การตายของโสเครตีส โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330
Posted: 16 Jul 2018 08:54 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
สุรพศ ทวีศักดิ์
ถ้าถามว่าทำไมต้อง “เสรีภาพและประชาธิปไตย” ก็เพราะว่าเดิมทีสองสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในความหมายแบบที่รับรู้กันในโลกสมัยใหม่ แต่ประชาธิปไตยสมัยใหม่หรือเสรีประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีเสรีภาพเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ หรืออำนาจของเสียงข้างมาก
เมื่อเปิดอ่าน “On Liberty” (ว่าด้วยเสรีภาพ) ของจอห์น สจ๊วต มิลล์ จะพบการให้เหตุผลที่รัดกุมมากว่า หากไม่ใช้หลักเสรีภาพเป็น “กรอบจำกัดอำนาจรัฐ” ย่อมเป็นไปได้เสมอที่จะเกิดทรราชโดยบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือทรราชเสียงส่วนใหญ่
ตัวอย่างในประวัติศาสตร์มีให้เห็นมามาก เช่นโสเครตีสผู้ทำให้สิ่งที่เรียกว่า “ปรัชญา” เริ่มขึ้นจริงๆ ด้วยการสร้างวิธีสนทนา ตั้งคำถาม และโต้แย้ง ซักไซ้ไล่เรียงเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความชัดเจนว่า จริงๆ แล้วเรารู้หรือไม่รู้อะไร อย่างไรแน่ เช่นที่เขาถามยูธีเดมุส (Euthydemus) ว่า “การเป็นคนไม่ซื่อถือว่าผิดศีลธรรมหรือไม่” ยูธีเดมุสตอบอย่างมั่นใจว่า “ผิดแน่นอน” แต่โสเครตีสถามแย้งว่า “ถ้าเพื่อนของคุณกำลังรู้สึกท้อมากและอาจฆ่าตัวตาย แต่คุณต้องการป้องกันไม่ให้เขาฆ่าตัวตาย จึงขโมยมีดเขามา นี่เป็นการกระทำที่ไม่ซื่อ แต่ไม่ผิดศีลธรรมมิใช่หรือ” ยูธีเดมุสงวยงง แต่ก็ต้องตอบว่าใช่
วิธีการแบบโสเครตีสทำให้หลายคนหมั่นไส้ เพราะขณะที่พวกเขาแสดงบทของ “ผู้รู้” ในเรื่องต่างๆ นั้น (เหมือนพระสมัยนี้เลย) เมื่อถูกโสเครตีสตั้งคำถามและโต้แย้ง ในที่สุดก็มักจะเปิดเผยให้เห็น “ความไม่รู้” ของบรรดาผู้รู้เหล่านั้นเสมอ แต่นี่ยังไม่เป็นปัญหาเท่ากับการที่โสเครตีสตั้งคำถาม วิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ศีลธรรม ที่เผยให้เห็นว่าศาสนากับศีลธรรมไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หรือแยกจากกันไม่ได้ดังที่คนส่วนใหญ่เชื่อ เพราะเขาชี้ให้เห็นว่า หลายๆ ครั้งคนทำผิดศีลธรรมได้ด้วยความเคร่งศาสนา และปรัชญาศีลธรรมเกิดขึ้นได้จริงเมื่อคนเราไม่ถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่ไร้เหตุผลทางศาสนาและจารีตประเพณี ยิ่งกว่านั้นเขายังสอนให้เยาวชนมีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ให้เชื่อถือคำสอนใครเพียงเพราะเขาเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ หรือมีอำนาจเหนือหัว แต่ควรเชื่อถือเพราะเขามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันโสเครตีสก็กระแนะกระแหนประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์อีกด้วย จึงนับเป็น “เหลือบตัวพ่อ” โดยแท้
