มติ สปท. เห็นชอบเสนอคำถามพ่วงประชามติ 'รัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ ช่วง 5 ปีเปลี่ยนผ่าน'
Posted: 01 Apr 2016 12:32 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมี มติเห็นชอบเสนอคำพ่วงประชามติ 'ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ ช่วงเปลี่ยนผ่าน 5ปีหลังประกาศใช้รธน.' ของวันชัย ส่งไปยัง สนช. กษิต อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการตั้ งคำถาม ชี้เอื้ออำนาจให้ส.ว.แต่งตั้งมี สิทธิ์เลือกนายกฯคนนอกได้
1 เม.ย.2559 สภาขับเคลื่อนการปฏิ รูปประเทศ (สปท.) มีมติ 138 เสียง ให้เสนอประเด็นคำถามหรือความเห็ นของ สปท. ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อประกอบการพิ จารณาในการเสนอคำถาม ที่สมควรให้คณะกรรมการการเลื อกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ ่มเติม โดยมติ 136 เสียง เลือก “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่ในระยะ 5 ปีแรก นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนู ญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ให้นายกรัฐมนตรีต้ องมาจากความเห็นชอบของรัฐสภา” เป็น 1 ประเด็นคำถามที่จะส่งไปยัง สนช.
สำหรับประเด็นความเห็ นประกอบการตั้งคำถามพ่ วงประชามติ ที่ สมาชิก สปท. เสนอเป็นญัตติ มายังวิป สปท. ก่อนเข้าหารือในที่ประชุมวันนี้ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะส่งไปยัง สนช.หรือไม่ นั้น มี 2 ข้อ ได้แก่ 1. หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้และมีรั ฐบาลใหม่ให้มีคณะกรรมการปรองดอง มาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความขั ดแย้ง เสนอโดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปท. และ 2. เห็นด้วยหรือไม่ ที่ในระยะ 5 ปีแรก นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนู ญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ให้นายกรัฐมนตรีต้ องมาจากความเห็นชอบของรั ฐสภาเสนอโดยนายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปท.
อย่างไรก็ตาม แม้ที่ประชุม สปท. มีมติเห็นชอบกับการส่งความเห็ นประกอบการตั้งคำถามพ่ วงประชามติไปยัง สนช. แต่ก็มีสมาชิก สปท. ส่วนหนึ่ง ที่เห็นว่า การเสนอความเห็นประกอบการตั้ งคำถามพ่วงประชามติ เหมือนเป็นการชี้จุดอ่อนของร่ างรัฐธรรมนูญ
กษิต ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคำถาม ชี้ เอื้ออำนาจให้ส.ว.แต่งตั้งมีสิ ทธิ์เลือกนายกฯคนนอกได้
โดย มติชนออนไลน์ รายงานรายละเอียดเพิ่มเติมด้ วยว่า ก่อนเข้าสู่การเสนอญัตติ มีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้ วยที่ สปท. ตั้งคำถามประกอบการทำประชามติร่ างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า สปท.ไม่ได้มีหน้าที่ในการร่างรั ฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น โดยนายนิกร จำนง สปท. ลุกขึ้นอภิปรายว่า ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่ วคราว 57 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด ที่ส่งมาให้สนช.พิจารณาก็ไม่ได้ มีเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก แต่ที่สุดก็มีการแก้ไขให้สปท. สามารถตั้งคำถามได้ ด้านหนึ่งก็มองว่าเป็นการให้เกี ยรติสปท. แต่อีกด้านเห็นว่าอาจทำให้เกิ ดความสุ่มเสี่ยงทำให้ร่างรั ฐธรรมนูญไม่จบ เพราะทุกวันนี้ร่างรัฐธรรมนู ญเสร็จแล้วกลับไปแก้ไขไม่ได้ แต่หากมีคำถามอาจทำให้ต้องกลั บไปแก้รัฐธรรมนูญอีกก็ได้ ดังนั้น สปท.อาจจะเป็นเพียงหนังหน้ าไฟจากการตั้งคำถาม เพราะเมื่อตอนรัฐบาลส่งความเห็ นมาให้กรธ. เพื่อปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป้นความเห็นแม่น้ำ 4 สาย ตนก็เป็นหนึ่งในสมาชิกแม่น้ ำสายหนึ่ง ที่ไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย
ขณะที่นายกษิต ภิรมย์ สปท. อภิปรายว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการตั้งคำถาม เพราะการตั้งคำถามอาจนำไปสู่เป้ าหมายทางการเมือง เพื่อให้คนนอกมาเป็นนายกฯ และมอบอำนาจให้ส.ว.แต่งตั้งมีสิ ทธิ์เลือกนายกฯคนนอกที่ไม่ได้ เป็นส.ส.ได้ ทั้งที่ในร่างรัฐธรรมนูญระบุแล้ วว่าคนนอกสามารถเป็นนายกฯได้ ซึ่งตนคิดว่าควรยึดโยงกั บประชาชน โดยการทำประชามติควรมุ่งไปที่ เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ จึงอยากขอวิงวอน หากจะทำอะไรก็ควรคิดถึงปัญหาบ้ านเมืองในอนาคตด้วย
จากนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวเสนอญัตติว่า ตนได้สอบถามสมาชิกหลายท่านบอกว่ า ญัตตินี้เป็นคำถามเหมาะสมตามหลั กเกณฑ์ เพราะเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกั บสังคม และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ไม่สร้างความแตกร้าว ที่สำคัญไม่เป็นคำถามที่มีลั กษณะในการเปลี่ยนแปลงร่างรั ฐธรรมนูญ ดังนั้นตนคิดว่า ต้องหาแนวทางสร้ างความปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งการยึดอำนาจ และการร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นส่ วนหนึ่ง แต่ทั้งสองเรื่องไม่ได้นำไปสู่ ประเทศที่เจริญพัฒนา ที่ผ่านมาประเทศไทยมี ความพยายามสร้างความปรองดอง แต่พอมีรัฐบาลเข้ามาก็ไม่ได้ ดำเนินการต่อ เมื่อตนดูร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 279 มาตรา ยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี และครอบคลุม แต่สิ่งที่ไม่พบในร่างรัฐธรรมนู ญคือ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ จึงได้เสนอคำถามนี้ และเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ก็ควรมีการตั้ งคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ หรืออาจจะตั้งชื่ออื่น ๆ ที่เป็นทางการภายหลังก็ได้ โดยตนเสนอให้รัฐบาลใหม่ที่ มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนิ นการ ให้มีคณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้ ดำเนินการ มีหน้าที่ศึกษาปัญหาข้ อเสนอแนะต่างๆต่อรัฐบาลที่ มาจากการเลือกตั้งถึ งแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
ด้าน นายวันชัย กล่าวเสนอญัตติว่า การเสนอญัตติเพื่อประกอบการพิ จารณาคำถามประชามติ ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ ระบอบประชาธิปไตย จะต้องไม่มีเหตุการณ์ความวุ่ นวายเหมือนก่อนเหตุการณ์รั ฐประหารเข้ามาอีก ส.ว.สรรหา 250 คน มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่ให้รัฐบาลมีการแก้ไขรั ฐธรรมนูญได้ง่าย ๆ รวมทั้งมีหน้าที่ติดตามการเดิ นหน้าปฏิรูป ดังนั้น ถ้าส.ว.250 คน มีส่วนร่วมในการหานายกฯ ช่วยการดูว่า นายกฯคนไหนไม่ฉลาด ประวัติไม่ค่อยดี จะทำให้เราคอยช่วยกันดู ดังนั้นถ้าเราสามารถช่วยกันดู แลประคับประคอง ฝ่ายการเมืองที่ มาจากภาคประชาชนจะได้เห็นว่า เรื่องการปฏิรูปนั้นสำคัญ เพราะส.ว.สรรหามีส่วนร่ วมในการเลือกนายกฯเข้ามา ดังนั้นญัตตินี้ถือว่า เป็นการแก้วิกฤติของประเทศได้ จริง เพราะคนที่จะมาเป็นนายกฯ ถูกเลือกจากคนที่ มาจากการสรรหาในหลายวิชาชีพกั บฝ่ายเลือกตั้ง โดยร่วมกันดำเนินตามยุทธศาสตร์ ชาติ ถือเป็นบรรยากาศที่สวยงาม จะทำให้เราได้รับช่วงเปลี่ยนผ่ านที่เรียบร้อย แม้ไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบอย่ างประเทศสากล แต่คำถามนี้คำถามเดียวจะครอบคลุ มไปถึงญัตติแรก เพราะถ้าเราร่วมกันก็จะนำไปสู่ ความปรองดองได้
จากนั้น ที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกอภิ ปราย โดยสมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายสนั บสนุนญัตติของนายวันชัย อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน และนายเสรี สุวรรณภานนท์ สปท. เพราะเห็นว่าประเทศไทยในช่ วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี แรกจะต้องมีกลไกควบคุ มการทำงานของรัฐบาล จึงเห็นว่าการที่ส.ว.มี อำนาจในการดูแลและติ ดตามการทำงานของนายกฯจะช่วยให้ ประเทศเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิ ปไตยได้ จากนั้น ที่ประชุมได้มีมติว่า ให้ส่งญัตติของนายวันชัยไปยั งสนช.เพียงญัตติเดียว ด้วยคะแนน 136 : 3 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 1 จากนั้น ร.อ.ทินพันธุ์ได้สั่งปิดประชุ มในเวลา 18.15 น.
แสดงความคิดเห็น