ภาพประกอบที่ 1
Posted: 17 Jul 2018 03:20 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
จักรพล ผลละออ
ข้อถกเถียงเรื่องหนี้สินของข้าราชการครูกลายมาเป็นประเด็นอีกรอบ เมื่อมีกรณี “ปฏิญญามหาสารคาม” ที่ข้าราชการครูร่วมร้อยคนประกาศขอพักชำระหนี้เพื่อรอการเจรจาระหว่างลูกหนี้ (ข้าราชการครู) กับเจ้าหนี้ (ธนาคารออมสิน และ กองทุน ช.พ.ค.- ผู้ให้กู้/สกสค. – ผู้ค้ำประกัน)
สารภาพตามตรงว่าผมเห็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ของบรรดา “ปัญญาชน facebook” แล้วค่อนข้างอ่อนใจ คือแทบจะไม่เห็นใครเลยที่วิจารณ์ในลักษณะที่อ่านเนื้อหาข่าวแล้วจริงๆ คืออ่านกันแต่หัวข้อข่าวแล้วสรุปเอาเอง ก่อนจะมาเขียนวิพากษ์วิจารณ์กัน พูดตามตรงข้อวิพากษ์วิจารณ์ “พลาด” ตั้งแต่เรื่องข้อเรียกร้องของกลุ่มปฏิญญามหาสารคามแล้ว ปัญญาชนพวกนี้ไปตีขลุมเอาเองจากการพาดหัวข่าวว่าข้าราชการครูจะไม่ยอมจ่ายหนี้ แต่ถ้าได้อ่านเนื้อหาข่าวจะเห็นว่าข้อเรียกร้องของเขาไม่ใช้การยกเลิกหนี้สิน แต่ขอให้เปิดการเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และระบบการจ่ายหนี้ ลองดูจากคำสัมภาษณ์ที่ผมยกมาดังนี้
“นายธีร์สุริยนต์ สุวรรณวงศ์ เลขาธิการสมาคมช่วยเพื่อนครู เปิดเผยว่า เหตุผลที่ต้องการให้รัฐบาลพักหนี้ให้กับครูจำนวน 450,000 ราย เนื่องจากพบว่ามาตราฐานการชำระ การเรียกเก็บหนี้ รวมถึงดอกเบี้ยไม่คงที่ หรือมีการคิดดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามกฏหมาย มีการทุจริตแอบแฝงธุรกิจประกัน ทำให้ระบบการกู้เงินของข้าราชการครูไม่มีมาตราฐานที่ชัดเจน จึงอยากให้รัฐบาลพูดคุยกับธนาคาร ทบทวนแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้จบ เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระต่อครูรายอื่นๆอีกทั้ง อยากให้มีการทบทวนปรับมาตราฐานระบบการส่งเงินของสำนักงานคณะกรรมการและสวัสดิการ สวัสดิภาพ ข้าราชการครู และบุคลรากรทางการศึกษา หรือ สกสค. เพราะได้ทำการหักเงินทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่นำส่งล่าช้า ทำให้ถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับเพิ่ม ส่วนการหยุดจ่ายเงิน เพื่อชำระหนี้ชั่วคราว สมาคมฯ และสมาชิกได้ประสานผ่านตัวแทนเครือข่ายว่า จะหยุดชำระเงินชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 61 เป็นต้นไป และจะขอให้ทำการพักหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป เพื่อให้รัฐบาลและธนาคาร ทบทวนแก้ไขปรับปรุงระบบโครงสร้างให้มีความชัดเจน” [จากรายงานข่าวออนไลน์ของสำนักข่าวอมรินทร์ทีวี]
และอีกครั้งตามนี้
“สำหรับกรณีที่กระแสสังคมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ กรณีการไม่ชำระหนี้ของครู ทำนองว่าเป็นการสร้างหนี้ แล้วมีเจตนาไม่ชำระนั้น นายธีร์สุริยนต์ ระบุว่า สังคมกำลังเข้าใจผิดว่า ครูจะเบี้ยวหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ดูเพียงคลิปสั้น ๆ ที่ประกาศออกมา โดยใจความทั้งหมดไม่ใช่เป็นการเบี้ยวหนี้ แต่ต้องการหยุดจ่าย เพื่อให้มีการเจรจาก่อน ซึ่งจะเริ่มชำระได้เมื่อใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการพักหนี้ และรัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อใด” [จากรายงานข่าวออนไลน์ของสำนักข่าวอมรินทร์ทีวี]
