศพม่าแทน ทำให้แม่ตาวคลินิกต้องหาแหล่งงบประมาณและการบริจาคอื่นมาชดเชย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานต่อไปให้ได้ มิเช่นนั้นจะต้องตัดงบประมาณด้านสาธารณสุขหลายโครงการรวมทั้งโครงการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก และจะส่งผลกระทบต่อการป้องกันโรคระบาดตามแนวชายแดน
อย่างไรก็ตามผู้บริจาคเหล่านั้นยังคงพยายามช่วยเหลือด้านการบริการสาธารณสุขชายแดนพม่า โดยร่วมกันสนับสนุนผ่านโครงการและองค์กรพัฒนาเอกชนหลายกลุ่ม ในรอบ 4 ปีมานี้เริ่มเห็นผลว่ามีการปรับปรุงเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนพม่า อย่างไรก็ตามพื้นที่ชายแดนยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อนสำหรับรัฐบาลพม่า จึงทำให้แม้แต่คนทำงานด้านสาธารณสุขเองก็ต้องตระหนักถึงข้อจำกัดในเรื่องนี้
"องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านตะวันออกของพม่าและในพื้นที่รัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ต้องระมัดระวังเรื่องความละเอียดอ่อนทางการเมือง การทำงานเพื่อเสริมศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์จึงเป็นงานที่ยาก" หมอซินเธียกล่าว
ผลจากการเจรจาหยุดยิงและกระบวนการสันติภาพที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2554 จนเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2558 ตามมาด้วยการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558 ที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลพรรค NLD ดูเหมือนพม่าจะเปิดกว้างต่อนานาชาติมากขึ้น แม้จะยังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ แต่เมื่อบรรยากาศทางการเมืองส่วนกลางผ่อนคลายก็ทำให้ความสนับสนุนจากต่างประเทศเริ่มเข้าสู่พม่ามากขึ้น
ทิศทางเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดนซึ่งยังคงประสบปัญหาด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน
จากข้อมูลของมูลนิธิสุวรรณนิมิตซึ่งเป็นองค์กรร่มของแม่ตาวคลินิกเปิดเผยว่า งบประมาณที่แม่ตาวคลินิกได้รับจากองค์กรผู้บริจาคในปี 2561 เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จริงๆ เพียง 25% เท่านั้น โดยผู้บริจาคหลัก เช่น UK Aid ของสหราชอาณาจักร และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USAID แจ้งว่าไม่สามารถให้งบประมาณช่วยเหลือสำหรับชายแดนไทย-พม่าได้อีกต่อไป และต้องย้ายไปดำเนินการภายในประเทศพม่าแทน ทำให้แม่ตาวคลินิกต้องหาแหล่งงบประมาณและการบริจาคอื่นมาชดเชย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานต่อไปให้ได้ มิเช่นนั้นจะต้องตัดงบประมาณด้านสาธารณสุขหลายโครงการรวมทั้งโครงการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก และจะส่งผลกระทบต่อการป้องกันโรคระบาดตามแนวชายแดน
อย่างไรก็ตามผู้บริจาคเหล่านั้นยังคงพยายามช่วยเหลือด้านการบริการสาธารณสุขชายแดนพม่า โดยร่วมกันสนับสนุนผ่านโครงการและองค์กรพัฒนาเอกชนหลายกลุ่ม ในรอบ 4 ปีมานี้เริ่มเห็นผลว่ามีการปรับปรุงเรื่องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนพม่า อย่างไรก็ตามพื้นที่ชายแดนยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อนสำหรับรัฐบาลพม่า จึงทำให้แม้แต่คนทำงานด้านสาธารณสุขเองก็ต้องตระหนักถึงข้อจำกัดในเรื่องนี้
"องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านตะวันออกของพม่าและในพื้นที่รัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ต้องระมัดระวังเรื่องความละเอียดอ่อนทางการเมือง การทำงานเพื่อเสริมศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์จึงเป็นงานที่ยาก" หมอซินเธียกล่าว
ปรับลดกำลังคน เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงานสาธารณสุข
สำหรับการปรับตัวในรูปธรรม ในรอบปีที่ผ่านมาแม่ตาวคลินิกมีการลดจำนวนเจ้าหน้าที่ของทุกแผนงานทุกโครงการลงจาก 400 คน เป็น 300 คน รวมทั้งลดเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนลง 20% ด้วย
หมอซินเธียเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการทบทวนโครงสร้างบุคลากรของแม่ตาวคลินิก มีการวางแผนเรื่องจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม มีการปรับปรุงเพื่อให้ดำเนินการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการแสวงหาพันธมิตรและผู้บริจาคร่วมในระดับภูมิภาครายอื่นๆ ทดแทน
เช่น ภาคเอกชนในไทยที่ช่วยสนับสนุนเวชภัณฑ์เป็นครั้งคราว ความช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชนในเอเชียทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (GGP) จากรัฐบาลญี่ปุ่น สมาคมชาวญี่ปุ่นเพื่อแม่ตาวคลินิก (JAM) หรือความช่วยเหลือจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ฯลฯ
เริ่มใช้ระบบร่วมจ่ายตามกำลังทรัพย์
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษา เริ่มมีการใช้ระบบร่วมจ่ายตามความสมัครใจของผู้ป่วยมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2560 แต่ไม่ได้ใช้กับทุกการรักษา โดยยังใช้ระบบร่วมจ่ายกับบริการสาธารณสุขที่ไม่ใช่โรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น การตัดวัดสายตาและตัดแว่น การผ่าตัดและการรักษาประเภทที่ไม่ใช่เหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน
บางกรณีผู้ป่วยอาจสมทบค่ารักษาพยาบาลได้ 25% หากไม่สามารถจ่ายได้ก็อาจลดเงินสมทบลงมาเป็น 10% หรือ 15% หรือขอสมทบเป็นค่ารักษาพยาบาลตามศัยกยภาพของผู้ป่วย เช่น 100 บาท 50 บาท
เจ้าหน้าที่มูลนิธิสุวรรณนิมิตเปิดเผยว่า ผลการประเมินเบื้องต้นหลังใช้ระบบร่วมจ่ายตามความสมัครใจมาแล้วครบ 1 ปี เงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของคลินิก ทำได้เพียงช่วยต่อลมหายใจให้กับการดำเนินงานเท่านั้น
นอกจากนี้แม่ตาวคลินิกยังส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนสามารถเข้าถึงการซื้อประกันสุขภาพในราคาที่เหมาะสมด้วย โครงการนี้ได้รับการส่งเสริมโดยเอ็นจีโอด้านสุขภาพ แม้ว่าแรงงานบางคนไม่มีเอกสารประจำตัวก็พยายามหาทางช่วยให้สามารถเข้าถึงการซื้อประกันสุขภาพให้ได้
สาธารณสุขชายแดนเข้าถึงพื้นที่มากขึ้น แต่ติดปัญหารัฐบาลพม่าไม่ยอมรับ
แม้จะมีการเริ่มเจรจาสันติภาพจนนำไปสู่ข้อตกลงขั้นต้นที่จะหยุดยิงทั่วประเทศเมื่อปี 2558 แต่ปัจจุบันการเจรจายังไม่มีความคืบหน้า ข้อตกลงทางการเมืองยังไม่บรรลุผล และบ่อยครั้งก็ยังคงมีการปะทะและมีการเคลื่อนกำลังของทหารรัฐบาลพม่าเข้ามาในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง
หมอซินเธียกล่าวถึงผลจากกระบวนการเจรจาสันติภาพในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงซึ่งส่งผลต่อสถานการณ์สาธารณสุขชายแดนว่า ที่ผ่านมากว่า 50% ของผู้ป่วยที่มารักษาที่แม่ตาวคลินิกจะข้ามมาจากฝั่งพม่า หลังการหยุดยิงตัวเลขของผู้ป่วยในแต่ละปีแม้จะเปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่ตัวเลขการเจ็บป่วยบางกรณีก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
กรณีมาลาเรีย ตั้งแต่มีการหยุดยิงทำให้อาสาสมัครด้านสาธารณสุขที่ทำงานด้านการป้องกันโรคมาลาเรียทำงานสะดวกมากขึ้น หน่วยวิจัยมาลาเรีย Shoklo Malaria Research Unit หรือ SMRU ที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหิดลและออกซฟอร์ดก็สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงได้มากขึ้น ส่งผลต่อการลดจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนพม่าด้านตะวันออก อย่างไรก็ตาม ปัญหายังมีอยู่ว่าจนถึงขณะนี้รัฐบาลพม่ายังไม่รับรองบุคลากรสาธารณสุขชายแดน โดยเฉพาะบุคลากรจากกลุ่มชาติพันธุ์และยังไม่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขรัฐบาลพม่ากับองค์กรด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์