ในที่สุดโสเครตีสก็ถูกกล่าวหาว่า ไม่เคารพต่อเทพเจ้าของรัฐ นำเสนอเทพเจ้าของตนเอง และสั่งสอนเด็กหนุ่มในกรุงเอเธนส์ให้ประพฤติผิด เสียงข้างมาก (เกินครึ่งเพียงเล็กน้อยจากทั้งหมด 501 เสียง) ของคณะลูกขุนตัดสินประหารชีวิตโสเครตีส ขณะที่โสเครตีสยังได้รับโอกาสต่อรองที่จะไม่รับโทษประหารก็ได้ แต่เขาก็ยังกวนประสาทชาวเอเธนส์ด้วยการกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ทำอะไรผิด สิ่งที่ข้าพเจ้ากระทำไปคือความถูกต้อง สมควรที่จะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นอาหารฟรีทุกมื้อจากชาวเอเธนส์ไปตลอดชีวิต แทนการถูกลงโทษเสียด้วยซ้ำ” นี่ก็ยิ่งเป็นการประชดว่า “พวกคุณช่างทำอะไรโง่ๆ เสียนี่กระไร” จึงทำให้บรรดาคนที่ชิงชังวิธีการแบบโสเครตีสอยู่แล้วยิ่งเห็นว่าเขาสมควรตาย
แต่ถ้ามองตามทัศนะของมิลล์ที่ถือว่า “เสรีภาพคือกรอบจำกัดอำนาจรัฐ” เสียงข้างมากของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ก็ย่อมไม่อาจประหารโสเครตีสได้ เพราะภายใต้หลักเสรีภาพถือว่า ถ้ามีคนเพียง 1 คน คิดต่างจากคนทั้งหมดในสังคม เขาย่อมมีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ คนทั้งหมดไม่อาจใช้อำนาจปิดปากเขาได้ และถ้าหากคน 1 คนนั้นเกิดมีอำนาจขึ้นมา เขาก็ไม่อาจใช้อำนาจปิดปากคนทั้งหมดที่คิดต่างจากเขาได้เช่นกัน การแสดงความคิดเห็นใดๆ ของบุคคลจะถูกยับยั้งก็ต่อเมื่อมันก่ออันตรายทางกายภาพ (เช่นอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน เสรีภาพ) แก่บุคคลอื่นเท่านั้น จะอ้างอะไรที่มีความหมายคลุมเครือ เช่นอ้างเรื่องกระทบกระเทือนความรู้สึก กระทบต่อศีลธรรมอันดี ศาสนา ประเพณีใดๆ มาเป็นเหตุผลยับยั้งเสรีภาพในการแสดงออกไม่ได้
จะเห็นได้ว่า แม้เอเธนส์จะไม่ใช่รัฐศาสนาแบบรัฐโบราณอื่นๆ แต่การที่เอเธนส์ยังยอมรับการใช้ความเชื่อทางศาสนามีอำนาจบังคับคน เช่นการหมิ่นเทพเจ้าของรัฐเป็นความผิดถึงตาย นี่จึงเป็นเหตุให้เสียงข้างมากผิดพลาดกรณีประหารชีวิตโสเครตีส
เมื่อไม่ใช้หลักเสรีภาพเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ แม้ผู้ปกครองที่เป็นคนดีมีคุณธรรมสูงก็อาจกระทำชั่วร้ายอย่างทรราชได้ เช่นจักรพรรดิมาร์คัส ออเรเลียส แอนโตนินัส (Marcus Aurelius Antoninus) ที่มีคุณธรรมความเมตตาและถ่อมตนแบบสโตอิก แต่เพราะเห็นว่าบรรดาผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นภัยคุกคามสังคมศาสนาที่นับถือเทพหลายองค์ของชาวโรมัน จึงต้องปราบรามชาวคริสต์อย่างโหดร้าย เช่นเดียวกัน (หากเรื่องเล่าใน “อโศกาวทาน” เป็นจริง) ธรรมชาราอย่างอโศกมหาราชก็ทำสิ่งชั่วร้ายด้วยการสั่งฆ่าชาวอาชีวกร่วม 80,000 คน พร้อมกับเผาหมู่บ้านพวกเขาทั้งหมด ด้วยความผิดฐาน “หมิ่นศาสนา” เพียงเพราะมีอาชีวกแค่คนเดียววาดภาพพุทธะก้มกราบศาสดาของพวกเขา
มิลล์จึงเห็นว่า ศาสนา ศีลธรรม ประเพณีเป็นเรื่องของความเชื่อ ความพึงพอใจหรือความชอบใจของบุคคลหรือกลุ่มคนในสังคมต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่ามันยุติธรรมสำหรับทุกคนในฐานะคนเท่ากัน ศาสนา ศีลธรรม ประเพณีจึงใช้เป็น “กฎทั่วไป” ในการบังคับคนไม่ได้ อำนาจรัฐในอดีตที่ตั้งอยู่บนฐานของศาสนา ศีลธรรม ประเพณีตามความเชื่อของคนส่วนใหญ่มักเป็นอำนาจที่ขัดแย้งกับเสรีภาพ และจึงเป็นอำนาจที่หลีกเลี่ยงความเป็นทรราชไม่ได้
