เพจเฟซบุ๊ก สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น   สรุปเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลาง จ.คุมะโมโตะ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 17 เม.ย.
- สรุปเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลาง จ.คุมะโมโตะ
(1) สถานการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด
- เมื่อ 14 เมย 21.26 น. ขนาดแมกนิจูด 6.5 ความลึก 11 กม. ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ จ.คุมะโมโตะ ระดับ shindo 7 ซึ่งสูงสุดในมาตราญี่ปุ่น หลังจากนั้นมี aftershocks ขึ้นมากกว่าหลายครั้ง
- ต่อมาเมื่อ 16 เม.ย. 01.25 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาดแมกนิจูด 7.3 ความลึก 13 กม. ศูนย์กลาง จ.คุมะโมโตะ ทำให้ จ.คุมะโมโตะ รับรู้แรงสั่นสะเทือนระดับ 6+ มีประกาศเตือนสึนามิ แต่ยกเลิกการประกาศเมื่อประมาณ 2.15 น. จากนั้นเกิด อาฟเตอร์ช็อค รุนแรงตามมามากมาย ซึ่ง สำนักงานอุตุฯ ญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่า แผ่นดินไหวนี้เป็นแผ่นดินไหว "อันหลัก" เพราะมีความรุนแรงกว่าที่เกิดเมื่อ 14 เม.ย. 21.26 น. (แผ่นดินไหวขนาดแมกนิจูด 7.3 นับว่ามีความรุนแรงเทียบเท่าแผ่นดินไหวฮันชิน-อะวะจิ เมื่อปี 2538)
- สำนักงานอุตุฯ ญี่ปุ่นแถลงการเกิดแผ่นดินไหวมีแนวโน้มเกิดขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น และมีความถี่มาก โดยเฉพาะช่วงระหว่างคุมะโมโตะ-โออิตะ
- ตั้งแต่แผ่นดินไหวคุมะโมโตะเมื่อค่ำ 14 เมย จนถึง 17 เมย 10.00 น. มีแผ่นดินไหวที่บริเวณพื้นที่ประสบภัยที่ร่างกายสัมผัสได้ 410 ครั้ง
- สนง.อุตุฯ ญี่ปุ่นแถลงใน 1 สัปดาห์จากนี้มีโอกาสเกิดอาฟเตอร์ช็อค ขนาดใหญ่ขึ้นระดับสั่นสะเทือน 6- อีกโดยมีศูนย์กลางบริเวณคุมะโมโตะ-โออิตะ
- เมื่อ 16 เม.ย. อ8.30 น. มีรายงานภูเขาไฟอะโสะ จ.คุมะโมโตะ ปะทุ มีควันพุ่งออกมาประมาณ 100 เมตร ทั้งนี้ การปะทุดังกล่าวไม่มีความเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวที่เกิดตอนนี้
(2) ความเสียหาย
- จากแผ่นดินไหวลูกแรก (แมกนิจูด 6.5) มีรายงานผู้เสียชีวิต 9 ราย ใน จ.คุมะโมโตะ เป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด
- หลังจากแผ่นดินไหวลูกที่สอง (แมกนิจูด 7.3 (ลูกหลัก)) มีรายงานผู้เสียชีวิต 32 ราย เป็นคนญี่ปุ่นทั้งหมด และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน และมีผู้สูญหาย 8 คน
(รวมผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ทั้งหมด 41 คน)
- จำนวนผู้อพยพแผ่นดินไหวที่ จ.คุมะโมโตะ ณ 17 เมย 10.00 น อยู่ที่ประมาณ 180,000 คน
- มีรายงานบ้านเรือนพังทลายทั้งหลัง 344 หลังคาเรือน และครึ่งหลัง 1,087 หลังคาเรือน นอกจากนี้ สถานที่สำคัญ เช่น ปราสาทคุมะโมโตะ ซึ่งหลังคา ตัวปราสาท และกำแพงได้รับความเสียหายหลายส่วน และศาลเจ้าอะโสะ จ.คุมะโมโตะ พังทลายหลายส่วนรวมทั้งประตูทางเข้าซึ่งเป็นสมบัติแห่งชาติญี่ปุ่น
- มีรายงานรถไฟชินคันเซนที่ไม่มีผู้โดยสารที่จะส่งกลับเข้าศูนย์ที่สถานี jr kumamoto ตกราง
- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซ็นได จ.คาโกะชิมะ ที่เปิดใช้งานอยู่ไม่มีความผิดปกติใดๆ ยังทำงานเช่นเดิม
(3) การคมนาคม
- 17 เมย สนามบินคุมะโมโตะ ยังปิดให้บริการทุกเที่ยวบิน เนื่องจากได้รับความเสียหายรุนแรง อย่างไรก็ดี สนามบินอื่นๆ ในคิวชูมีการให้บริการเฉพาะกิจ ดังนี้
ANA - ให้บริการจากสนามบินฟุคุโอกะ - คาโกะชิมะ 4 รอบบิน (8 เที่ยวบิน) และสนามบินคาโกะชิมะ - โอซากา ให้บริการ 1 รอบบิน (2 เที่ยวบิน)
JAL - ให้บริการจากสนามบินฟุคุโอกะ - คาโกะชิมะ 6 รอบบิน (12 เที่ยวบิน) และสนามบินฟุคุโอกะะ - มิยาซากิ ให้บริการ 2 รอบบิน (4 เที่ยวบิน)
