Posted: 08 Nov 2018 05:21 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-11-08 20:21
สนช. ค้าน เผย กก.สภามหา'ลัยหลายคนเปรยๆ จะลาออก โดย 'สกอ.-ทปอ.' สรุป กก.สภามหา'ลัยไม่ควรต้องยื่น จ่อส่ง ป.ป.ช.ทบทวน ด้าน ปธ.ป.ป.ช. ชี้ในอนาคตเจตนารมย์ กม. อนาคตข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ต้องยื่นทั้งหมดเป็นล้านคน ขีดเส้นสัปดาห์หน้าได้ข้อยุติ ยันพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ‘สารี’ หนุน กก.องค์กรอิสระ-สภามหา'ลัยแสดงบัญชีทรัพย์สิน เพื่อความโปร่งใส คุมทุจริต
8 พ.ย.2561 ภายหลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกําหนดตําแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยนั้น
สนช. ค้าน เผย กก.สภามหา'ลัยหลายคนเปรยๆ จะลาออก
วันนี้ (8 พ.ย.61) เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สนช. และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับประกาศ ป.ป.ช. ที่ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช.เพราะ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจอนุมัติเกี่ยวกับการเงินน้อยมาก จะประชุมงบประมาณเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น สภามหาวิทยาลัยจึงไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือสามารถไปล้วงลูกการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยได้
อำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย จึงไม่ตอบสนองต่อหลักคิดเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินของป.ป.ช. หากกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินจริง จะมีคนเก่ง คนดี ที่มหาวิทยาลัยเชิญมาช่วยงานมหาวิทยาลัย ลาออกจำนวนมาก เพียงพอที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยได้ การที่กรรมการมหาวิทยาลัยไม่อยากยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้เป็นเพราะกลัว ทุกคนไม่กลัว แต่เห็นว่า เป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ โดยไม่สมเหตุผลกับตำแหน่งหน้าที่ ส่วนกมธ.ศึกษาและกีฬาของสนช. คงไม่เข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะขณะนี้ทั้งรัฐบาล และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เคลื่อนไหว เพื่อหาทางออกเรื่องร่วมกับป.ป.ช.อยู่แล้ว
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ สมาชิกสนช. และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า ประกาศ ป.ป.ช.ที่ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นปัญหามาก เพราะบุคคลที่มหาวิทยาลัยเชิญมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ทำให้เกิดความกังวล หากจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน เพราะหากยื่นผิดจะมีความผิดทางกฎหมาย จึงอยากให้ป.ป.ช.ทบทวนเรื่องนี้ คำว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่ระบุอยู่ในกฎหมายลูกให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น ไม่ควรรวมถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เพราะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักธุรกิจเหล่านี้ มีมุมมองประสบการณ์ ให้คำแนะนำด้านการบริหารงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมากมาย คนเหล่านี้ไม่มีเงินเดือน มีแค่เบี้ยประชุมเท่านั้น อย่างสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะนี้ ก็มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายคนเปรยๆ จะลาออก หากต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงกรรมการสภามหาวิทยาลัย สายที่เป็นอาจารย์ก็อยากยื่นลาออกด้วย ประกาศป.ป.ช.ฉบับนี้ครอบคลุมกว้างมาก แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็อยู่ในข่ายต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงกรรมการสำนักงานราชบัณฑิตสภาเอง ก็อยู่ในข่ายต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเช่นกัน ทั้งที่หน้าที่มีหน้าที่ส่งเสริมเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเลย
(ที่มา ข่าวสดออนไลน์)