ต่อเมื่อใช้เสรีภาพเป็นกฎทั่วไปหรือเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ คือรัฐจะใช้อำนาจแทรกแซงขัดขวางเสรีภาพในการกระทำหรือการใช้ชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคลไม่ได้ และจะขัดขวางเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การแสดงออกในทางสังคมและการเมืองไม่ได้เท่านั้น การใช้อำนาจรัฐจึงจะไม่กลายเป็นทรราช
ดังนั้นเวลาเราพูดว่า “เสรีภาพและประชาธิปไตย” จึงหมายความว่า อำนาจของเสียงข้างมากต้องถูกจำกัดด้วยหลักเสรีภาพเสมอ คืออำนาจเสียงข้างมากจะละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อยไม่ได้ หรือกล่าวรวมๆ คือละเมิดเสรีภาพในการใช้ชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคลและเสรีภาพทางสังคมและการเมืองไม่ได้
หากเสียงข้างมากละเมิดหลักเสรีภาพ เสียงข้างมากย่อมกลายเป็นทรราชได้ และทรราชเสียงข้างมากอาจใช้อำนาจผ่านกฎหมายก็ได้ เช่นเอาหลักศาสนาของคนส่วนใหญ่ในรัฐมาออกกฎหมายบังคับคนทุกคน หรือใช้อำนาจผ่านกระแสสังคมที่อ้างศาสนา ศีลธรรม ประเพณีละเมิดเสรีภาพของปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่นอินเดียมีกฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของพลเมือง แต่ความเชื่อเรื่องวรรณะตามหลักศาสนาฮินดูยังถูกใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมและวัฒนธรรมในการกีดกันสิทธิของคนจัณฑาล ดังที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อใช้หลักเสรีภาพมาเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ จึงจำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ เพื่อตัดปัญหาการเอาหลักศาสนามาเป็นหลักการปกครองหรือออกฎหมายบังคับคน ขณะเดียวกันรัฐก็ต้องคุ้มครองปัจเจกบุคคลจากการถูกกระแสสังคมอ้างศาสนา ศีลธรรม ประเพณีละเมิดเสรีภาพของเขาด้วย จะเป็นเช่นนี้ได้รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา ไม่อุปถัมภ์ส่งเสริมศาสนาใดๆ รัฐเพียงรักษาเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาและการไม่นับถือศาสนาเท่านั้น
ส่วน “เสรีภาพทางศาสนา” ไม่ได้กินความเพียงว่า แต่ละคนเลือกนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ เปลี่ยนศาสนาได้ ไม่นับถือศาสนาก็ได้เท่านั้น แต่ยังกินความครอบคลุมถึง “สิทธิในการปกครองตนเองทางศีลธรรม” ของปัจเจกบุคคลด้วย ซึ่งหมายถึงสิทธิในการเลือกศีลธรรมและการมีชีวิตที่ดีตามที่ตนเองพึงพอใจของแต่ละคน รัฐจึงบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนไม่ได้ และเสรีภาพทางศาสนายังคาบเกี่ยวกับ เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกด้วย เสรีภาพทางศาสนาจึงหมายถึงเสรีภาพในการวิจารณ์ศาสนาด้วย จึงมีกฎหมายหมิ่นศาสนาไม่ได้ หรือรัฐจะอ้างศีลธรรมอันดีทางศาสนาเป็นเหตุผลจำกัดเสรีภาพไม่ได้ หากการใช้เสรีภาพนั้นไม่เป็นการทำอันตรายแก่ผู้อื่น
สังคมไทยไม่ได้แยกศาสนาจากรัฐ และรัฐก็อุปถัมภ์ศาสนาพร้อมกับบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมศาสนาในโรงเรียน สังคมไทยจึงไม่มีเสรีภาพทางศาสนาอย่างแท้จริง เพราะการบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนของรัฐก็คือการทำให้ศาสนามีอำนาจบังคับคน อันเป็นการไม่เคารพสิทธิปกครองตนเองทางศีลธรรมของปัจเจกบุคคล