Japan Air Commuter - ให้บริการจากสนามบินฟุคุโอกะ - คาโกะชิมะ 2 รอบบิน (4 เที่ยวบิน)
- 17 เมย Kyushu Shinkansen ทุกสายยังคงหยุดวิ่งและยังไม่มีกำหนดจะกลับมาเริ่มวิ่งเมื่อใด / รถไฟสายธรรมดา มีบางส่วนที่หยุดวิ่งโดยเฉพาะบริเวณ จ.คุมะโมโตะ
(4) การดำเนินการของ รบ.ญี่ปุ่น
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้จัดการประชุมฉุกเฉินและแถลงข่าวหลายครั้ง โดยสั่งการให้หน่วยงานต่างๆติดตามข่าวสารใกล้ชิด ให้ข้อมูลแม่นยำแก่ ประชาชน ยึดความปลอดภัย ประชาชนเป็นสำคัญ พร้อมส่งดับเพลิง ตำรวจ กองกำลังป้องกันตนเองสนับสนุนพื้นที่เกิดเหตุ รวมกันมากกว่า 25,000 คน
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น สั่งการให้เตรียมอาหาร การรักษาพยาบาล น้ำ ฯลฯ แก่พื้นที่ประสบภัยให้พร้อม
(5) ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เมื่อเช้า 16 เมย รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศพร้อมให้ ความช่วยเหลือ แก่ รัฐบาลญี่ปุ่นในทุกรูปแบบ โดยเมื่อ 17 เมย 11.20 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศรับความช่วยเหลือเครื่องบินขนส่งเสบียงจากกองทัพสหรัฐฯ
- เมื่อบ่าย 16 เมย สอท.ณ กรุงโตเกียว ได้ส่งสารจาก นายกรัฐมนตรีไทย ถึง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์และย้ำความพร้อมของ รัฐบาลไทย ที่จะให้ความช่วยเหลือทุกรูปแบบ ซึ่งมีสื่อญี่ปุ่น เช่น asahi, nihon tv, mainichi, nikkei ลงข่าวเรื่องนี้
- นสพ mainichi : เมื่อ 16 เม.ย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสถึงสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นแสดงความเสียใจต่อสมเด็จพระจักรพรรดิและประชาชนญี่ปุ่น
- เมื่อ 15 เม.ย. รัฐบาลไต้หวัน ได้บริจาคเงินช่วยเหลือ จ.คุมะโมโตะ 10 ล้านเยน และต่อมา 16 เมย ได้ประกาศมอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 55 ล้านเยน และแจ้ง รัฐบาลญี่ปุ่นว่าพร้อมให้ คชล.ในการส่งทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน นอกจากนี้ พรรคฝ่ายค้านไต้หวันได้บริจาคเงินด้วย 3.4 ล้านเยน
- เมื่อ 16 เม.ย. ประธานาธิบดีรัสเซีย มีข้อความถึง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น แสดงความเสียใจและให้กำลังใจต่อเหตุแผ่นดินไหว
- เมื่อ 16 เม.ย. นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้ทวิตเตอร์ข้อความแสดงความเสียใจและมีความรู้สึกร่วมกับผู้ประสบภัย และพร้อมให้ ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในทุกเรื่องหากต้องการ
- เมื่อ 16 เม.ย. นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทวิตเตอร์ข้อความแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
- เมื่อ 16 เมย โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน กล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและให้กำลังใจผู้บาดเจ็บและประสบภัยแผ่นดินไหว และ เมื่อ 15 เม.ย. รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน มีสารแสดงความเสียใจถึง รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น
- เมื่อ 16 เม.ย. นายกรัฐมนตรีอินเดีย ทวิตเตอร์ข้อความแสดงความเสียใจและให้กำลังใจผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
(คำอธิบายเพิ่มเติม)
- แมกนิจูดคือขนาดแผ่นดินไหว ณ ศูนย์กลาง
- Shindo คือแรงสั่งสะเทือน ณ จุดนั้นๆที่รับรู้แรงสั่นสะเทือน ในมาตราญี่ปุ่นมี shindo ถึงระดับ 7 ได้แก่ 7, 6+, 6-, 5+, 5-, 4, 3, 2, 1  โดย 7 คือแบบถ้าสั่นแล้วยืนอยู่ไม่ได้ อาคารที่ไม่แข็งแรงถล่มได้  ในแผ่นดินไหวอันเดียวกันที่อื่นๆที่ห่างออกไปรับรู้แรงสั่นสะเทือนลดหลั่นกัน เช่น รอบๆจุดศูนย์กลางรับรู้ระดับ 5+ / คาโกะชิมะระดับ 4 เป็นต้น
ภาพ เอเอฟพี

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.