Posted: 19 Sep 2018 09:09 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Wed, 2018-09-19 23:09
15 กันยายน 2561 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการสัมมนาวิชาการ 200 ปีชาตกาล คาร์ล มาร์กซ์ วิทยากรประกอบด้วย รศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ดร.ปวงชน อุนจะนำ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเศวร, รศ.สมชัย ภัทรธนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ดร.ธิกานต์ ศรีนารา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ.ดร.Katsuyuki Takahashi College of ASEAN Community Studies มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดยช่วงเช้า เริ่มต้นด้วยการนำเสนอโดยสรวิศ ชัยนาม
สรวิศ ชัยนาม : Love as always already read
รักเดือดแดงมาแต่เดิม
ทุนนิยมนั้นเกลียดความรัก ความรักคือรูปแบบพื้นฐานของคอมมิวนิสต์...
คอมมิวนิสต์หมายถึง ความรู้สึกว่าการมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันมีความสำคัญเหนือความเห็นแก่ตัว ทุนนิยมเปลี่ยนความรักเป็นโรแมนซ์ โรแมนซ์คือ ความรักที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ทั้งสิ้น ในภาพใหญ่นี่เป็นภาพสะท้อนของสภาวะแปลกแยกอย่างสากลที่เราเห็นได้ในสังคมทุนนิยม เราแปลกแยกจากผู้อื่น เรามองผู้อื่นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ทำให้เราเติมเต็ม เป็นเครื่องมืออะไรบางอย่างเพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ของเรา
สิ่งที่จะเสนอเป็นอะไรที่นามธรรม ข้อโต้แย้งหลักก็คือ มันมีอะไรบางอย่างที่ต่อต้านทุนนิยม ต่อต้านสถานภาพเดิมใน “รักแท้” รักแท้ในระดับหนึ่งมีความเป็นคอมมิวนิสต์ รักแท้ทำให้เราเสียคน ในความหมายที่ว่ามันทำให้เราเสื่อมถอยผิดไปจากขนบประเพณี ความคาดหวังของสังคม เหมือนกับที่โสเครตีสทำให้ยุวชนนั้นเสียคน
แนวคิดนี้มาจากงานของนักปรัชญาชื่อว่า อแล็ง บาดียู (Alain Badiou) เขาเคยเสนอว่าทุนนิยมนั้นเกลียดความรัก ความรักคือรูปแบบของคอมมิวนิสต์พื้นฐาน ความรักคอมมิวนิสต์ในรูปแบบที่จำกัด ในที่นี้คอมมิวนิสต์หมายถึง สิ่งที่ทำให้มีความรู้สึกว่า การมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันมีความสำคัญเหนือความเห็นแก่ตัว มีความสำเร็จร่วมกันของคนสองคนหรือหมู่คณะเหนือผลประโยชน์ส่วนตัว
ทุนนิยมยุคปลายหรือเสรีนิยมใหม่ยุคปลายบ่มเพาะอัตวิสัยมากมาย บุคคลต้นแบบมากมาย เช่น มนุษย์เศรษฐศาสตร์ เราต้องเป็นผู้ประกอบการที่รู้จักลงทุนเพื่อตัวเอง การหลงตัวเอง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นภัย เป็นศัตรูของความรัก
ทุนนิยมเปลี่ยนความรักเป็นโรแมนซ์ โรแมนซ์คือ ความรักที่ปราศจากไขมัน ปราศจากคาเฟอีน ปราศจากน้ำตาล ความรักที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ทั้งสิ้น ในภาพใหญ่นี่เป็นภาพสะท้อนของสภาวะแปลกแยกอย่างสากลที่เราเห็นได้ในสังคมทุนนิยม เราแปลกแยกจากผู้อื่น เรามองผู้อื่นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ทำให้เราเติมเต็ม เป็นเครื่องมืออะไรบางอย่างเพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ของเรา แล้วก็ยังแปลกแยกกับตัวเราเอง เราไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่ไม่ใช่เราในตัวของเราได้ มันเหมือนกับว่าเราต้องเป็นแค่เราเท่านั้น ทุนนิยมเรียกร้องให้เราเป็นตัวของเราเองตลอดเวลา อันนี้แหละเป็นอุปสรรคที่เป็นพิษภัยต่อความรัก ขัดขวางไม่ให้เราเข้าถึงผู้อื่นได้