แน่นอนว่า การบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนต่างจากการทำให้ศาสนามีอำนาจบังคับคนอย่างกฎหมายชารีอะฮ์ที่อ้างการผิดหลักศาสนาในการลงโทษคนรักร่วมเพศ และคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธอาจไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับ หรือแม้จะเห็นว่าเป็นการบังคับเรียนก็เชื่อว่าเป็นการบังคับเรียนสิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะถ้าผู้เรียนนำหลักคำสอนศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็จะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาเอง และเขาก็ย่อมเป็นคนดีของสังคม
แต่ความเป็นจริงคือ ภายใต้สภาวะที่มีการบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมศาสนาในโรงเรียนดังกล่าว ส่งผลให้คนไทยยึดติดกับศีลธรรมระบบเดียว คือศีลธรรมแบบพุทธศาสนาซึ่งเป็นศีลธรรมส่วนบุคคลที่เน้นการเป็นคนดี และเชื่อว่าเมื่อเป็นคนดีมีศีลธรรมแล้วจะกระทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แต่ศีลธรรมบนกรอบคิด “คนดี” เช่นนี้กลายเป็น “ระบบศีลธรรมหลัก” ของรัฐไทยที่มีโครงสร้างชนชั้นชัดเจน
กล่าวคือ ระบบศีลธรรมดังกล่าวถือว่า ผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมย่อมทำการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมแก่ประชาชน โดยไม่จำเป็นว่าประชาชนต้องมีเสรีภาพตรวจสอบผู้ปกครอง และประชาชนที่เป็นคนดีมีคุณธรรมจะต้องจงรักภักดีเชื่อฟังผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมไม่เพียงแต่เป็นผู้ปกครองธรรมดา หากเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติด้วย
ภายใต้ระบบศีลธรรมดังกล่าวถือว่า “เสรีภาพต้องมีศีลธรรมกำกับ” เพราะถ้าปล่อยให้มีเสรีภาพตามกิเลส ตามอำเภอใจ ปัจเจกบุคคลก็จะเสียคน และสังคมก็จะวุ่นวาย แต่ศีลธรรมที่ใช้กำกับเสรีภาพคือศีลธรรมบนดุลพินิจของชนชั้นปกครอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ชนชั้นปกครองที่เป็นหลักของระบบศีลธรรมของสังคมจะกำหนดว่าสังคมไทยควรมีเสรีภาพทางการเมือง ทางศาสนาได้แค่ไหน อย่างไร ตราบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงแห่งสถานะและอำนาจของชนชั้นปกครองเอง
ถ้ามองแบบมิลล์ ก็หมายความว่า “ศีลธรรมที่ถูกกำหนดให้มาโดยชนชั้นไหน ก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น” เหมือนกับกฎหมายหรือกติกาการปกครองที่บัญญัติโดยชนชั้นไหนก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น
เมื่อไม่แยกศาสนาจากรัฐก็ไม่มีเสรีภาพและประชาธิปไตย และทำให้ศีลธรรมผิดเพี้ยน เพราะศีลธรรมส่วนบุคคลแบบพุทธแทนที่จะเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะเลือกเรียนรู้เอง กลับถูกทำให้เป็น “กฎทั่วไป” ที่มีอำนาจบังคับคน คือบังคับปลูกฝัง และยังใช้เป็นกฎทั่วไปสำหรับกำกับเสรีภาพและประชาธิปไตยอีกที
ดังนั้น เมื่อชนชั้นที่มีอำนาจกำหนดหลักศีลธรรมและบรรดาผู้อ้างศีลธรรมทั้งหลายเห็นว่า ในสถานการณ์แบบนั้นแบบนี้ควรยุติการมีเสรีภาพและประชาธิปไตยไว้ก่อน ให้คนดีมีคุณธรรมมาปกครองแก้ปัญหาของชาติก่อน ก็ทำการยุติเสรีภาพและประชาธิปไตยในนามศีลธรรม ความดี คนดีได้เสมอ
