ปัญหาของผู้บริโภคบริ การโทรคมนาคมในปี 2559
Posted: 21 Dec 2016 03:31 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ในรอบปีที่กำลังจะผ่านพ้นไป มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับปั
จำนวนเรื่องร้องเรียนด้ านโทรคมนาคมในปีนี้ แม้จะยังไม่ครบปีก็ทำลายสถิติ เดิม ด้วยจำนวนกว่า 4,200 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีเพียง 2,913 เรื่อง เกือบร้อยละ 50 โดยประเด็นเรื่องร้องเรียนที่ เพิ่มกว่าพันเรื่องนั้น ส่วนใหญ่เป็นปัญหาบริการคงสิทธิ เลขหมาย (ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิม) ซึ่งแม้ว่า กสทช. จะกำหนดให้การย้ายค่ายต้องแล้ วเสร็จใน 3 วันทำการก็ตาม แต่ผู้บริโภคเกินกว่าครึ่งก็ไม่ สามารถย้ายค่ายได้ใน 3 วันหรือถูกปฏิเสธการย้ายค่ายด้ วยซ้ำ
หากจำแนกเรื่องร้องเรี ยนตามประเภทบริการแล้ว เกือบร้อยละ 75 เป็นการร้องเรียนบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ รองลงมาคือร้องเรียนบริการอิ นเทอร์เน็ตร้อยละ 20 และตามมาด้วยปัญหาการตั้ งเสาสถานีโทรศัพท์เคลื่อนที่เกื อบร้อยละ 3 ส่วนบริการอื่นๆ ที่มีผู้ใช้บริการน้อยก็มี จำนวนการร้องเรียนน้อยลดหลั่ นลงมา
แต่หากจำแนกเรื่องร้องเรี ยนตามกลุ่มปัญหาแล้ว กลุ่มปัญหาที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คือ 1. กลุ่มปัญหามาตรฐานและคุณภาพบริ การ (ได้แก่ ปัญหาบริการคงสิทธิเลขหมาย ปัญหาคุณภาพสัญญาณต่ำ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบริ การหรือถูกระงับบริการ เป็นต้น) มีสูงถึงกว่าร้อยละ 50 2. กลุ่มปัญหาการยกเลิกบริการ (ซึ่งรวมถึงปัญหาการปฏิ เสธการยกเลิกสัญญา การคิดค่าปรับหากจะยกเลิกสัญญา) มีสูงถึงกว่าร้อยละ 15 3. กลุ่มปัญหาการคิดค่าบริการผิ ดพลาด ประมาณร้อยละ 8 4. กลุ่มปัญหาบริการเสริม (ตัวอย่างเช่น ถูกคิดเงินจากการรับข้อความที่ เราไม่ได้สมัครใช้บริการ ยกเลิกบริการประเภทข้อมูลข่ าวสารไม่ได้) ประมาณร้อยละ 5 และ 5. กลุ่มปัญหาการตั้งเสาสถานี ประมาณเกือบร้อยละ 3
เมื่อนำจำนวนเรื่องร้องเรี ยนมาเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ใช้ บริการแต่ละประเภทแล้ว พบว่า หากมีผู้ใช้บริการประเภทละ 100,000 คน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ จะร้องเรียนประมาณ 1 คน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะร้องเรียนประมาณ 2 คน และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ ตจะร้องเรียนประมาณ 15 คน โดยสรุปคือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตพบปั ญหามากกว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่และโทรศัพท์ประจำที่ ประมาณ 7 – 15 เท่า
เมื่อนำจำนวนเรื่องร้องเรี
ที่กล่าวมานี้คือปัญหาที่ พบจากการร้องเรียนในเชิงสถิติ สำหรับสถานการณ์ของปัญหาสำคั ญของผู้บริโภคที่สาธารณชนสนใจ ได้แก่
1. ปัญหาซิมดับจากการหมดสั มปทานของคลื่น 900 MHz ซึ่งแม้ กสทช. จะได้จัดประมูลคลื่นความถี่ แต่ก็จัดประมูลหลังการสิ้นสุดสั มปทาน ทำให้เกิดการสะดุดในการเปลี่ ยนผ่านจากการใช้คลื่นในระบบสั มปทานมาเป็นระบบใบอนุญาต และยังเกิดปัญหาจากการเปลี่ยนผ่ านจากเทคโนโลยี 2G ไปสู่ 3G หรือ 4G ทำให้ผู้บริโภคต้องดิ้นรนเปลี่ ยนมือถือให้รองรับเทคโนโลยีใหม่