จะเห็นว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มข้าราชการครูไม่ใช่การประกาศว่าจะ “ไม่จ่ายหนี้” แต่เป็นการขอ “งดชำระหนี้ชั่วคราว” เพื่อเปิดการเจรจา นี่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของพวกปัญญาชน Facebook ที่ชอบแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์นู่นนี่นั่นกัน แต่ไม่ค่อยทำข้อมูลหรืออ่านหนังสือกันสักเท่าไหร่
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นปัญหาเรื่องหนี้สินครูไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิดแต่เป็นปัญหาคาราคาซังมานาน ที่ทำให้ตัวเลขจำนวนหนี้สินของข้าราชการครูมีจำนวนมูลค่ามากกว่า 1.2 ล้านล้าน แบ่งเป็นหนี้ที่กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและแหล่งกู้อื่น 7 แสนกว่าล้านบาท และหนี้ที่กู้กับธนาคารออมสินผ่านทางโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา [จากรายงานข่าวออนไลน์ของโพสต์ทูเดย์]
ซึ่งในบทความหรือรายงานข่าวต่างๆ ก็เสนอในแนวทางเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องหนี้สินนี้เป็นเรื่องวินัยการเงินของข้าราชการครู ปมปัญหาที่น่าสนใจคือทำไมจึงมีแต่ข้าราชการครูที่มีปัญหาหนี้สินในระบบสูง หรืออย่างน้อยคือสูงที่สุดในหมู่ข้าราชการ? ปัญหาในทางหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือในหลายสถานศึกษาข้าราชการครูต้องเป็นผู้ออกเงินส่วนตัวจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการสอนเอง อันเนื่องมาจากความขาดแคลนงบประมาณส่วนกลางในการสนับสนุน เอกสารประกอบการสอนหลายอย่างมีเนื้อหาที่ไม่ถูกบรรจุเอาไว้ในตำราเรียน หรือตำราเรียนไม่ได้อัพเดทเนื้อหา ทำให้ครูต้องเป็นคนจัดหาเอกสารประกอบการสอนเพิ่มเติม ปัญหานี้พบได้ในโรงเรียนต่างจังหวัดหรือโรงเรียนขนาดเล็ก สมัยผมเรียนมัธยมก็มีเรื่องแบบนี้ที่ครูผู้สอนต้องทำเอกสารมาแจกเสริมให้นักเรียนอ่านเพิ่มเติม – นี่คือปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา – โอเค พวกเสรีนิยมใหม่อาจจะบอกว่าถ้าอย่างงั้นก็ควรให้เด็กจ่ายเงินค่าเอกสารเพิ่มเติม หรือพวกอนุรักษ์นิยมอาจจะซาบซึ้งไปกับความเสียสละของครู แต่ในมุมมองแบบมาร์กซิสต์แล้วมันไม่ใช่หน้าที่ของทั้งเด็กและครูที่ต้องมาจัดการเรื่องพวกนี้ แต่เป็นหน้าที่รัฐที่จะต้องจัดการรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดตรงนี้ หรือก็คือต้องทำให้การศึกษาเป็นรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบ
ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูยังมีความซับซ้อนอย่างอื่นอีก อย่างเช่น ข้าราขการครูบางคนเรียนจบมหาวิทยาลัยมาด้วยการกู้เงินจาก กยศ. หรือ กรอ. ที่ทำให้เมื่อเข้าสู่การบรรจุเป็นข้าราชการแล้วก็จะถูกหักเงินเดือนในรายเดือนไป ยังไม่ต้องไปแตะถึงเรื่องค่าครองชีพ เฉพาะแค่เรื่องเงินเดือนที่ถูกหักไปก็ทำให้เกิดปัญหาแล้ว มันเป็นการชะลอการสะสมทุนเพื่อต่อยอดหรือนำไปบริโภคสินที่ขั้นพื้นฐานที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเช่น ยานพาหนะ หรือ โทรศัพท์มือถือ หรือที่พักอาศัย การจะซื้อสินค้าเหล่านี้ข้าราชการ (เช่นเดียวกัน หมายรวมถึงกลุ่มคนอื่นๆในสังคมด้วย) จึงจำเป็นต้องใช้การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆเพื่อนำเงินไปซื้อสินค้าเหล่านั้น ในฐานะที่มันเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สภาวะแบบดังกล่าวนั้นทำให้เกิดปัญหางูกินหางในระบบหนี้ที่ไม่จบไม่สิ้น การกู้กองทุนนั้นตามระเบียบทำให้ข้าราชการสามารถถูกหักเงินเดือนได้สูงจนถึงเหลือเงินเดือนเพียงร้อยละ 10 ของเงินเดือนสุทธิ หรือเหลือเพียงร้อยละ 30 ของเงินเดือนสุทธิ (กรุณาดูภาพประกอบที่ 2) คำถามคือถ้าคำนวณเอาตามฐานเงินเดือนของข้าราชการครู ที่ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยซึ่งจะถูกหักเงินเดือนเหลือร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนแล้ว ภายใต้ค่าตอบแทนรายเดือนที่ 15,000 เศษ หักแล้วเหลือ 4,500 บาทเศษต่อเดือนนี่พอกินหรอ? (กรุณาดูภาพประกอบที่ 3)