[full-post]
สุรพศ ทวีศักดิ์
ถ้าถามว่าทำไมต้อง “เสรีภาพและประชาธิปไตย” ก็เพราะว่าเดิมทีสองสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในความหมายแบบที่รับรู้กันในโลกสมัยใหม่ แต่ประชาธิปไตยสมัยใหม่หรือเสรีประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีเสรีภาพเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ หรืออำนาจของเสียงข้างมาก
เมื่อเปิดอ่าน “On Liberty” (ว่าด้วยเสรีภาพ) ของจอห์น สจ๊วต มิลล์ จะพบการให้เหตุผลที่รัดกุมมากว่า หากไม่ใช้หลักเสรีภาพเป็น “กรอบจำกัดอำนาจรัฐ” ย่อมเป็นไปได้เสมอที่จะเกิดทรราชโดยบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือทรราชเสียงส่วนใหญ่
ตัวอย่างในประวัติศาสตร์มีให้เห็นมามาก เช่นโสเครตีสผู้ทำให้สิ่งที่เรียกว่า “ปรัชญา” เริ่มขึ้นจริงๆ ด้วยการสร้างวิธีสนทนา ตั้งคำถาม และโต้แย้ง ซักไซ้ไล่เรียงเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความชัดเจนว่า จริงๆ แล้วเรารู้หรือไม่รู้อะไร อย่างไรแน่ เช่นที่เขาถามยูธีเดมุส (Euthydemus) ว่า “การเป็นคนไม่ซื่อถือว่าผิดศีลธรรมหรือไม่” ยูธีเดมุสตอบอย่างมั่นใจว่า “ผิดแน่นอน” แต่โสเครตีสถามแย้งว่า “ถ้าเพื่อนของคุณกำลังรู้สึกท้อมากและอาจฆ่าตัวตาย แต่คุณต้องการป้องกันไม่ให้เขาฆ่าตัวตาย จึงขโมยมีดเขามา นี่เป็นการกระทำที่ไม่ซื่อ แต่ไม่ผิดศีลธรรมมิใช่หรือ” ยูธีเดมุสงวยงง แต่ก็ต้องตอบว่าใช่
วิธีการแบบโสเครตีสทำให้หลายคนหมั่นไส้ เพราะขณะที่พวกเขาแสดงบทของ “ผู้รู้” ในเรื่องต่างๆ นั้น (เหมือนพระสมัยนี้เลย) เมื่อถูกโสเครตีสตั้งคำถามและโต้แย้ง ในที่สุดก็มักจะเปิดเผยให้เห็น “ความไม่รู้” ของบรรดาผู้รู้เหล่านั้นเสมอ แต่นี่ยังไม่เป็นปัญหาเท่ากับการที่โสเครตีสตั้งคำถาม วิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ศีลธรรม ที่เผยให้เห็นว่าศาสนากับศีลธรรมไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หรือแยกจากกันไม่ได้ดังที่คนส่วนใหญ่เชื่อ เพราะเขาชี้ให้เห็นว่า หลายๆ ครั้งคนทำผิดศีลธรรมได้ด้วยความเคร่งศาสนา และปรัชญาศีลธรรมเกิดขึ้นได้จริงเมื่อคนเราไม่ถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่ไร้เหตุผลทางศาสนาและจารีตประเพณี ยิ่งกว่านั้นเขายังสอนให้เยาวชนมีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ให้เชื่อถือคำสอนใครเพียงเพราะเขาเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ หรือมีอำนาจเหนือหัว แต่ควรเชื่อถือเพราะเขามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันโสเครตีสก็กระแนะกระแหนประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์อีกด้วย จึงนับเป็น “เหลือบตัวพ่อ” โดยแท้