มาร์กซ์พยายามเสนอว่า ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานต้องเผชิญหน้ากับอำนาจของทุนในทุกๆ มิติของสังคม ต้องพยายามจัดตั้งการต่อต้านทุนในมณฑลมากมายที่จะช่วยสร้างจิตสำนึกของกรรมาชีพ เพราะทุนนิยมไม่ใช่แค่ระบอบเศรษฐกิจ อำนาจของทุนไม่ได้อยู่แค่ที่โรงงาน ที่ทำงาน แต่แทรกซึมไปทุกมิติของสังคม ในพื้นที่ที่เคยถูกมองว่าเป็นพื้นที่นอกตลาด แม้ในความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ที่เรียกว่า ความรัก หรือ มิตรภาพ ก็ตาม
สรุปข้อโต้แย้งก็คือ เราควรจะปกป้องความรัก และพยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ให้ได้ การปฏิวัติในศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่ใดก็ตามได้พยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ทั้งสิ้น เพียงแต่ในปัจจุบันฝ่ายซ้ายอาจไม่ค่อยได้ให้ความสนใจเรื่องความรักเท่าที่ควร
มันเกี่ยวกับมาร์กซ์อย่างไร
มาร์กซ์พยายามเสนอว่า ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นควรสามารถและอาจจะต้องเผชิญหน้ากับอำนาจของทุนในทุกๆ มิติของสังคม ต้องพยายามจัดตั้งการต่อต้านทุนในมณฑลมากมาย เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ มันคือการผสมผสานการสังเคราะห์การต่อสู้ในมณฑลต่างๆ ที่จะช่วยสร้างจิตสำนึก common sense บางอย่างของกรรมาชีพ
นี่เป็นเพราะทุนนิยมไม่ใช่แค่ระบอบเศรษฐกิจ ทุนนิยมคือสังคม อำนาจของทุนไม่ได้อยู่แค่ที่โรงงาน ที่ทำงาน แต่แทรกซึมไปทุกมิติของสังคม ในพื้นที่ที่เคยถูกมองว่าเป็นพื้นที่นอกตลาด เช่น การเมือง การศึกษา ศีลธรรมของสังคม และแน่นอน ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ที่เรียกว่า ความรัก หรือ มิตรภาพ ก็ตาม
ทุนนิยมเปลี่ยนสังคมให้เป็นสังคมแบบตลาด แนวคิดตรรกะของตลาดครอบไปทั่วสังคม เมื่อโยงเข้ากับความรักก็คือ ทุนนิยมพยายามจะเปลี่ยนความรักจากรูปแบบใหม่ให้ความรักไปได้ดีกับหลักการตลาด เพื่อยืนยันว่า “ตลาด” นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ เพื่อยืนยันว่าทุนนิยมสะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง
มาร์กซ์ให้ชื่อการสังเคราะห์การผสมผสานการต่อสู้มากมายเหล่านี้ว่า permanent revolution หรือการปฏิบัติถาวร และในนาม permanent revolution นั้นก็สามารถแยกมาดูส่วนหนึ่งเฉพาะได้ก็คือ ความรัก หรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
เราต้องรู้จักวิพากษ์ ทำลาย รูปแบบของความรักที่กำลังครอบงำสังคมอยู่ สิ่งที่สำคัญคือ การที่เรารู้จักต่อต้านแนวคิดที่อิงกับความเป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์ ต่อต้านการเป็นผู้ประกอบการที่ลงทุนกับตัวเราเองในทุกๆ ย่างก้าว ต่อต้านกับแนวคิดที่คิดว่าเราเป็นผู้กระทำที่วิ่งแสวงหาความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา เราไม่น่าจะนำรูปแบบนี้มาใช้ ในอาจจะทุกด้านก็ว่าได้ โดยเฉพาะด้านของความรัก เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เราหวาดกลัวที่จะ “ตกหลุมรัก” สิ่งเหล่านี้ทำให้เราแสวงหาความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน ทำให้เราวิ่งหาโรแมนซ์ ไม่ใช่ความรัก
ขบวนการปฏิบัติในศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะในรัสเซีย คิวบา ในช่วงแรกได้พยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ ได้ขบคิดสิ่งเหล่านี้ ความรักที่จะไปได้ดีกับสังคมใหม่ที่พวกเขาพยายามสร้าง ในบทความสั้นๆ ของ Michael Hart ชื่อว่า Red Love พูดถึงผู้นำของฝ่ายบอลเชวิชหลังการปฏิวัติรัสเซียที่พยายามสร้างความรักสีแดงหรือความรักรูปแบบใหม่ โดยจุดแรกที่ต้องทำคือการวิพากษ์และการทำลายรูปแบบความรักของกระฎุมพีแบบที่กำลังครอบงำสังคม นั่นคือ ตรรกะของความรักที่อิงกับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล เธอเป็นของฉัน ฉันเป็นของเธอ ความรักที่มากับแนวคิดครอบครัวที่ค่อนข้างแคบ เป็นเรื่องของสายเลือด เรื่องของเครือญาติ เป็นต้น
