Posted: 14 Nov 2018 08:12 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Wed, 2018-11-14 23:12
พวงทอง ภวัครพันธุ์ และ ธงชัย วินิจจะกูล
โครงการ “บันทึก 6 ตุลา” (Documentation of October 6 – www.doct6.com)
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของเราคือ พฤติกรรมที่โหดร้ายทารุณอย่างเหลือเชื่อในวันนั้น จนถึงวันนี้ เราคงได้เห็นภาพความโหดร้ายครั้งนั้นพอสมควรแล้ว แต่เรามักเข้าใจผิดว่าการกระทำอันน่ารังเกียจน่าขยะแขยงทั้งหลายเป็นสาเหตุให้คนเหล่านั้นเสียชีวิต
จากการศึกษาข้อมูลอย่างระมัดระวัง เราพบว่ามีเหยื่อเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตจากกการถูกรุมประชาทัณฑ์และทรมาน ขณะที่การกระทำอันน่ารังเกียจส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากเหยื่อเหล่านั้นเสียชีวิตไปแล้ว เหยื่อหลายคนเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนหรือระเบิด แต่ร่างที่ไร้ชีวิตของพวกเขายังต้องเผชิญกับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจต่ออีก ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพที่ฝูงชนกำลังช่วยกันรุมกระทำย่ำยีต่อศพ
ข้อเท็จจริงนี้อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาเพียงเล็กน้อยว่าเหยื่อเหล่านั้น มิได้ทนทุกข์ถูกทรมานอย่างหนักก่อนเสียชีวิต แต่ความจริงข้อนี้กลับทำให้เกิดคำถามใหญ่ตามมา นั่นคือ นี่เป็นการทำร้ายศพอย่างน่าเกลียดในที่สาธารณะต่อหน้าผู้คนนับพัน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ และต่อหน้าผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนมาก ทำไมจึงต้องทำอุจาดกับศพถึงขนาดนั้น ทำไมจึงกล้าหรือตั้งใจทำต่อหน้าสาธารณชน ปรากฏการณ์เช่นนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทย วัฒนธรรมไทยในการปฎิบัติต่อศัตรูที่เราเกลียดชัง ความล้มเหลวของศาสนาและศีลธรรม หรือเป็นไปได้ไหมว่าการกระทำเช่นนี้สะท้อนความเชื่อบางอย่างซึ่งแฝงฝังอยู่ลึก ๆ ของคนไทย ของชาวพุทธ หรือของคนธรรมดาปกติทั่วไปทุกคน ซึ่งพรั่งพรูออกมาภายใต้เงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น ถ้าเช่นนั้น ภาวะอะไรในเช้าวันนั้นที่ผิดปกติถึงขนาดไขประตูให้ความอัปลักษณ์ดังกล่าวหลุดออกมา
เราจะเข้าใจปรากฏการณ์ทำร้ายศพในที่สาธารณะในสังคมไทยอย่างไร
ข้อเท็จจริง
เรามาพิจารณาข้อเท็จจริงกันก่อน การทารุณกรรมในเช้าวันที่ 6 ตุลาที่เรารู้จักกันดี ได้แก่
- แขวนคอแล้วใช้มีดทิ่มแทง ใช้ไม้และเก้าอี้ฟาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือใช้รองเท้ายัดปากร่างที่ถูกแขวน
- ลากร่างไปตามพี้น โดยเอาผ้าผูกเข้าที่คอ และโดยลากขากางเกง
- เอาร่างผู้เสียชีวิตมานอนเรียงกันแล้วใช้ลิ่มไม้ตอกเข้าที่หน้าอก
- เอาร่างคนมากองสุมกันแล้วเผาจนมอดไหม้ จนไม่รู้กระทั่งว่าเป็นชายหรือหญิง
- ปัสสาวะรดร่างที่นอนนิ่ง
- เปลื้องเสื้อผ้าของหญิงสาวรายหนึ่งที่เสียชีวิต และมีไม้ท่อนใหญ่วางอยู่บนตัวเธอ
จากการตรวจสอบรูปถ่ายจำนวนมากและที่สำคัญคือรายงานการชันสูตรศพ ซึ่งทำโดยแพทย์โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลศิริราช เราพบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ถูกกระทำทารุณกรรม ได้แก่ ชื่อ สาเหตุที่ทำให้เขาเสียชีวิต และพฤติกรรมทารุณที่พวกเขาได้รับ ดังข้อมูลข้างล่างนี้
1. วิชิตชัย อมรกุล นิสิตปี 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิตชัยเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวง
หลักฐานชันสูตรพลิกศพระบุว่าวิชิตชัยเสียชีวิตเพราะถูกของแข็งมีคมและถูกรัดคอ
ลักษณะการตายที่ “ฟันกัดปลายลิ้น” หรือลิ้นจุกปากตามที่ปรากฎในภาพถ่ายชี้ว่าเขาน่าจะถูกแขวนคอก่อนเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจำนวนมากและข้อมูลในเอกสารชันสูตรชี้ว่าหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว ฝูงชนยังช่วยกันทารุณกรรมต่อร่างที่ไร้ชีวิตของเขาต่อไป ร่างของเขาถูกฝูงชนรุมเตะ-ต่อย ฟาดด้วยเก้าอี้ เอารองเท้าแขวนที่คอและยัดที่ปาก
เขาถูกจับถอดเสื้อแล้วใช้ของมีคมกรีดลงบนร่างของเขา โดยกลางหน้าอกมี “รอยมีดกรีดยาว 4 แห่ง ยาวแห่งละ 24 ซ.ม. และตามขวาง 3 แห่ง ยาวแห่งละ 20 ซ.ม. และมีรอยผิวหนังช้ำทั่ว ๆ ไป และมีรอยถูกของมีคมชายโครงขวา 3x1 ซ.ม. กลางหลังมีรอยมีดกรีดยาว 2 แห่ง ยาว 40 ซ.ม.และ 30 ซ.ม.”
เขายังมีบาดแผลขนาดใหญ่บนใบหน้าหลายแห่ง
บาดแผลบนตัววิชิตชัยมีมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น (ดู https://doct6.com/archives/5639)
2. ปรีชา แซ่เฮีย (หรือ เอีย) นักหนังสือพิมพ์-นักแปลประจำกอง บก.นิตยสาร “เอเชียวิเคราะห์ข่าว”
ปรีชาเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวง
รูปถ่ายจำนวน 10 รูปชี้ว่าปรีชาถูกดึงลงมาจากรถเก๋งที่เขาใช้ส่งนิตยสาร เขาถูกฝูงชนรุมทำร้ายขณะยังมีชีวิตอยู่ ลากไปตามฟุตบาท และแขวนคอในที่สุด
ภาพชี้ว่าหลังเขาเสียชีวิตแล้ว การทำร้ายศพยังดำเนินต่อไป
แต่ในรายงานชันสูตรศพระบุว่าเขาเสียชีวิตเพราะกระสุนปืน (น่าสงสัยว่าใครยิง ยิงตอนไหน)
3. กมล แก้วไกรไทย
กมลเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวงเอก
สารชันสูตรฯ ระบุว่ากมลเสียชีวิตด้วย “สะเก็ดระเบิด” ยังมีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่แสดงว่ากมลเสียชีวิตอยู่บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ก่อนที่ร่างของเขาจะถูกลากออกไปแขวนคอที่สนามหลวง
4-5. ชายไม่ทราบชื่อ 2 คน ถูกแขวนคอ
ภาพชายสองคนที่ถูกแขวนคอหน้าธรรมศาสตร์ ถ่ายโดยนายนีล อูเลวิช ช่างภาพสำนักข่าวเอพี ทั้งภาพและคลิปวิดีโอชี้ว่าร่างของทั้งสองคนเสียชีวิตแล้ว แต่ยังถูกฝูงชนฟาดด้วยเก้าอี้, ท่อนไม้ขนาดใหญ่, กระโดดเตะ-ต่อย
6. วัชรี เพชรสุ่นน.ศ.ชั้นปี 3 คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง
เอกสารชันสูตรฯ ระบุว่าวัชรีเสียชีวิตด้วยกระสุน 3 นัดที่เข้าด้านหลังตรงกับบริเวณหน้าอก
ร่างของวัชรีถูกจับเปลือย มีไม้หน้าสามวางอยู่บนร่างของเธอ ปลายชี้ไปที่อวัยวะเพศของเธอ ซึ่งทำให้ตีความได้ว่าเธออาจถูกล่วงละเมิดทางเพศหลังจากเสียชีวิตแล้ว แต่เอกสารชันสูตรพลิกศพไม่ระบุว่ามีร่องรอยการถูกทำร้ายเช่นนั้น (ดู https://doct6.com/archives/13421; https://doct6.com/archives/5682
7. จารุพงษ์ ทองสินธุ์ น.ศ. ชั้นปี 2 คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
เอกสารชันสูตรฯ ระบุว่าจารุพงษ์เสียชีวิตจากกระสุนปืน
ร่างของเขาถูกฝูงชนใช้ผ้าผูกคอลากไปตามสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์
(8?) ชายไม่ทราบชื่อ
ภาพจากสื่อมวลชนต่างประเทศภาพหนึ่งแสดงให้เห็นชายคนหนึ่งแน่นิ่งบนพื้น ในขณะที่เด็กผู้ชายกำลังปัสสาวะรดบนร่างของเขา ไม่ชัดเจนว่าเขาคือใคร
(9?) ชายไม่ทราบชื่อ ร่างของชายคนหนึ่งถูกลากไปตามสนามฟุตบอลในธรรมศาสตร์โดยผู้ลากจับขากางเกงของเขาขึ้นลาก และมีชายอีกคนใช้ไม้ไล่ตีร่างนั้น ไม่ชัดเจนว่าเขาคือใคร ไม่ชัดเจนว่าเขาตายแล้วหรือยัง
(10?) ชายไม่ทราบชื่อ ภาพรางวัลอิศราปี 2520 แสดงให้เห็นชายคนหนึ่งกำลังใช้ก้อนอิฐตอกไม้ขนาดยาวลงบนหน้าอกของหนึ่งในร่างที่นอนเสียชีวิตเรียงกัน 5-6 ราย ไม่ชัดเจนพวกเขาคือใครบ้าง ผู้ถูกตอกอกเป็นรายเดียวกับข้างบนนี้หรือไม่ ไม่ปรากฏชัดว่าทุกร่างในภาพนั้นถูกตอกอกหมดหรือไม่
ชายหญิง 4 คน ไม่ทราบชื่อ
ภาพและคลิปวิดีโอชี้ว่าคนที่ถูกเผาทั้ง 4 คนน่าจะเสียชีวิตก่อนถูกนำมาเผากลางถนนบริเวณใกล้แม่พระธรณีบีบมวยผม
ไม่ชัดเจนว่า 4 ร่างนั้นคือใครบ้าง เป็นรายเดียวกับข้างบนนี้หรือไม่
คลิปวิดีโอยังแสดงภาพฝูงชนไชโยโห่ร้องรอบกองศพ บางคนกระทืบศพที่กำลังไหม้ไฟ
จากรายละเอียดข้างบนนี้ ถ้ารายงานการชันสูตรศพเชื่อถือได้ จะเห็นว่าวิชิตชัย อมรกุลเป็นเพียงคนเดียว ที่ถูกทำทารุณจนเสียชีวิต แล้วร่างของเขาถูกทำร้ายอย่างหนักอีกภายหลังเสียชีวิตไปแล้ว แต่คนส่วนมากตายเพราะถูกกระสุนปืนหรือระเบิด แล้วร่างของพวกเขาจึงถูกทารุณด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งวัชรี เพชรสุ่นก็เสียชีวิตด้วยกระสุนปืน ไม่ได้เสียชีวิตจากถูกข่มขืน แต่ร่างไร้ชีวิตของเธอก็ถูกทำอนาจาร นั่นหมายความว่ากรณีเหล่านี้เป็นทารุณกรรมที่กระทำต่อร่างที่ไร้ชีวิต
ไม่เคยมีการตั้งคำถามถึงการทำร้ายศพในเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาก่อนเลย เข้าใจว่าบทความนี้เป็นครั้งแรกที่พิจารณาประเด็นนี้ บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ แม้ว่าในขณะนี้เราอาจไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างน่าพอใจนัก แต่หวังว่าการศึกษาในเบื้องต้นนี้จะช่วยให้เกิดความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้นและมีผู้ศึกษาต่อไป
ในที่นี้เราจะพิจารณาปรากฏการณ์นี้ใน 2 แง่มุมซึ่งแตกต่างแต่เกี่ยวข้องกัน นั่นคือ
1. การทำร้ายศพ
2. การประชาทัณฑ์สาธารณะ
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของเราคือ พฤติกรรมที่โหดร้ายทารุณอย่างเหลือเชื่อในวันนั้น จนถึงวันนี้ เราคงได้เห็นภาพความโหดร้ายครั้งนั้นพอสมควรแล้ว แต่เรามักเข้าใจผิดว่าการกระทำอันน่ารังเกียจน่าขยะแขยงทั้งหลายเป็นสาเหตุให้คนเหล่านั้นเสียชีวิต