ในที่สุดโสเครตีสก็ถูกกล่าวหาว่า ไม่เคารพต่อเทพเจ้าของรัฐ นำเสนอเทพเจ้าของตนเอง และสั่งสอนเด็กหนุ่มในกรุงเอเธนส์ให้ประพฤติผิด เสียงข้างมาก (เกินครึ่งเพียงเล็กน้อยจากทั้งหมด 501 เสียง) ของคณะลูกขุนตัดสินประหารชีวิตโสเครตีส ขณะที่โสเครตีสยังได้รับโอกาสต่อรองที่จะไม่รับโทษประหารก็ได้ แต่เขาก็ยังกวนประสาทชาวเอเธนส์ด้วยการกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ทำอะไรผิด สิ่งที่ข้าพเจ้ากระทำไปคือความถูกต้อง สมควรที่จะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นอาหารฟรีทุกมื้อจากชาวเอเธนส์ไปตลอดชีวิต แทนการถูกลงโทษเสียด้วยซ้ำ” นี่ก็ยิ่งเป็นการประชดว่า “พวกคุณช่างทำอะไรโง่ๆ เสียนี่กระไร” จึงทำให้บรรดาคนที่ชิงชังวิธีการแบบโสเครตีสอยู่แล้วยิ่งเห็นว่าเขาสมควรตาย
แต่ถ้ามองตามทัศนะของมิลล์ที่ถือว่า “เสรีภาพคือกรอบจำกัดอำนาจรัฐ” เสียงข้างมากของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ก็ย่อมไม่อาจประหารโสเครตีสได้ เพราะภายใต้หลักเสรีภาพถือว่า ถ้ามีคนเพียง 1 คน คิดต่างจากคนทั้งหมดในสังคม เขาย่อมมีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ คนทั้งหมดไม่อาจใช้อำนาจปิดปากเขาได้ และถ้าหากคน 1 คนนั้นเกิดมีอำนาจขึ้นมา เขาก็ไม่อาจใช้อำนาจปิดปากคนทั้งหมดที่คิดต่างจากเขาได้เช่นกัน การแสดงความคิดเห็นใดๆ ของบุคคลจะถูกยับยั้งก็ต่อเมื่อมันก่ออันตรายทางกายภาพ (เช่นอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน เสรีภาพ) แก่บุคคลอื่นเท่านั้น จะอ้างอะไรที่มีความหมายคลุมเครือ เช่นอ้างเรื่องกระทบกระเทือนความรู้สึก กระทบต่อศีลธรรมอันดี ศาสนา ประเพณีใดๆ มาเป็นเหตุผลยับยั้งเสรีภาพในการแสดงออกไม่ได้
จะเห็นได้ว่า แม้เอเธนส์จะไม่ใช่รัฐศาสนาแบบรัฐโบราณอื่นๆ แต่การที่เอเธนส์ยังยอมรับการใช้ความเชื่อทางศาสนามีอำนาจบังคับคน เช่นการหมิ่นเทพเจ้าของรัฐเป็นความผิดถึงตาย นี่จึงเป็นเหตุให้เสียงข้างมากผิดพลาดกรณีประหารชีวิตโสเครตีส
เมื่อไม่ใช้หลักเสรีภาพเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ แม้ผู้ปกครองที่เป็นคนดีมีคุณธรรมสูงก็อาจกระทำชั่วร้ายอย่างทรราชได้ เช่นจักรพรรดิมาร์คัส ออเรเลียส แอนโตนินัส (Marcus Aurelius Antoninus) ที่มีคุณธรรมความเมตตาและถ่อมตนแบบสโตอิก แต่เพราะเห็นว่าบรรดาผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นภัยคุกคามสังคมศาสนาที่นับถือเทพหลายองค์ของชาวโรมัน จึงต้องปราบรามชาวคริสต์อย่างโหดร้าย เช่นเดียวกัน (หากเรื่องเล่าใน “อโศกาวทาน” เป็นจริง) ธรรมชาราอย่างอโศกมหาราชก็ทำสิ่งชั่วร้ายด้วยการสั่งฆ่าชาวอาชีวกร่วม 80,000 คน พร้อมกับเผาหมู่บ้านพวกเขาทั้งหมด ด้วยความผิดฐาน “หมิ่นศาสนา” เพียงเพราะมีอาชีวกแค่คนเดียววาดภาพพุทธะก้มกราบศาสดาของพวกเขา
มิลล์จึงเห็นว่า ศาสนา ศีลธรรม ประเพณีเป็นเรื่องของความเชื่อ ความพึงพอใจหรือความชอบใจของบุคคลหรือกลุ่มคนในสังคมต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่ามันยุติธรรมสำหรับทุกคนในฐานะคนเท่ากัน ศาสนา ศีลธรรม ประเพณีจึงใช้เป็น “กฎทั่วไป” ในการบังคับคนไม่ได้ อำนาจรัฐในอดีตที่ตั้งอยู่บนฐานของศาสนา ศีลธรรม ประเพณีตามความเชื่อของคนส่วนใหญ่มักเป็นอำนาจที่ขัดแย้งกับเสรีภาพ และจึงเป็นอำนาจที่หลีกเลี่ยงความเป็นทรราชไม่ได้