อันที่จริงการอภิปรายมาทั้งหมดแต่ต้นนี้ คงต้องขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้กำลังประกาศว่าผมสนับสนุนการยกเลิกหนี้หรือการหนีหนี้ของข้าราชการครู (ตามที่กล่าวไปข้างต้น กลุ่มปฏิญญามหาสารคามก็ไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกหนี้เพียงแต่ของดจ่ายชั่วคราวเพื่อเรียกร้องการเจรจา) และขณะเดียวกันก็ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบหนี้สินหรือเรื่องวินัยการเงินหรือเรื่องความพอเพียง อันที่จริงเรื่องนี้ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่สร้าง “ฉันทามติ” ให้สังคมได้ดี เพราะดูเหมือนทั้งฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่างก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกันต่อเรื่องหนี้สินของข้าราชการครู (“ทำให้คนไทยหันมาสามัคคีกันได้” – ตามคำพูดติดตลกของพวกปัญญาชน)
น่าเสียดายที่ในห้วงขณะที่ปัญญาชนทั้งอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมในไทยต่างก็ยกเอาคุณธรรมศีลธรรมเรื่องการจ่ายหนี้ดาหน้าออกมาประณามข้าราชการครู (รวมถึงพวกคนจน คนยากไร้ ที่พวกเขามักจะหยิบยกมาด่าเป็นครั้งคราวว่าเป็นพวกไม่มีวินัยทางการเงินและไม่มีความพอเพียง) พวกเขากลับไม่สามารถตระหนักถึงรูปแบบสัจจะนิยมของทุนที่พวกเขากำลังผลิตซ้ำอยู่ได้
“หนี้สิน” ภายใต้ระบบทุนนิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อขยายกำลังการบริโภคของคน มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากความฟุ่มเฟือยของมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว หากแต่เกิดจากความต้องการขายสินค้าเพื่อแสวงหากำไรจากพวกนายทุนที่ทำการผลิตสินค้าออกมาจนเกิดสภาวะการผลิตจนล้นเกิน ขณะเดียวกันก็ต้องตอกย้ำว่าการยกระดับทางชนชั้นของมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากภายใต้โครงสร้างของระบบทุนนิยม กระทั่งในหมู่ข้าราชการครูเองการจะไปศึกษาต่อก็จำเป็นจะต้องอาศัยการกู้เงินเพื่อการศึกษา ท้ายที่สุดแล้ว “หนี้สิน” นั้นได้กลายเป็นรูปแบบที่สร้างแรงงานทาสสมัยใหม่ขึ้นมา มันบีบบังคับให้เราต้องทำงานเพื่อชดใช้ต่อหนี้ในรูปแบบของการเงิน ขณะที่ทาสในสมัยโบราณนั้นทำงานเพื่อชดใช้หนี้ในรูปแบบของความเชื่อ
อันที่จริงในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีขบวนการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในแคนาดาที่เรียกร้องให้รัฐยกเลิกหนี้สินของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาทั้งหมดทิ้ง และให้เปลี่ยนไปใช้ระบบรัฐสวัสดิการทางการศึกษาเต็มรูปแบบแทน การเคลื่อนไหวนี้มีผู้เข้าร่วมราว 20,000- 40,000 คน
น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวหรือข้อเรียกร้องแบบดังกล่าวคงจะเกิดขึ้นยากในไทย ที่เป็นระบบทุนผูกขาดอันมีอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมร่วมกันปกป้องทุน.