จากการศึกษาข้อมูลอย่างระมัดระวัง เราพบว่ามีเหยื่อเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตจากกการถูกรุมประชาทัณฑ์และทรมาน ขณะที่การกระทำอันน่ารังเกียจส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากเหยื่อเหล่านั้นเสียชีวิตไปแล้ว เหยื่อหลายคนเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนหรือระเบิด แต่ร่างที่ไร้ชีวิตของพวกเขายังต้องเผชิญกับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจต่ออีก ภาพที่เราเห็นจึงเป็นภาพที่ฝูงชนกำลังช่วยกันรุมกระทำย่ำยีต่อศพ
ข้อเท็จจริงนี้อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาเพียงเล็กน้อยว่าเหยื่อเหล่านั้น มิได้ทนทุกข์ถูกทรมานอย่างหนักก่อนเสียชีวิต แต่ความจริงข้อนี้กลับทำให้เกิดคำถามใหญ่ตามมา นั่นคือ นี่เป็นการทำร้ายศพอย่างน่าเกลียดในที่สาธารณะต่อหน้าผู้คนนับพัน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ และต่อหน้าผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนมาก ทำไมจึงต้องทำอุจาดกับศพถึงขนาดนั้น ทำไมจึงกล้าหรือตั้งใจทำต่อหน้าสาธารณชน ปรากฏการณ์เช่นนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทย วัฒนธรรมไทยในการปฎิบัติต่อศัตรูที่เราเกลียดชัง ความล้มเหลวของศาสนาและศีลธรรม หรือเป็นไปได้ไหมว่าการกระทำเช่นนี้สะท้อนความเชื่อบางอย่างซึ่งแฝงฝังอยู่ลึก ๆ ของคนไทย ของชาวพุทธ หรือของคนธรรมดาปกติทั่วไปทุกคน ซึ่งพรั่งพรูออกมาภายใต้เงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น ถ้าเช่นนั้น ภาวะอะไรในเช้าวันนั้นที่ผิดปกติถึงขนาดไขประตูให้ความอัปลักษณ์ดังกล่าวหลุดออกมา
เราจะเข้าใจปรากฏการณ์ทำร้ายศพในที่สาธารณะในสังคมไทยอย่างไร
ข้อเท็จจริง
เรามาพิจารณาข้อเท็จจริงกันก่อน การทารุณกรรมในเช้าวันที่ 6 ตุลาที่เรารู้จักกันดี ได้แก่
- แขวนคอแล้วใช้มีดทิ่มแทง ใช้ไม้และเก้าอี้ฟาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือใช้รองเท้ายัดปากร่างที่ถูกแขวน
- ลากร่างไปตามพี้น โดยเอาผ้าผูกเข้าที่คอ และโดยลากขากางเกง
- เอาร่างผู้เสียชีวิตมานอนเรียงกันแล้วใช้ลิ่มไม้ตอกเข้าที่หน้าอก
- เอาร่างคนมากองสุมกันแล้วเผาจนมอดไหม้ จนไม่รู้กระทั่งว่าเป็นชายหรือหญิง
- ปัสสาวะรดร่างที่นอนนิ่ง
- เปลื้องเสื้อผ้าของหญิงสาวรายหนึ่งที่เสียชีวิต และมีไม้ท่อนใหญ่วางอยู่บนตัวเธอ
จากการตรวจสอบรูปถ่ายจำนวนมากและที่สำคัญคือรายงานการชันสูตรศพ ซึ่งทำโดยแพทย์โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลศิริราช เราพบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ถูกกระทำทารุณกรรม ได้แก่ ชื่อ สาเหตุที่ทำให้เขาเสียชีวิต และพฤติกรรมทารุณที่พวกเขาได้รับ ดังข้อมูลข้างล่างนี้
(ภาพที่ 1)
1. วิชิตชัย อมรกุล นิสิตปี 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชิตชัยเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวง
หลักฐานชันสูตรพลิกศพระบุว่าวิชิตชัยเสียชีวิตเพราะถูกของแข็งมีคมและถูกรัดคอ
ลักษณะการตายที่ “ฟันกัดปลายลิ้น” หรือลิ้นจุกปากตามที่ปรากฎในภาพถ่ายชี้ว่าเขาน่าจะถูกแขวนคอก่อนเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจำนวนมากและข้อมูลในเอกสารชันสูตรชี้ว่าหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว ฝูงชนยังช่วยกันทารุณกรรมต่อร่างที่ไร้ชีวิตของเขาต่อไป ร่างของเขาถูกฝูงชนรุมเตะ-ต่อย ฟาดด้วยเก้าอี้ เอารองเท้าแขวนที่คอและยัดที่ปาก
เขาถูกจับถอดเสื้อแล้วใช้ของมีคมกรีดลงบนร่างของเขา โดยกลางหน้าอกมี “รอยมีดกรีดยาว 4 แห่ง ยาวแห่งละ 24 ซ.ม. และตามขวาง 3 แห่ง ยาวแห่งละ 20 ซ.ม. และมีรอยผิวหนังช้ำทั่ว ๆ ไป และมีรอยถูกของมีคมชายโครงขวา 3x1 ซ.ม. กลางหลังมีรอยมีดกรีดยาว 2 แห่ง ยาว 40 ซ.ม.และ 30 ซ.ม.”
เขายังมีบาดแผลขนาดใหญ่บนใบหน้าหลายแห่ง
บาดแผลบนตัววิชิตชัยมีมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น (ดู https://doct6.com/archives/5639)
(ภาพที่ 2)
2. ปรีชา แซ่เฮีย (หรือ เอีย) นักหนังสือพิมพ์-นักแปลประจำกอง บก.นิตยสาร “เอเชียวิเคราะห์ข่าว”
ปรีชาเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวง
รูปถ่ายจำนวน 10 รูปชี้ว่าปรีชาถูกดึงลงมาจากรถเก๋งที่เขาใช้ส่งนิตยสาร เขาถูกฝูงชนรุมทำร้ายขณะยังมีชีวิตอยู่ ลากไปตามฟุตบาท และแขวนคอในที่สุด
ภาพชี้ว่าหลังเขาเสียชีวิตแล้ว การทำร้ายศพยังดำเนินต่อไป
แต่ในรายงานชันสูตรศพระบุว่าเขาเสียชีวิตเพราะกระสุนปืน (น่าสงสัยว่าใครยิง ยิงตอนไหน)
(ภาพที่ 3)
(ภาพที่4)
3. กมล แก้วไกรไทย
กมลเป็น 1 ใน 5 คนที่ถูกแขวนคอที่สนามหลวงเอก
สารชันสูตรฯ ระบุว่ากมลเสียชีวิตด้วย “สะเก็ดระเบิด” ยังมีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่แสดงว่ากมลเสียชีวิตอยู่บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ก่อนที่ร่างของเขาจะถูกลากออกไปแขวนคอที่สนามหลวง
(ภาพที่ 5)
(ภาพที่ 6)
4-5. ชายไม่ทราบชื่อ 2 คน ถูกแขวนคอ
ภาพชายสองคนที่ถูกแขวนคอหน้าธรรมศาสตร์ ถ่ายโดยนายนีล อูเลวิช ช่างภาพสำนักข่าวเอพี ทั้งภาพและคลิปวิดีโอชี้ว่าร่างของทั้งสองคนเสียชีวิตแล้ว แต่ยังถูกฝูงชนฟาดด้วยเก้าอี้, ท่อนไม้ขนาดใหญ่, กระโดดเตะ-ต่อย
(ภาพที่ 7)
6. วัชรี เพชรสุ่นน.ศ.ชั้นปี 3 คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง
เอกสารชันสูตรฯ ระบุว่าวัชรีเสียชีวิตด้วยกระสุน 3 นัดที่เข้าด้านหลังตรงกับบริเวณหน้าอก
ร่างของวัชรีถูกจับเปลือย มีไม้หน้าสามวางอยู่บนร่างของเธอ ปลายชี้ไปที่อวัยวะเพศของเธอ ซึ่งทำให้ตีความได้ว่าเธออาจถูกล่วงละเมิดทางเพศหลังจากเสียชีวิตแล้ว แต่เอกสารชันสูตรพลิกศพไม่ระบุว่ามีร่องรอยการถูกทำร้ายเช่นนั้น (ดู https://doct6.com/archives/13421; https://doct6.com/archives/5682
(ภาพที่ 8)
7. จารุพงษ์ ทองสินธุ์ น.ศ. ชั้นปี 2 คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
เอกสารชันสูตรฯ ระบุว่าจารุพงษ์เสียชีวิตจากกระสุนปืน
ร่างของเขาถูกฝูงชนใช้ผ้าผูกคอลากไปตามสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์
(ภาพที่ 9)
(8?) ชายไม่ทราบชื่อ
ภาพจากสื่อมวลชนต่างประเทศภาพหนึ่งแสดงให้เห็นชายคนหนึ่งแน่นิ่งบนพื้น ในขณะที่เด็กผู้ชายกำลังปัสสาวะรดบนร่างของเขา ไม่ชัดเจนว่าเขาคือใคร
(ภาพที่ 10)
(9?) ชายไม่ทราบชื่อ ร่างของชายคนหนึ่งถูกลากไปตามสนามฟุตบอลในธรรมศาสตร์โดยผู้ลากจับขากางเกงของเขาขึ้นลาก และมีชายอีกคนใช้ไม้ไล่ตีร่างนั้น ไม่ชัดเจนว่าเขาคือใคร ไม่ชัดเจนว่าเขาตายแล้วหรือยัง
(ภาพที่ 11)
(10?) ชายไม่ทราบชื่อ ภาพรางวัลอิศราปี 2520 แสดงให้เห็นชายคนหนึ่งกำลังใช้ก้อนอิฐตอกไม้ขนาดยาวลงบนหน้าอกของหนึ่งในร่างที่นอนเสียชีวิตเรียงกัน 5-6 ราย ไม่ชัดเจนพวกเขาคือใครบ้าง ผู้ถูกตอกอกเป็นรายเดียวกับข้างบนนี้หรือไม่ ไม่ปรากฏชัดว่าทุกร่างในภาพนั้นถูกตอกอกหมดหรือไม่
(ภาพที่ 12)
ชายหญิง 4 คน ไม่ทราบชื่อ
ภาพและคลิปวิดีโอชี้ว่าคนที่ถูกเผาทั้ง 4 คนน่าจะเสียชีวิตก่อนถูกนำมาเผากลางถนนบริเวณใกล้แม่พระธรณีบีบมวยผม
ไม่ชัดเจนว่า 4 ร่างนั้นคือใครบ้าง เป็นรายเดียวกับข้างบนนี้หรือไม่
คลิปวิดีโอยังแสดงภาพฝูงชนไชโยโห่ร้องรอบกองศพ บางคนกระทืบศพที่กำลังไหม้ไฟ
จากรายละเอียดข้างบนนี้ ถ้ารายงานการชันสูตรศพเชื่อถือได้ จะเห็นว่าวิชิตชัย อมรกุลเป็นเพียงคนเดียว ที่ถูกทำทารุณจนเสียชีวิต แล้วร่างของเขาถูกทำร้ายอย่างหนักอีกภายหลังเสียชีวิตไปแล้ว แต่คนส่วนมากตายเพราะถูกกระสุนปืนหรือระเบิด แล้วร่างของพวกเขาจึงถูกทารุณด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งวัชรี เพชรสุ่นก็เสียชีวิตด้วยกระสุนปืน ไม่ได้เสียชีวิตจากถูกข่มขืน แต่ร่างไร้ชีวิตของเธอก็ถูกทำอนาจาร นั่นหมายความว่ากรณีเหล่านี้เป็นทารุณกรรมที่กระทำต่อร่างที่ไร้ชีวิต
ไม่เคยมีการตั้งคำถามถึงการทำร้ายศพในเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาก่อนเลย เข้าใจว่าบทความนี้เป็นครั้งแรกที่พิจารณาประเด็นนี้ บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ แม้ว่าในขณะนี้เราอาจไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างน่าพอใจนัก แต่หวังว่าการศึกษาในเบื้องต้นนี้จะช่วยให้เกิดความสนใจในประเด็นนี้มากขึ้นและมีผู้ศึกษาต่อไป
ในที่นี้เราจะพิจารณาปรากฏการณ์นี้ใน 2 แง่มุมซึ่งแตกต่างแต่เกี่ยวข้องกัน นั่นคือ
1. การทำร้ายศพ
2. การประชาทัณฑ์สาธารณะ
การทำร้ายศพ (abuse of the corpse, corpse desecration)
การทำร้ายหรือทำลายศพ เป็นการกระทำน่ารังเกียจในทุกสังคมทุกศาสนามาแต่โบราณ เพราะมนุษย์มักเคารพต่อผู้เสียชีวิต อยากให้เขาไปสู่สุคติภพหรือไปเกิดใหม่อย่างสวยงามมีเกียรติ การกระทำอุจาดต่อศพที่แทบทุกสังคมรู้จักกันดี คือ การชำเราศพ (necrophilia) สังคมแต่โบราณจนถึงปัจจุบันหลายแห่งจึงมักมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมเพื่อลงโทษการกระทำผิดต่อศพและการชำเราศพ แต่ไม่ใช่ทุกแห่งที่บัญญัติความผิดนี้เป็นกฎหมาย
บนความเชื่อนี้เองจึงเกิดปัญหามาแต่โบราณว่า แล้วถ้าเป็นศพของคนเลว อาชญากรร้ายแรง พ่อมดหมอผี ผู้ทรยศ หรือเรียกรวมๆว่าเป็นผู้ละเมิดอย่างแรงต่ออำนาจของรัฐ (treason) ต่อความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ (lese majesty) และศาสนา (blasphemy) ศพของพวกเขาพึงได้รับการเคารพหรือการปฏิบัติอย่างสมเกียรติหรือไม่ ในกฎหมายของสังคมโบราณแทบทุกแห่งจึงมีการลงโทษผู้ละเมิดรุนแรงพรรค์นั้นด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมผิดจากที่กระทำต่อมนุษย์ธรรมดา ศพของเขามักถูกทอดทิ้งทำลายหรือถูกกระทำอย่างอัปลักษณ์อุจาด แถมมักนำไปประจานต่อสาธารณชนอีก บ่อยครั้งการประจานยังครอบคลุมถึงครอบครัวของผู้ละเมิดเหล่านั้นด้วย