ต่อเมื่อใช้เสรีภาพเป็นกฎทั่วไปหรือเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ คือรัฐจะใช้อำนาจแทรกแซงขัดขวางเสรีภาพในการกระทำหรือการใช้ชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคลไม่ได้ และจะขัดขวางเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การแสดงออกในทางสังคมและการเมืองไม่ได้เท่านั้น การใช้อำนาจรัฐจึงจะไม่กลายเป็นทรราช
ดังนั้นเวลาเราพูดว่า “เสรีภาพและประชาธิปไตย” จึงหมายความว่า อำนาจของเสียงข้างมากต้องถูกจำกัดด้วยหลักเสรีภาพเสมอ คืออำนาจเสียงข้างมากจะละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อยไม่ได้ หรือกล่าวรวมๆ คือละเมิดเสรีภาพในการใช้ชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคลและเสรีภาพทางสังคมและการเมืองไม่ได้
หากเสียงข้างมากละเมิดหลักเสรีภาพ เสียงข้างมากย่อมกลายเป็นทรราชได้ และทรราชเสียงข้างมากอาจใช้อำนาจผ่านกฎหมายก็ได้ เช่นเอาหลักศาสนาของคนส่วนใหญ่ในรัฐมาออกกฎหมายบังคับคนทุกคน หรือใช้อำนาจผ่านกระแสสังคมที่อ้างศาสนา ศีลธรรม ประเพณีละเมิดเสรีภาพของปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่นอินเดียมีกฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของพลเมือง แต่ความเชื่อเรื่องวรรณะตามหลักศาสนาฮินดูยังถูกใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมและวัฒนธรรมในการกีดกันสิทธิของคนจัณฑาล ดังที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อใช้หลักเสรีภาพมาเป็นกรอบจำกัดอำนาจรัฐ จึงจำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ เพื่อตัดปัญหาการเอาหลักศาสนามาเป็นหลักการปกครองหรือออกฎหมายบังคับคน ขณะเดียวกันรัฐก็ต้องคุ้มครองปัจเจกบุคคลจากการถูกกระแสสังคมอ้างศาสนา ศีลธรรม ประเพณีละเมิดเสรีภาพของเขาด้วย จะเป็นเช่นนี้ได้รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา ไม่อุปถัมภ์ส่งเสริมศาสนาใดๆ รัฐเพียงรักษาเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาและการไม่นับถือศาสนาเท่านั้น
ส่วน “เสรีภาพทางศาสนา” ไม่ได้กินความเพียงว่า แต่ละคนเลือกนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ เปลี่ยนศาสนาได้ ไม่นับถือศาสนาก็ได้เท่านั้น แต่ยังกินความครอบคลุมถึง “สิทธิในการปกครองตนเองทางศีลธรรม” ของปัจเจกบุคคลด้วย ซึ่งหมายถึงสิทธิในการเลือกศีลธรรมและการมีชีวิตที่ดีตามที่ตนเองพึงพอใจของแต่ละคน รัฐจึงบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนไม่ได้ และเสรีภาพทางศาสนายังคาบเกี่ยวกับ เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกด้วย เสรีภาพทางศาสนาจึงหมายถึงเสรีภาพในการวิจารณ์ศาสนาด้วย จึงมีกฎหมายหมิ่นศาสนาไม่ได้ หรือรัฐจะอ้างศีลธรรมอันดีทางศาสนาเป็นเหตุผลจำกัดเสรีภาพไม่ได้ หากการใช้เสรีภาพนั้นไม่เป็นการทำอันตรายแก่ผู้อื่น
สังคมไทยไม่ได้แยกศาสนาจากรัฐ และรัฐก็อุปถัมภ์ศาสนาพร้อมกับบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมศาสนาในโรงเรียน สังคมไทยจึงไม่มีเสรีภาพทางศาสนาอย่างแท้จริง เพราะการบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนของรัฐก็คือการทำให้ศาสนามีอำนาจบังคับคน อันเป็นการไม่เคารพสิทธิปกครองตนเองทางศีลธรรมของปัจเจกบุคคล