วันนี้ (8 พ.ย.61) เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สนช. และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับประกาศ ป.ป.ช. ที่ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช.เพราะ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจอนุมัติเกี่ยวกับการเงินน้อยมาก จะประชุมงบประมาณเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น สภามหาวิทยาลัยจึงไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือสามารถไปล้วงลูกการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยได้
อำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย จึงไม่ตอบสนองต่อหลักคิดเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินของป.ป.ช. หากกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินจริง จะมีคนเก่ง คนดี ที่มหาวิทยาลัยเชิญมาช่วยงานมหาวิทยาลัย ลาออกจำนวนมาก เพียงพอที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยได้ การที่กรรมการมหาวิทยาลัยไม่อยากยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้เป็นเพราะกลัว ทุกคนไม่กลัว แต่เห็นว่า เป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ โดยไม่สมเหตุผลกับตำแหน่งหน้าที่ ส่วนกมธ.ศึกษาและกีฬาของสนช. คงไม่เข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะขณะนี้ทั้งรัฐบาล และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เคลื่อนไหว เพื่อหาทางออกเรื่องร่วมกับป.ป.ช.อยู่แล้ว
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ สมาชิกสนช. และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า ประกาศ ป.ป.ช.ที่ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นปัญหามาก เพราะบุคคลที่มหาวิทยาลัยเชิญมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ทำให้เกิดความกังวล หากจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน เพราะหากยื่นผิดจะมีความผิดทางกฎหมาย จึงอยากให้ป.ป.ช.ทบทวนเรื่องนี้ คำว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่ระบุอยู่ในกฎหมายลูกให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น ไม่ควรรวมถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เพราะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักธุรกิจเหล่านี้ มีมุมมองประสบการณ์ ให้คำแนะนำด้านการบริหารงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมากมาย คนเหล่านี้ไม่มีเงินเดือน มีแค่เบี้ยประชุมเท่านั้น อย่างสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะนี้ ก็มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายคนเปรยๆ จะลาออก หากต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงกรรมการสภามหาวิทยาลัย สายที่เป็นอาจารย์ก็อยากยื่นลาออกด้วย ประกาศป.ป.ช.ฉบับนี้ครอบคลุมกว้างมาก แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็อยู่ในข่ายต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงกรรมการสำนักงานราชบัณฑิตสภาเอง ก็อยู่ในข่ายต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเช่นกัน ทั้งที่หน้าที่มีหน้าที่ส่งเสริมเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเลย
(ที่มา ข่าวสดออนไลน์)
'สกอ.-ทปอ.' สรุป กก.สภามหา'ลัยไม่ควรต้องยื่น จ่อส่งป.ป.ช.ทบทวน
เช่นเดียวกับวานนี้ (7 พ.ย.61) ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ประชุมหารือถึงประกาศ ป.ป.ช.ดังกล่าว ร่วมกับ ตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ
สุชัชวีร์ กล่าวว่า ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการป้องกันและตรวจสอบไม่ให้มีการทุจริตในภาครัฐ ดังนั้นผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ อธิการบดี และรองอธิการบดีจึงควรยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ตามที่กำหนดในประกาศ แต่การที่ให้นายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านวิชาการเป็นหลัก ไม่ได้มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐโดยตรง อันจะทำให้เกิดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ กรรมการสภาฯ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหาร หรือเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จึงไม่มีความจำเป็นที่จะกำหนดให้กรรมการสภาฯ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเสนอให้ ป.ป.ช.พิจารณาทบทวนประกาศ ดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพราะตอนนี้กรรมการสภาฯ บางแห่งได้ยื่นลาออกแล้วจริงๆ ทำให้เกิดปัญหาและอาจส่งผลกระทบต่อนักศึกษา จากนี้จะทำหนังสือถึง ป.ป.ช.และเตรียมจะเข้าไปหารือกับประธานป.ป.ช.อย่างเป็นทางการต่อไป
