This undated handout picture released August 25, 2015 by Australia's national science agency the Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO) shows a micro-sensor glued onto the back of a honey bee to monitor its movements.

นักวิจัยอเมริกันพบว่าโอกาสอยู่รอดของผึ้งในอเมริกายังไม่สดใส แม้ว่าอัตราการลดลงของประชากรผึ้งในปีที่ผ่านมาในสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงก็ตาม

ทีมนักวิจัยอเมริกันเปิดเผยในรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการลดลงของประชากรผึ้งในสหรัฐฯ ว่าอัตราการลดลงของจำนวนผึ้งน้ำหวานได้ชะลอตัวในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา และเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2011-2012

แต่บรรดาผู้เลี้ยงผึ้งทั้งรายย่อยและรายใหญ่รายงานว่า ได้สูญเสียฝูงผึ้งไปถึง 33 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเดือนเมษายนปีที่แล้วถึงเดือนเมษายนปีนี้

Dennis van Engelsdrop รองศาสตราจารย์ด้านกีฏวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเเมรี่เเลนด์ กล่าวว่า เเม้ว่าเขามีกำลังใจที่พบว่าอัตราการลดลงของประชากรผึ้งในสหรัฐฯ ต่ำกว่าที่ผ่านมาในอดีต แต่เขายังไม่สามารถเรียกผลการศึกษานี้ว่าเป็นข่าวดี

รองศาสตราจารย์ Engelsdrop เป็นหัวหน้าโครงการ Bee Informed Partnership ซึ่งจัดทำการศึกษาเกี่ยวกับประชากรผึ้งในสหรัฐฯ ครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการสูญเสียฝูงผึ้งไปมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปีเดียวถือว่าสูง และชี้ว่าธุรกิจทางการเกษตรที่สูญเสียผลผลิตทางการเกษตรมากระดับนี้ มีโอกาสอยู่รอดยาก

ทีมนักวิจัยชี้ถึงสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ประชากรผึ้งลดจำนวนลง โดยชี้ว่า เชื้อไรวาร์รัว หรือไรใหญ่ (Varroa Mite) และโรคอื่นๆ เป็นสาเหตุหลักสองอย่าง

ผลการศึกษานี้ยังระบุด้วยว่ายาฆ่าแมลงก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งโดยเฉพาะในกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งเพื่อการค้า

Kelly Kulhanek นักศึกษาระดับปริญญาโทภาควิชากีฏวิทยาที่มหาวิทยาลัยเเมรี่เเลนด์ และหนึ่งในสมาชิกทีมนักวิจัยทีมนี้ อธิบายว่า ปัญหาฝูงผึ้งตายลงจำนวนมากเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การสูญเสียฝูงผึ้งที่น้อยลงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ 33 เปอร์เซ็นต์ยังเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่ผู้เลี้ยงผึ้งถือว่ายอมรับได้และยังมีงานต้องทำอีกมาก

การสำรวจประชากรผึ้งประจำปีนี้ ซึ่งจัดทำมานานนับ 11 ปีเเล้ว เป็นการศึกษาที่มุ่งค้นหาสาเหตุว่าทำไมฝูงผึ้งจึงตายลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงตามมาต่อมนุษย์ เนื่องจากผึ้งช่วยผสมเกสรพืชในภาคเกษตรกรรมที่มีมูลค่า 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี

ทีมนักวิจัยชี้ว่า ถั่วอัลมอนด์ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะต้องพึ่งพาผึ้งเท่านั้นในการช่วยผสมเกสร

Nathalie Steinhauer นักศึกษาระดับปริญญาโทภาควิชากีฏวิทยาที่มหาวิทยาลัยเเมรี่เเลนด์ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยที่เก็บข้อมูลให้เเก่การสำรวจรายปีนี้ กล่าวว่า ผึ้งเป็นตัววัดสุขภาพของสภาพเเวดล้อมโดยรวมทั้งหมด โดยผึ้งน้ำหวานได้รับผลกระทบมากที่สุดจากคุณภาพของสภาพเเวดล้อมที่ผึ้งอาศัยอยู่ ซึ่งรวมทั้งความหลากหลายของดอกไม้ สารพิษและเเมลงศัตรู

เธอกล่าวว่าการพิทักษ์สุขภาพของผึ้งน้ำหวานเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในชุมชน

(รายงานโดยห้องข่าววีโอเอ เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066994959807713875

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.