ปล.หากคุณครูโรงเรียนเก่าที่เคยสอนผมบังเอิญมาเห็นกระทู้หรือข้อเขียนนี้ คงต้องสารภาพตามตรงว่าผมขออภัยหากทำให้ครูเสียใจที่สอนผมแล้วผมโตมาเป็นพวกฝ่ายซ้าย-มาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ แต่ไม่ว่าครูจะมองว่าตนเองเป็นแรงงานหรือไม่ก็ตาม ในมุมมองของผมแล้วครูก็คือกลุ่มผู้ใช้แรงงานสมองที่ถูกขูดรีดและมีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ที่สูงไม่ต่างจากผู้ใช้แรงงานกลุ่มอี่นๆเลย
.
อ้างอิง
แก๊งครูโต้ชักดาบหนี้ ช.พ.ค. งดจ่ายไม่เรียกเบี้ยว แค่รอชำระถ้ามาเจรจา (คลิป), อมรินทร์ทีวี (ออนไลน์), (7 กรกฎาคม 2561) : http://www.amarintv.com/news-update/news-10623/227593/
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน, ธเนศน์ นุ่นมัน, โพสต์ทูเดย์ (ออนไลน์), (27 พฤศจิกายน 2558) : https://www.posttoday.com/politic/report/401921
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การหักเงินเดือนเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการเพื่อชําระหนี้ เงินกู้ ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 : http://www.swutcc.co.th/…/rules®ulations/moe_reg_2551.pdf
ตารางบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 : http://www.kroobannok.com/75120
เกี่ยวกับผู้เขียน: จักรพล ผลละออ เป็นสมาชิกขององค์กร International Marxist Tendency ประจำประเทศไทย
[full-post]
จักรพล ผลละออ
ข้อถกเถียงเรื่องหนี้สินของข้าราชการครูกลายมาเป็นประเด็นอีกรอบ เมื่อมีกรณี “ปฏิญญามหาสารคาม” ที่ข้าราชการครูร่วมร้อยคนประกาศขอพักชำระหนี้เพื่อรอการเจรจาระหว่างลูกหนี้ (ข้าราชการครู) กับเจ้าหนี้ (ธนาคารออมสิน และ กองทุน ช.พ.ค.- ผู้ให้กู้/สกสค. – ผู้ค้ำประกัน)
สารภาพตามตรงว่าผมเห็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ของบรรดา “ปัญญาชน facebook” แล้วค่อนข้างอ่อนใจ คือแทบจะไม่เห็นใครเลยที่วิจารณ์ในลักษณะที่อ่านเนื้อหาข่าวแล้วจริงๆ คืออ่านกันแต่หัวข้อข่าวแล้วสรุปเอาเอง ก่อนจะมาเขียนวิพากษ์วิจารณ์กัน พูดตามตรงข้อวิพากษ์วิจารณ์ “พลาด” ตั้งแต่เรื่องข้อเรียกร้องของกลุ่มปฏิญญามหาสารคามแล้ว ปัญญาชนพวกนี้ไปตีขลุมเอาเองจากการพาดหัวข่าวว่าข้าราชการครูจะไม่ยอมจ่ายหนี้ แต่ถ้าได้อ่านเนื้อหาข่าวจะเห็นว่าข้อเรียกร้องของเขาไม่ใช้การยกเลิกหนี้สิน แต่ขอให้เปิดการเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และระบบการจ่ายหนี้ ลองดูจากคำสัมภาษณ์ที่ผมยกมาดังนี้
“นายธีร์สุริยนต์ สุวรรณวงศ์ เลขาธิการสมาคมช่วยเพื่อนครู เปิดเผยว่า เหตุผลที่ต้องการให้รัฐบาลพักหนี้ให้กับครูจำนวน 450,000 ราย เนื่องจากพบว่ามาตราฐานการชำระ การเรียกเก็บหนี้ รวมถึงดอกเบี้ยไม่คงที่ หรือมีการคิดดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามกฏหมาย มีการทุจริตแอบแฝงธุรกิจประกัน ทำให้ระบบการกู้เงินของข้าราชการครูไม่มีมาตราฐานที่ชัดเจน จึงอยากให้รัฐบาลพูดคุยกับธนาคาร ทบทวนแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้จบ เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระต่อครูรายอื่นๆอีกทั้ง อยากให้มีการทบทวนปรับมาตราฐานระบบการส่งเงินของสำนักงานคณะกรรมการและสวัสดิการ สวัสดิภาพ ข้าราชการครู และบุคลรากรทางการศึกษา หรือ สกสค. เพราะได้ทำการหักเงินทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่นำส่งล่าช้า ทำให้ถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับเพิ่ม ส่วนการหยุดจ่ายเงิน เพื่อชำระหนี้ชั่วคราว สมาคมฯ และสมาชิกได้ประสานผ่านตัวแทนเครือข่ายว่า จะหยุดชำระเงินชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 61 เป็นต้นไป และจะขอให้ทำการพักหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป เพื่อให้รัฐบาลและธนาคาร ทบทวนแก้ไขปรับปรุงระบบโครงสร้างให้มีความชัดเจน” [จากรายงานข่าวออนไลน์ของสำนักข่าวอมรินทร์ทีวี]
และอีกครั้งตามนี้
“สำหรับกรณีที่กระแสสังคมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ กรณีการไม่ชำระหนี้ของครู ทำนองว่าเป็นการสร้างหนี้ แล้วมีเจตนาไม่ชำระนั้น นายธีร์สุริยนต์ ระบุว่า สังคมกำลังเข้าใจผิดว่า ครูจะเบี้ยวหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ดูเพียงคลิปสั้น ๆ ที่ประกาศออกมา โดยใจความทั้งหมดไม่ใช่เป็นการเบี้ยวหนี้ แต่ต้องการหยุดจ่าย เพื่อให้มีการเจรจาก่อน ซึ่งจะเริ่มชำระได้เมื่อใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการพักหนี้ และรัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อใด” [จากรายงานข่าวออนไลน์ของสำนักข่าวอมรินทร์ทีวี]
จะเห็นว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มข้าราชการครูไม่ใช่การประกาศว่าจะ “ไม่จ่ายหนี้” แต่เป็นการขอ “งดชำระหนี้ชั่วคราว” เพื่อเปิดการเจรจา นี่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของพวกปัญญาชน Facebook ที่ชอบแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์นู่นนี่นั่นกัน แต่ไม่ค่อยทำข้อมูลหรืออ่านหนังสือกันสักเท่าไหร่
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นปัญหาเรื่องหนี้สินครูไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิดแต่เป็นปัญหาคาราคาซังมานาน ที่ทำให้ตัวเลขจำนวนหนี้สินของข้าราชการครูมีจำนวนมูลค่ามากกว่า 1.2 ล้านล้าน แบ่งเป็นหนี้ที่กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและแหล่งกู้อื่น 7 แสนกว่าล้านบาท และหนี้ที่กู้กับธนาคารออมสินผ่านทางโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา [จากรายงานข่าวออนไลน์ของโพสต์ทูเดย์]
ซึ่งในบทความหรือรายงานข่าวต่างๆ ก็เสนอในแนวทางเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องหนี้สินนี้เป็นเรื่องวินัยการเงินของข้าราชการครู ปมปัญหาที่น่าสนใจคือทำไมจึงมีแต่ข้าราชการครูที่มีปัญหาหนี้สินในระบบสูง หรืออย่างน้อยคือสูงที่สุดในหมู่ข้าราชการ? ปัญหาในทางหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือในหลายสถานศึกษาข้าราชการครูต้องเป็นผู้ออกเงินส่วนตัวจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการสอนเอง อันเนื่องมาจากความขาดแคลนงบประมาณส่วนกลางในการสนับสนุน เอกสารประกอบการสอนหลายอย่างมีเนื้อหาที่ไม่ถูกบรรจุเอาไว้ในตำราเรียน หรือตำราเรียนไม่ได้อัพเดทเนื้อหา ทำให้ครูต้องเป็นคนจัดหาเอกสารประกอบการสอนเพิ่มเติม ปัญหานี้พบได้ในโรงเรียนต่างจังหวัดหรือโรงเรียนขนาดเล็ก สมัยผมเรียนมัธยมก็มีเรื่องแบบนี้ที่ครูผู้สอนต้องทำเอกสารมาแจกเสริมให้นักเรียนอ่านเพิ่มเติม – นี่คือปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา – โอเค พวกเสรีนิยมใหม่อาจจะบอกว่าถ้าอย่างงั้นก็ควรให้เด็กจ่ายเงินค่าเอกสารเพิ่มเติม หรือพวกอนุรักษ์นิยมอาจจะซาบซึ้งไปกับความเสียสละของครู แต่ในมุมมองแบบมาร์กซิสต์แล้วมันไม่ใช่หน้าที่ของทั้งเด็กและครูที่ต้องมาจัดการเรื่องพวกนี้ แต่เป็นหน้าที่รัฐที่จะต้องจัดการรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดตรงนี้ หรือก็คือต้องทำให้การศึกษาเป็นรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบ
ภาพประกอบที่ 2
ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูยังมีความซับซ้อนอย่างอื่นอีก อย่างเช่น ข้าราขการครูบางคนเรียนจบมหาวิทยาลัยมาด้วยการกู้เงินจาก กยศ. หรือ กรอ. ที่ทำให้เมื่อเข้าสู่การบรรจุเป็นข้าราชการแล้วก็จะถูกหักเงินเดือนในรายเดือนไป ยังไม่ต้องไปแตะถึงเรื่องค่าครองชีพ เฉพาะแค่เรื่องเงินเดือนที่ถูกหักไปก็ทำให้เกิดปัญหาแล้ว มันเป็นการชะลอการสะสมทุนเพื่อต่อยอดหรือนำไปบริโภคสินที่ขั้นพื้นฐานที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเช่น ยานพาหนะ หรือ โทรศัพท์มือถือ หรือที่พักอาศัย การจะซื้อสินค้าเหล่านี้ข้าราชการ (เช่นเดียวกัน หมายรวมถึงกลุ่มคนอื่นๆในสังคมด้วย) จึงจำเป็นต้องใช้การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆเพื่อนำเงินไปซื้อสินค้าเหล่านั้น ในฐานะที่มันเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สภาวะแบบดังกล่าวนั้นทำให้เกิดปัญหางูกินหางในระบบหนี้ที่ไม่จบไม่สิ้น การกู้กองทุนนั้นตามระเบียบทำให้ข้าราชการสามารถถูกหักเงินเดือนได้สูงจนถึงเหลือเงินเดือนเพียงร้อยละ 10 ของเงินเดือนสุทธิ หรือเหลือเพียงร้อยละ 30 ของเงินเดือนสุทธิ (กรุณาดูภาพประกอบที่ 2) คำถามคือถ้าคำนวณเอาตามฐานเงินเดือนของข้าราชการครู ที่ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยซึ่งจะถูกหักเงินเดือนเหลือร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนแล้ว ภายใต้ค่าตอบแทนรายเดือนที่ 15,000 เศษ หักแล้วเหลือ 4,500 บาทเศษต่อเดือนนี่พอกินหรอ? (กรุณาดูภาพประกอบที่ 3)
ภาพประกอบที่ 3
อันที่จริงการอภิปรายมาทั้งหมดแต่ต้นนี้ คงต้องขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้กำลังประกาศว่าผมสนับสนุนการยกเลิกหนี้หรือการหนีหนี้ของข้าราชการครู (ตามที่กล่าวไปข้างต้น กลุ่มปฏิญญามหาสารคามก็ไม่ได้เรียกร้องให้ยกเลิกหนี้เพียงแต่ของดจ่ายชั่วคราวเพื่อเรียกร้องการเจรจา) และขณะเดียวกันก็ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบหนี้สินหรือเรื่องวินัยการเงินหรือเรื่องความพอเพียง อันที่จริงเรื่องนี้ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่สร้าง “ฉันทามติ” ให้สังคมได้ดี เพราะดูเหมือนทั้งฝ่ายเสรีนิยม และฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่างก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกันต่อเรื่องหนี้สินของข้าราชการครู (“ทำให้คนไทยหันมาสามัคคีกันได้” – ตามคำพูดติดตลกของพวกปัญญาชน)