"เมื่อรัฐบาลพม่ายังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรับรองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ ในทางปฏิบัติก็จะเห็นการทำงานที่ก้าวก่ายคู่ขนานกันไประหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน ที่พอจะเห็นความร่วมมือกันอยู่บ้างก็เช่นการยอมอบรมสาธารณสุข แพทย์ผดุงครรภ์ หรืออบรมการใช้วัคซีนร่วมกัน ในแง่นี้การเข้าถึงพื้นที่อาจมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ในเรื่องของการยอมรับและความร่วมมือระหว่างกันยังคงไม่ชัดเจน" หมอซินเธียกล่าว
นอกจากนี้หลังการหยุดยิงยังมีผลกระทบด้านสาธารณสุขที่คาดไม่ถึงตามมาด้วย นั่นคือ การลงทุนและการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งเหมืองแร่ การทำไม้ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หมอซินเธียบอกว่า การพัฒนาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการปรึกษาหรือทำประชาพิจารณ์กับชุมชนจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน และยังเกิดปัญหาอพยพย้ายถิ่นของคนในชุมชนอีกด้วย
ความเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงอีกอย่างคือปัญหาของอุบัติเหตุทางถน ปัจจุบัมีการส่งต่อเคสผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนจากฝั่งพม่ามาที่แม่ตาวคลินิกมากขึ้น ทั้งที่เมื่อก่อนเคสฉุกเฉินมักเป็นกรณีผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ หมอซินเธียเห็นว่าต้องมีการวิจัยหาสาเหตุว่าเพราะอะไร อาจมาจากสภาพถนนที่ไม่ปลอดภัยเพราะการก่อสร้างไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือไม่มีการอบรมเรื่องกฎจราจรหรือฝึกด้านความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างเพียงพอ
เดินหน้าอบรมต่อ เน้นยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน
ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ยุทธศาสตร์หนึ่งของแม่ตาวคลินิกที่จะดำเนินการต่อก็คือ การอบรมสร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญด้านสาธารณสุข ในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ อย่างรัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนี และรัฐมอญ โดยเฉพาะการอบรมให้เจ้าหน้าที่อนามัย แพทย์ผดุงครรภ์ เพื่อปรับปรุงการบริการและการเข้าถึงบริการในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาประมาณ 50% ของคนไข้ที่แม่ตาวคลินิกนั้นข้ามฝั่งมาจากพม่า
"ถ้าเคสผู้ป่วยโรคพื้นฐานที่จะข้ามมาทำการรักษาลดจำนวนลง การใช้จ่ายงบประมาณของแม่ตาวคลินิกก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันโรค ถ้ามีผู้ป่วยมาลาเรีย 4,000 ราย งบประมาณที่ใช้ย่อมต่างจากการรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย 400 ราย ดังนั้นยุทธศาสตร์ของแม่ตาวคลินิกจึงคงอบรมบุคลากรสาธารณสุขเพื่อทำให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง"
ความท้าทายก็คือ การทำแผนที่ภาพรวมของการบริการและการสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างองค์กรด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชน ยังคงเป็นเรื่องยาก ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและสร้างความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน
สร้างระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