"ผลกระทบจากประกาศฉบับนี้ ทำให้นายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ บางแห่งไม่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพราะการยื่นบัญชีทรัพย์สินแม้ว่าจะเป็นการแสดงความบริสุทธ์ใจ เพื่อธรรมาภิบาลแต่ก็เป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้ที่ต้องยื่นทรัพย์สินมากเกินควร รวมทั้งต้องยื่นทรัพย์สินของคู่สมรสและบุตรด้วย ขณะเดียวกันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศ เพียง 60 วัน ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูกต้องและครบถ้วนได้ ดังนั้นหากยื่นบัญชีผิดพลาด แม้ไม่ได้เจตนาก็อาจมีโทษทางอาญาและถูกศาลพิพากษาจำคุกได้ จึงได้มีนายกสภาฯ และกรรมการสภาฯบางแห่งยื่นใบลาออกจากตำแหน่งแล้ว ส่งผลกระทบให้สภาฯ มีกรรมการสภาฯ ไม่ครบองค์ประชุมไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ส่งผลเสียต่อการบริหารงานในมหาวิทยาลัยและนิสิต นักศึกษา" ประธาน ทปอ.กล่าว
(ที่มา ไทยโพสต์)
เช่นเดียวกับวานนี้ (7 พ.ย.61) ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ประชุมหารือถึงประกาศ ป.ป.ช.ดังกล่าว ร่วมกับ ตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ
สุชัชวีร์ กล่าวว่า ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการป้องกันและตรวจสอบไม่ให้มีการทุจริตในภาครัฐ ดังนั้นผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ อธิการบดี และรองอธิการบดีจึงควรยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ตามที่กำหนดในประกาศ แต่การที่ให้นายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านวิชาการเป็นหลัก ไม่ได้มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐโดยตรง อันจะทำให้เกิดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ กรรมการสภาฯ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหาร หรือเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จึงไม่มีความจำเป็นที่จะกำหนดให้กรรมการสภาฯ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเสนอให้ ป.ป.ช.พิจารณาทบทวนประกาศ ดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพราะตอนนี้กรรมการสภาฯ บางแห่งได้ยื่นลาออกแล้วจริงๆ ทำให้เกิดปัญหาและอาจส่งผลกระทบต่อนักศึกษา จากนี้จะทำหนังสือถึง ป.ป.ช.และเตรียมจะเข้าไปหารือกับประธานป.ป.ช.อย่างเป็นทางการต่อไป
"ผลกระทบจากประกาศฉบับนี้ ทำให้นายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ บางแห่งไม่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพราะการยื่นบัญชีทรัพย์สินแม้ว่าจะเป็นการแสดงความบริสุทธ์ใจ เพื่อธรรมาภิบาลแต่ก็เป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้ที่ต้องยื่นทรัพย์สินมากเกินควร รวมทั้งต้องยื่นทรัพย์สินของคู่สมรสและบุตรด้วย ขณะเดียวกันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศ เพียง 60 วัน ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูกต้องและครบถ้วนได้ ดังนั้นหากยื่นบัญชีผิดพลาด แม้ไม่ได้เจตนาก็อาจมีโทษทางอาญาและถูกศาลพิพากษาจำคุกได้ จึงได้มีนายกสภาฯ และกรรมการสภาฯบางแห่งยื่นใบลาออกจากตำแหน่งแล้ว ส่งผลกระทบให้สภาฯ มีกรรมการสภาฯ ไม่ครบองค์ประชุมไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ส่งผลเสียต่อการบริหารงานในมหาวิทยาลัยและนิสิต นักศึกษา" ประธาน ทปอ.กล่าว
(ที่มา ไทยโพสต์)
ปธ.ป.ป.ช. ชี้ในอนาคตเจตนารมย์ กม. อนาคตข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ต้องยื่นทั้งหมดเป็นล้านคน