ในยุคสมัยใหม่ กฎหมายในประเทศต่าง ๆ ยังแตกต่างกันอยู่มากในเรื่องความผิดเกี่ยวกับศพ หลายประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังมีอีกหลายประเทศและนับสิบรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน (เช่น รัฐวิสคอนซิน) ในกรณีประเทศหรือรัฐที่มีกฎหมายบัญญัติความผิดเกี่ยวกับศพไว้ ก็ยังมีความลักลั่นไม่ได้มีข้อความเป็นมาตรฐาน หรือการตีความหรือการกำหนดโทษความผิดตรงกันเท่าไรนัก ความแตกต่างเริ่มตั้งแต่คำจำกัดความว่าศพมีสถานะเป็นอะไรในทางกฎหมาย เพราะไม่ใช่ชีวิตแน่ ๆ แต่จะถือเป็นเพียงทรัพย์ชนิดหนึ่งเหมือนทรัพย์อื่น ๆ เช่นนั้นหรือ ในบางสังคมเมื่อประมาณ 100-200 ปีก่อนนี่เองยังถือว่า การขโมยเสื้อผ้าจากศพเป็นความผิดต้องลงโทษรุนแรงยิ่งกว่าการขโมยศพ การขโมยสัตว์ที่เป็นทรัพย์สินมีค่า เช่น หมู วัว แกะก็มีบทลงโทษรุนแรงกว่าการขโมยศพของมนุษย์
คำจำกัดความที่แตกต่างกันมีผลต่อการกำหนดว่าอะไรเป็นความผิด อะไรไม่ใช่ความผิดต่อศพ และความผิดต่างๆ กันนั้นถือเป็นความผิดขั้นรุนแรง ทางอาญา หรือเป็นความผิดลหุโทษ และไม่ใช่ความผิดอาญา เป็นต้น ส่วนใหญ่ถือว่าการชำเราศพเป็นเรื่องสำคัญ แต่นอกเหนือไปจากนั้นยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก เช่น การหั่นศพเป็นชิ้น การทำลายศพ การซื้อขายอวัยวะ การทำให้ศพเสียรูปโฉมทั้งด้วยความโกรธแค้น ความจงใจ หรือโดยประมาท หรือการปล่อยปละละเลยไม่จัดการกับศพตามประเพณี การเก็บศพไว้ในบ้าน หรืออยู่อาศัยร่วมกับศพ เป็นต้น เหล่านี้ถือเป็นความผิดมากน้อยแค่ไหน แรงหรือเบา อาญาหรือไม่
สำหรับประเทศไทย อาจารย์สาวตรี สุขศรี (คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์) ได้ให้ความรู้แก่ผู้เขียนว่า ก่อนหน้าปี 2558 ในประมวลกฎหมายอาญาไม่มีหมวดความผิดอาญาเกี่ยวกับศพโดยตรง เพิ่งมีการบัญญัติเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. ปี 2558 นี่เอง หากมีใครทำอะไรกับศพก่อนหน้าปี 2558 จะต้องตีความกันว่า ศพ เป็น "ทรัพย์" หรือไม่ เพื่อจะนำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาปรับใช้ ซึ่งก็จะมีแนวการตีความแตกต่างกันออกไป เพราะการจะเป็นทรัพย์ได้ต้องมีผู้ยึดถือหรือมีเจตนายึดถือ ครอบครอง หรือมีค่าบางอย่าง บางคนก็ว่าถ้าศพยังมีญาติ ก็น่าจะถือเป็นทรัพย์ แต่ถ้าศพไร้ญาติก็ไม่ถือเป็นทรัพย์ ใครจะทำอะไรกับศพนั้นก็ได้ไม่ผิดอาญา ทั้งทำลาย รวมทั้งชำเรา หรืออนาจาร
แต่ด้วยเหตุที่ในระยะหลังมีคนทำอะไร ๆ กับศพเยอะ ทั้งที่รู้และไม่รู้ว่าเป็นศพไปแล้ว จึงเพิ่มเติมหมวดความผิดนี้เข้าไป ซึ่งเพิ่มเข้ามาหลายฐาน ได้แก่ การกระทำชำเราศพ การกระทำอนาจารแก่ศพ การกระทำให้ศพเสียหาย และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียง ความผิดบางอย่างโทษสูงกว่าทำกับคนเป็นๆ เสียอีก เช่น ดูหมิ่นเหยียดหยามศพโทษสูงกว่าทำกับคนเป็น ๆ ผู้ร่างกฎหมายให้เหตุผลว่า เพราะต้องการ “คุ้มครองศีลธรรมอันดีของประชาชนและสาธารณะ” ไม่ใช่คุ้มครองศพหรือญาติ โทษจึงต้องสูง ในแง่นี้ชี้ว่า ผู้บัญญัติกฎหมายของไทยยุคใหม่ก็เห็นว่าการทำร้ายศพเป็นสิ่งผิดปกติ ไร้ศีลธรรม เป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ
การทำร้ายศพหรือการชำเราศพตามที่กล่าวมาและตามที่กฎหมายมุ่งหมายถึง เป็นการกระทำส่วนบุคคลต่อศพ และโดยมากจะทำอย่างลับ ๆ หรือแอบทำ แต่การทำร้ายศพในกรณี 6 ตุลาเป็นการกระทำแบบรวมหมู่ของคนจำนวนมากและกระทำในที่สาธารณะกลางเมืองท่ามกลางสายตาคนนับพัน จึงไม่ใช่การทำร้ายศพในความหมายที่กล่าวมาข้างต้น แต่น่าจะคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เรียกว่าการประชาทัณฑ์สาธารณะมากกว่า
การประชาทัณฑ์สาธารณะ (public lynching)
ไม่ค่อยมีการศึกษาการลงทัณฑ์อย่างทารุณในที่สาธารณะในสังคมไทย อาจเป็นเพราะว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นน้อยครั้งในสังคมไทยจนเราคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ผิดปกติหรือเป็นข้อยกเว้นพิเศษ การทารุณกรรมสาธารณะในกรณี 6 ตุลาเป็นที่รับรู้กันดี แต่ก็ยังไม่เคยมีความพยายามอธิบายนอกเหนือจากที่พระไพศาล วิสาโลเคยอธิบายไว้ว่าเป็นเพราะความชั่วร้าย (Evil)
การประชาทัณฑ์สาธารณะในเหตุการณ์ 6 ตุลา ชวนให้เราต้องคิดว่าจู่ ๆ ก็มีปรากฏการณ์วิตถารเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่มาที่ไปกระนั้นหรือ หรือเอาเข้าจริงมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เป็นตัวแบบหรือตัวอย่างที่อยู่ในความรับรู้ของคนไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้นเมื่อสถานการณ์เหตุปัจจัยทั้งหลายลงตัวและสุกงอมในวันที่ 6 ตุลา ความรับรู้ที่ซ่อนอยู่ในสำนึกของผู้คนจึงถูกปลดปล่อย ถูกหยิบขึ้นมาลงมือกระทำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นหมายความว่าเรามองข้ามละเลยปรากฏการณ์หรือตัวแบบเช่นนี้ในสังคมไทยมาโดยตลอด
การประชาทัณฑ์ต่อหน้าฝูงชนเป็นปรากฏการณ์ในหลายประเทศที่มีการศึกษากันพอสมควร อาทิ เช่น การแขวนคอคนผิวดำโดยมีประชาชนนับร้อยนับพันเข้าร่วมหลายร้อยกรณีระหว่าง ค.ศ. 1880 ถึง 1940 มีผู้ตกเป็นเหยื่อการประชาทัณฑ์สาธารณะรวมกันหลายพันคน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้หลายประเทศเช่น โบลิเวีย กัวเตมาลา และอื่นๆ ก็พบว่าชุมชนหลายแห่งร่วมมือกันจับอาชญากรลงโทษต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งคราวเพื่อเป็นบทเรียนให้หวาดกลัว พฤติกรรมนี้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 นี่เอง ในเมื่อยังไม่มีการศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้ในสังคมไทย ความรู้ที่ได้จากสังคมอื่นจึงอาจช่วยให้เรามีแนวทางเพื่อคิดทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ในสังคมไทยได้บ้าง
อันที่จริงการประชาทัณฑ์สาธารณะมิได้มีแบบเดียวเหมือนๆ กัน สาเหตุหรือเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดขึ้นก็มีได้หลายอย่าง ลำพังการแขวนคอคนผิวดำต่อหน้าสาธารณชนก็มีผู้ศึกษาแยกแยะประเภทได้ 3-4 อย่าง ตามแต่เหตุผลหรือแรงจูงใจ ขนาดของผู้ลงมือ และทำอย่างเป็นความลับหรือเปิดเผย หากกล่าวโดยสรุป มีการศึกษาให้คำอธิบายปรากฏการณ์ประชาทัณฑ์สาธารณะทั้งหลายนี้อยู่สองแบบหลักๆ ได้แก่
คำอธิบายแบบแรก เป็นการกระทำของคนผิวขาวต่อคนผิวดำ เกิดขึ้นในภาวะที่คนผิวขาวซึ่งถือว่าตัวเองสูงส่งกว่า แต่กลับอยู่ในภาวะไม่มั่นคงแล้ว เพราะระเบียบสังคมแบบเหยียดผิวที่พวกเขายึดถือกำลังเสื่อมลง กำลังถูกท้าทายสั่นคลอน ทำให้พวกเขาหวาดกลัวคนผิวดำ การประชาทัณฑ์สาธารณะจึงเป็นปฏิกิริยารวมหมู่ชนิดหนึ่งของคนผิวขาว เพื่อยืนยันความเชื่อเหยียดผิวและระเบียบสังคมที่แบ่งชั้นคนตามสีผิว (โดยมากด้วยการแขวนคอ แต่มีการทารุณด้วยวิธีอื่นด้วยเช่น คนนับร้อยระดมกระสุนสังหารเป้าเดียวกัน การรุมตี เป็นต้น โดยมากกระทำในลานกลางแจ้ง แต่ก็มีการสังหารทารุณในโรงละครด้วยโดยให้ผู้ซื้อตั๋วเข้าร่วมการลงทัณฑ์ได้) การประชาทัณฑ์สาธารณะมีลักษณะเป็น “พิธีกรรม” แบบรวมหมู่ชนิดหนึ่ง เพื่อพยายามต่ออายุระเบียบสังคมแบบเหยียดผิว
คำอธิบายแบบที่สองใช้สำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอเมริกากลางและใต้เป็นส่วนมาก แต่ไม่ใข่คนผิวขาวต่อคนผิวดำ กล่าวคือ เกิดจากประชาชนถูกปล่อยปละละเลย เป็นคนชายขอบของสังคม ไม่สามารถเข้าถึงกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้บังคับกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมตามปกติได้ เมื่อเกิดกรณีที่ชุมชนชายขอบเหล่านี้ถูกคุกคามจากอาชญากรร้ายแรงหรือแก๊งอันธพาลจนทนไม่ไหว เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือเจ้าหน้าที่ร่วมมือกับอาชญากรด้วยซ้ำไป พวกเขาจึงต้องหาความยุติธรรมด้วยตนเอง เมื่อพวกเขาสามารถจับกุมอาชญากรได้ จึงลงโทษโดยกระบวนการของตนเอง การลงทัณฑ์สาธารณะเป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายงานเทศกาลของชุมชน (carnival) พิธีกรรมดังกล่าวไม่ใช่การแก้แค้นรวมหมู่ของชุมชนนั้น แต่เป็นการแสดงออกร่วมกันของชุมชนที่ถูกทอดทิ้งและทางการไม่สนใจรับฟังเสียงของพวกเขา พิธีกรรมลงทัณฑ์อย่างรวมหมู่เป็นการส่งเสียงแบบหนึ่ง ให้ทั้งรัฐและอาชญากรรู้ว่าชุมชนนั้นยังต้องการความยุติธรรมและหลักกฎหมาย แต่ในเมื่อไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ พวกเขาก็มีพลังจะจัดการด้วยตัวเอง การประชาทัณฑ์สาธารณะแบบนี้มิใช่สิ่งทดแทนสถาบันและกระบวนการทางกฎหมายของทางการ แต่ก็มิใช่พิธีกรรมเพื่อรักษาต่ออายุระเบียบสังคมแบบกดขี่ที่กำลังล่มสลายอย่างการประชาทัณฑ์สาธารณะแบบแรก
การประชาทัณฑ์สาธารณะในกรณี 6 ตุลา ไม่ตรงกับคำอธิบายทั้งสองแบบเสียทีเดียว กล่าวคือ ข้อแรก 6 ตุลามิใช่การทารุณกรรมลงโทษผู้ยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งเสียชีวิต แต่เป็นการทำร้ายร่างที่ไร้ชีวิตไปแล้ว เสมือนว่าร่างเหล่านั้นเป็นตัวแทนของความเลวร้ายบางอย่าง ข้อสอง การประชาทัณฑ์สาธารณะมิได้กระทำโดยกลุ่มคนที่ถูกตัดขาดจากกระบวนการยุติธรรมหรือถูกเจ้าหน้าที่ละเลย แต่ตรงข้ามกันอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นการกระทำต่อหน้าต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งปล่อยให้เกิดการทำทารุณกรรมกับร่างเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายแบบแรกน่าจะช่วยให้เข้าใจการประชาทัณฑ์สาธารณะในกรณี 6 ตุลาได้พอควร แม้ว่ากรณี 6 ตุลาจะไม่ได้เกี่ยวกับการเหยียดผิวเลย แต่ขบวนการนักศึกษาและเหยื่อของการประชาทัณฑ์ถูกกล่าวหาว่ากำลังคุกคามและละเมิดระเบียบสังคมที่สำคัญที่สุด กำลังล้มล้างสถาบันหลักของชาติ เปลี่ยนประเทศไทยให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ และยิ่งปล่อยไว้นานไป พวกเขาก็ยิ่งเติบโตมากขึ้น กลุ่มอำนาจฝ่ายขวาและมวลชนผู้ลงมือประชาทัณฑ์จึงหวาดกลัวว่าระเบียบสังคมที่ตนยึดถือกำลังถูกท้าทาย จึงต้องลงมือจัดการอย่างเด็ดขาดก่อนจะสายเกิน