แม่ตาวคลินิกเริ่มต้นส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลศูนย์เมียวดีฝั่งพม่านับตั้งแต่ปี 2558 โดยมุ่งหวังจะเสริมศักยภาพให้กับความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่าง 2 รัฐบาลไทย-พม่า หลายปีก่อนแม่ตาวคลินิกเคยส่งต่อคนไข้เอชไอวีและวัณโรคไปยังโรงพยาบาลแม่สอด ช่วงที่รัฐบาลไทยได้รับการสนับสนุนงบสำหรับป้องกันรักษาโรคเอชไอวีและวัณโรคสำหรับประชากรข้ามชาติ จาก Global Fund จนเมื่อ Global Fund ยุติการสนับสนุน แม่ตาวคลินิกก็ไม่ได้ส่งต่อคนไข้ในกรณีนี้อีก
"สำหรับการส่งต่อผู้ป่วย เราจะพิจารณาทั้งศักยภาพของสถานพยาบาลที่จะรับตัวผู้ป่วยและความสะดวกของผู้ป่วย จึงต้องพิจารณารายกรณี ไม่สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลเมียวดีได้ทันที เพราะบางเคสผู้ป่วยไม่ได้อาศัยอยู่ที่เมืองเมียวดี แต่มาจากพื้นที่อื่นในพม่า ถ้าผู้ป่วยต้องการให้ส่งต่อกลับไปยังภูมิลำเนาก็จะเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเราก็จะไม่สามารถติดต่อกับเคสผู้ป่วยได้อีก"
กรณีผู้ป่วยเอชไอวี เป็นโรคทางยุทธศาสตร์หลักที่แม่ตาวคลินิกดูแล จะมีการให้คำปรึกษา ตรวจรักษา ในกรณีที่จะส่งต่อเคสกลับไปรักษาฝั่งพม่าเราก็ยังต้องติดตามผู้ป่วยอยู่ บางครั้งพวกเขายังต้องทำงานในฝั่งแม่สอด เพียงกลับไปรับยา รับการรักษาที่ฝั่งพม่าแล้วกลับมาทำงานฝั่งไทย กรณีนี้จึงจำเป็นต้องสนับสนุนทั้งการรักษาที่บ้าน (Home based cares) รวมทั้งการดูแลโดยผู้นำชุมชน ดังนั้นแม้มีการส่งต่อผู้ป่วย แต่ในภาพรวมทางแม่ตาวคลินิกก็ยังจำเป็นต้องดูแลโครงการเหล่านี้อยู่
เล็งเชื่อมโยงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพม่ากับยุทธศาสตร์การแพทย์ชายแดน
"เมื่อเราพิจารณาสถิติด้านสาธารณสุข เราพบว่าความมั่นคงด้านสาธารณสุข และการป้องกันโรคสำหรับเด็กยังคงเป็นข้อท้าทายใหญ่ของเรา"
ที่ชายแดนยังมีกลุ่มประชากรเคลื่อนย้ายซึ่งหมายถึงกลุ่มประชากรที่ไม่มีเอกสารและประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ไม่ว่าจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ที่สำคัญยังมีเด็กที่ติดตามมากับครอบครัวประชากรเคลื่อนย้ายเหล่านี้นอกจากเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขแล้ว ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านการศึกษาด้วย
ขณะที่โจทย์ของรัฐบาลพม่าตั้งเป้าหมายจะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) หมอซินเธียนำเสนอว่าการพัฒนาแพ็กเกจด้านการรักษาและดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด ต้องคิดคำนวณว่าบริการการแพทย์ใดมีความจำเป็นมากที่สุด ใช้จ่ายงบประมาณเท่าไร จะนำมาจากไหน คนไข้จะต้องจ่ายค่ารักษาเท่าไร ในขณะที่ระบบประกันสุขภาพก็ยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับรัฐบาลพม่าแล้วหนทางยังอีกไกลกว่าจะพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ยังไม่นับว่าบริการสาธารณสุขเหล่านี้จะครอบคลุมได้กี่อำเภอ ปัจจุบันพม่าแบ่งเป็น 330 อำเภอ รัฐบาลพม่าประกาศว่าจะนำร่องระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน 50 อำเภอใน 5 ปีแรก(ปี 2017-2021) ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมรัฐกะเหรี่ยง
หมอซินเธียกล่าวว่า ความท้าทายในอนาคตก็คือทั้งแม่ตาวคลินิก องค์กรภาคี พยายามที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนเพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่ายระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างระบบป้องกันโรคและดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
"เราถือว่าพันธกิจของเรา ได้ช่วยเหลือประชาชนในจุดที่รัฐบาลยังไม่สามารถเข้าถึงได้ แม่ตาวคลินิกจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง 2 รัฐ ทำให้ผู้คนชายแดนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว" หมอซินเธียกล่าว