ขณะที่ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงข้อทักท้วงกรณี ป.ป.ช.ขยายตำแหน่งที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ต่อ ป.ป.ช.ครอบคลุมถึงตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัย และ บุคคลากรในสถาบันอุดมศึกษาว่า เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กำหนดให้ ป.ป.ช.ต้องประกาศให้ตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานของรัฐ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งตำแหน่งระดับสูงครอบคลุมถึงกรรมการสภามหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ป.ป.ช.ไม่สามารถละเว้นตำแหน่งใดได้ เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายจริงๆ ในอนาคตข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ต้องยื่นทั้งหมดเป็นล้านคน ดังนั้นหากมีปัญหาว่าจะเป็นการสร้างภาระมากเกินไปก็สามารถเสนอความเห็นมาได้ เพื่อจะได้หาทางออกต่อไป
ขีดเส้นสัปดาห์หน้าได้ข้อยุติ ยันพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
ขณะที่วันนี้ (8 พ.ย.61) พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวอีกว่า ยังไม่ได้ข้อสรุปจะได้ข้อยุติอย่างไร ป.ป.ช.อยู่ระหว่างรอฟังความเห็นจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ(ทปอ.) รวมทั้งรอหารือกับ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่กำลังประสานวันเวลากันอยู่ จะพยายามให้ได้ข้อยุติภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยได้มีเวลาตัดสินใจแบบไม่กระชั้นชิด เพราะกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ สิ่งที่ป.ป.ช.ดำเนินการนั้น เป็นไปตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่กำหนดให้ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ใช้อำนาจปกครองทางบริหารต้องแสดงความโปร่งใส ป.ป.ช.จึงดำเนินการไปตามขั้นตอน
ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ป.ป.ช.พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ประกาศที่ออกไปทำไปตามกฎหมาย เราไม่รู้ว่าไปกระทบกับตำแหน่งอะไรบ้าง เมื่อถามว่า นอกจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยแล้ว ยังกระทบถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีพระเถระผู้ใหญ่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมถึงตำแหน่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.)ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวว่า ป.ป.ช.กำลังพิจารณาผล กระทบจากประกาศดังกล่าวว่า ส่งผลกระทบกับบุคคลเฉพาะกลุ่ม หรือคนจำนวนมาก เรื่องนี้ต้องดูองค์รวมว่ามีผลกระทบมากน้อยเพียงใด ยืนยันป.ป.ช. พร้อมฟังความเห็นทุกฝ่าย
(ที่มา ช่อง 3และ ไทยโพสต์)
ขณะที่ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงข้อทักท้วงกรณี ป.ป.ช.ขยายตำแหน่งที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ต่อ ป.ป.ช.ครอบคลุมถึงตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัย และ บุคคลากรในสถาบันอุดมศึกษาว่า เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กำหนดให้ ป.ป.ช.ต้องประกาศให้ตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานของรัฐ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งตำแหน่งระดับสูงครอบคลุมถึงกรรมการสภามหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ป.ป.ช.ไม่สามารถละเว้นตำแหน่งใดได้ เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายจริงๆ ในอนาคตข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ต้องยื่นทั้งหมดเป็นล้านคน ดังนั้นหากมีปัญหาว่าจะเป็นการสร้างภาระมากเกินไปก็สามารถเสนอความเห็นมาได้ เพื่อจะได้หาทางออกต่อไป
ขีดเส้นสัปดาห์หน้าได้ข้อยุติ ยันพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
ขณะที่วันนี้ (8 พ.ย.61) พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวอีกว่า ยังไม่ได้ข้อสรุปจะได้ข้อยุติอย่างไร ป.ป.ช.อยู่ระหว่างรอฟังความเห็นจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ(ทปอ.) รวมทั้งรอหารือกับ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่กำลังประสานวันเวลากันอยู่ จะพยายามให้ได้ข้อยุติภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยได้มีเวลาตัดสินใจแบบไม่กระชั้นชิด เพราะกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ สิ่งที่ป.ป.ช.ดำเนินการนั้น เป็นไปตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่กำหนดให้ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ใช้อำนาจปกครองทางบริหารต้องแสดงความโปร่งใส ป.ป.ช.จึงดำเนินการไปตามขั้นตอน
ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ป.ป.ช.พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ประกาศที่ออกไปทำไปตามกฎหมาย เราไม่รู้ว่าไปกระทบกับตำแหน่งอะไรบ้าง เมื่อถามว่า นอกจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยแล้ว ยังกระทบถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีพระเถระผู้ใหญ่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมถึงตำแหน่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.)ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย พล.ต.อ.วัชรพลกล่าวว่า ป.ป.ช.กำลังพิจารณาผล กระทบจากประกาศดังกล่าวว่า ส่งผลกระทบกับบุคคลเฉพาะกลุ่ม หรือคนจำนวนมาก เรื่องนี้ต้องดูองค์รวมว่ามีผลกระทบมากน้อยเพียงใด ยืนยันป.ป.ช. พร้อมฟังความเห็นทุกฝ่าย
(ที่มา ช่อง 3และ ไทยโพสต์)
วิษณุ เผยนัดคุย ป.ป.ช.แล้วหาทางออก
วันเดียวกัน (8 พ.ย.61) วิษณุ ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ตนไปหารือกับ ป.ป.ช. ถึงกรณีดังกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยกับ ป.ป.ช. ได้นัดแล้วแต่ยังไม่ได้พบเพราะทาง ป.ป.ช.ยังไม่สะดวกเพราะต้องเตรียมข้อมูลบางอย่าง ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องพูดคุยกับประธาน ป.ป.ช.เท่านั้น แล้วแต่ว่าจะมอบหมายใครมา และกรณีนี้มีคำถามเยอะประมาณ 10 ข้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีพระเถระชั้นผู้ใหญ่และองคมนตรีที่เข้าไปเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยื่นตามประกาศ ป.ป.ช.นี้ด้วยหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ตามในกฎหมายถ้าดำรงตำแหน่งก็ต้องยื่น เมื่อถามว่าส่วนตัวคิดว่าจะต้องแก้ในส่วนไหนบ้างรองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ขอตอบเพราะเป็นอำนาจของ ป.ป.ช.และเรากำลังจะคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน
เมื่อถามว่าส่วนตัวได้หาทางออกไว้แล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า “ได้เตรียมทางเข้า” เมื่อถามอีกว่า มีแนวโน้มที่จะใช้ ม.44 อีกครั้งในการแก้ไขกฎหมายนี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่เคยคิดเรื่องนั้น เพราะอยู่ที่ ป.ป.ช.จะมีวิธีการอย่างไร อำนาจอยู่ที่ประธาน ป.ป.ช.จะวินิจฉัย เมื่อถามย้ำว่าสุดท้ายแล้วจะมีทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่ายใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่กล้าพูด รู้อย่างเดียวตนต้องยื่น
(ที่มา ผู้จัดการออนไลน์)
วันเดียวกัน (8 พ.ย.61) วิษณุ ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ตนไปหารือกับ ป.ป.ช. ถึงกรณีดังกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการพูดคุยกับ ป.ป.ช. ได้นัดแล้วแต่ยังไม่ได้พบเพราะทาง ป.ป.ช.ยังไม่สะดวกเพราะต้องเตรียมข้อมูลบางอย่าง ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องพูดคุยกับประธาน ป.ป.ช.เท่านั้น แล้วแต่ว่าจะมอบหมายใครมา และกรณีนี้มีคำถามเยอะประมาณ 10 ข้อ
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีพระเถระชั้นผู้ใหญ่และองคมนตรีที่เข้าไปเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยื่นตามประกาศ ป.ป.ช.นี้ด้วยหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ตามในกฎหมายถ้าดำรงตำแหน่งก็ต้องยื่น เมื่อถามว่าส่วนตัวคิดว่าจะต้องแก้ในส่วนไหนบ้างรองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ขอตอบเพราะเป็นอำนาจของ ป.ป.ช.และเรากำลังจะคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน
เมื่อถามว่าส่วนตัวได้หาทางออกไว้แล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า “ได้เตรียมทางเข้า” เมื่อถามอีกว่า มีแนวโน้มที่จะใช้ ม.44 อีกครั้งในการแก้ไขกฎหมายนี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่เคยคิดเรื่องนั้น เพราะอยู่ที่ ป.ป.ช.จะมีวิธีการอย่างไร อำนาจอยู่ที่ประธาน ป.ป.ช.จะวินิจฉัย เมื่อถามย้ำว่าสุดท้ายแล้วจะมีทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่ายใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบ ตนไม่กล้าพูด รู้อย่างเดียวตนต้องยื่น
(ที่มา ผู้จัดการออนไลน์)
‘สารี’ หนุนแสดงบัญชีทรัพย์สิน เพื่อความโปร่งใส คุมทุจริต
