Posted: 18 Aug 2017 06:46 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ในระบอบอำนาจนิยมมีสถาบันหลายแบบที่ส่งเสริมประชาธิปไตย แต่สถาบันเหล่านี้มีผลส่งเสริมการคงอยู่ของระบอบอำนาจนิยม มากกว่าที่จะบ่อนทำลาย

แนวคิดดังกล่าวมาจากบทความที่อยากมาชวนอ่านกัน คือ “พื้นที่ปิดล้อมประชาธิปไตยในระบอบอำนาจนิยม (Democratic Enclaves in Authoritarian Regimes)” เขียนโดย บรูช กิลเลย์ (Bruce Gilley) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์สเตท (Portland State University) รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา


Democratic enclaves คืออะไร

วิธีหนึ่งในการทำความเข้าใจ democratic enclaves (พื้นที่ปิดล้อมประชาธิปไตย) คือการทำความเข้าใจคู่ตรงข้ามของมัน นั่นคือ authoritarian enclaves ซึ่งเป็นพื้นที่ปิดล้อมอำนาจนิยมในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองลัทธิฟาสซิสต์ที่รณรงค์ในสังคมประชาธิปไตยด้วยความตั้งใจทำลายระบอบผ่านทางสภาวะแวดล้อม

“Authoritarian enclaves คือพื้นที่เชิงสถาบันในรัฐหรือพื้นที่ทางสังคมที่มีการควบคุมโดยรัฐ ซึ่งยึดติดกับบรรทัดฐานอำนาจนิยม และเป็นปฏิปักษ์ต่อกับระบอบประชาธิปไตย ถ้าพูดในทางกลับกัน democratic enclave ก็คือสถาบันของรัฐหรือพื้นที่ทางสังคมที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน โดยเป็นพื้นที่ที่อำนาจของระบอบอำนาจนิยมถูกจำกัดอย่างแท้จริง และ ถูกแทนที่ด้วยการปฏิบัติตามบรรทัดฐานของกระบวนการประชาธิปไตย”

ในระบอบอำนาจนิยมใดๆ democratic enclaves เป็นพื้นที่อิสระที่คอยต่อสู้กับบรรทัดฐานอำนาจนิยมพร้อมกับส่งเสริมหลักนิติธรรม อำนาจอธิปไตยของปวงชน และความเสมอภาคทางการเมือง

กิลเลย์ ยกกรณีศึกษาการเลือกตั้งระดับหมู่บ้านในประเทศจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ภายในที่คนจีนทั่วไปมีโอกาสใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยส่วนมากมักมีความเสรีและเป็นธรรม ทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมของระบบการเมือง เป็นอำนาจนิยมที่เข้มข้น

กิลเลย์ ยังเน้นย้ำอีกด้วยว่าสถาบันเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ประชาธิปไตยปลอม ๆ อย่างเช่น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ล้วนมีแต่คนที่ทหารแต่งตั้ง แต่สถาบันเหล่านี้แสดงออกถึง บรรทัดฐานประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมั่นคง

Democratic enclaves เป็นภัยคุกคามหรือเสาหลักของอำนาจนิยม

รัฐอำนาจนิยมส่วนใหญ่มักมีอำนาจเพียงพอในการปราบปรามพื้นที่อิสระเหล่านี้ เพราะฉะนั้น คำถามคือ democratic enclaves สามารถหนีรอดการกดขี่ของอำนาจนิยมได้อย่างไร กรณีศึกษาในหลายๆประเทศทำให้ กิลเลย์ สรุปว่าการยอมรับโดยผู้มีอำนาจคือปัจจัยสำคัญที่สุด ในการอยู่รอดของพื้นที่อิสระดังกล่าว

“การเกิดขึ้นของข้อถกเถียงต่างๆ เป็นการสนับสนุนในการเมืองระดับบน ในบรรดากรณีศึกษาของเรา เงื่อนไขดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับ democratic enclaves หากระบอบอำนาจนิยมไม่ยอมรับ หรือสนับสนุนการมีอยู่ของ democratic enclave มันก็จะล่มสลายลงอย่างแน่นอน”

แต่การที่ผู้มีอำนาจสนับสนุน (หรืออย่างน้อยก็ให้การยอมรับโดยนัย) พื้นที่ของการต่อต้านนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาชอบประชาธิไตย โดย กิลเลย์ สรุปว่า “สาเหตุที่ democratic enclaves ต้องอยู่ในคุณค่าเชิงยุทธศาสตร์สำหรับระบอบนั้นเพราะ ผู้มีอำนาจมองว่า enclaves ก่อให้เกิดประโยชน์บางอย่าง และบางทีเผด็จการก็มองว่าประโยชน์นั้นคุ้มค่าต่อความเสี่ยง”