ลองพิจารณากันอีกสักหน่อยว่าการประชาทัณฑ์สาธารณะตามคำอธิบายแบบแรกจะช่วยให้เราเข้าใจการประชาทัณฑ์สาธารณะต่อศพเมื่อ 6 ตุลาได้อย่างไร
ลักษณะเป็นพิธีกรรม (Ritualistic)
ฟูโก้เคยกล่าวไว้ว่า การทำทารุณเป็นการแสดงพิธีกรรมบางอย่างในรูปแบบหนึ่ง ยิ่งถ้าการทารุณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการลงทัณฑ์แล้วล่ะก็ การลงโทษแบบนั้นมีลักษณะเป็นพิธีกรรมอย่างแน่นอน การประชาทัณฑ์สาธารณะแทบทุกกรณีล้วนแล้วแต่มีลักษณะเป็นพิธีกรรม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเสมอไป หรือต้องมีความสวยสดงดงาม และไม่จำเป็นต้องหมายถึงเทศกาลของชุมชนเสมอไป ความเป็นพิธีกรรมหมายความว่าเป็นการแสดงรวมหมู่ของชุมชนหรือสังคมหนึ่ง ที่มีระเบียบแบบแผนบางอย่าง เพื่อต้องการสื่อความหมายที่แน่นอนและสามารถรับรู้ได้ในสังคมนั้น
ลักษณะเป็นพิธีกรรมจึงมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 มีขนบ (convention) ว่าการกระทำอะไรหมายถึงอะไร
2 ผู้เข้าร่วมมีบทบาทที่รับรู้กันได้ล่วงหน้า
3 ค่อนข้างมีมาตรฐานว่าควรแสดงอะไรบ้าง อะไรยอมให้เสริมแต่งปรับเปลี่ยนได้ อะไรต้องเคร่งครัดตามแบบแผน และ
4 ต้องมีการสื่อสาระหรือความหมายทางสังคมที่ผู้เข้าร่วมสามารถรับรู้ได้
ทั้งหมดนี้หมายความว่าต้องมีการแสดงทำนองนี้มาก่อนแล้ว คงแสดงซ้ำแล้วซ้ำเล่าเสียด้วย จึงก่อเป็นขนบ แบบแผน มาตรฐาน บทบาทที่รู้ล่วงหน้า และสารหรือความหมายที่สื่อแล้วรู้กัน ในกรณีของการประชาทัณฑ์คนผิวดำในอเมริกา ยังมีเกณฑ์การเลือกสถานที่สำหรับการประชาทัณฑ์สาธารณะด้วย
เราอาจคิดว่าการประชาทัณฑ์ไม่เกิดขึ้นในสังคมไทยบ่อยนัก การประชาทัณฑ์ทางการเมืองที่ทำต่อศพในกรณี 6 ตุลาก็ไม่เคยเกิดมาก่อน จึงไม่น่าจะมีแบบแผนการปฏิบัติ ดูเหมือนจะเป็นการระเบิดอารมณ์โกรธแค้นของผู้คนอย่างไม่มีใครคาดฝัน ไม่มีตัวอย่างให้เห็นมาก่อน และเป็นไปอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นภาวะเลยเถิดที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน บรรยากาศและสถานการณ์พาไปเสียมากกว่า การทารุณกรรมก็ดูเหมือนจะผุดขึ้นโดยฉับพลันในขณะนั้น ลักษณะเป็นพิธีกรรมดูเหมือนจะตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ตุลาเป็นอย่างยิ่ง แต่หากเราดูกันต่อไปจะเห็นว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นในวันนั้น กลับมีลักษณะบางอย่างร่วมกันและสื่อสารความหมายที่ใกล้เคียงกัน และเป็นสิ่งที่ชุมชนของพวกผู้กระทำสามารถเรียนรู้ได้ล่วงหน้าจากเหตุการณ์อื่น ถึงแม้จะไม่ใช่การประชาทัณฑ์สาธารณะในสังคมไทยเองก็ตาม
ที่แน่ ๆ ก็คือการประชาทัณฑ์สาธารณะทุกกรณีรวมทั้งกรณีที่ทำกับศพเมื่อ 6 ตุลากระตุ้นความเชื่อบางอย่างที่ดำรงอยู่ร่วมกันของชุมชนของผู้กระทำ การกระทำเฉพาะเจาะจงแทบทุกอย่างจงใจให้สื่อความหมายชัด ๆ เห็นกันชัด ๆ และเข้าร่วมได้ชัด ๆ ไม่มีอะไรคลุมเครือเลย แม้กระทั้งอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่เข้าร่วมการลงทัณฑ์เหล่านั้นก็ชัดเจน หรือแสดงออกค่อนข้างเกินเลยกว่าปกติอย่างชัดแจ้ง
พิธีกรรมยังช่วยสร้างพันธะความผูกพันระหว่างบุคคลในชุมชนของผู้ลงทัณฑ์เหล่านั้น ทำให้พวกเขารู้สึกถึงพลังของฝ่ายเดียวกัน และในเวลาเดียวกันก็รู้จักฝ่ายตรงข้าม แต่ตระหนักในพลังที่เหนือกว่าของตน ไม่ว่าผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อคนนั้นๆ จะเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือเป็นเพียงแพะรับบาปก็ไม่มีความสำคัญมากนัก เพราะเหยื่อมีบทบาทหน้าที่เป็นเพียงส่วนประกอบของการแสดงประชาทัณฑ์ซึ่งรับใช้ชุมชนของผู้กระทำ หมายความว่าเหยื่อเหล่านั้นสูญเสียความเป็นปัจเจกชนไปแล้ว เขาเป็นเพียง “ร่างทรง” (embodiment) ของความเลวตามความเชื่อของผู้กระทำที่ต้องการเหยื่อเพื่อเป็นเป้าของพิธิกรรมการแสดงของตนเท่านั้น
การเข้าร่วมของคนจำนวนมากในชุมชนนั้นได้ช่วยสร้างความอุ่นใจว่าพวกเขาแต่ละคนจะไม่ตกเป็นเป้าของการลงโทษตามกฎหมาย เพราะบอกไม่ได้ชัด ๆ ว่าใครคนไหนกันแน่ที่ทำให้เหยื่อเสียชีวิต แต่เป็นฝีมือของฝูงชนที่ช่วยกันคนละไม้ละมือ และเมื่อช่วยกันรุมประชาทัณฑ์ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครชี้นิ้วกล่าวโทษใส่กันและกัน การแสดงออกร่วมกันของคนหมู่มากยังเป็นเสมือนการสร้างกฎรวมหมู่ที่ไม่เป็นทางการ หรือ “กฎหมู่” ของชุมชนนั้น ดังนั้นผู้กระทำจึงไม่รู้สึกผิด แม้กระทั่งเวลาผ่านไปอีกนาน ผู้กระทำก็อาจไม่รู้สึกผิด แต่กลับสามารถหาเหตุผลมารองรับการกระทำที่เกิดขึ้นว่าชอบธรรมแล้ว
สื่ออะไร เพื่ออะไร ทำไมต้องโหดเหี้ยมขนาดนั้น
การประชาทัณฑ์สาธารณะโดยมากมีความมุ่งหมายเพื่อสั่งสอน การทารุณกรรมล้วนสื่อความหมายทั้งนั้น
ข้อแรก สื่อให้รับรู้กันทั่วไปว่า เหยื่อเหล่านั้นไร้คุณค่าอย่างถึงที่สุด วิธีการลงทัณฑ์ที่โหดเหี้ยมผิดปกติก็เพื่อสื่อให้ผู้คนรับรู้ชัด ๆ จะ ๆ แจ้ง ๆ ถึงความชั่วร้ายของเหยื่อหรือการละเมิดที่เลวร้ายที่เหยื่อเหล่านั้นกระทำ (จากทัศนะของผู้กระทำซึ่งเชื่อว่าพวกเขาเป็นคนปกติส่วนใหญ่ของสังคม) รูปแบบการลงโทษปกติหรือตามกฎหมายของสังคมสมัยใหม่ย่อมไม่สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกเช่นนั้นได้ เพราะมันไม่สาสม เบาเกินไป ให้ความเคารพ ให้เกียรติกับเหยื่อและความเลวเหล่านั้นมากเกินไป
ข้อสอง การทำร้ายศพด้วยวิธีที่โหดเหี้ยม คือการทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของร่างไร้ชีวิตมนุษย์ที่ทุกสังคมถือว่าควรเคารพ ผู้กระทำเลือกวิธีเช่นนั้นอย่างจงใจ เฉพาะเจาะจง เพื่อปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติต่อเหยื่อในแบบที่มนุษย์ในสังคมอารยะพึงกระทำต่อกัน วิธีที่โหดเหี้ยมสื่อความหมายว่าเหยื่อไม่ใช่คน เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์อย่างถึงที่สุดแม้การลงโทษประหารชีวิตตามระบบกฎหมายปัจจุบันก็ยังไม่สามารถปฏิเสธความเป็นมนุษย์ได้ถึงระดับนั้น
ข้อสาม รูปแบบการลงทัณฑ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นแบบโบราณ แต่ไม่ใช่เพราะผู้กระทำยังคงตกอยู่ในความคิดความเชื่อโบราณ ตรงกันข้ามพวกเขายืนอยู่กับปัจจุบัน คิดแบบปัจจุบัน จึงสามารถที่จะหยิบเอาชุดของการกระทำที่ดูโบราณมาใช้ เพื่อสื่อว่าเหยื่อสมควรถูกกระทำในแบบที่มนุษย์ปัจจุบันไม่กระทำต่อกันอีกแล้ว
ข้อสี่ เมื่อการประชาทัณฑ์หรือลงทัณฑ์เหล่านั้นจบสิ้นลง สิ่งที่สาธารณชนเห็นทั้งด้วยสายตาและรูปภาพจะสามารถสื่อสาระที่ต้องการได้อีกหลายสิบปีต่อมา
การประชาทัณฑ์สาธารณะเป็นวิธีการประกาศด้วยเสียงดังกัมปนาทต่อสังคมอย่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมาว่า ความเชื่อในระเบียบสังคมแบบที่พวกเขายึดมั่นเท่านั้นที่ยังมีอำนาจอยู่และพึงได้รับการปกป้องจากการคุกคามของพวกเหยื่อ การประชาทัณฑ์จึงต้องชัดแจ้งไม่คลุมเครือ พฤติกรรมอันโหดเหี้ยมจึงถูกใช้เพื่อรักษาระเบียบสังคมและความเชื่อที่ลงหลักปักฐานอยู่ และทำให้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้นนั่นเอง แน่นอนว่าในทางกลับกัน ปรากฏการณ์เช่นนี้ย่อมแสดงว่าการกระทำและความเชื่อของเหยื่อเหล่านั้น กำลังสั่นคลอนระเบียบสังคมและความเชื่อที่เป็นหลักอย่างแรง เป็นการท้าทายถึงราก ดังนั้นจึงต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด
เรารู้กันดีว่าเหยื่อ 6 ตุลาถูกให้ร้ายโจมตีว่ากระทำการละเมิดต่อสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้ในภาษาอังกฤษคำว่า lese majesty มิได้หมายความถึงการละเมิดต่อกษัตริย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการละเมิดคุกคามต่อสิ่งที่เป็นอำนาจหลัก ๆ ของรัฐ ซึ่งเราเรียกกันว่าการทรยศ (treason) และของศาสนาซึ่งเรียกว่า blaspheme ทั้งหมดนี้ถือเป็นการละเมิดที่รุนแรงระดับเป็น “lese majesty” การลงโทษผู้ละเมิดระดับนี้จึงต้องใช่วิธีที่เป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงและความไร้ค่าสุดๆ ของเหยื่อเหล่านั้น
การทารุณศพต่อหน้าสาธารณชนจึงมิใช่เพียงเกิดจากความชั่วร้าย (Evil) หรือภาวะชั่ววูบในจิตใจ ไม่ใช่ผลของการคุมอารมณ์ไม่อยู่ หรือผลของสถานการณ์ที่เลยเถิดควบคุมไม่ได้ แต่เป็นการกระทำที่ผู้กระทำและผู้เข้าร่วมเลือกจะทำ เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์และสื่อสารกับสังคม เป็นการจารึกรอยแห่งอำนาจบนร่างของเหยื่อ เป็นสัญลักษณ์ที่ประกาศว่า ความเชื่อที่ถูกต้องหรือระเบียบสังคมที่สาธารณชนพึงยึดถือคืออะไร ใครมีอำนาจเหนือใคร ทั้งบนร่างของผู้ถูกกระทำและในความรับรู้ของสังคมในเวลาเดียวกัน
ความหมายและที่มาของรูปแบบการทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา
การประชาทัณฑ์สาธารณะในสังคมอื่นตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ผู้กระทำมีความรู้และจดจำเอาวิธีการมาจากกรณีที่เคยทำกันมาก่อนในสังคมของตน โดยในระยะแรก เข้าใจว่าผู้กระทำเลือกเอามาจากความรู้ทางศาสนาและประวัติศาสตร์ แต่ในกรณี 6 ตุลาล่ะ พวกเขาเอามาจากไหน?