น่าเสียดายที่ในห้วงขณะที่ปัญญาชนทั้งอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมในไทยต่างก็ยกเอาคุณธรรมศีลธรรมเรื่องการจ่ายหนี้ดาหน้าออกมาประณามข้าราชการครู (รวมถึงพวกคนจน คนยากไร้ ที่พวกเขามักจะหยิบยกมาด่าเป็นครั้งคราวว่าเป็นพวกไม่มีวินัยทางการเงินและไม่มีความพอเพียง) พวกเขากลับไม่สามารถตระหนักถึงรูปแบบสัจจะนิยมของทุนที่พวกเขากำลังผลิตซ้ำอยู่ได้
“หนี้สิน” ภายใต้ระบบทุนนิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อขยายกำลังการบริโภคของคน มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากความฟุ่มเฟือยของมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว หากแต่เกิดจากความต้องการขายสินค้าเพื่อแสวงหากำไรจากพวกนายทุนที่ทำการผลิตสินค้าออกมาจนเกิดสภาวะการผลิตจนล้นเกิน ขณะเดียวกันก็ต้องตอกย้ำว่าการยกระดับทางชนชั้นของมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากภายใต้โครงสร้างของระบบทุนนิยม กระทั่งในหมู่ข้าราชการครูเองการจะไปศึกษาต่อก็จำเป็นจะต้องอาศัยการกู้เงินเพื่อการศึกษา ท้ายที่สุดแล้ว “หนี้สิน” นั้นได้กลายเป็นรูปแบบที่สร้างแรงงานทาสสมัยใหม่ขึ้นมา มันบีบบังคับให้เราต้องทำงานเพื่อชดใช้ต่อหนี้ในรูปแบบของการเงิน ขณะที่ทาสในสมัยโบราณนั้นทำงานเพื่อชดใช้หนี้ในรูปแบบของความเชื่อ
อันที่จริงในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีขบวนการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในแคนาดาที่เรียกร้องให้รัฐยกเลิกหนี้สินของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาทั้งหมดทิ้ง และให้เปลี่ยนไปใช้ระบบรัฐสวัสดิการทางการศึกษาเต็มรูปแบบแทน การเคลื่อนไหวนี้มีผู้เข้าร่วมราว 20,000- 40,000 คน
น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวหรือข้อเรียกร้องแบบดังกล่าวคงจะเกิดขึ้นยากในไทย ที่เป็นระบบทุนผูกขาดอันมีอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมร่วมกันปกป้องทุน.
ปล.หากคุณครูโรงเรียนเก่าที่เคยสอนผมบังเอิญมาเห็นกระทู้หรือข้อเขียนนี้ คงต้องสารภาพตามตรงว่าผมขออภัยหากทำให้ครูเสียใจที่สอนผมแล้วผมโตมาเป็นพวกฝ่ายซ้าย-มาร์กซิสต์-คอมมิวนิสต์ แต่ไม่ว่าครูจะมองว่าตนเองเป็นแรงงานหรือไม่ก็ตาม ในมุมมองของผมแล้วครูก็คือกลุ่มผู้ใช้แรงงานสมองที่ถูกขูดรีดและมีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ที่สูงไม่ต่างจากผู้ใช้แรงงานกลุ่มอี่นๆเลย
.
อ้างอิง
แก๊งครูโต้ชักดาบหนี้ ช.พ.ค. งดจ่ายไม่เรียกเบี้ยว แค่รอชำระถ้ามาเจรจา (คลิป), อมรินทร์ทีวี (ออนไลน์), (7 กรกฎาคม 2561) : http://www.amarintv.com/news-update/news-10623/227593/
อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน, ธเนศน์ นุ่นมัน, โพสต์ทูเดย์ (ออนไลน์), (27 พฤศจิกายน 2558) : https://www.posttoday.com/politic/report/401921
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การหักเงินเดือนเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการเพื่อชําระหนี้ เงินกู้ ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 : http://www.swutcc.co.th/…/rules®ulations/moe_reg_2551.pdf
ตารางบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 : http://www.kroobannok.com/75120
เกี่ยวกับผู้เขียน: จักรพล ผลละออ เป็นสมาชิกขององค์กร International Marxist Tendency ประจำประเทศไทย
แสดงความคิดเห็น