กิลเลย์ ยกตัวอย่างว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนทดลองการเลือกตั้งระดับหมู่บ้านเพื่อควบคุมการทุจริตส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังได้รับความชอบธรรมในเวทีระหว่างประเทศ


Democratic Enclaves นำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร

Democratic enclaves ต้องอาศัยการสนับสนุนจากการเมืองระดับสูง นอกจากนี้การวิเคราะห์ของ กิลเลย์ ยังพบว่า “สิ่งที่น่าสนใจก็คือแรงกดดันของประชาชนดูจะมีความสำคัญน้อยที่สุดในการกำหนดว่า democratic enclaves จะได้รับการสนับสนุนในการเมืองระดับสูงหรือเปล่า”

ถ้าอย่างนั้น democratic enclaves ไม่ได้เป็นภัยคุกคามระบอบอำนาจนิยมเสมอไป มันอาจจะแสดงให้เห็นว่าระบอบยังไม่มั่นคงอย่างสมบูรณ์ แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากอีกอยู่ดี

แต่พื้นที่อิสระก็ให้ความหวังอยู่บ้าง แม้ว่า democratic enclaves อาจจะไม่ส่งผลต่อความเป็นประชาธิปไตยเสมอ กิลเลย์ ยังกล่าวว่า มันไม่ได้หมายความว่า democratic enclaves ไม่ส่งผลต่ออุปนิสัยของระบอบอำนาจนิยม แต่ส่งเสริมความโปร่งใส ประสิทธิภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น

“การเลือกตั้งระดับหมู่บ้านได้ทำให้หมู่บ้านมีอิสรภาพจากคณะกรรมการระดับเขตเมืองของการพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่าผลกระทบต่อความเป็นประชาธิปไตยไม่ชัดเจน”

นอกจากนี้ บางที democratic enclaves มีผลกระทบที่ผู้มีอำนาจไม่ได้คาดหมาย โดยบางครั้งการตัดสินใจผิดของผู้นำอำนาจนิยม นั่นก็คือ democratic enclaves ถูกยอมรับหรือปราบปรามด้วยผลกระทบต่อความเป็นประชาธิปไตยที่ไม่คาดคิด

Democratic enclaves ในประเทศไทย

นั่นหมายความว่าแม้เผด็จการทหารกำลังปกครองประเทศไทยก็จริง แต่ก็ยังมีบางองค์กร บางเครือข่าย และบางสถาบันที่แสดงออกถึงกระบวนการและอุดมการณ์ประชาธิปไตย เช่น ศาลปกครอง ซึ่งศาสตราจารย์ Peter Leyland เคยพบว่าเป็นสถาบันที่คัดค้างกับผู้มีอำนาจอย่างน่าเชื่อถือกว่าศาลรัฐธรรมนูญ

“ศาลปกครองจะตัดสินว่าผู้มีอำนาจ มีอำนาจทางกฎหมายหรือไม่ในการเรียกร้องให้จ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ได้สัดส่วนหรือไม่”(แต่การวิเคราะห์นี่อาจจะเปลี่ยนไปตั้งแต่คำพิพากษาของศาลก่อนหน้านี้เรื่อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)

อีกตัวอย่างหนึ่งของ democratic enclaves อาจจะเป็นองค์กรข่าวสารทางเลือก ซื่งเผยแพร่ข่าวเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐอาจจะเข้าแทรกแซงในบางครั้ง ขึ้นอยู่กับว่ามาตรฐานเรื่อง “ความมั่นคง” มีความเข้มงวดมากเพียงใด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ พรรคเพื่อไทย อาจจะเรียกว่า democratic enclaves ได้เช่นกัน

ถ้า democratic enclaves อาจจะสนับสนุนหรือบ่อนทำลายอำนาจนิยมก็ได้ แล้วสถาบันการเมืองในไทยเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับความเป็นประชาธิปไตยอย่างไร

กิลเลย์ คงจะตอบว่า ต้องศึกษาว่ารัฐบาลมีผลประโยชน์กับพื้นที่อิสระนั้นหรือเปล่า มันอยู่รอด เพราะรัฐบาลยอมรับหรือไร้ความสามารถ ส่วนที่พื้นที่อิสระจะสนับสนุนหรือเป็นภัยคุกคามประชาธิปไตยนั้นขึ้นอยู่กับบริบท




สำหรับ ‘แมวมอง’ เป็นนามปากกาของนักศึกษาและนักวิจัยชาวออสเตรเลียที่สนใจศึกษาการเมืองไทย

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.