แน่นอน ในการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ แทบจะควบคู่กับการทำให้รัฐเสื่อมสลายไปก็คือ การพยายามทำให้ครอบครัวแบบกระฎุมพีสลายไป คงไม่มีเวลาพูดถึงตัวอย่างของความรักในโลกคอมมิวนิสต์ซึ่งพอมีอยู่และแตกต่างในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ในเยอมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงนั้นค่อนข้างแตกต่างกัน
ดังนั้น สิ่งที่ทำก็คงทำตามนักปฏิวัติรุ่นเก่านั่นคือ เราต้องรู้จักวิพากษ์ ทำลาย รูปแบบของความรักที่กำลังครอบงำสังคมอยู่ และมันก็ไม่ใช่แค่เรื่องของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล เราคงต้องเพิ่มกรอบการวิเคราะห์เข้าไป สิ่งที่สำคัญคงจะเป็นการที่เรารู้จักต่อต้านแนวคิดที่อิงกับความเป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์ ต่อต้านการเป็นผู้ประกอบการที่ลงทุนกับตัวเราเองในทุกๆ ย่างก้าว ต่อต้านกับแนวคิดที่คิดว่าเราเป็นผู้กระทำที่วิ่งแสวงหาความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา เราไม่น่าจะนำรูปแบบนี้มาใช้ในอาจจะทุกด้านก็ว่าได้ โดยเฉพาะด้านของความรัก เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เราหวาดกลัวที่จะ “ตกหลุมรัก” สิ่งเหล่านี้ทำให้เราแสวงหาความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน ทำให้เราวิ่งหาโรแมนซ์ ไม่ใช่ความรัก
วิธีการคงต้องเปลี่ยนไปตามระบบเศรษฐกิจ ยุคของเลนินเศรษฐกิจเป็นแบบหนึ่ง ยุคของเรา financialized economy ก็เป็นอีกแบบ ทุนนิยมยุคปลายส่งเสริมอัตวิสัยที่คุกคามความรัก หรือแม้กระทั่งมิตรภาพ มันทำให้เรากลัวการตกหลุมรักมากขึ้นเรื่อยๆ มองหาความรักที่ปลอดภัย ราคาถูก อแล็ง บาดียู ชี้ไปสู่โปสเตอร์ของบริษัทจัดหาคู่ในฝรั่งเศสที่โฆษณาว่า “มีความรักโดยไม่ต้องตกหลุมรัก” หรือไม่ก็ “พบกับความรักแบบสมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน” แนวคิดนี้คือฝันร้าย มันเกิดขึ้นได้อย่างไรในความเปลี่ยนแปลงของทุนนิยม
ในโลกที่ทุกคนวิ่งหาความสำเร็จ มันเกิดความกดดันและเกิดภาวะซึมเศร้าที่ลึกซึ้ง เพราะเราต้องพยายามกระโดดข้ามให้พ้นเงาของตัวเอง ซึ่งไม่มีใครทำได้ ตัวแสดงที่วิ่งหาความสำเร็จเหล่านี้หลงตัวเองมากเกินกว่าที่จะตกหลุมรักได้ ความรักรบกวนชีวิตพวกเขามากเกินไป ความรักสร้างความทรมานมากเกินไป และอาจทำให้โครงการเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์แบบของตัวเองพังไม่เป็นท่าได้
ทุนนิยมยุคปลายมีลักษณะชีวะการเมือง biopolitical หมายความว่า มันทำให้ทั้งชีวิตเป็นเรื่องของการทำงาน แต่มันก็กำลังเปลี่ยนจินตภาพการเมือง หรือ psychopolitical มากขึ้นเหมือนกัน นี่เป็นคำของนักปรัชญาชาวเยอรมัน Byung-Chul Hanมันแทรกแซงภายในและเปลี่ยนจิตวิญญาณของประชากร มันเฝ้ามอง ควบคุม และทรงอิทธิพลต่อมนุษย์ไม่ใช่แต่ภายนอก หากแต่จากภายในหรือจิตวิญญาณของประชาชนเพื่อรับใช้มัน
จินตภาพการเมืองเปลี่ยนทุกคน เปลี่ยนผู้กระทำให้เป็นตัวแสดงที่หลงตัวเอง ที่หมกมุ่นกับการออกแบบความสมบูรณ์แบบของตัวเอง เราเป็นผู้ประกอบการที่ลงทุนกับตัวเองทุกย่างก้าว การลงทุนกับตัวเองนั้นหมายถึงเราหันเข้าหาตัวเราเอง และแทบจะไม่สนใจเรื่องการปลดปล่อยทางสังคม เอาจริงๆ ในมุมมองนี้ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สังคม อยู่แล้วด้วย มีแต่ปัจเจกและมีแต่ปัจเจกเท่านั้นที่สามารถสมบูรณ์แบบได้ เราไม่สามารถทำให้สังคมสมบูรณ์แบบได้ ดังนั้น ตัวแสดง ผู้กระทำ ที่วิ่งหาความสำเร็จและหลงตัวเอง เป็นผู้ประกอบการก็ดำรงอยู่เพื่อตัวเขาเองเท่านั้น เรามองผู้อื่นเป็นคู่แข่ง หรือไม่ก็เป็นคนที่ต้องข้ามหัวไปให้ได้ โลกเป็นโลกของ Hunger Game มีผู้ชนะอยู่คนเดียว อย่างมากก็สองคน