ดูเหมือนเป็นการผสมผสานกันจากหลายแหล่ง ทั้งจากความรู้ความเชื่อว่าอดีตเคยทำเช่นนั้น และจากวัฒนธรรมสาธารณะ เช่น สื่อมวลชน ภาพยนตร์ นิยาย ฯลฯ ที่พวกเขาเคยฟังเคยชมมาก่อน
การลงทัณฑ์ในไทยแบบโบราณ หากเป็นความผิดอุกฉกรรจ์ต่อพระไอยการอาญาหลวงและพระไอยการกระบดศึก จะโดนลงโทษทางร่างกาย หรือที่เรียกในพระไอยการกระบดศึกว่า “กรรมกร 21 สถาน” มีตั้งแต่โทษประหารด้วยการตัดคอ แหกอก หรือเปิดกะโหลกศีรษะ ไปจนถึงการทรมานทางกายไม่ถึงตาย ที่รู้จักกันดีได้แก่ การโบย เฆี่ยน ตี ตัดปาก ตัดหู ตัดนิ้วมือ เป็นต้น แต่การลงทัณฑ์ในไทยแบบโบราณไม่ใช้การแขวนคอ
การลงทัณฑ์สาธารณะและการประจานไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในสังคมไทยในอดีต เป็นรูปแบบที่ทำกันเป็นปกติสำหรับอาชญากรประเภทอุกฉกรรจ์ เจ้าอนุวงศ์ก็เคยถูกจับใส่กรงแล้วลากประจานไปตามถนนให้ผู้คนรุมทำร้าย การประจานยังเป็นสิ่งที่กระทำกันอยู่เป็นปกติจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทั้งโดยทางการและโดยผู้คนในสังคมทำกันเอง การประจานที่รู้จักกันดีและยังยอมรับกันอยู่ทั่วไปในสังคมไทยคือ การทำแผนประทุษกรรม ไม่มีประเทศไหนในโลกอีกแล้วที่ยอมให้ตำรวจเอาผู้ต้องหามาแสดงต่อสาธารณชนด้วยข้ออ้างว่าเพื่อประกอบการสืบสวน
- การแขวนคอ เราอาจคิดได้ว่าเป็นปฏิกิริยาต่อการแสดงแขวนคอที่ธรรมศาสตร์ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น แต่เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าในหลายสังคม การแขวนคอเป็นการลงโทษและประจานคนร้ายที่เลวมหันต์ การประจานยังเป็นวิธีส่งคำเตือนหรือบทเรียนแก่ฝ่ายตรงข้ามด้วย และความรับรู้เช่นนี้อาจเป็นที่มาของการเลือกใช้การแขวนคอต่อวิชัย เกตุศรีพงษาและชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้า 2 คนก็ได้ ทั้งที่การประหารแบบโบราณของไทยเองไม่ใช้การแขวนคอ
- การลากร่างไร้ชีวิตไปตามพื้น เป็นการกระทำกับสัตว์ไม่ใช่ทำกับมนุษย์
- การเผาจนเป็นเถ้าถ่าน เป็นการทำลายกระทั่งรูปพรรณของมนุษย์ให้หมดจบสิ้น ตามความเชื่อของสังคมพุทธ การเผาศพเป็นพิธีกรรมส่งผู้ตายไปเกิดใหม่หรือสู่สุคติ แต่การเผาที่ปราศจากพิธีกรรมทางศาสนาที่ถูกต้องเหมาะสมคือการปฏิเสธโอกาสดังกล่าว แม้ตายแล้ว เหยื่อก็ไม่สมควรหลุดพ้นจากความทุกข์ พวกเขาจึงต้องถูกเผาเยี่ยงซากสัตว์
_ การปัสสาวะรดศพสะท้อนว่าเหยื่อรายนั้นไม่ใช่มนุษย์ปกติแต่เป็นเพียงสิ่งรองรับความโสโครกของมนุษย์
- แต่การกระทำที่มาจากต่างประเทศแน่ ๆ คือ การตอกอก เพราะเป็นวิธีการสังหารซาตานหรือปีศาจตามคติความเชื่อของฝรั่ง ไม่ใช่ของไทยแต่อย่างใด แต่คนไทยเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมนี้จากหนังฮอลลีวู้ดจำนวนมาก ฉะนั้น แม้จะมาจากต่างประเทศ อยู่นอกสามัญสำนึกของคนไทยปกติทั่วไป แต่ทั้งผู้กระทำและผู้ชมเข้าใจสารที่ต้องการสื่อนี้เป็นอย่างดี อีกทั้งวิธีการนี้ต้องการอุปกรณ์ช่วยที่เหมาะสมด้วย สิ่งนี้จึงยิ่งยืนยันว่ามหกรรมทำร้ายศพกรณี 6 ตุลาไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบแล้ว แต่ต้องมีการไตร่ตรองหาวิธีทำร้ายศพอย่างสำนึกรู้ หรืออาจปรึกษาในหมู่พวกเขาเองก่อนลงมือทำด้วยซ้ำ แล้วจึง “เลือก” ที่จะใช้วิธีนี้
วัชรี เพชรสุ่น
การทำร้ายร่างไร้ชีวิตของวัชรี เพชรสุ่นน่าจะเป็นกรณีที่น่าขบคิดที่สุด เพราะเป็นการกระทำที่อุบาทว์อย่างเหลือเชื่อว่าพวกเขาทำเช่นนั้นได้อย่างไร ในเหตุการณ์ 6 ตุลา การบังคับให้ผู้ชุมนุมหญิงที่ถูกจับต้องถอดเสื้อออกเหลือแต่เพียงชุดชั้นใน ด้วยข้ออ้างพล่อย ๆ ว่าป้องกันการซ่อนอาวุธหรือข้ออ้างอะไรก็ตาม ความมุ่งหมายที่แท้จริงคือการเหยียดหยามเยาะเย้ยผู้หญิงที่ถูกจับเหล่านั้น ด้วยวิธีการเฉพาะที่มีผลกระทบต่อผู้หญิงเท่านั้น เพราะการหยามเช่นนี้สามารถทำร้ายผู้หญิงได้ลึกและฝังใจยิ่งกว่าการเตะต่อยอย่างที่ทำกับผู้ชาย ศพของวัชรี เพชรสุ่นก็ถูกกระทำทำนองเดียวกันแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ ร่างที่ไร้ชีวิตไปแล้วเพราะกระสุนปืน ถูกนำมาจัดวาง เปลื้องผ้าของเธอออกหมดต่อหน้าสาธารณชน มีภาพที่แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำนั่ง-ยืนล้อมรอบร่างเปลือยด้วยความพอใจ ที่น่าเกลียดที่สุด คือการนำไม้มาจัดวางข้างร่างของเธอ ให้ดูราวกับว่าเธอถูกทำร้ายด้วยไม้ท่อนนั้น ทั้งๆ ที่รายงานชันสูตรชี้ว่าไม่มีร่องรอยการทำร้ายตรงอวัยวะเพศแต่อย่างใด ที่เห็นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการจัดฉากให้เข้าใจไปเช่นนั้น เธอถูกทำลายไม่เพียงความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่ศพควรได้รับความเคารพ ไม่ใช่เอามาประจาน แต่ผู้กระทำยังจงใจคิดหาวิธีการเชิงสัญลักษณ์เพื่อการเหยียดหยามความเป็นหญิงของเธออย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนานของผู้กระทำอีกด้วย นี่ไม่ใช่ผลจากอารมณ์ชั่ววูบที่ปล่อย Evil ออกมา แต่เป็นผลงานของการคิดคำนวณหาวิธีทำร้ายศพที่เป็นหญิงอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่จะคิดออก
กรณี 6 ตุลาจึงรวมเอาความรับรู้จากสารพัดแหล่ง สารพัดวิธีการ ทั้งฝรั่ง-ไทย ทั้งที่เชื่อว่าเป็นอดีตและทั้งๆ ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รูปแบบการทำร้ายศพทั้งหมดเพื่อสื่อสารความหมายร่วมกันเพียงอย่างเดียวว่า เหยื่อเหล่านั้นไม่สมควรได้รับการลงโทษหรือการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์กระทำต่อกัน เพราะพวกเขาไม่ใช่มนุษย์อีกต่อไป
ประการสุดท้ายที่อยากฝากไว้ก็คือการประชาทัณฑ์สาธารณะโดยมากไม่ใช่การลงมือกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความร่วมมือ เปิดทางให้ นิ่งเฉย หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น กลไกของรัฐมักมีส่วนสร้างเงื่อนไขหรือก่อสถานการณ์ที่นำไปสู่การประชาทัณฑ์สาธารณะ แต่การกระทำโหดร้ายจำนวนมากนั้นเป็นการกระทำของประชาชนกันเอง การประชาทัณฑ์เช่นนี้เป็นการร่วมมือร่วมใจกันกระทำในสิ่งที่สังคมของพวกเขาเห็นว่าสมควรกับสถานการณ์กับเหยื่อเหล่านั้น ดังนั้น จำนวนไม่น้อยจึงสามารถยิ้มร่าได้ด้วยความพอใจในระหว่างลงมือประชาทัณฑ์ และโดยมากไม่รู้สึกผิดค้างคาใจแต่อย่างใด
หมายเหตุท้ายบท
หลายปีที่ผ่านมา มีข้อวิจารณ์ประการหนึ่งต่อการรำลึก 6 ตุลาว่า มีแต่การพูดเรื่องคนตาย ความตาย ความโหดร้ายทารุณแต่กลับไม่ยอมพูดไปถึงตัวการเบื้องหลังเหตุการณ์ ทำให้การรำลึก 6 ตุลากลายเป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อ ข้อวิจารณ์เหล่านี้ต้องการตำหนิคนที่ไม่พูดเรื่องเจ้าและผู้มีอำนาจ และยังกล่าวหาว่าต้องการ “de-radicalize” กรณี 6 ตุลา ข้อวิจารณ์เหล่านี้มีส่วนถูกต้อง และภายใต้สภาวะอันจำกัดของสังคมไทย เราทุกคนก็พยายามกันอย่างเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้
แต่คำวิจารณ์เหล่านี้ให้ความสำคัญต่อผู้เสียชีวิตในฐานะปัจเจกบุคคลน้อยไปหน่อย ทำให้ผู้เสียชีวิตมีค่าเป็นแค่เฟืองนิรนามของขบวนการสังคมนิยมที่ยิ่งใหญ่และเป็นค่าเสียหายค้างชำระทางการเมืองเท่านั้น โครงการบันทึก 6 ตุลาเห็นว่าความรู้เรื่องความตาย คนตาย และการกระทำทารุณโหดร้ายจำเป็นต้องได้รับการบันทึกให้แจ่มชัด และควรสืบทอดความรู้นี้ต่อไปอีกเท่าที่จะเป็นได้ นอกเหนือจากการให้เกียรติผู้เสียชีวิตเหล่านั้นแล้ว ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือเป็นการคืนความเป็นมนุษย์ให้กับเขา
บทความนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การทำความเข้าใจต่อความตายและความทารุณโหดร้าย มีแง่มุมที่น่าสนใจให้เราศึกษา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมไทยได้อีกมากกว่าที่ข้อวิจารณ์เหล่านั้นดูเบาไว้
เอกสารประกอบการศึกษา
- กรมราชทัณฑ์, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี, โรงพิมพ์ราชทัณฑ์, 2525
- พระไพศาล วิสาโล, “อนุสติจาก 6 ตุลา: ความชั่วร้าย ความตาย และชัยชนะ” ใน 6 ตุลาจารึก ความทรงจำ ความหวัง และบทเรียน, มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2539
- Brundage, W. Fitzhugh. Lynching in the New South: Georgia and Virginia 1880-1930, U of Illinois Press, 1993
- _____, ed., Under Sentence of Death: Lynching in the South, U of North Carolina Press, 1997
- Elam, and Chase Pielak. Corpse Encounters: An Aesthetics of Death, Lexington Books, 2018
- Garland, David. “Penal Excess and Surplus Meaning: Public Torture Lynchings in Twentieth-Century America”, Law and Society, 39, 4 (2005):793-833
- Godoy, Angelina S. Popular Injustice: Violence, Community, and Law in Latin America, Stanford U Press, 2006.
