แก้คำผิดเวลา 14:19
“สิ้นแสงฉาน” ถูกสั่งห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ย่างกุ้ง
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ มีมติห้ามฉายเรื่อง Twilight Over Burma” หรือ “สิ้นแสงฉาน” ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตรักของเจ้าชายชาวไทใหญ่กับหญิงสาวชาวออสเตรียก่อนประเทศจะถูกปกครองด้วยระบอบทหาร ในงานเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวานนี้ แม้ว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจะถูกวางไว้ให้เป็นภาพยนตร์เปิดงานก็ตาม
สำนักข่าวอิระวดีรายงานคำสัมภาษณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์รายหนึ่งว่าคณะกรรมการจะประกาศมติจากการพิจารณาภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้ คือวันพฤหัสบดีที่ 16 มิ.ย. อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาห้ามฉายซึ่งเป็นมติครั้งแรกนั้นเหตุผลที่สำคัญก็คือ เนื้อหาของภาพยนตร์นั้นทำลายภาพลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างชาติพันธุ์ของสหภาพเมียนมา
มอน มอน เมียะ ผู้สื่อข่าวอาวุโสและผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินของคณะกรรมการว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแม้ประเทศเมียนมาจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว แต่อิทธิพลของระบอบทหารก็ยังคงมีอยู่สูง เหมือนเป็นเหล้าใหม่ ในขวดใบเก่า และกล่าวด้วยว่ามติเช่นนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า “ทหารและศาสนายังคงเป็นสองสิ่งที่ไม่สามารถแตะต้องได้”
ด้านอิกอร์ พาเวล เซเดก ผู้ก่อตั้งเทศกาลภาพยนตร์ดังกล่าวโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่าเขาคิดหนักหลังจากถูกห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะเขาห่วงใยต่อสถานการณ์ด้านสันติภาพและการสร้างความสมานฉันท์ในเมียนมา แต่ก็สงสัยว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ “เป็นอันตราย” จริงหรือ โดยได้คำตอบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมานั้นหลายเรื่องเป็นเรื่องเจ็บปวดอย่างยิ่งและยากจะเผชิญหน้าและยอมรับ แต่เขาก็เชื่อว่าการยอมรับความจริงเท่านั้นจึงจะทำให้เกิดการปรองดองและเยียวยาจิตวิญญาณของคนในประเทศนี้
“มีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่กองทัพและประเทศเมียนมาจะปรองดองและเยียวยาจิตวิญญาณที่เจ็บปวดและชุมชนที่บาดเจ็บ นั่นก็คือการปล่อยให้ความเจ็บปวดได้ถูกบอกเล่า ถูกรับฟัง และให้ความเคารพต่อความเจ็บปวดอันสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้คนจำนวนมาก การปิดกั้นการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ไมได้ช่วยสร้างความปรองดอง”
สิ้นแสงฉานเป็นภาพยนตร์ชีวิตรักระหว่างเจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าไทใหญ่ กับ อิงเง เซอร์เจน หญิงชาวออสเตรีย โดยสร้างมาจากหนังสืออัตตชีวประวัติซึ่งเขียนโดยอิงเง เซอร์เจน เรื่องราวเกิดก่อนที่เมียนมาจะถูกปกครองโดยเผด็จการทหารและกวาดล้างเจ้าผู้ครองเมืองซึ่งเคยมีอำนาจปกครองภายใต้ระบอบอาณานิคมอังกฤษ เจ้าจ่าแสงและ น.ส. อิงเง พบรักกันที่สหรัฐฯ และกลับมาปกครองเมืองสีป้อ รัฐฉาน แต่หลังจากนั้นไม่นานเจ้าจ่าแสงถูกจับและหายสาบสูญไปภายหลังจากที่นายพลเนวิน ขึ้นยึดอำนาจในปี 2505
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ซาบีน เดอฟลิงเงอร์ ผู้กำกับหญิงชาวออสเตรีย นำแสดงโดยนักแสดงชาวไทย ทวีฤทธิ์ จุลทรัพย์ รับบทเป็นเจ้าจ่าแสง และ มาเรีย เอริค นักแสดงสาวชาวเยอรมัน และหลายฉากถ่ายทำในประเทศไทย ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นในย่างกุ้งบอกกับบีบีซีไทยว่าว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ฉายในเมียนมา แต่ขณะนี้ ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนไม่น้อยเริ่มแชร์ลิงก์ชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวผ่านคลิปออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะไม่เข้าใจเนื้อหามากนักเนื่องจากคลิปดังกล่าวใช้ภาษาเยอรมัน ไม่มีซับไตเติลทั้งภาษาอังกฤษและพม่า
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ของเมียนมานั้นมีกรรมการ 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งมีตัวแทนบทส่วนจากสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์ และสมาคมผู้ผลิตดนตรี
ภาพ: โปสเตอร์ภาพยนตร์ สิ้นแสงฉาน จากเพจเฟซบุ๊กของเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
“สิ้นแสงฉาน” ถูกสั่งห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ย่างกุ้ง
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ มีมติห้ามฉายเรื่อง Twilight Over Burma” หรือ “สิ้นแสงฉาน” ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตรักของเจ้าชายชาวไทใหญ่กับหญิงสาวชาวออสเตรียก่อนประเทศจะถูกปกครองด้วยระบอบทหาร ในงานเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่นครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวานนี้ แม้ว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจะถูกวางไว้ให้เป็นภาพยนตร์เปิดงานก็ตาม
สำนักข่าวอิระวดีรายงานคำสัมภาษณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์รายหนึ่งว่าคณะกรรมการจะประกาศมติจากการพิจารณาภาพยนตร์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในวันพรุ่งนี้ คือวันพฤหัสบดีที่ 16 มิ.ย. อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาห้ามฉายซึ่งเป็นมติครั้งแรกนั้นเหตุผลที่สำคัญก็คือ เนื้อหาของภาพยนตร์นั้นทำลายภาพลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างชาติพันธุ์ของสหภาพเมียนมา
มอน มอน เมียะ ผู้สื่อข่าวอาวุโสและผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินของคณะกรรมการว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแม้ประเทศเมียนมาจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว แต่อิทธิพลของระบอบทหารก็ยังคงมีอยู่สูง เหมือนเป็นเหล้าใหม่ ในขวดใบเก่า และกล่าวด้วยว่ามติเช่นนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า “ทหารและศาสนายังคงเป็นสองสิ่งที่ไม่สามารถแตะต้องได้”
ด้านอิกอร์ พาเวล เซเดก ผู้ก่อตั้งเทศกาลภาพยนตร์ดังกล่าวโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่าเขาคิดหนักหลังจากถูกห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะเขาห่วงใยต่อสถานการณ์ด้านสันติภาพและการสร้างความสมานฉันท์ในเมียนมา แต่ก็สงสัยว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ “เป็นอันตราย” จริงหรือ โดยได้คำตอบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมานั้นหลายเรื่องเป็นเรื่องเจ็บปวดอย่างยิ่งและยากจะเผชิญหน้าและยอมรับ แต่เขาก็เชื่อว่าการยอมรับความจริงเท่านั้นจึงจะทำให้เกิดการปรองดองและเยียวยาจิตวิญญาณของคนในประเทศนี้
“มีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่กองทัพและประเทศเมียนมาจะปรองดองและเยียวยาจิตวิญญาณที่เจ็บปวดและชุมชนที่บาดเจ็บ นั่นก็คือการปล่อยให้ความเจ็บปวดได้ถูกบอกเล่า ถูกรับฟัง และให้ความเคารพต่อความเจ็บปวดอันสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้คนจำนวนมาก การปิดกั้นการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ไมได้ช่วยสร้างความปรองดอง”
สิ้นแสงฉานเป็นภาพยนตร์ชีวิตรักระหว่างเจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าไทใหญ่ กับ อิงเง เซอร์เจน หญิงชาวออสเตรีย โดยสร้างมาจากหนังสืออัตตชีวประวัติซึ่งเขียนโดยอิงเง เซอร์เจน เรื่องราวเกิดก่อนที่เมียนมาจะถูกปกครองโดยเผด็จการทหารและกวาดล้างเจ้าผู้ครองเมืองซึ่งเคยมีอำนาจปกครองภายใต้ระบอบอาณานิคมอังกฤษ เจ้าจ่าแสงและ น.ส. อิงเง พบรักกันที่สหรัฐฯ และกลับมาปกครองเมืองสีป้อ รัฐฉาน แต่หลังจากนั้นไม่นานเจ้าจ่าแสงถูกจับและหายสาบสูญไปภายหลังจากที่นายพลเนวิน ขึ้นยึดอำนาจในปี 2505
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ซาบีน เดอฟลิงเงอร์ ผู้กำกับหญิงชาวออสเตรีย นำแสดงโดยนักแสดงชาวไทย ทวีฤทธิ์ จุลทรัพย์ รับบทเป็นเจ้าจ่าแสง และ มาเรีย เอริค นักแสดงสาวชาวเยอรมัน และหลายฉากถ่ายทำในประเทศไทย ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นในย่างกุ้งบอกกับบีบีซีไทยว่าว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ฉายในเมียนมา แต่ขณะนี้ ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนไม่น้อยเริ่มแชร์ลิงก์ชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวผ่านคลิปออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าจะไม่เข้าใจเนื้อหามากนักเนื่องจากคลิปดังกล่าวใช้ภาษาเยอรมัน ไม่มีซับไตเติลทั้งภาษาอังกฤษและพม่า
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ของเมียนมานั้นมีกรรมการ 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งมีตัวแทนบทส่วนจากสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์ และสมาคมผู้ผลิตดนตรี
ภาพ: โปสเตอร์ภาพยนตร์ สิ้นแสงฉาน จากเพจเฟซบุ๊กของเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
แสดงความคิดเห็น