Posted: 09 Jul 2018 12:15 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าวเว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

อนินท์ญา​ ขันขาว​ : สัมภาษณ์​
คชรักษ์ แก้วสุราช : ภาพ

ชวนคุยสั้นๆ กับ 'ซะการีย์ยา' กวีซีไรต์ ถึงจุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสือ สถานการณ์งานเขียนชายแดน​ภาคใต้ และสถานะของงานเขียนในยุคโลกาภิวัฒน์​และออนไลน์​

ซะการีย์ยา อมตยา เป็นกวี นักเขียน นักแปล เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ.2553 สาขากวีนิพนธ์ จากผลงานรวมบทกวีนิพนธ์ ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ซึ่งได้จากการถอดความที่ ซะการีย์ยา กล่าวไว้บางส่วนในกิจกรรมค่ายเยาวชน learning to live together ครั้งที่ 6 ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา บวกกับการสัมภาษณ์เพิ่มเติม

Q : จุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสือ?
ซะการีย์ยา : สมัยเด็กๆ​ ชอบเขียน​ เขียนอะไรไปเรื่อย​ ส่วนตัวจะพกสมุด​ และปากกาติดตัวตลอด​ ฝึกเขียนเขียนเป็นประโยคเป็นความเรียง​จนกลายเป็นนิสัยที่ชอบเขียน​ หลังจากนั้น​ก็กดเข้าไปดูในเว็บบอร์ด​แล้วก็คิดว่าอยากเขียน​ คนอื่นเขียนได้เราก็ต้องเขียนได้เหมือนกัน​ จนกระทั่งรู้สึกว่าอยากเขียนหนังสือก็เขียนเรื่อยมา​

Q : งานเขียนของ 3 จังหวัดชายแดน​ภาคใต้ปัจจุบัน​มีคนเขียนมากน้อยเท่าไร?
ถ้าพูดถึงงานเขียนในไทยสมัยใหม่ไม่ค่อยมี เดิมงานเขียนของภาคใต้จะเป็นงานเขียนด้วยอักษร​ ฮุรุฟยาวี​ ส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับพงศาวดาร​ ตำนานศาสนา​ พอยุคล่าอาณานิคม​ อังกฤษ​ ฮอลแลนด์​ เข้ามาภาษายาวีหยุดชะงัก​ลง​ จนกระทั่งมาเลเซีย​ได้รับเอกราช​ ประเทศต่างๆแถบมลายู​ได้รับเอกราช​ก็เริ่มมีงานเขียนเกิดขึ้นแต่3จังหวัดถูกรวมเข้ากับไทย​ งานเขียนสมัยใหม่ไม่เกิด​ เคยมีคนสร้างนิตยาสาร​ อะซาน​ แต่กลุ่มนี้ก็สลายตัวไป​ 3จังหวัด​ก็ไม่มีงานเขียนมาลายูเหมือนประเทศ​อื่น​ คนสามจังหวัดเข้าใจภาษาไทยมากกว่ายาวี​ คนเขียนมีน้อย​ แต่คนพูดได้มากกว่า



Q : คิดว่างานเขียนเป็นเล่มมีผลกระทบต่อสังคม (impact) ต่อสังคมมากแค่ไหนในยุคโลกาภิวัฒน์​นี้?

โลกออนไลน์​สร้างผลกระทบ​ได้มากอย่างหลีกเลี่ยง​ไม่ได้​ ปัจจุบันคนอ่านหนังสือกระดาษน้อยลงอย่างหนังสือพิมพ์​ส่วนใหญ่ดูทางออนไลน์​มากกว่า​ ส่วน​ e-book กับหนังสือเหมือนกันเปลี่ยนแค่วิธีการเอง​ งานหนังสือจับต้องได้มากกว่า​ เสน่ห​์ของหนังสือคือ​ เวลาจะอ่านต้องละทิ้งทุกอย่าง​ ให้ความสนใจแต่หนังสือแต่ถ้าออนไลน์​ใจมันจะไม่นิ่ง​ คนให้ความสนใจได้น้อยลง​ ผลสะเทือน​ของหนังสือต้องย้อนไปยุค 14​ ตุลา ​ยุคนั้นต้องอ่านหนังสือยุคสังคมนิยม​ คนไหนเดินถือหนังสือจะดูเท่ห์​ Tablet, Smart​ Phone​ สมัยนี้ถือตามรสนิยม​ ค่านิยมของสังคมกำหนดคนว่าเท่ห์แค่นั้นเอง​ โลกออนไลน์​ส่งผล (มากกว่าหนังสือ​ ถ้าซื้อหนังสือต้องอยากอ่านอยากใช้จริงๆ​ มันมีราคา​ ทั้งนี้การใช​ อย่างในอดีตอยากรู้อะไรต้องอ่านให้มาก​ ปัจจุบัน​ค้นหาหน้าเว็บก็เจอหมดแล้ว​ หนังสือเป็น​ ของหายาก (rare item)​ แม้จะมีผลกระทบต่อสังคมน้อยลง

Q : เทคนิคในการเขียนมีอะไรบ้าง?

การเขียนไม่มีสูตรเฉพาะ​ เขียนที่เรารู้เราชอบ​ ถ้าชอบใครสักคนหรือเรื่องไหนสักเรื่องลองศึกษา​ติดตามอ่านซ้ำๆ​ ทุกเล่ม​ จะเขียนได้มาก​ เท่านี้เอง

Q : ในอนาคตอยากนำเสนอแนวทางให้คนสนใจอ่านหนังสือมากขึ้นอย่างไร?

ในอนาคตอยากให้สัญญาณ​อินเตอร์​เน็ต​คล้ายสัญญาณ​วิทยุ​ อยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าได้​ ถึงคนจะอ่านหนังสือเล่มน้อยลงแต่คนก็อาจจะสนใจอ่านออนไลน์​มากขึ้น​ น่าจะส่งผลที่ดี​ แต่อย่าลืมว่าหนังสือยังสำคัญมากอินเตอร์​เน็ต​เป็นทางลัด​ นักเรียน​ นักศึกษา​ นักวิชาการ​ หรืออาชีพต่างๆต้องมีคู่มือที่เป็นเล่มเป็นตำราไว้ศึกษา​หาความรู้

คุยกับ ‘ซะการีย์ยา อมตยา’ เมื่อกวีซีไรต์ ฟ้อง กกต. หลังปิดเขตหนี กปปส.
คำประกาศพลเมืองมุสลิม: 24 มิถุนายน 2558
"ไม่มีหญิงสาวในบทกวี" คว้าซีไรต์ 2553

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.