ในโลกที่ทุกคนวิ่งหาความสำเร็จ มันเกิดความกดดันและเกิดภาวะซึมเศร้าที่ลึกซึ้ง เพราะเราต้องพยายามกระโดดข้ามให้พ้นเงาของตัวเอง ซึ่งไม่มีใครทำได้ และมันก็กดดันเป็นอย่างมากเพราะมันไม่มีวิธีที่จะต่อต้านตัวเราเอง เราเป็นนายตัวเอง เราสั่งตัวเอง เราพยายามจะเป็นเราที่ดีขึ้นกว่าเก่าตลอดเวลา สังคมที่วิ่งหาความสำเร็จเลยเป็นสังคมของสารกระตุ้น เราต้องตื่นตลอดเวลา เราต้องโตตลอดเวลา
ตัวแสดงที่วิ่งหาความสำเร็จเหล่านี้หลงตัวเองมากเกินกว่าที่จะตกหลุมรักได้ ความรักรบกวนชีวิตพวกเขามากเกินไป ความรักสร้างความทรมานมากเกินไปและอาจทำให้โครงการเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์แบบของตัวเองพังไม่เป็นท่าได้ ตัวแสดงที่วิ่งหาความสำเร็จมองผู้อื่นเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อนำไปสู่เป้าหมายแห่งการที่จะทำให้ตัวเองสมบูรณ์ พวกเขาแสวงหาแต่โรแมนซ์ที่จะเติมเต็ม ไม่รบกวนชีวิต นำสิ่งดีๆ มาสู่ชีวิต
ในอีกฟากหนึ่งของสังคม อาจเป็นแรงงานที่เปราะบางมากมาย แรงงานที่ไม่มั่นคงมากมายที่มองว่าความรักเป็นความเสี่ยง เป็นภาระหนักอึ้งเกินไป ไม่คุ้มจะลงทุนหรือมีไว้ ในยุคสมัยที่แรงกระแทกทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การตกงาน ความเจ็บป่วย ความพิการ ฯลฯ เป็นภาระรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลเพียงลำพัง การใกล้ชิดเป็นความเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่คนต้องแบกรับ หลายคนอาจจะมองว่ามันเสี่ยงเกินไป อย่าลืมว่า ถ้าเราเป็นตัวแสดงที่วิ่งหาความสำเร็จ ถ้าเราพลาดเราต้องโทษแต่ตัวเราเองเท่านั้น เพราะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้น มันไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สังคม
สุดท้าย ภายใต้ทุนนิยม เราเป็นผู้บริโภค ทุนนิยมสั่งให้เรา enjoy ตลอดเวลา เราต้องเสพสุขตลอดเวลา ทุกเรื่อง แต่แทนที่จะเราจะรู้สึกสุขสบาย เรากลับรู้สึกผิดตลอดเวลาที่ enjoy น้อยไป หรือ enjoy มากไป จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายที่พยายามสร้างความสมดุลอย่างลวงๆ บางอย่าง เช่น ตระกูลปราศจากไขมัน ปราศจากน้ำตาล ฯลฯ ความรักที่ปราศจากความเสี่ยงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตรรกะนี้
ความรักแบบไร้ความเสี่ยงหมายความว่า อีกฝ่ายถูกขจัดความเป็นอื่น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เราไม่รู้ออกไป เราไม่ชอบความเป็นอื่นหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้เพราะมันคาดเดาไม่ได้ เมื่อมันคาดเดาไม่ได้มันเลยอันตราย คนอื่นที่ถูกสกัดคาเฟอีกออกไปและเป็นคนอื่นที่เรามองเห็นอย่างทะลุปลุโปร่งมันปลอดภัยสำหรับการบริโภคของเรา ก็ลองดูขั้นตอนของบริษัทจัดหาคู่ได้ เราเริ่มจากเรารู้ เราวางสมการก่อน เราวางก่อนว่าเราต้องการคนแบบไหน อันที่จริงบริษัทจัดหาคู่ก็เป็นการคลุมถุงชนโดยอัลกอรึทึ่ม เรากำหนดได้หมดตั้งแต่ราศีอะไร กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ
ดังนั้น ในทุนนิยมยุคปลายความรักกลายเป็นสูตรสำเร็จของความสุขไปแล้ว ความรักต้องเป็นแต่เรื่องดีๆ เรื่องเชิงบวก ไม่รบกวนชีวิตของเรา ต้องรับประกันว่าจะเติมเต็มเรา ต้องสร้างความสมดุลให้เรา เสมือนสินค้าที่พร้อมใช้งานได้ทันทีเพื่อที่จะแก้ปัญหาของเรา
