ค้นพบยีนเบื้องหลังวิวัฒนาการของผีเสื้อกลางคืน ช่วยเปลี่ยนสีปีกตามสิ่งแวดล้อมแต่ละยุคสมัย
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลของสหราชอาณาจักร ค้นพบยีนที่ช่วยในการเปลี่ยนสีของผีเสื้อกลางคืนลายผงพริกไทย (Peppered moth) ตามสิ่งแวดล้อมแต่ละยุคสมัย เพื่อช่วยให้อำพรางตัวจากผู้ล่าได้ดีและมีชีวิตอยู่รอด โดยผีเสื้อชนิดนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่รู้จักกันดีในการอธิบายถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ
มีการตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องนี้ลงในวารสารเนเจอร์ โดย ดร. อีลิค ซาคเคอรี ผู้ทำการศึกษาวิจัยระบุว่า สามารถระบุยีนที่ช่วยให้ประชากรผีเสื้อซึ่งส่วนใหญ่มีสีอ่อนและลายจุด เปลี่ยนไปมีจำนวนผีเสื้อสีดำมากขึ้นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ เนื่องจากเขม่าควันจากโรงงานเกาะต้นไม้จนลำต้นเป็นสีดำ ทำให้ผีเสื้อที่มีสีคล้ำจะสามารถอำพรางตัวและอยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า
ผลการศึกษาทางพันธุกรรมของผีเสื้อชนิดนี้ ยังทำให้ดร. ซาคเคอรี สามารถคำนวณปีที่เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงในหมู่ประชากรของผีเสื้อได้ว่า คือปี 1819 ซึ่งเกิดขึ้นเพียงราวสิบปีก่อนการประกาศแนวคิด “การคัดเลือกโดยธรรมชาติ” ของชาร์ลส์ ดาร์วิน เพียงไม่กี่ปี และต่อมาเมื่อเขม่าควันจากถ่านหินที่ใช้ในอุตสาหกรรมลดลง ผีเสื้อชนิดนี้ได้กลับมามีประชากรที่มีสีอ่อนมากขึ้นตามเดิมในช่วงทศวรรษที่ 1960

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.