- Goldstein, Daniel. The Spectacular City: Violence and Performance in Urban Bolivia, Duke U Press, 2004
- Harding, Wendy. “Spectacle Lynching and Textual Responses”, Miranda [Online], 15, 2017. URL: http://miranda.revues.org/10493
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน ฟ้าเดียวกัน. 16:2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) และ www.doct6.com/archives/13520
การทำร้ายหรือทำลายศพ เป็นการกระทำน่ารังเกียจในทุกสังคมทุกศาสนามาแต่โบราณ เพราะมนุษย์มักเคารพต่อผู้เสียชีวิต อยากให้เขาไปสู่สุคติภพหรือไปเกิดใหม่อย่างสวยงามมีเกียรติ การกระทำอุจาดต่อศพที่แทบทุกสังคมรู้จักกันดี คือ การชำเราศพ (necrophilia) สังคมแต่โบราณจนถึงปัจจุบันหลายแห่งจึงมักมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมเพื่อลงโทษการกระทำผิดต่อศพและการชำเราศพ แต่ไม่ใช่ทุกแห่งที่บัญญัติความผิดนี้เป็นกฎหมาย
บนความเชื่อนี้เองจึงเกิดปัญหามาแต่โบราณว่า แล้วถ้าเป็นศพของคนเลว อาชญากรร้ายแรง พ่อมดหมอผี ผู้ทรยศ หรือเรียกรวมๆว่าเป็นผู้ละเมิดอย่างแรงต่ออำนาจของรัฐ (treason) ต่อความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ (lese majesty) และศาสนา (blasphemy) ศพของพวกเขาพึงได้รับการเคารพหรือการปฏิบัติอย่างสมเกียรติหรือไม่ ในกฎหมายของสังคมโบราณแทบทุกแห่งจึงมีการลงโทษผู้ละเมิดรุนแรงพรรค์นั้นด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมผิดจากที่กระทำต่อมนุษย์ธรรมดา ศพของเขามักถูกทอดทิ้งทำลายหรือถูกกระทำอย่างอัปลักษณ์อุจาด แถมมักนำไปประจานต่อสาธารณชนอีก บ่อยครั้งการประจานยังครอบคลุมถึงครอบครัวของผู้ละเมิดเหล่านั้นด้วย
ในยุคสมัยใหม่ กฎหมายในประเทศต่าง ๆ ยังแตกต่างกันอยู่มากในเรื่องความผิดเกี่ยวกับศพ หลายประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังมีอีกหลายประเทศและนับสิบรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน (เช่น รัฐวิสคอนซิน) ในกรณีประเทศหรือรัฐที่มีกฎหมายบัญญัติความผิดเกี่ยวกับศพไว้ ก็ยังมีความลักลั่นไม่ได้มีข้อความเป็นมาตรฐาน หรือการตีความหรือการกำหนดโทษความผิดตรงกันเท่าไรนัก ความแตกต่างเริ่มตั้งแต่คำจำกัดความว่าศพมีสถานะเป็นอะไรในทางกฎหมาย เพราะไม่ใช่ชีวิตแน่ ๆ แต่จะถือเป็นเพียงทรัพย์ชนิดหนึ่งเหมือนทรัพย์อื่น ๆ เช่นนั้นหรือ ในบางสังคมเมื่อประมาณ 100-200 ปีก่อนนี่เองยังถือว่า การขโมยเสื้อผ้าจากศพเป็นความผิดต้องลงโทษรุนแรงยิ่งกว่าการขโมยศพ การขโมยสัตว์ที่เป็นทรัพย์สินมีค่า เช่น หมู วัว แกะก็มีบทลงโทษรุนแรงกว่าการขโมยศพของมนุษย์
คำจำกัดความที่แตกต่างกันมีผลต่อการกำหนดว่าอะไรเป็นความผิด อะไรไม่ใช่ความผิดต่อศพ และความผิดต่างๆ กันนั้นถือเป็นความผิดขั้นรุนแรง ทางอาญา หรือเป็นความผิดลหุโทษ และไม่ใช่ความผิดอาญา เป็นต้น ส่วนใหญ่ถือว่าการชำเราศพเป็นเรื่องสำคัญ แต่นอกเหนือไปจากนั้นยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก เช่น การหั่นศพเป็นชิ้น การทำลายศพ การซื้อขายอวัยวะ การทำให้ศพเสียรูปโฉมทั้งด้วยความโกรธแค้น ความจงใจ หรือโดยประมาท หรือการปล่อยปละละเลยไม่จัดการกับศพตามประเพณี การเก็บศพไว้ในบ้าน หรืออยู่อาศัยร่วมกับศพ เป็นต้น เหล่านี้ถือเป็นความผิดมากน้อยแค่ไหน แรงหรือเบา อาญาหรือไม่
สำหรับประเทศไทย อาจารย์สาวตรี สุขศรี (คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์) ได้ให้ความรู้แก่ผู้เขียนว่า ก่อนหน้าปี 2558 ในประมวลกฎหมายอาญาไม่มีหมวดความผิดอาญาเกี่ยวกับศพโดยตรง เพิ่งมีการบัญญัติเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. ปี 2558 นี่เอง หากมีใครทำอะไรกับศพก่อนหน้าปี 2558 จะต้องตีความกันว่า ศพ เป็น "ทรัพย์" หรือไม่ เพื่อจะนำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาปรับใช้ ซึ่งก็จะมีแนวการตีความแตกต่างกันออกไป เพราะการจะเป็นทรัพย์ได้ต้องมีผู้ยึดถือหรือมีเจตนายึดถือ ครอบครอง หรือมีค่าบางอย่าง บางคนก็ว่าถ้าศพยังมีญาติ ก็น่าจะถือเป็นทรัพย์ แต่ถ้าศพไร้ญาติก็ไม่ถือเป็นทรัพย์ ใครจะทำอะไรกับศพนั้นก็ได้ไม่ผิดอาญา ทั้งทำลาย รวมทั้งชำเรา หรืออนาจาร
แต่ด้วยเหตุที่ในระยะหลังมีคนทำอะไร ๆ กับศพเยอะ ทั้งที่รู้และไม่รู้ว่าเป็นศพไปแล้ว จึงเพิ่มเติมหมวดความผิดนี้เข้าไป ซึ่งเพิ่มเข้ามาหลายฐาน ได้แก่ การกระทำชำเราศพ การกระทำอนาจารแก่ศพ การกระทำให้ศพเสียหาย และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียง ความผิดบางอย่างโทษสูงกว่าทำกับคนเป็นๆ เสียอีก เช่น ดูหมิ่นเหยียดหยามศพโทษสูงกว่าทำกับคนเป็น ๆ ผู้ร่างกฎหมายให้เหตุผลว่า เพราะต้องการ “คุ้มครองศีลธรรมอันดีของประชาชนและสาธารณะ” ไม่ใช่คุ้มครองศพหรือญาติ โทษจึงต้องสูง ในแง่นี้ชี้ว่า ผู้บัญญัติกฎหมายของไทยยุคใหม่ก็เห็นว่าการทำร้ายศพเป็นสิ่งผิดปกติ ไร้ศีลธรรม เป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ
การทำร้ายศพหรือการชำเราศพตามที่กล่าวมาและตามที่กฎหมายมุ่งหมายถึง เป็นการกระทำส่วนบุคคลต่อศพ และโดยมากจะทำอย่างลับ ๆ หรือแอบทำ แต่การทำร้ายศพในกรณี 6 ตุลาเป็นการกระทำแบบรวมหมู่ของคนจำนวนมากและกระทำในที่สาธารณะกลางเมืองท่ามกลางสายตาคนนับพัน จึงไม่ใช่การทำร้ายศพในความหมายที่กล่าวมาข้างต้น แต่น่าจะคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เรียกว่าการประชาทัณฑ์สาธารณะมากกว่า
การประชาทัณฑ์สาธารณะ (public lynching)
ไม่ค่อยมีการศึกษาการลงทัณฑ์อย่างทารุณในที่สาธารณะในสังคมไทย อาจเป็นเพราะว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นน้อยครั้งในสังคมไทยจนเราคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ผิดปกติหรือเป็นข้อยกเว้นพิเศษ การทารุณกรรมสาธารณะในกรณี 6 ตุลาเป็นที่รับรู้กันดี แต่ก็ยังไม่เคยมีความพยายามอธิบายนอกเหนือจากที่พระไพศาล วิสาโลเคยอธิบายไว้ว่าเป็นเพราะความชั่วร้าย (Evil)
การประชาทัณฑ์สาธารณะในเหตุการณ์ 6 ตุลา ชวนให้เราต้องคิดว่าจู่ ๆ ก็มีปรากฏการณ์วิตถารเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่มาที่ไปกระนั้นหรือ หรือเอาเข้าจริงมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เป็นตัวแบบหรือตัวอย่างที่อยู่ในความรับรู้ของคนไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้นเมื่อสถานการณ์เหตุปัจจัยทั้งหลายลงตัวและสุกงอมในวันที่ 6 ตุลา ความรับรู้ที่ซ่อนอยู่ในสำนึกของผู้คนจึงถูกปลดปล่อย ถูกหยิบขึ้นมาลงมือกระทำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นหมายความว่าเรามองข้ามละเลยปรากฏการณ์หรือตัวแบบเช่นนี้ในสังคมไทยมาโดยตลอด
การประชาทัณฑ์ต่อหน้าฝูงชนเป็นปรากฏการณ์ในหลายประเทศที่มีการศึกษากันพอสมควร อาทิ เช่น การแขวนคอคนผิวดำโดยมีประชาชนนับร้อยนับพันเข้าร่วมหลายร้อยกรณีระหว่าง ค.ศ. 1880 ถึง 1940 มีผู้ตกเป็นเหยื่อการประชาทัณฑ์สาธารณะรวมกันหลายพันคน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้หลายประเทศเช่น โบลิเวีย กัวเตมาลา และอื่นๆ ก็พบว่าชุมชนหลายแห่งร่วมมือกันจับอาชญากรลงโทษต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งคราวเพื่อเป็นบทเรียนให้หวาดกลัว พฤติกรรมนี้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 นี่เอง ในเมื่อยังไม่มีการศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้ในสังคมไทย ความรู้ที่ได้จากสังคมอื่นจึงอาจช่วยให้เรามีแนวทางเพื่อคิดทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ในสังคมไทยได้บ้าง
อันที่จริงการประชาทัณฑ์สาธารณะมิได้มีแบบเดียวเหมือนๆ กัน สาเหตุหรือเงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดขึ้นก็มีได้หลายอย่าง ลำพังการแขวนคอคนผิวดำต่อหน้าสาธารณชนก็มีผู้ศึกษาแยกแยะประเภทได้ 3-4 อย่าง ตามแต่เหตุผลหรือแรงจูงใจ ขนาดของผู้ลงมือ และทำอย่างเป็นความลับหรือเปิดเผย หากกล่าวโดยสรุป มีการศึกษาให้คำอธิบายปรากฏการณ์ประชาทัณฑ์สาธารณะทั้งหลายนี้อยู่สองแบบหลักๆ ได้แก่
คำอธิบายแบบแรก เป็นการกระทำของคนผิวขาวต่อคนผิวดำ เกิดขึ้นในภาวะที่คนผิวขาวซึ่งถือว่าตัวเองสูงส่งกว่า แต่กลับอยู่ในภาวะไม่มั่นคงแล้ว เพราะระเบียบสังคมแบบเหยียดผิวที่พวกเขายึดถือกำลังเสื่อมลง กำลังถูกท้าทายสั่นคลอน ทำให้พวกเขาหวาดกลัวคนผิวดำ การประชาทัณฑ์สาธารณะจึงเป็นปฏิกิริยารวมหมู่ชนิดหนึ่งของคนผิวขาว เพื่อยืนยันความเชื่อเหยียดผิวและระเบียบสังคมที่แบ่งชั้นคนตามสีผิว (โดยมากด้วยการแขวนคอ แต่มีการทารุณด้วยวิธีอื่นด้วยเช่น คนนับร้อยระดมกระสุนสังหารเป้าเดียวกัน การรุมตี เป็นต้น โดยมากกระทำในลานกลางแจ้ง แต่ก็มีการสังหารทารุณในโรงละครด้วยโดยให้ผู้ซื้อตั๋วเข้าร่วมการลงทัณฑ์ได้) การประชาทัณฑ์สาธารณะมีลักษณะเป็น “พิธีกรรม” แบบรวมหมู่ชนิดหนึ่ง เพื่อพยายามต่ออายุระเบียบสังคมแบบเหยียดผิว
คำอธิบายแบบที่สองใช้สำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอเมริกากลางและใต้เป็นส่วนมาก แต่ไม่ใข่คนผิวขาวต่อคนผิวดำ กล่าวคือ เกิดจากประชาชนถูกปล่อยปละละเลย เป็นคนชายขอบของสังคม ไม่สามารถเข้าถึงกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้บังคับกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมตามปกติได้ เมื่อเกิดกรณีที่ชุมชนชายขอบเหล่านี้ถูกคุกคามจากอาชญากรร้ายแรงหรือแก๊งอันธพาลจนทนไม่ไหว เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือเจ้าหน้าที่ร่วมมือกับอาชญากรด้วยซ้ำไป พวกเขาจึงต้องหาความยุติธรรมด้วยตนเอง เมื่อพวกเขาสามารถจับกุมอาชญากรได้ จึงลงโทษโดยกระบวนการของตนเอง การลงทัณฑ์สาธารณะเป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายงานเทศกาลของชุมชน (carnival) พิธีกรรมดังกล่าวไม่ใช่การแก้แค้นรวมหมู่ของชุมชนนั้น แต่เป็นการแสดงออกร่วมกันของชุมชนที่ถูกทอดทิ้งและทางการไม่สนใจรับฟังเสียงของพวกเขา พิธีกรรมลงทัณฑ์อย่างรวมหมู่เป็นการส่งเสียงแบบหนึ่ง ให้ทั้งรัฐและอาชญากรรู้ว่าชุมชนนั้นยังต้องการความยุติธรรมและหลักกฎหมาย แต่ในเมื่อไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ พวกเขาก็มีพลังจะจัดการด้วยตัวเอง การประชาทัณฑ์สาธารณะแบบนี้มิใช่สิ่งทดแทนสถาบันและกระบวนการทางกฎหมายของทางการ แต่ก็มิใช่พิธีกรรมเพื่อรักษาต่ออายุระเบียบสังคมแบบกดขี่ที่กำลังล่มสลายอย่างการประชาทัณฑ์สาธารณะแบบแรก