มีปรากฏการณ์แบบที่ต่างประเทศบัญญัติศัพท์ขึ้นมาคือ masturdating เป็นการรวมคำระหว่าง masturbation กับ dating หลักๆ คือ คุณไปออกเดทกับตัวคุณเองแล้วมีความสุขเหลือเกิน แต่งตัวสวยๆ ไปทานอาหารดีๆ ในญี่ปุ่นมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า solo wedding ผู้หญิงได้แต่งชุดเจ้าสาวถ่ายรูปในสวนญี่ปุ่น จุดขายคือการมอบงานวิวาห์ในฝันให้แก่คุณผู้หญิงโดยปราศจากความยุ่งยากจากการแต่งงานจริงๆ ในสหรัฐอเมริกามีสิ่งที่เรียกว่า sologamy คือแต่งงานกับตัวเอง ฉันดีพอสำหรับตัวฉันเอง ตัวฉันเองก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องการ “คนอื่น”
ที่บอกว่าความรักทำให้เราเสียคนนั้น เพราะหลายครั้งมันลดความเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมลง เราอาจไม่ประพฤติตนตามแบบที่สังคมคาดหวัง ละทิ้งอัตลักษณ์สังคมไปก็มี อย่างเวอร์ชันของโรมิโอกับจูเลียตที่ละทิ้งความคาดหวังของตระกูล ของสังคม หรือในสังคมเหยียดสีผิว สีผิวก็ไม่ใช่เงื่อนไขของการตกหลุมรัก
ในสังคมที่เหยียดความรักของเพศเดียวกัน เพศก็จะไม่ใช่เรื่องสำคัญ
ในทางปรัชญา รักแท้ ตรงกันข้ามกับสิ่งเหล่านี้ รักแท้ทำให้คู่รักเสียคน ทำให้ผู้รักแตกหักออกไปจากวิถีเดิมๆ มันจัดเรียงความเป็นไปได้ใหม่ของคู่รัก ในภาษาอแล็ง บาดียู ความรักคือเหตุการณ์ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนพิกัดของชีวิตคุณ อย่างน้อยมันสร้างภาพก่อนและหลัง เมื่อคุณเจอคนคนหนึ่งและคุณตกหลุมรักคนคนนี้ คุณไม่สามารถย้อนไปสู่พิกัดเดิมก่อนที่คุณจะตกหลุมรักได้
ที่บอกว่าความรักทำให้เราเสียคนนั้น เพราะหลายครั้งมันลดความเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมลง อาจจะปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยากขึ้น ไม่ดีเท่าเดิม เราอาจไม่ประพฤติตนตามแบบที่สังคมคาดหวัง เลิกทำนิสัยตามความจำเจ ละทิ้งอัตลักษณ์สังคมไปก็มี ความรักเปลี่ยนทำให้เรากลายเป็นคนแปลกหน้าในที่ที่เราใช้ชีวิต ความรักเป็นความขบถเหมือนกันอย่างเวอร์ชันของโรมิโอกับจูเลียตที่ละทิ้งความคาดหวังของตระกูล ของสังคม หรือในสังคมเหยียดสีผิว สีผิวก็ไม่ใช่เงื่อนไขของการตกหลุมรัก ในสังคมที่เหยียดความรักของเพศเดียวกัน เพศก็จะไม่ใช่เรื่องสำคัญ มันทำให้เราลดความเป็นหนึ่งเดียวกับสังคม
ในงานของอแล็ง บาดียู นั้นแบ่งความรักมี 2 ส่วนใหญ่ ด้านหนึ่งคือส่วนของการพบเจอ(encounter) อีกด้านหนึ่งคือส่วนของการสร้าง(construction) ทั้งสองส่วนของความรักมันไม่สามารถไปได้ดีกับทุนนิยม รักแท้ไม่เป็นไปตามตรรกะของมนุษย์เศรษฐศาสตร์อย่างไร
ประการแรก รักแท้มักจะเริ่มจากการพบกันโดยบังเอิญ มันสำคัญเพราะพูดเป็นนัยว่า ความรักไม่ใช่เรื่องจำเป็น ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น มันไม่ใช่หน้าที่ มันบ่งบอกว่าการตกหลุมรักไม่ใช่หน้าที่และไม่มีใครคาดหวังให้เราตกหลุมรักใครได้ ไม่ใช่การคิดอย่างรอบ ไม่มีเวลาที่เหมาะสม ความบังเอิญทำให้ความรักเป็นสิ่งล้ำค่าและมหัศจรรย์ เนื่องจากจุดเริ่มต้นของความรักคือการพบกันโดยบังเอิญทำให้ไม่สามารถรู้แน่ชัดว่าสิ่งนี้จะมีโอกาสพัฒนาต่อไปในอนาคตหรือไม่ แล้วผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรก็ไม่สามารถคาดเดาได้ การไม่สามารถคาดเดาได้คือความเสี่ยง
ประการที่สอง เราตกหลุมรักโดยแทบไม่รู้อะไรเลย แน่นอนเราเองก็เลิกรักโดยแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ มันก็แค่เกิดขึ้นแบบที่มันเกิดขึ้น เราไม่รู้ว่าทำไมเราตกหลุมรักใครสักคน มันเป็นเรื่องไม่สามารถอธิบายได้ และเราก็ไม่รู้ล่วงหน้าว่าความสัมพันธ์จะดำเนินไปอย่างไร ลงเอยอย่างไร แน่นอนเราต้องหาเหตุผลเพื่ออธิบายมันให้ได้ว่าเรารักคนๆ นี้ แต่เหตุผลเหล่านี้มักจะมาภายหลัง คือ คุณต้องตกหลุมรักก่อนคุณถึงจะเห็นข้อดีของคนคนหนึ่ง
ความรักทำให้คนที่เรารักนั้นดูน่ารักขึ้นมา ไม่ใช่ว่าคนที่เรารักน่ารักเราเลยตกหลุมรัก แต่เป็นเพราะเราตกหลุมรักเราเลยมองเขาหรือเธอว่าน่ารัก ไม่แปลกที่คุณอาจไม่เข้าใจว่าเพื่อนสนิทของคุณทำไมมีแฟนเช่นนั้น ไม่เห็นมีดีอะไรเลย ดังนั้น ในโลกที่เรียกว่า ความรัก ไม่ใช่เราจะเชื่อในสิ่งที่เราเห็น แต่เราจะเห็นในสิ่งที่เราเชื่อ ความรักไม่เพียงทำให้คนที่เรารักมีความน่ารัก แต่ยังทำให้เรามองคนรักแบบอุดมคติ เพราะคนคนนี้สำคัญที่สุดกับเรา หมายความว่าเราโฟโต้ช็อปคนรักในหัวของเรา ในช่วงแรกเราไม่สามารถจินตนาการ เหงื่อ อ้วก การขับถ่ายของคนรักเราได้ หรือความแก่เฒ่าเหี่ยวย่น ฯลฯ ที่สำคัญกว่านั้น หลายครั้งเรามักจะรู้ว่าใครบางคนมีความรักเมื่อเขาสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติที่อาจจะน่ารังเกียจของคนคนหนึ่งกลายเป็นเสน่ห์ของคนคนนั้น กลับหัวกลับหางมัน เช่น การแต่งตัวลวกๆ ก็กลายเป็นคนมีแนวทางเป็นขอตัวเอง การไม่ชอบอาบน้ำก็เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ ขณะเดียวกันเวลาเราเลิกรักใครสักคน เราก็จะเริ่มรำคาญกับสิ่งเคยเป็นเสน่ห์ดึงดูดเรา เช่น ตอนตกหลุมรักบอกว่าคนคนนี้เป็นธรรมชาติ ไม่เรื่องมาก เรียบง่าย แต่ตอนเลิกรักก็บอกว่าน่าเบื่อ ดังนั้น คุณสมบัติเดียวกันอาจทำให้เราตกหลุมรักหรือเลิกรักใครบางคนได้
ในภาษาอังกฤษมีคำว่า dearest ที่เราใช้เรียกคนรัก มันมีความหมายว่า มีคุณค่าสูงสุด ประเมินค่าไม่ได้ การประเมินค่าไม่ได้ก็คือไม่มีราคา ไม่สามารถตั้งราคาได้ เมื่อตั้งราคาไม่ได้ก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือไม่สามารถทดแทนได้ มันก็เลยไม่สามารถไปกันได้ดีกับทุนนิยม
ประการที่สาม การตกหลุมรัก โดยพื้นฐานแล้วเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักเหตุผล ความรักเลยเป็นเรื่องที่เสี่ยงเป็นอย่างมาก นักทฤษฎีมองว่า ถ้าว่ากันตามนิยามแล้ว ความรักต้องมีความอดทนเป็นอย่างมากกับความไม่แน่นอน และโอกาสที่จะพบกับความผิดหวัง เพราะเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าจะลงเอยอย่างไร และไม่มีใครตกหลุมรักแทนคุณได้ด้วย
ความยอมที่จะเสี่ยงหรือความเต็มใจที่จะเสี่ยงนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า คุณรักใครสักคน ในภาษาอังกฤษมีคำว่า dearest ซึ่งเป็นคำที่เราใช้แทนคนรัก แต่มันมีความหมายว่า มีคุณค่าสูงสุด ประเมินค่าไม่ได้ ดังนั้น ถ้าคนรักสำคัญที่สุดมีค่าที่สุดในชีวิตของคุณ ตัวชี้วัดก็คือ คุณพร้อมที่จะเสี่ยงเพื่อคนคนนี้ คุณพร้อมจะเจ็บปวดเพื่อคนคนนี้ การประเมินค่าไม่ได้ก็คือไม่มีราคา ไม่สามารถตั้งราคาได้ เมื่อตั้งราคาไม่ได้ก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือไม่สามารถทดแทนได้ มันก็เลยไม่สามารถไปกันได้ดีกับทุนนิยม ทุนนิยมไม่ชอบอะไรที่ไม่มีราคา ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ทุกอย่างต้องเปลี่ยนมือได้ มีราคา และไหลเวียนได้