สำหรับการปรับตัวในรูปธรรม ในรอบปีที่ผ่านมาแม่ตาวคลินิกมีการลดจำนวนเจ้าหน้าที่ของทุกแผนงานทุกโครงการลงจาก 400 คน เป็น 300 คน รวมทั้งลดเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนลง 20% ด้วย
หมอซินเธียเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการทบทวนโครงสร้างบุคลากรของแม่ตาวคลินิก มีการวางแผนเรื่องจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม มีการปรับปรุงเพื่อให้ดำเนินการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการแสวงหาพันธมิตรและผู้บริจาคร่วมในระดับภูมิภาครายอื่นๆ ทดแทน
เช่น ภาคเอกชนในไทยที่ช่วยสนับสนุนเวชภัณฑ์เป็นครั้งคราว ความช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชนในเอเชียทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (GGP) จากรัฐบาลญี่ปุ่น สมาคมชาวญี่ปุ่นเพื่อแม่ตาวคลินิก (JAM) หรือความช่วยเหลือจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ฯลฯ
เริ่มใช้ระบบร่วมจ่ายตามกำลังทรัพย์
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษา เริ่มมีการใช้ระบบร่วมจ่ายตามความสมัครใจของผู้ป่วยมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2560 แต่ไม่ได้ใช้กับทุกการรักษา โดยยังใช้ระบบร่วมจ่ายกับบริการสาธารณสุขที่ไม่ใช่โรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น การตัดวัดสายตาและตัดแว่น การผ่าตัดและการรักษาประเภทที่ไม่ใช่เหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน
บางกรณีผู้ป่วยอาจสมทบค่ารักษาพยาบาลได้ 25% หากไม่สามารถจ่ายได้ก็อาจลดเงินสมทบลงมาเป็น 10% หรือ 15% หรือขอสมทบเป็นค่ารักษาพยาบาลตามศัยกยภาพของผู้ป่วย เช่น 100 บาท 50 บาท
เจ้าหน้าที่มูลนิธิสุวรรณนิมิตเปิดเผยว่า ผลการประเมินเบื้องต้นหลังใช้ระบบร่วมจ่ายตามความสมัครใจมาแล้วครบ 1 ปี เงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของคลินิก ทำได้เพียงช่วยต่อลมหายใจให้กับการดำเนินงานเท่านั้น
นอกจากนี้แม่ตาวคลินิกยังส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนสามารถเข้าถึงการซื้อประกันสุขภาพในราคาที่เหมาะสมด้วย โครงการนี้ได้รับการส่งเสริมโดยเอ็นจีโอด้านสุขภาพ แม้ว่าแรงงานบางคนไม่มีเอกสารประจำตัวก็พยายามหาทางช่วยให้สามารถเข้าถึงการซื้อประกันสุขภาพให้ได้
สาธารณสุขชายแดนเข้าถึงพื้นที่มากขึ้น แต่ติดปัญหารัฐบาลพม่าไม่ยอมรับ
แม้จะมีการเริ่มเจรจาสันติภาพจนนำไปสู่ข้อตกลงขั้นต้นที่จะหยุดยิงทั่วประเทศเมื่อปี 2558 แต่ปัจจุบันการเจรจายังไม่มีความคืบหน้า ข้อตกลงทางการเมืองยังไม่บรรลุผล และบ่อยครั้งก็ยังคงมีการปะทะและมีการเคลื่อนกำลังของทหารรัฐบาลพม่าเข้ามาในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง
หมอซินเธียกล่าวถึงผลจากกระบวนการเจรจาสันติภาพในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงซึ่งส่งผลต่อสถานการณ์สาธารณสุขชายแดนว่า ที่ผ่านมากว่า 50% ของผู้ป่วยที่มารักษาที่แม่ตาวคลินิกจะข้ามมาจากฝั่งพม่า หลังการหยุดยิงตัวเลขของผู้ป่วยในแต่ละปีแม้จะเปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่ตัวเลขการเจ็บป่วยบางกรณีก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
กรณีมาลาเรีย ตั้งแต่มีการหยุดยิงทำให้อาสาสมัครด้านสาธารณสุขที่ทำงานด้านการป้องกันโรคมาลาเรียทำงานสะดวกมากขึ้น หน่วยวิจัยมาลาเรีย Shoklo Malaria Research Unit หรือ SMRU ที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหิดลและออกซฟอร์ดก็สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงได้มากขึ้น ส่งผลต่อการลดจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนพม่าด้านตะวันออก อย่างไรก็ตาม ปัญหายังมีอยู่ว่าจนถึงขณะนี้รัฐบาลพม่ายังไม่รับรองบุคลากรสาธารณสุขชายแดน โดยเฉพาะบุคลากรจากกลุ่มชาติพันธุ์และยังไม่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขรัฐบาลพม่ากับองค์กรด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์
