FILE - Fishing boats are docked in Tho Quang port, Danang, Vietnam, March 26, 2016. Fishermen from around the South China Sea tell stories of contending with bandits and coast guards.

กระทรวงการเกษตรของจีนกล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า จะบังคับใช้คำสั่งห้ามการประมงที่เข้มงวดกว่าเดิมในทะเลจีนใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ เพื่อปกป้องทรัพยากรปลาในทะเล

รัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่งเคยประกาศใช้คำสั่งห้ามทำการประมงในทะเลจีนใต้มาก่อนหน้านี้ โดยครั้งเเรกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1995 และมีการจับเรือประมงที่ละเมิดคำสั่ง

และหากจีนใช้คำสั่งนี้อีก นักวิเคราะห์ชี้ว่าจีนเสี่ยงที่จะทำลายความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมากับเวียดนามและฟิลิปปินส์

FILE - Chinese Coast Guard members approach Filipino fishermen as they confront each other off Scarborough Shoal in the South China Sea, also called the West Philippine Sea, Sept. 23, 2015.

Fabrizio Bozzato นักวิจัยผู้ช่วยที่เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Tamkang ในไต้หวัน กล่าวว่า จีนได้ประกาศที่จะบังคับใช้คำสั่งห้ามการประมงนี้โดยไม่ปรึกษากับชาติอื่นๆ ที่อ้างสิทธิ์เหนือน่านน้ำทะเลเเห่งนี้

เขากล่าวว่า หากจีนปรึกษากับเวียดนามและฟิลิปปินส์เสียก่อน สถานการณ์คงไม่เป็นเช่นนี้ เขาคิดว่าจีนต้องการแสดงให้ทุกคนเห็นว่าจีนเป็นเจ้าของทะเลจีนใต้ทั้งหมด เเละมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวในการใช้ทรัพยากรทางทะเลในทะเลจีนใต้

คุณเติมศักดิ์ เฉลิมพลานุภาพ นักวิจัยทุนที่สถาบันศึกษาเอเซียอาคเนย์ (ISEAS) ในสิงคโปร์ กล่าวว่า เป็นไปได้ที่เวียดนามกับฟิลิปปินส์จะไม่ใส่ใจต่อคำสั่งนี้ของจีน เเละปล่อยให้เจ้าของเรือประมงเเต่ละเจ้าตัดสินใจกันเองว่าจะละเมิดคำสั่งนี้หรือไม่

เขากล่าวว่า ขึ้นอยู่กับชาวประมงท้องถิ่นที่จะเสี่ยงต่อการถูกจับกุมโดยเรือลาดตระเวณของจีนหรือไม่ ซึ่งชาวประมงเหล่านี้ถูกจับกุมมานับครั้งไม่ถ้วนเเล้ว

Environmental activists picket the Chinese Consulate to protest alleged military buildup by China on the disputed group of islands at the South China Sea, in Manila, Philippines, Jan. 24, 2017. The protesters condemned China's alleged installation of mis

ด้าน Herman Kraft นักรัฐศาสตร์เเห่ง University of Philippines Diliman กล่าวว่าทางการฟิลิปปินส์จะหลีกเลี่ยงการออกคำเเนะนำให้เรือประมงของตนเพิกเฉยต่อคำสั่งห้ามของจีน เพราะการออกคำเตือนใดๆ อาจจะดูเหมือนเป็นการอ่อนข้อต่อจีน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคำสั่งห้ามการประมงชั่วคราวในทะเลจีนใต้โดยทางการจีน ยังละเมิดต่อคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก

คำตัดสินของศาลในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ชี้ว่า คำสั่งห้ามการประมงที่คล้ายกันนี้เมื่อปี 2012 ไม่เคารพต่อสิทธิ์ของฟิลิปปินส์ในการจัดการแหล่งทรัพยากรทางทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ ที่กินพื้นที่ 200 ไมล์ทะเลจากเเนวชายฝั่งของประเทศ

เติมศักด์ เฉลิมพลานุภาพ กล่าวว่า เป็นไปได้ว่าเวียดนามกับฟิลิปปินส์อาจจะออกมาท้าทายคำสั่งห้ามการประมงชั่วคราวของจีนนี้อย่างเเข็งขัน เนื่องจากคำพิพากษาของคณะอนุญาโตตุลากรที่ชี้ว่า จีนไม่มีความชอบธรรมตามกฏหมายในการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ขัดเเย้งหลายจุดในทะเลจีนใต้

เเต่เขากล่าวว่าจีนต้องการใช้คำสั่งห้ามการประมงชั่วคราวนี้ในการเเสดงสิทธิ์์ตามกฏหมายในการควบคุมพื้นที่ขัดเเย้งในทะเลจีนใต้ เพราะเท่าที่ผ่านมาทางการจีนปฏิเสธคำตัดสินของศาลโลกอย่างเเข็งขันมาตลอด

FILE - In this photo provided by Renato Etac, Chinese Coast Guard members, wearing black caps and orange life vests, approach Filipino fishermen as they confront them off Scarborough Shoal at South China Sea in northwestern Philippines, Sept. 23, 2015.

National Geographic รายงานเมื่อราวกลางปีที่แล้วว่า ทะเลจีนใต้ให้ผลผลิตปลาปีละ 16 ล้าน 6 เเสนตัน และอุตสาหกรรมการประมงจ้างงานถึง 3 ล้าน 7 เเสนคน แต่แหล่งปลาในทะเลจีนใต้กำลังลดลงหลังจากทำการประมงกันมานานหลายสิบปี

ด้านหนังสือพิมพ์ People’s Daily ของจีนรายงานว่า คำสั่งห้ามการประมงในเขตทะเลจีนใต้นี้ จะยาวนานกว่าครั้งก่อนราวหนึ่งเดือน และเข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับลักษณะของการทำประมง

แต่ทางสถาบัน Lawfare ในสหรัฐฯ กล่าวในข้อเขียนเเสดงความคิดเห็นว่า คำสั่งห้ามครั้งใหม่นี้ไม่ได้ระบุถึงสัญชาติของชาวประมง


source :- https://goo.gl/WA5EbW

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.