การเต็มใจเผชิญกับความเสี่ยงนี้ก็เหมือนกับการละทิ้งการหลงตัวเอง การละทิ้งการแสวงหาความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน ในภาษาอังกฤษว่า fall in love มีนักปรัชญาบางคนเสนอว่าเราควรให้ความสำคัญกับคำว่า fall หรือ การตก เราจะต้องตกหลุมรัก ความรักเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการตกลงไป และไม่มีใครตกแทนได้ การตกคือการปล่อยมือและรับกับความเสี่ยง แปลว่าเรายอมรับความเสี่ยงไม่ว่าผลที่เกิดตามมาเป็นเช่นไร มันหมายความว่าเรากล้าหาญที่จะให้การตกที่ว่านี้กำหนดทิศทางชีวิต นี่มันเป็นเรื่องบ้าคลั่ง เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลสุดๆ นี่คือความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ แต่มนุษย์เศรษฐศาสตร์ไม่กล้าเช่นนี้ เขาอาจมีความรู้สึกมากมาย กลัว โกรธ อิจฉา แต่มนุษย์เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถตกหลุมรักได้ เพราะมองผู้อื่นเป็นเพียงแค่เครื่องมือสู่เป้าหมายอะไรบางอย่าง เน้นความเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลานั่นหมายความว่าปฏิเสธความเป็นอื่น ความแตกต่าง ไม่สามารถยอมรับความเป็นอื่นได้ การตกหลุมรักเสี่ยงเกินไปเพราะมันนำพาความเป็นอื่นที่คาดเดาไม่ได้เข้ามา มนุษย์เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถตกหลุมรักได้เพราะจะถามตลอดเวลาว่า ทำแบบนี้แล้ว “ฉัน” จะได้อะไร
รักแท้นั้นตรงกันข้าม มันเป็นวิธีที่ไม่นำไปสู่อะไรทั้งสิ้น เป็นวิธีเป็นกระบวนการเพียวๆ ไม่จำเป็นต้องบรรลุถึงอะไรทั้งนั้น มันเป็นการลงทุนแบบให้เปล่า ไม่สามารถคาดหวังผลตอบแทนอะไรได้ เป็นค่าใช้จ่ายล้วนๆ รักแท้เป็นฝันร้ายของนักบัญชี มันไม่สามารถผ่านการประเมินของตลาดได้ ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลได้ ไม่ต้องทำ SWOT ฯลฯ เมื่อไม่สามารถผ่านการประเมินตามคุณค่าของตลาดได้ มองจากมุมมนุษย์เศรษฐศาสตร์มันก็ไร้เหตุผลเกินไป มีความเสี่ยงมากเกินไป
ในโลกที่เราพยายามจะคิดหรือถูกปลูกฝังให้คิดแบบมนุษย์เศรษฐศาสตร์ อแล็ง บาดียู บอกไว้ว่าในโลกทุกวันนี้คนมักคิดกันทั่วไปว่า ปัจเจกบุคคลเอาแต่ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ความรักเหมือนเป็นยาถอนพิษให้กับสิ่งเหล่านี้ ความรักมันดึงเราออกมาจากตัวเอง ดึงออกมาจากการหลงตัวเอง
การตกหลุมรักเป็นอะไรที่โคตรไร้เหตุผล ในส่วนที่สอง การสร้างความรักก็เป็นอะไรที่ไม่คุ้มค่าเช่นเดียวกัน ในที่นี้คงไม่ลงไปในรายละเอียดในโลกความรักของอแล็ง บาดียู ที่บอกว่าความรักคือการหลุดพ้นจากโลกหนึ่งเดียวหรือฉากที่มีเพียงหนึ่งเดียว เป็นโลกของสอง หรือฉากของสอง เราแต่ละฝ่ายถูกทำลายความเป็นศูนย์กลางไปบางส่วนแล้วมาอยู่ในฉากเดียวกัน โลกเดียวกัน และเป็นตัวกระทำใหม่ตัวแสดงใหม่ที่มองโลกผ่านมุมมองจากสอง จากที่ชีวิตประจำวันเรามองโลกจากมุมมองของหนึ่ง ความจริงของความรักในมุมอแล็ง บาดียู คือ คุณสามารถมีประสบการณ์เผชิญกับโลกใบนี้จากมุมมองของสองได้ เป็นคำว่า “เรา” ไม่ใช่เพียงจากมุมของหนึ่ง หรือเห็นแต่ตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ฌาร์ค ลาก็อง (Jacques Lacan) อธิบายมุมมองของบาดียูได้ดี ลาก็องบอกว่า “ความรักคือการให้อะไรบางอย่างที่คุณไม่มีแก่ใครบางคนที่ไม่ต้องการมัน” มันหมายความว่าอะไร มันแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของคนสองคนที่ยังขาดพร่อง คนหนึ่งไม่มี ส่วนอีกคนไม่ได้อยากได้มาด้วยซ้ำ หมายความว่าไม่มีฝ่ายใดเลยที่ทราบว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรจริงๆ ดังนั้น ความรักจึงไม่ใช่การสังเคราะห์หรือการสร้างสิ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มันไม่ใช่เรื่องประสานสอดคล้องการสร้างสมดุลให้ชีวิต เพราะเราเป็นอะไรที่ขาดพร่องกับขาดพร่อง ช่องว่างระหว่างสองคนจะคงอยู่เสมอ ความรักคือการแบ่งปันความขาดพร่องนี้ ไม่มีวันที่ทั้งสองจะสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบูรณ์ ความสมบูรณ์นั่นเป็นเรื่องของโรแมนซ์ โรแมนซ์สัญญาว่าถ้าคุณได้คนรักที่แท้มันจะเติมเต็มกันได้ รักแท้ไม่จำเป็นต้องเติมเต็มกันและกันด้วยซ้ำ การแบ่งปันความขาดพร่องนี้หมายความว่า เราต้องจินตนาการเพ้อฝันเพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรจากเรา และเราเป็นอะไรต่ออีกฝ่าย เป็นเรื่องแฟนตาซีล้วนๆ ดังนั้นคนเราจะอยู่ด้วยกันได้ต่อเมื่อแฟนตาซีมันสอดคล้องกัน ไปด้วยกัน