"เมื่อรัฐบาลพม่ายังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรับรองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ ในทางปฏิบัติก็จะเห็นการทำงานที่ก้าวก่ายคู่ขนานกันไประหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน ที่พอจะเห็นความร่วมมือกันอยู่บ้างก็เช่นการยอมอบรมสาธารณสุข แพทย์ผดุงครรภ์ หรืออบรมการใช้วัคซีนร่วมกัน ในแง่นี้การเข้าถึงพื้นที่อาจมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ในเรื่องของการยอมรับและความร่วมมือระหว่างกันยังคงไม่ชัดเจน" หมอซินเธียกล่าว
นอกจากนี้หลังการหยุดยิงยังมีผลกระทบด้านสาธารณสุขที่คาดไม่ถึงตามมาด้วย นั่นคือ การลงทุนและการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งเหมืองแร่ การทำไม้ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หมอซินเธียบอกว่า การพัฒนาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการปรึกษาหรือทำประชาพิจารณ์กับชุมชนจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน และยังเกิดปัญหาอพยพย้ายถิ่นของคนในชุมชนอีกด้วย
ความเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงอีกอย่างคือปัญหาของอุบัติเหตุทางถน ปัจจุบัมีการส่งต่อเคสผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนจากฝั่งพม่ามาที่แม่ตาวคลินิกมากขึ้น ทั้งที่เมื่อก่อนเคสฉุกเฉินมักเป็นกรณีผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ หมอซินเธียเห็นว่าต้องมีการวิจัยหาสาเหตุว่าเพราะอะไร อาจมาจากสภาพถนนที่ไม่ปลอดภัยเพราะการก่อสร้างไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือไม่มีการอบรมเรื่องกฎจราจรหรือฝึกด้านความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างเพียงพอ
เดินหน้าอบรมต่อ เน้นยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน
ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ยุทธศาสตร์หนึ่งของแม่ตาวคลินิกที่จะดำเนินการต่อก็คือ การอบรมสร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญด้านสาธารณสุข ในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ อย่างรัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนี และรัฐมอญ โดยเฉพาะการอบรมให้เจ้าหน้าที่อนามัย แพทย์ผดุงครรภ์ เพื่อปรับปรุงการบริการและการเข้าถึงบริการในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาประมาณ 50% ของคนไข้ที่แม่ตาวคลินิกนั้นข้ามฝั่งมาจากพม่า
"ถ้าเคสผู้ป่วยโรคพื้นฐานที่จะข้ามมาทำการรักษาลดจำนวนลง การใช้จ่ายงบประมาณของแม่ตาวคลินิกก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันโรค ถ้ามีผู้ป่วยมาลาเรีย 4,000 ราย งบประมาณที่ใช้ย่อมต่างจากการรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย 400 ราย ดังนั้นยุทธศาสตร์ของแม่ตาวคลินิกจึงคงอบรมบุคลากรสาธารณสุขเพื่อทำให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง"
ความท้าทายก็คือ การทำแผนที่ภาพรวมของการบริการและการสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างองค์กรด้านสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชน ยังคงเป็นเรื่องยาก ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและสร้างความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน
สร้างระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