การประชาทัณฑ์สาธารณะในกรณี 6 ตุลา ไม่ตรงกับคำอธิบายทั้งสองแบบเสียทีเดียว กล่าวคือ ข้อแรก 6 ตุลามิใช่การทารุณกรรมลงโทษผู้ยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งเสียชีวิต แต่เป็นการทำร้ายร่างที่ไร้ชีวิตไปแล้ว เสมือนว่าร่างเหล่านั้นเป็นตัวแทนของความเลวร้ายบางอย่าง ข้อสอง การประชาทัณฑ์สาธารณะมิได้กระทำโดยกลุ่มคนที่ถูกตัดขาดจากกระบวนการยุติธรรมหรือถูกเจ้าหน้าที่ละเลย แต่ตรงข้ามกันอย่างยิ่ง กล่าวคือ เป็นการกระทำต่อหน้าต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งปล่อยให้เกิดการทำทารุณกรรมกับร่างเหล่านั้น
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายแบบแรกน่าจะช่วยให้เข้าใจการประชาทัณฑ์สาธารณะในกรณี 6 ตุลาได้พอควร แม้ว่ากรณี 6 ตุลาจะไม่ได้เกี่ยวกับการเหยียดผิวเลย แต่ขบวนการนักศึกษาและเหยื่อของการประชาทัณฑ์ถูกกล่าวหาว่ากำลังคุกคามและละเมิดระเบียบสังคมที่สำคัญที่สุด กำลังล้มล้างสถาบันหลักของชาติ เปลี่ยนประเทศไทยให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ และยิ่งปล่อยไว้นานไป พวกเขาก็ยิ่งเติบโตมากขึ้น กลุ่มอำนาจฝ่ายขวาและมวลชนผู้ลงมือประชาทัณฑ์จึงหวาดกลัวว่าระเบียบสังคมที่ตนยึดถือกำลังถูกท้าทาย จึงต้องลงมือจัดการอย่างเด็ดขาดก่อนจะสายเกิน
ลองพิจารณากันอีกสักหน่อยว่าการประชาทัณฑ์สาธารณะตามคำอธิบายแบบแรกจะช่วยให้เราเข้าใจการประชาทัณฑ์สาธารณะต่อศพเมื่อ 6 ตุลาได้อย่างไร
ลักษณะเป็นพิธีกรรม (Ritualistic)
ฟูโก้เคยกล่าวไว้ว่า การทำทารุณเป็นการแสดงพิธีกรรมบางอย่างในรูปแบบหนึ่ง ยิ่งถ้าการทารุณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการลงทัณฑ์แล้วล่ะก็ การลงโทษแบบนั้นมีลักษณะเป็นพิธีกรรมอย่างแน่นอน การประชาทัณฑ์สาธารณะแทบทุกกรณีล้วนแล้วแต่มีลักษณะเป็นพิธีกรรม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเสมอไป หรือต้องมีความสวยสดงดงาม และไม่จำเป็นต้องหมายถึงเทศกาลของชุมชนเสมอไป ความเป็นพิธีกรรมหมายความว่าเป็นการแสดงรวมหมู่ของชุมชนหรือสังคมหนึ่ง ที่มีระเบียบแบบแผนบางอย่าง เพื่อต้องการสื่อความหมายที่แน่นอนและสามารถรับรู้ได้ในสังคมนั้น
ลักษณะเป็นพิธีกรรมจึงมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 มีขนบ (convention) ว่าการกระทำอะไรหมายถึงอะไร
2 ผู้เข้าร่วมมีบทบาทที่รับรู้กันได้ล่วงหน้า
3 ค่อนข้างมีมาตรฐานว่าควรแสดงอะไรบ้าง อะไรยอมให้เสริมแต่งปรับเปลี่ยนได้ อะไรต้องเคร่งครัดตามแบบแผน และ
4 ต้องมีการสื่อสาระหรือความหมายทางสังคมที่ผู้เข้าร่วมสามารถรับรู้ได้
ทั้งหมดนี้หมายความว่าต้องมีการแสดงทำนองนี้มาก่อนแล้ว คงแสดงซ้ำแล้วซ้ำเล่าเสียด้วย จึงก่อเป็นขนบ แบบแผน มาตรฐาน บทบาทที่รู้ล่วงหน้า และสารหรือความหมายที่สื่อแล้วรู้กัน ในกรณีของการประชาทัณฑ์คนผิวดำในอเมริกา ยังมีเกณฑ์การเลือกสถานที่สำหรับการประชาทัณฑ์สาธารณะด้วย
เราอาจคิดว่าการประชาทัณฑ์ไม่เกิดขึ้นในสังคมไทยบ่อยนัก การประชาทัณฑ์ทางการเมืองที่ทำต่อศพในกรณี 6 ตุลาก็ไม่เคยเกิดมาก่อน จึงไม่น่าจะมีแบบแผนการปฏิบัติ ดูเหมือนจะเป็นการระเบิดอารมณ์โกรธแค้นของผู้คนอย่างไม่มีใครคาดฝัน ไม่มีตัวอย่างให้เห็นมาก่อน และเป็นไปอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นภาวะเลยเถิดที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน บรรยากาศและสถานการณ์พาไปเสียมากกว่า การทารุณกรรมก็ดูเหมือนจะผุดขึ้นโดยฉับพลันในขณะนั้น ลักษณะเป็นพิธีกรรมดูเหมือนจะตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ตุลาเป็นอย่างยิ่ง แต่หากเราดูกันต่อไปจะเห็นว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นในวันนั้น กลับมีลักษณะบางอย่างร่วมกันและสื่อสารความหมายที่ใกล้เคียงกัน และเป็นสิ่งที่ชุมชนของพวกผู้กระทำสามารถเรียนรู้ได้ล่วงหน้าจากเหตุการณ์อื่น ถึงแม้จะไม่ใช่การประชาทัณฑ์สาธารณะในสังคมไทยเองก็ตาม
ที่แน่ ๆ ก็คือการประชาทัณฑ์สาธารณะทุกกรณีรวมทั้งกรณีที่ทำกับศพเมื่อ 6 ตุลากระตุ้นความเชื่อบางอย่างที่ดำรงอยู่ร่วมกันของชุมชนของผู้กระทำ การกระทำเฉพาะเจาะจงแทบทุกอย่างจงใจให้สื่อความหมายชัด ๆ เห็นกันชัด ๆ และเข้าร่วมได้ชัด ๆ ไม่มีอะไรคลุมเครือเลย แม้กระทั้งอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่เข้าร่วมการลงทัณฑ์เหล่านั้นก็ชัดเจน หรือแสดงออกค่อนข้างเกินเลยกว่าปกติอย่างชัดแจ้ง
พิธีกรรมยังช่วยสร้างพันธะความผูกพันระหว่างบุคคลในชุมชนของผู้ลงทัณฑ์เหล่านั้น ทำให้พวกเขารู้สึกถึงพลังของฝ่ายเดียวกัน และในเวลาเดียวกันก็รู้จักฝ่ายตรงข้าม แต่ตระหนักในพลังที่เหนือกว่าของตน ไม่ว่าผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อคนนั้นๆ จะเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือเป็นเพียงแพะรับบาปก็ไม่มีความสำคัญมากนัก เพราะเหยื่อมีบทบาทหน้าที่เป็นเพียงส่วนประกอบของการแสดงประชาทัณฑ์ซึ่งรับใช้ชุมชนของผู้กระทำ หมายความว่าเหยื่อเหล่านั้นสูญเสียความเป็นปัจเจกชนไปแล้ว เขาเป็นเพียง “ร่างทรง” (embodiment) ของความเลวตามความเชื่อของผู้กระทำที่ต้องการเหยื่อเพื่อเป็นเป้าของพิธิกรรมการแสดงของตนเท่านั้น
การเข้าร่วมของคนจำนวนมากในชุมชนนั้นได้ช่วยสร้างความอุ่นใจว่าพวกเขาแต่ละคนจะไม่ตกเป็นเป้าของการลงโทษตามกฎหมาย เพราะบอกไม่ได้ชัด ๆ ว่าใครคนไหนกันแน่ที่ทำให้เหยื่อเสียชีวิต แต่เป็นฝีมือของฝูงชนที่ช่วยกันคนละไม้ละมือ และเมื่อช่วยกันรุมประชาทัณฑ์ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครชี้นิ้วกล่าวโทษใส่กันและกัน การแสดงออกร่วมกันของคนหมู่มากยังเป็นเสมือนการสร้างกฎรวมหมู่ที่ไม่เป็นทางการ หรือ “กฎหมู่” ของชุมชนนั้น ดังนั้นผู้กระทำจึงไม่รู้สึกผิด แม้กระทั่งเวลาผ่านไปอีกนาน ผู้กระทำก็อาจไม่รู้สึกผิด แต่กลับสามารถหาเหตุผลมารองรับการกระทำที่เกิดขึ้นว่าชอบธรรมแล้ว
สื่ออะไร เพื่ออะไร ทำไมต้องโหดเหี้ยมขนาดนั้น
การประชาทัณฑ์สาธารณะโดยมากมีความมุ่งหมายเพื่อสั่งสอน การทารุณกรรมล้วนสื่อความหมายทั้งนั้น
ข้อแรก สื่อให้รับรู้กันทั่วไปว่า เหยื่อเหล่านั้นไร้คุณค่าอย่างถึงที่สุด วิธีการลงทัณฑ์ที่โหดเหี้ยมผิดปกติก็เพื่อสื่อให้ผู้คนรับรู้ชัด ๆ จะ ๆ แจ้ง ๆ ถึงความชั่วร้ายของเหยื่อหรือการละเมิดที่เลวร้ายที่เหยื่อเหล่านั้นกระทำ (จากทัศนะของผู้กระทำซึ่งเชื่อว่าพวกเขาเป็นคนปกติส่วนใหญ่ของสังคม) รูปแบบการลงโทษปกติหรือตามกฎหมายของสังคมสมัยใหม่ย่อมไม่สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกเช่นนั้นได้ เพราะมันไม่สาสม เบาเกินไป ให้ความเคารพ ให้เกียรติกับเหยื่อและความเลวเหล่านั้นมากเกินไป
ข้อสอง การทำร้ายศพด้วยวิธีที่โหดเหี้ยม คือการทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของร่างไร้ชีวิตมนุษย์ที่ทุกสังคมถือว่าควรเคารพ ผู้กระทำเลือกวิธีเช่นนั้นอย่างจงใจ เฉพาะเจาะจง เพื่อปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติต่อเหยื่อในแบบที่มนุษย์ในสังคมอารยะพึงกระทำต่อกัน วิธีที่โหดเหี้ยมสื่อความหมายว่าเหยื่อไม่ใช่คน เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์อย่างถึงที่สุดแม้การลงโทษประหารชีวิตตามระบบกฎหมายปัจจุบันก็ยังไม่สามารถปฏิเสธความเป็นมนุษย์ได้ถึงระดับนั้น
ข้อสาม รูปแบบการลงทัณฑ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นแบบโบราณ แต่ไม่ใช่เพราะผู้กระทำยังคงตกอยู่ในความคิดความเชื่อโบราณ ตรงกันข้ามพวกเขายืนอยู่กับปัจจุบัน คิดแบบปัจจุบัน จึงสามารถที่จะหยิบเอาชุดของการกระทำที่ดูโบราณมาใช้ เพื่อสื่อว่าเหยื่อสมควรถูกกระทำในแบบที่มนุษย์ปัจจุบันไม่กระทำต่อกันอีกแล้ว
ข้อสี่ เมื่อการประชาทัณฑ์หรือลงทัณฑ์เหล่านั้นจบสิ้นลง สิ่งที่สาธารณชนเห็นทั้งด้วยสายตาและรูปภาพจะสามารถสื่อสาระที่ต้องการได้อีกหลายสิบปีต่อมา
การประชาทัณฑ์สาธารณะเป็นวิธีการประกาศด้วยเสียงดังกัมปนาทต่อสังคมอย่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมาว่า ความเชื่อในระเบียบสังคมแบบที่พวกเขายึดมั่นเท่านั้นที่ยังมีอำนาจอยู่และพึงได้รับการปกป้องจากการคุกคามของพวกเหยื่อ การประชาทัณฑ์จึงต้องชัดแจ้งไม่คลุมเครือ พฤติกรรมอันโหดเหี้ยมจึงถูกใช้เพื่อรักษาระเบียบสังคมและความเชื่อที่ลงหลักปักฐานอยู่ และทำให้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้นนั่นเอง แน่นอนว่าในทางกลับกัน ปรากฏการณ์เช่นนี้ย่อมแสดงว่าการกระทำและความเชื่อของเหยื่อเหล่านั้น กำลังสั่นคลอนระเบียบสังคมและความเชื่อที่เป็นหลักอย่างแรง เป็นการท้าทายถึงราก ดังนั้นจึงต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด
เรารู้กันดีว่าเหยื่อ 6 ตุลาถูกให้ร้ายโจมตีว่ากระทำการละเมิดต่อสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้ในภาษาอังกฤษคำว่า lese majesty มิได้หมายความถึงการละเมิดต่อกษัตริย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการละเมิดคุกคามต่อสิ่งที่เป็นอำนาจหลัก ๆ ของรัฐ ซึ่งเราเรียกกันว่าการทรยศ (treason) และของศาสนาซึ่งเรียกว่า blaspheme ทั้งหมดนี้ถือเป็นการละเมิดที่รุนแรงระดับเป็น “lese majesty” การลงโทษผู้ละเมิดระดับนี้จึงต้องใช่วิธีที่เป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงและความไร้ค่าสุดๆ ของเหยื่อเหล่านั้น
การทารุณศพต่อหน้าสาธารณชนจึงมิใช่เพียงเกิดจากความชั่วร้าย (Evil) หรือภาวะชั่ววูบในจิตใจ ไม่ใช่ผลของการคุมอารมณ์ไม่อยู่ หรือผลของสถานการณ์ที่เลยเถิดควบคุมไม่ได้ แต่เป็นการกระทำที่ผู้กระทำและผู้เข้าร่วมเลือกจะทำ เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์และสื่อสารกับสังคม เป็นการจารึกรอยแห่งอำนาจบนร่างของเหยื่อ เป็นสัญลักษณ์ที่ประกาศว่า ความเชื่อที่ถูกต้องหรือระเบียบสังคมที่สาธารณชนพึงยึดถือคืออะไร ใครมีอำนาจเหนือใคร ทั้งบนร่างของผู้ถูกกระทำและในความรับรู้ของสังคมในเวลาเดียวกัน
ความหมายและที่มาของรูปแบบการทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา
การประชาทัณฑ์สาธารณะในสังคมอื่นตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ผู้กระทำมีความรู้และจดจำเอาวิธีการมาจากกรณีที่เคยทำกันมาก่อนในสังคมของตน โดยในระยะแรก เข้าใจว่าผู้กระทำเลือกเอามาจากความรู้ทางศาสนาและประวัติศาสตร์ แต่ในกรณี 6 ตุลาล่ะ พวกเขาเอามาจากไหน?