ด้าน สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และในฐานะ บอร์ด สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรอิสระหลายคน ทั้งสภามหาวิทยาลัย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมลาออกหลายคน ภายหลังจากที่ ป.ป.ช. ได้ออกประกาศให้ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินนั้น ในส่วนของตนเองมีความเห็นต่อเรื่องนี้ 3 ประเด็น คือ
1.กรรมการระดับสูงของหน่วยงานในประเทศนี้ควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน เพราะต้องช่วยกันสนับสนุนการสร้างความโปร่งใส การป้องกันทุจริตและคอรัปชั่น รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในความรับผิดชอบ ซึ่งจากการทำงานในบอร์ด สปสช.ที่ผ่านมา หากถามว่ามีอะไรที่ไม่โปร่งใสหรือไม่ ก็คงไม่มี เพราะว่าในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากกรรมการท่านใดมีส่วนที่เกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็จะออกการพิจารณาก่อน
2.ความเข้มแข็งของ ป.ป.ช.ในการจริงจังกับการใช้ข้อมูลที่ได้รับหรือกรณีการพบทุจริตที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังให้เห็นผล ซึ่งจะทำให้มีผู้สนับสนุนการแสดงบัญชีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งที่ผ่าน ป.ป.ช.ยังไม่ได้ทำให้เห็นว่ามีความเข้มแข็งและใช้ข้อมูลที่ได้เหล่านี้เพื่อป้องกันและควบคุมการทุจริตอย่างไร
ยกตัวอย่างกรณีการตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สินในรัฐบาลนี้ ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้มีการตรวจสอบพบบางคนมีทรัพย์สินถึง 300 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปอย่างไร ไม่มีการจัดการอะไร อาจเป็นเหตุทำให้คนไม่ค่อยสนับสนุนได้เพราะดูแล้วว่า เมื่อให้มีการยื่นบัญชีทรัพย์สินไปแล้วก็ไม่เห็นมีประโยชน์หรืออะไรเกิดขึ้น
3.หน่วยงาน และ ป.ป.ช.ต้องมีระบบรายงานที่ง่ายและเป็นมืออาชีพ เพื่อสนับสนุนและคอยอำนวยการทำหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินของกรรมการ ซึ่งจากการประกาศลาออกจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ของนายดํารง พุฒตาล อดีตสมาชิกวุฒิสภา จากที่ได้ดูการชี้แจงผ่าน You tube ก็เข้าใจ เพราะตัวเองก็เคยมีประสบการณ์ที่พบปัญหาในการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินด้วย เนื่องจากเราไม่ใช่ข้าราชการระดับสูง ไม่ใช่นักการเมือง บางครั้งเราก็จำกระบวนการและขั้นตอนช่วงเวลาที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้ เช่น ต้องยื่นหลังพ้นตำแหน่ง 30 วัน 1 ปี หรือ 3 ปี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีกลไกที่มาคอยเตือนและสนับสนุน
เช่น ปัจจุบันตนเป็นกรรมการ สปสช. อยู่ ในการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ทั้ง ป.ป.ช. และ สปสช.ควรมีไทม์ไลน์ที่คอยเตือนกรรมการ สปสช.ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินที่เป็นการสนับสนุนการทำงานของกรรมการ เพื่อไม่ให้ทำผิดกติกา เพราะบางครั้งกรรมการอาจลืมได้ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดที่จะไม่รายงาน ซึ่งกรณีของคุณดำรงระบุว่า ได้เคยเปิดบัญชีธนาคารไว้ในต่างจังหวัด แต่ก็ลืมไปจึงไม่ได้รายงาน ไม่ได้เจตนาที่จะไม่รายงาน ดังนั้น ป.ป.ช.เองต้องไม่หยุมหยิมกับประเด็นและรายละเอียดเล็กน้อยหล่านี้ โดยต้องดูจากเจตนาเป็นหลัก นอกจากนี้ควรปรับปรุงระบบเพื่อทำให้ผู้ที่ต้องรายงานบัญชีทรัพย์สินมีความง่ายและสะดวกในการจัดการ
“การลาออกของกรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการ สปสช.ทั้ง 4 คน เป็นสิทธิของแต่ละคน ซึ่งบางคนไม่อยากยุ่งยากวุ่นวายในการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินจึงถอนตัว เพราะประกาศฉบับใหม่นี้ครอบคลุมไปถึงครอบครัวและลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นสิทธิส่วนบุคคล ส่วนการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินจะเป็นเหตุกระทั่งทำให้คนไม่อยากเข้ามาทำงาน หรือหาคนมาทำหน้าที่ไม่ได้เลยนี้ มองว่าประเทศคงไม่ขาดแคลนขนาดนั้น แต่ในฐานะกรรมการระดับสูงของหน่วยงานต้องสนับสนุนกระบวนการป้องกันการทุจริต ความโปร่งใส และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น” กรรมการ สปสช. กล่าว
(ที่มา : Hfocus.org)