ในอนาคตประเทศไทยจึงควรมี แผนเตรียมการรองรับการสิ้นสุดสั มปทาน และรองรับการเปลี่ยนผ่ านเทคโนโลยี ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมอย่ างที่เป็นอยู่ ซึ่งการประมูลคลื่นความถี่ล่ วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัมปทานเป็นกุ ญแจสำคัญของคำตอบในปัญหานี้
1. ปัญหาซิมดับจากการหมดสั
ในอนาคตประเทศไทยจึงควรมี
2. ปัญหาการช่วงชิงผู้บริโภคที่ซิ มจะดับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ด้วยช่องทางบริการคงสิทธิ เลขหมาย ซึ่งถือเป็นกลไกการแข่งขันที่ สร้างตัวเลือกให้กับผู้บริโภคที่ ซิมจะดับ ว่าจะเลือกใช้บริการค่ายไหนดี แต่ปัญหาก็เกิดเพราะมีการเปิดช่ องทางย้ายค่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เพียงรูดหรือเสียบบัตรประชาชนกั บเครื่องอ่านบัตร ซึ่งโดยปกติธุรกรรมต่างๆ มักจะต้องมีการเซ็นชื่อพิสูจน์ ตัวบุคคลร่วมกับการแสดงบั ตรประชาชน จึงเกิดปัญหาความชอบด้ วยกฎหมายของช่องทางดังกล่ าวตามมา ทำให้เกิดการปฏิเสธการโอนย้ ายจำนวนมหาศาล และเกิดกรณีการใช้บั ตรประชาชนโอนย้ายโดยเจ้าของไม่ ได้ยินยอม อย่างไรก็ตาม กสทช. ได้ออกแนวปฏิบัติในการย้ายค่ ายใหม่ให้สะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้ น โดยจะเริ่มมีผลในเดือนมกราคมที่ จะถึงนี้
3. ปัญหาโปรลับจากการช่วงชิงผู้บริ โภคที่ซิมจะดับ ทำให้ผู้บริโภคย้ายไปค่ายอื่น ค่ายเดิมก็ดึงดูดผู้บริโภคให้ ใช้บริการต่อไป โดยเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าเดิ มมาก แต่เป็นเงื่อนไขที่ไม่เปิ ดเผยโดยทั่วไป จึงถูกเรียกว่า “โปรลับ” ซึ่งอาจเข้าข่ายพฤติกรรมต่อต้ านการแข่งขันเสรี ในตลาดโทรคมนาคม ในหลายประเทศจึงมีการกำกับดู แลพฤติการณ์ที่เรียกว่า Loyalty and Fidelity Discounts and Rebates อย่างไรก็ตาม การเลือกเปิดเผยรายการส่งเสริ มการขายแก่ผู้บริโภคเฉพาะที่ จะย้ายค่ายเป็นสิ่งที่ฝ่าฝื นกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะ กสทช. กำหนดให้ทุกค่ายต้องเปิดเผยทุ กรายการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริ การได้ตามความสมัครใจ
4. ปัญหาบริษัท ทีทีแอนด์ทีถูกพิทักษ์ทรัพย์ ทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ ประจำที่ไม่ต่ำกว่าสามแสนรายอยู่ ในความเสี่ยง บางรายไม่สามารถใช้บริการได้ แต่ยังถูกหักค่าบริการผ่านบั ตรเครดิตหรือผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งหากบริษัทจะหยุดบริการ ต้องมีแผนการเยียวยาผู้บริโภค ว่าจะหาบริษัทใดมารับช่วงดูแลผู้ บริโภคกลุ่มนี้ ส่วนผู้บริโภคที่ไม่ประสงค์ จะให้หักค่าบริการผ่านสถาบั นการเงิน ควรต้องติดต่อสถาบันการเงิ นโดยเร็ว หรืออาจจำเป็นต้องถึงขั้นยกเลิ กบัตรเครดิตที่ใช้งาน หากไม่สามารถระงับการหักค่าบริ การทั้งที่ไม่สามารถใช้บริ การได้
5. ปัญหาการสวมรอยเปิดซิมและถอนเงิ นออกจากบัญชีธนาคารออนไลน์ ซึ่งเกิดจากความหละหลวมของทั้ งค่ายมือถือที่ออกซิมให้กับมิ จฉาชีพ ทั้งที่ไม่ได้แสดงบัตรประชาชนตั วจริง และของธนาคารที่ยอมให้รหั สการเข้าถึงธนาคารออนไลน์แก่มิ จฉาชีพที่มีซิมใหม่ ทั้งที่ไม่มีการพิสูจน์ตัวบุ คคลอย่างรอบคอบ แม้ว่าสุดท้าย ธนาคารจะรับผิดชอบต่อเงินที่ถู กถอนออกไปทั้งหมด แต่ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่ อความเชื่อมั่นของการทำธุ รกรรมออนไลน์ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงต้องเร่ งปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการพิสู จน์ตัวบุคคลให้รัดกุมยิ่งขึ้น ส่วนองค์กรใดจะตัดสินใจใช้ระบบ Biometrics เพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลนั้น ควรต้องพิจารณาด้วยว่า หากมีการขโมยข้อมูล Biometrics ได้ จะมีผลเสียต่อเจ้าของข้อมูลเพี ยงใด และจะมีมาตรการแก้ไขป้องกันปั ญหาอย่างไร เพราะข้อมูล Biometrics ไม่สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ ไม่เหมือนกับการเปลี่ยนลายเซ็น
6. ปัญหาการแอบขายข้อมูลส่วนบุ คคลที่ค่ายมือถือเป็นผู้เก็บรั กษาไว้ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมของผู้ ใช้งานได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งที่ผ่านมาแม้ผู้บริ โภคหลายคนจะสงสัยว่ามีปัญหาลั กษณะนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ได้ จนกระทั่งเกิดกรณีที่ผู้เสี ยหายรายหนึ่งเผยแพร่หลักฐานข้ อมูลการใช้งานมือถือที่ได้ มาจากจากระบบของค่ายมือถือ จนค่ายมือถือไม่อาจปฏิเสธความรั บผิดชอบได้ แม้จะมีการไล่พนักงานที่ขายข้ อมูลและชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ เสียหายแล้ว แต่ในเชิงระบบก็ต้ องหามาตรการใหม่ในการป้องกั นการแอบขายข้อมูลลักษณะนี้อีก และกระบวนการสื บสวนสอบสวนทางอาญาควรเร่งติ ดตามว่า กลุ่มอาชญากรใดเป็นผู้ซื้อ และติดตามเส้นทางการเงินของผู้ ซื้อและผู้ขายข้อมูล เพื่อทลายขบวนการผิดกฎหมายเหล่ านี้ ซึ่งในเบื้องต้นมีข่าวว่าอาจเกี่ ยวพันกับธุรกิจพนันออนไลน์ และมีการซื้อข้อมูลว่า มีเบอร์มือถือใดโทรไปพนันกับบ่ อนคู่แข่งหรือไม่ เพื่อที่จะได้แย่งชิงลูกค้ ามาใช้บริการบ่อนของตน เบอร์มือถือที่ทำธุรกรรมผิ ดกฎหมายเหล่านี้ แม้ผู้เล่นพนันจะไม่ได้เปิ ดเผยให้ใครทราบ แต่ขอให้รู้ว่าอาจไม่ใช่ความลั บอีกต่อไป
7. ปัญหาการคิดค่าบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบปัดเศษ ต่อกรณีปัญหานี้ ทั้ง สปช. และ สปท. ได้เห็นพ้องที่จะคุ้มครองผู้บริ โภคไม่ให้ต้องเสียค่าบริการในส่ วนที่ตนเองไม่ได้ใช้บริการจริง แต่ผู้ให้บริการกลับยังปั ดเศษหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรปัดเศษเป็ นนาที หรือค่าเน็ตปัดเศษเป็นเมกะไบต์ หรือมากกว่านั้น จนกระทั่ง กทค. มีมติให้ผู้ชนะการประมูลคลื่ นในปีที่ผ่านมา คิดค่าบริการตามการใช้งานจริง แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่เห็นผล และมีความพยายามที่จะให้ ทบทวนมติ กทค. เพื่อจะได้ไม่ต้องคิดค่าบริ การตามการใช้งานจริง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตาดู กันต่อไปว่า เรื่องการคิดเงินให้ ตรงไปตรงมาแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ จริงในอุ ตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่ผู้บริโภคบริ การโทรคมนาคมจะต้องรับมืออีกมาก ยิ่งเกิดเทคโนโลยีใหม่ บริการใหม่ ก็จะมีปัญหาใหม่อย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เราควรร่วมมือกันจัดการปัญหาเก่ าๆ ซึ่งหลายเรื่องเป็นเรื่องที่จั ดการได้ เพื่อไม่ให้ทั้งปัญหาใหม่และปั ญหาเก่าท่วมทับผู้บริโภคจนต้ องอยู่อย่างลำบาก
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่ผู้บริโภคบริ
แสดงความคิดเห็น