แม่ตาวคลินิกเริ่มต้นส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลศูนย์เมียวดีฝั่งพม่านับตั้งแต่ปี 2558 โดยมุ่งหวังจะเสริมศักยภาพให้กับความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่าง 2 รัฐบาลไทย-พม่า หลายปีก่อนแม่ตาวคลินิกเคยส่งต่อคนไข้เอชไอวีและวัณโรคไปยังโรงพยาบาลแม่สอด ช่วงที่รัฐบาลไทยได้รับการสนับสนุนงบสำหรับป้องกันรักษาโรคเอชไอวีและวัณโรคสำหรับประชากรข้ามชาติ จาก Global Fund จนเมื่อ Global Fund ยุติการสนับสนุน แม่ตาวคลินิกก็ไม่ได้ส่งต่อคนไข้ในกรณีนี้อีก
"สำหรับการส่งต่อผู้ป่วย เราจะพิจารณาทั้งศักยภาพของสถานพยาบาลที่จะรับตัวผู้ป่วยและความสะดวกของผู้ป่วย จึงต้องพิจารณารายกรณี ไม่สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลเมียวดีได้ทันที เพราะบางเคสผู้ป่วยไม่ได้อาศัยอยู่ที่เมืองเมียวดี แต่มาจากพื้นที่อื่นในพม่า ถ้าผู้ป่วยต้องการให้ส่งต่อกลับไปยังภูมิลำเนาก็จะเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะเราก็จะไม่สามารถติดต่อกับเคสผู้ป่วยได้อีก"
กรณีผู้ป่วยเอชไอวี เป็นโรคทางยุทธศาสตร์หลักที่แม่ตาวคลินิกดูแล จะมีการให้คำปรึกษา ตรวจรักษา ในกรณีที่จะส่งต่อเคสกลับไปรักษาฝั่งพม่าเราก็ยังต้องติดตามผู้ป่วยอยู่ บางครั้งพวกเขายังต้องทำงานในฝั่งแม่สอด เพียงกลับไปรับยา รับการรักษาที่ฝั่งพม่าแล้วกลับมาทำงานฝั่งไทย กรณีนี้จึงจำเป็นต้องสนับสนุนทั้งการรักษาที่บ้าน (Home based cares) รวมทั้งการดูแลโดยผู้นำชุมชน ดังนั้นแม้มีการส่งต่อผู้ป่วย แต่ในภาพรวมทางแม่ตาวคลินิกก็ยังจำเป็นต้องดูแลโครงการเหล่านี้อยู่
เล็งเชื่อมโยงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพม่ากับยุทธศาสตร์การแพทย์ชายแดน
"เมื่อเราพิจารณาสถิติด้านสาธารณสุข เราพบว่าความมั่นคงด้านสาธารณสุข และการป้องกันโรคสำหรับเด็กยังคงเป็นข้อท้าทายใหญ่ของเรา"
ที่ชายแดนยังมีกลุ่มประชากรเคลื่อนย้ายซึ่งหมายถึงกลุ่มประชากรที่ไม่มีเอกสารและประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ไม่ว่าจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ที่สำคัญยังมีเด็กที่ติดตามมากับครอบครัวประชากรเคลื่อนย้ายเหล่านี้นอกจากเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขแล้ว ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านการศึกษาด้วย
ขณะที่โจทย์ของรัฐบาลพม่าตั้งเป้าหมายจะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) หมอซินเธียนำเสนอว่าการพัฒนาแพ็กเกจด้านการรักษาและดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด ต้องคิดคำนวณว่าบริการการแพทย์ใดมีความจำเป็นมากที่สุด ใช้จ่ายงบประมาณเท่าไร จะนำมาจากไหน คนไข้จะต้องจ่ายค่ารักษาเท่าไร ในขณะที่ระบบประกันสุขภาพก็ยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับรัฐบาลพม่าแล้วหนทางยังอีกไกลกว่าจะพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ยังไม่นับว่าบริการสาธารณสุขเหล่านี้จะครอบคลุมได้กี่อำเภอ ปัจจุบันพม่าแบ่งเป็น 330 อำเภอ รัฐบาลพม่าประกาศว่าจะนำร่องระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน 50 อำเภอใน 5 ปีแรก(ปี 2017-2021) ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมรัฐกะเหรี่ยง
หมอซินเธียกล่าวว่า ความท้าทายในอนาคตก็คือทั้งแม่ตาวคลินิก องค์กรภาคี พยายามที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนเพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่ายระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างระบบป้องกันโรคและดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
"เราถือว่าพันธกิจของเรา ได้ช่วยเหลือประชาชนในจุดที่รัฐบาลยังไม่สามารถเข้าถึงได้ แม่ตาวคลินิกจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง 2 รัฐ ทำให้ผู้คนชายแดนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว" หมอซินเธียกล่าว
แสดงความคิดเห็น