จึงไม่แปลกที่ในทัศนะของบาดียูมองว่าความรักมีลักษณะกะโผลกกะเผลกและคงอยู่ตราบใดที่คนสองคนคงความไม่เข้าใจต่อกันเป็นอย่างดี ไม่ใช่ เข้าใจกันได้โดยดี แต่คงความไม่เข้าใจกันได้เป็นอย่างดี
ความรักแบบกระฎุมพี หรือความรักแบบมนุษย์เศรษฐศาสตร์นั้น
ไปได้ดีกับการเมืองฝ่ายขวาที่ปฏิเสธความแตกต่าง ปฏิเสธความเป็นอื่น ดังนั้น นอกจากการเมืองฝ่ายซ้ายจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของคนต่างด้าว ผู้อพยพอะไรมากมาย ในขณะเดียวกันคงต้องพยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ที่จะสอดคล้องกับการเมืองฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21 ด้วย
สรุปว่าในวัฒนธรรมบริโภคนิยม ในโลกทุนนิยมแบบของเราที่ทุกอย่างประเมินค่าได้เปลี่ยนมือได้ การยึดติดกับใครบางคน การคิดว่าใครบางคนมีค่ากับคุณอย่างประเมินค่าไม่ได้นั้นมันอาจเป็นการกระทำที่ขัดกับตรรกะของทุน และต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก ในโลกทุนนิยมที่มองว่าจำนวนสำคัญกว่าคุณภาพ การบอกว่าเราไม่ต้องการคนใหม่หรือไม่ต้องการสิ่งใหม่อาจเป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทวนกระแสเช่นกัน ในโลกที่เราต้องวิ่งหาความสำเร็จตลอดเวลา มองสิ่งอื่นๆ หรือคนอื่นๆเป็นเครื่องมืออะไรบางอย่างตลอดเวลา การยอมให้ความรักทำให้เราเสียคนก็คงเป็นสัญญาณที่สำคัญของความกล้าหาญ
ขอสรุปจบว่า ความรักแบบกระฎุมพี หรือความรักแบบมนุษย์เศรษฐศาสตร์นั้นเอาจริงๆ มันไปได้ดีกับการเมืองฝ่ายขวาที่ปฏิเสธความแตกต่าง ปฏิเสธความเป็นอื่น ต้องเป็นพวกเราเท่านั้น ไม่ว่า ชาติ สีผิว ชาติพันธุ์ ความแตกต่างนั้นน่ากลัว ดังนั้น นอกจากการเมืองฝ่ายซ้ายจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของคนต่างด้าว ผู้อพยพอะไรมากมาย ในขณะเดียวกันคงต้องพยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ที่จะสอดคล้องกับการเมืองฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21 ด้วย
สรุปว่าในวัฒนธรรมบริโภคนิยม ในโลกทุนนิยมแบบของเราที่ทุกอย่างประเมินค่าได้เปลี่ยนมือได้ การยึดติดกับใครบางคน การคิดว่าใครบางคนมีค่ากับคุณอย่างประเมินค่าไม่ได้นั้นมันอาจเป็นการกระทำที่ขัดกับตรรกะของทุน และต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก ในโลกทุนนิยมที่มองว่าจำนวนสำคัญกว่าคุณภาพ การบอกว่าเราไม่ต้องการคนใหม่หรือไม่ต้องการสิ่งใหม่อาจเป็นพฤติกรรมบางอย่างที่ทวนกระแสเช่นกัน ในโลกที่เราต้องวิ่งหาความสำเร็จตลอดเวลา มองสิ่งอื่นๆ หรือคนอื่นๆเป็นเครื่องมืออะไรบางอย่างตลอดเวลา การยอมให้ความรักทำให้เราเสียคนก็คงเป็นสัญญาณที่สำคัญของความกล้าหาญ
ขอสรุปจบว่า ความรักแบบกระฎุมพี หรือความรักแบบมนุษย์เศรษฐศาสตร์นั้นเอาจริงๆ มันไปได้ดีกับการเมืองฝ่ายขวาที่ปฏิเสธความแตกต่าง ปฏิเสธความเป็นอื่น ต้องเป็นพวกเราเท่านั้น ไม่ว่า ชาติ สีผิว ชาติพันธุ์ ความแตกต่างนั้นน่ากลัว ดังนั้น นอกจากการเมืองฝ่ายซ้ายจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของคนต่างด้าว ผู้อพยพอะไรมากมาย ในขณะเดียวกันคงต้องพยายามสร้างความรักในรูปแบบใหม่ที่จะสอดคล้องกับการเมืองฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21 ด้วย
แสดงความคิดเห็น