แน่นอนว่า การบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนต่างจากการทำให้ศาสนามีอำนาจบังคับคนอย่างกฎหมายชารีอะฮ์ที่อ้างการผิดหลักศาสนาในการลงโทษคนรักร่วมเพศ และคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธอาจไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับ หรือแม้จะเห็นว่าเป็นการบังคับเรียนก็เชื่อว่าเป็นการบังคับเรียนสิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะถ้าผู้เรียนนำหลักคำสอนศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็จะเกิดประโยชน์ต่อตัวเขาเอง และเขาก็ย่อมเป็นคนดีของสังคม
แต่ความเป็นจริงคือ ภายใต้สภาวะที่มีการบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมศาสนาในโรงเรียนดังกล่าว ส่งผลให้คนไทยยึดติดกับศีลธรรมระบบเดียว คือศีลธรรมแบบพุทธศาสนาซึ่งเป็นศีลธรรมส่วนบุคคลที่เน้นการเป็นคนดี และเชื่อว่าเมื่อเป็นคนดีมีศีลธรรมแล้วจะกระทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แต่ศีลธรรมบนกรอบคิด “คนดี” เช่นนี้กลายเป็น “ระบบศีลธรรมหลัก” ของรัฐไทยที่มีโครงสร้างชนชั้นชัดเจน
กล่าวคือ ระบบศีลธรรมดังกล่าวถือว่า ผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมย่อมทำการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมแก่ประชาชน โดยไม่จำเป็นว่าประชาชนต้องมีเสรีภาพตรวจสอบผู้ปกครอง และประชาชนที่เป็นคนดีมีคุณธรรมจะต้องจงรักภักดีเชื่อฟังผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมไม่เพียงแต่เป็นผู้ปกครองธรรมดา หากเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติด้วย
ภายใต้ระบบศีลธรรมดังกล่าวถือว่า “เสรีภาพต้องมีศีลธรรมกำกับ” เพราะถ้าปล่อยให้มีเสรีภาพตามกิเลส ตามอำเภอใจ ปัจเจกบุคคลก็จะเสียคน และสังคมก็จะวุ่นวาย แต่ศีลธรรมที่ใช้กำกับเสรีภาพคือศีลธรรมบนดุลพินิจของชนชั้นปกครอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ชนชั้นปกครองที่เป็นหลักของระบบศีลธรรมของสังคมจะกำหนดว่าสังคมไทยควรมีเสรีภาพทางการเมือง ทางศาสนาได้แค่ไหน อย่างไร ตราบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงแห่งสถานะและอำนาจของชนชั้นปกครองเอง
ถ้ามองแบบมิลล์ ก็หมายความว่า “ศีลธรรมที่ถูกกำหนดให้มาโดยชนชั้นไหน ก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น” เหมือนกับกฎหมายหรือกติกาการปกครองที่บัญญัติโดยชนชั้นไหนก็เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น
เมื่อไม่แยกศาสนาจากรัฐก็ไม่มีเสรีภาพและประชาธิปไตย และทำให้ศีลธรรมผิดเพี้ยน เพราะศีลธรรมส่วนบุคคลแบบพุทธแทนที่จะเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะเลือกเรียนรู้เอง กลับถูกทำให้เป็น “กฎทั่วไป” ที่มีอำนาจบังคับคน คือบังคับปลูกฝัง และยังใช้เป็นกฎทั่วไปสำหรับกำกับเสรีภาพและประชาธิปไตยอีกที
ดังนั้น เมื่อชนชั้นที่มีอำนาจกำหนดหลักศีลธรรมและบรรดาผู้อ้างศีลธรรมทั้งหลายเห็นว่า ในสถานการณ์แบบนั้นแบบนี้ควรยุติการมีเสรีภาพและประชาธิปไตยไว้ก่อน ให้คนดีมีคุณธรรมมาปกครองแก้ปัญหาของชาติก่อน ก็ทำการยุติเสรีภาพและประชาธิปไตยในนามศีลธรรม ความดี คนดีได้เสมอ
แสดงความคิดเห็น