ดูเหมือนเป็นการผสมผสานกันจากหลายแหล่ง ทั้งจากความรู้ความเชื่อว่าอดีตเคยทำเช่นนั้น และจากวัฒนธรรมสาธารณะ เช่น สื่อมวลชน ภาพยนตร์ นิยาย ฯลฯ ที่พวกเขาเคยฟังเคยชมมาก่อน
การลงทัณฑ์ในไทยแบบโบราณ หากเป็นความผิดอุกฉกรรจ์ต่อพระไอยการอาญาหลวงและพระไอยการกระบดศึก จะโดนลงโทษทางร่างกาย หรือที่เรียกในพระไอยการกระบดศึกว่า “กรรมกร 21 สถาน” มีตั้งแต่โทษประหารด้วยการตัดคอ แหกอก หรือเปิดกะโหลกศีรษะ ไปจนถึงการทรมานทางกายไม่ถึงตาย ที่รู้จักกันดีได้แก่ การโบย เฆี่ยน ตี ตัดปาก ตัดหู ตัดนิ้วมือ เป็นต้น แต่การลงทัณฑ์ในไทยแบบโบราณไม่ใช้การแขวนคอ
การลงทัณฑ์สาธารณะและการประจานไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในสังคมไทยในอดีต เป็นรูปแบบที่ทำกันเป็นปกติสำหรับอาชญากรประเภทอุกฉกรรจ์ เจ้าอนุวงศ์ก็เคยถูกจับใส่กรงแล้วลากประจานไปตามถนนให้ผู้คนรุมทำร้าย การประจานยังเป็นสิ่งที่กระทำกันอยู่เป็นปกติจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทั้งโดยทางการและโดยผู้คนในสังคมทำกันเอง การประจานที่รู้จักกันดีและยังยอมรับกันอยู่ทั่วไปในสังคมไทยคือ การทำแผนประทุษกรรม ไม่มีประเทศไหนในโลกอีกแล้วที่ยอมให้ตำรวจเอาผู้ต้องหามาแสดงต่อสาธารณชนด้วยข้ออ้างว่าเพื่อประกอบการสืบสวน
- การแขวนคอ เราอาจคิดได้ว่าเป็นปฏิกิริยาต่อการแสดงแขวนคอที่ธรรมศาสตร์ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น แต่เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าในหลายสังคม การแขวนคอเป็นการลงโทษและประจานคนร้ายที่เลวมหันต์ การประจานยังเป็นวิธีส่งคำเตือนหรือบทเรียนแก่ฝ่ายตรงข้ามด้วย และความรับรู้เช่นนี้อาจเป็นที่มาของการเลือกใช้การแขวนคอต่อวิชัย เกตุศรีพงษาและชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้า 2 คนก็ได้ ทั้งที่การประหารแบบโบราณของไทยเองไม่ใช้การแขวนคอ
- การลากร่างไร้ชีวิตไปตามพื้น เป็นการกระทำกับสัตว์ไม่ใช่ทำกับมนุษย์
- การเผาจนเป็นเถ้าถ่าน เป็นการทำลายกระทั่งรูปพรรณของมนุษย์ให้หมดจบสิ้น ตามความเชื่อของสังคมพุทธ การเผาศพเป็นพิธีกรรมส่งผู้ตายไปเกิดใหม่หรือสู่สุคติ แต่การเผาที่ปราศจากพิธีกรรมทางศาสนาที่ถูกต้องเหมาะสมคือการปฏิเสธโอกาสดังกล่าว แม้ตายแล้ว เหยื่อก็ไม่สมควรหลุดพ้นจากความทุกข์ พวกเขาจึงต้องถูกเผาเยี่ยงซากสัตว์
_ การปัสสาวะรดศพสะท้อนว่าเหยื่อรายนั้นไม่ใช่มนุษย์ปกติแต่เป็นเพียงสิ่งรองรับความโสโครกของมนุษย์
- แต่การกระทำที่มาจากต่างประเทศแน่ ๆ คือ การตอกอก เพราะเป็นวิธีการสังหารซาตานหรือปีศาจตามคติความเชื่อของฝรั่ง ไม่ใช่ของไทยแต่อย่างใด แต่คนไทยเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมนี้จากหนังฮอลลีวู้ดจำนวนมาก ฉะนั้น แม้จะมาจากต่างประเทศ อยู่นอกสามัญสำนึกของคนไทยปกติทั่วไป แต่ทั้งผู้กระทำและผู้ชมเข้าใจสารที่ต้องการสื่อนี้เป็นอย่างดี อีกทั้งวิธีการนี้ต้องการอุปกรณ์ช่วยที่เหมาะสมด้วย สิ่งนี้จึงยิ่งยืนยันว่ามหกรรมทำร้ายศพกรณี 6 ตุลาไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบแล้ว แต่ต้องมีการไตร่ตรองหาวิธีทำร้ายศพอย่างสำนึกรู้ หรืออาจปรึกษาในหมู่พวกเขาเองก่อนลงมือทำด้วยซ้ำ แล้วจึง “เลือก” ที่จะใช้วิธีนี้
วัชรี เพชรสุ่น
การทำร้ายร่างไร้ชีวิตของวัชรี เพชรสุ่นน่าจะเป็นกรณีที่น่าขบคิดที่สุด เพราะเป็นการกระทำที่อุบาทว์อย่างเหลือเชื่อว่าพวกเขาทำเช่นนั้นได้อย่างไร ในเหตุการณ์ 6 ตุลา การบังคับให้ผู้ชุมนุมหญิงที่ถูกจับต้องถอดเสื้อออกเหลือแต่เพียงชุดชั้นใน ด้วยข้ออ้างพล่อย ๆ ว่าป้องกันการซ่อนอาวุธหรือข้ออ้างอะไรก็ตาม ความมุ่งหมายที่แท้จริงคือการเหยียดหยามเยาะเย้ยผู้หญิงที่ถูกจับเหล่านั้น ด้วยวิธีการเฉพาะที่มีผลกระทบต่อผู้หญิงเท่านั้น เพราะการหยามเช่นนี้สามารถทำร้ายผู้หญิงได้ลึกและฝังใจยิ่งกว่าการเตะต่อยอย่างที่ทำกับผู้ชาย ศพของวัชรี เพชรสุ่นก็ถูกกระทำทำนองเดียวกันแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ ร่างที่ไร้ชีวิตไปแล้วเพราะกระสุนปืน ถูกนำมาจัดวาง เปลื้องผ้าของเธอออกหมดต่อหน้าสาธารณชน มีภาพที่แสดงให้เห็นว่าผู้กระทำนั่ง-ยืนล้อมรอบร่างเปลือยด้วยความพอใจ ที่น่าเกลียดที่สุด คือการนำไม้มาจัดวางข้างร่างของเธอ ให้ดูราวกับว่าเธอถูกทำร้ายด้วยไม้ท่อนนั้น ทั้งๆ ที่รายงานชันสูตรชี้ว่าไม่มีร่องรอยการทำร้ายตรงอวัยวะเพศแต่อย่างใด ที่เห็นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงการจัดฉากให้เข้าใจไปเช่นนั้น เธอถูกทำลายไม่เพียงความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่ศพควรได้รับความเคารพ ไม่ใช่เอามาประจาน แต่ผู้กระทำยังจงใจคิดหาวิธีการเชิงสัญลักษณ์เพื่อการเหยียดหยามความเป็นหญิงของเธออย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนานของผู้กระทำอีกด้วย นี่ไม่ใช่ผลจากอารมณ์ชั่ววูบที่ปล่อย Evil ออกมา แต่เป็นผลงานของการคิดคำนวณหาวิธีทำร้ายศพที่เป็นหญิงอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่จะคิดออก
กรณี 6 ตุลาจึงรวมเอาความรับรู้จากสารพัดแหล่ง สารพัดวิธีการ ทั้งฝรั่ง-ไทย ทั้งที่เชื่อว่าเป็นอดีตและทั้งๆ ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รูปแบบการทำร้ายศพทั้งหมดเพื่อสื่อสารความหมายร่วมกันเพียงอย่างเดียวว่า เหยื่อเหล่านั้นไม่สมควรได้รับการลงโทษหรือการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์กระทำต่อกัน เพราะพวกเขาไม่ใช่มนุษย์อีกต่อไป
ประการสุดท้ายที่อยากฝากไว้ก็คือการประชาทัณฑ์สาธารณะโดยมากไม่ใช่การลงมือกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความร่วมมือ เปิดทางให้ นิ่งเฉย หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น กลไกของรัฐมักมีส่วนสร้างเงื่อนไขหรือก่อสถานการณ์ที่นำไปสู่การประชาทัณฑ์สาธารณะ แต่การกระทำโหดร้ายจำนวนมากนั้นเป็นการกระทำของประชาชนกันเอง การประชาทัณฑ์เช่นนี้เป็นการร่วมมือร่วมใจกันกระทำในสิ่งที่สังคมของพวกเขาเห็นว่าสมควรกับสถานการณ์กับเหยื่อเหล่านั้น ดังนั้น จำนวนไม่น้อยจึงสามารถยิ้มร่าได้ด้วยความพอใจในระหว่างลงมือประชาทัณฑ์ และโดยมากไม่รู้สึกผิดค้างคาใจแต่อย่างใด
หมายเหตุท้ายบท
หลายปีที่ผ่านมา มีข้อวิจารณ์ประการหนึ่งต่อการรำลึก 6 ตุลาว่า มีแต่การพูดเรื่องคนตาย ความตาย ความโหดร้ายทารุณแต่กลับไม่ยอมพูดไปถึงตัวการเบื้องหลังเหตุการณ์ ทำให้การรำลึก 6 ตุลากลายเป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อ ข้อวิจารณ์เหล่านี้ต้องการตำหนิคนที่ไม่พูดเรื่องเจ้าและผู้มีอำนาจ และยังกล่าวหาว่าต้องการ “de-radicalize” กรณี 6 ตุลา ข้อวิจารณ์เหล่านี้มีส่วนถูกต้อง และภายใต้สภาวะอันจำกัดของสังคมไทย เราทุกคนก็พยายามกันอย่างเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้
แต่คำวิจารณ์เหล่านี้ให้ความสำคัญต่อผู้เสียชีวิตในฐานะปัจเจกบุคคลน้อยไปหน่อย ทำให้ผู้เสียชีวิตมีค่าเป็นแค่เฟืองนิรนามของขบวนการสังคมนิยมที่ยิ่งใหญ่และเป็นค่าเสียหายค้างชำระทางการเมืองเท่านั้น โครงการบันทึก 6 ตุลาเห็นว่าความรู้เรื่องความตาย คนตาย และการกระทำทารุณโหดร้ายจำเป็นต้องได้รับการบันทึกให้แจ่มชัด และควรสืบทอดความรู้นี้ต่อไปอีกเท่าที่จะเป็นได้ นอกเหนือจากการให้เกียรติผู้เสียชีวิตเหล่านั้นแล้ว ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือเป็นการคืนความเป็นมนุษย์ให้กับเขา
บทความนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การทำความเข้าใจต่อความตายและความทารุณโหดร้าย มีแง่มุมที่น่าสนใจให้เราศึกษา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมไทยได้อีกมากกว่าที่ข้อวิจารณ์เหล่านั้นดูเบาไว้
เอกสารประกอบการศึกษา
- กรมราชทัณฑ์, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี, โรงพิมพ์ราชทัณฑ์, 2525
- พระไพศาล วิสาโล, “อนุสติจาก 6 ตุลา: ความชั่วร้าย ความตาย และชัยชนะ” ใน 6 ตุลาจารึก ความทรงจำ ความหวัง และบทเรียน, มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2539
- Brundage, W. Fitzhugh. Lynching in the New South: Georgia and Virginia 1880-1930, U of Illinois Press, 1993
- _____, ed., Under Sentence of Death: Lynching in the South, U of North Carolina Press, 1997
- Elam, and Chase Pielak. Corpse Encounters: An Aesthetics of Death, Lexington Books, 2018
- Garland, David. “Penal Excess and Surplus Meaning: Public Torture Lynchings in Twentieth-Century America”, Law and Society, 39, 4 (2005):793-833
- Godoy, Angelina S. Popular Injustice: Violence, Community, and Law in Latin America, Stanford U Press, 2006.
- Goldstein, Daniel. The Spectacular City: Violence and Performance in Urban Bolivia, Duke U Press, 2004
- Harding, Wendy. “Spectacle Lynching and Textual Responses”, Miranda [Online], 15, 2017. URL: http://miranda.revues.org/10493
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน ฟ้าเดียวกัน. 16:2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) และ www.doct6.com/archives/13520
แสดงความคิดเห็น