ด้าน สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และในฐานะ บอร์ด สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรอิสระหลายคน ทั้งสภามหาวิทยาลัย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมลาออกหลายคน ภายหลังจากที่ ป.ป.ช. ได้ออกประกาศให้ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินนั้น ในส่วนของตนเองมีความเห็นต่อเรื่องนี้ 3 ประเด็น คือ
1.กรรมการระดับสูงของหน่วยงานในประเทศนี้ควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน เพราะต้องช่วยกันสนับสนุนการสร้างความโปร่งใส การป้องกันทุจริตและคอรัปชั่น รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในความรับผิดชอบ ซึ่งจากการทำงานในบอร์ด สปสช.ที่ผ่านมา หากถามว่ามีอะไรที่ไม่โปร่งใสหรือไม่ ก็คงไม่มี เพราะว่าในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากกรรมการท่านใดมีส่วนที่เกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็จะออกการพิจารณาก่อน
2.ความเข้มแข็งของ ป.ป.ช.ในการจริงจังกับการใช้ข้อมูลที่ได้รับหรือกรณีการพบทุจริตที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังให้เห็นผล ซึ่งจะทำให้มีผู้สนับสนุนการแสดงบัญชีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งที่ผ่าน ป.ป.ช.ยังไม่ได้ทำให้เห็นว่ามีความเข้มแข็งและใช้ข้อมูลที่ได้เหล่านี้เพื่อป้องกันและควบคุมการทุจริตอย่างไร
ยกตัวอย่างกรณีการตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สินในรัฐบาลนี้ ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้มีการตรวจสอบพบบางคนมีทรัพย์สินถึง 300 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปอย่างไร ไม่มีการจัดการอะไร อาจเป็นเหตุทำให้คนไม่ค่อยสนับสนุนได้เพราะดูแล้วว่า เมื่อให้มีการยื่นบัญชีทรัพย์สินไปแล้วก็ไม่เห็นมีประโยชน์หรืออะไรเกิดขึ้น
3.หน่วยงาน และ ป.ป.ช.ต้องมีระบบรายงานที่ง่ายและเป็นมืออาชีพ เพื่อสนับสนุนและคอยอำนวยการทำหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินของกรรมการ ซึ่งจากการประกาศลาออกจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ของนายดํารง พุฒตาล อดีตสมาชิกวุฒิสภา จากที่ได้ดูการชี้แจงผ่าน You tube ก็เข้าใจ เพราะตัวเองก็เคยมีประสบการณ์ที่พบปัญหาในการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินด้วย เนื่องจากเราไม่ใช่ข้าราชการระดับสูง ไม่ใช่นักการเมือง บางครั้งเราก็จำกระบวนการและขั้นตอนช่วงเวลาที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้ เช่น ต้องยื่นหลังพ้นตำแหน่ง 30 วัน 1 ปี หรือ 3 ปี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีกลไกที่มาคอยเตือนและสนับสนุน
เช่น ปัจจุบันตนเป็นกรรมการ สปสช. อยู่ ในการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ทั้ง ป.ป.ช. และ สปสช.ควรมีไทม์ไลน์ที่คอยเตือนกรรมการ สปสช.ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินที่เป็นการสนับสนุนการทำงานของกรรมการ เพื่อไม่ให้ทำผิดกติกา เพราะบางครั้งกรรมการอาจลืมได้ ไม่ได้มีเจตนาปกปิดที่จะไม่รายงาน ซึ่งกรณีของคุณดำรงระบุว่า ได้เคยเปิดบัญชีธนาคารไว้ในต่างจังหวัด แต่ก็ลืมไปจึงไม่ได้รายงาน ไม่ได้เจตนาที่จะไม่รายงาน ดังนั้น ป.ป.ช.เองต้องไม่หยุมหยิมกับประเด็นและรายละเอียดเล็กน้อยหล่านี้ โดยต้องดูจากเจตนาเป็นหลัก นอกจากนี้ควรปรับปรุงระบบเพื่อทำให้ผู้ที่ต้องรายงานบัญชีทรัพย์สินมีความง่ายและสะดวกในการจัดการ
“การลาออกของกรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการ สปสช.ทั้ง 4 คน เป็นสิทธิของแต่ละคน ซึ่งบางคนไม่อยากยุ่งยากวุ่นวายในการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินจึงถอนตัว เพราะประกาศฉบับใหม่นี้ครอบคลุมไปถึงครอบครัวและลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นสิทธิส่วนบุคคล ส่วนการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินจะเป็นเหตุกระทั่งทำให้คนไม่อยากเข้ามาทำงาน หรือหาคนมาทำหน้าที่ไม่ได้เลยนี้ มองว่าประเทศคงไม่ขาดแคลนขนาดนั้น แต่ในฐานะกรรมการระดับสูงของหน่วยงานต้องสนับสนุนกระบวนการป้องกันการทุจริต ความโปร่งใส และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น” กรรมการ สปสช. กล่าว
(ที่มา : Hfocus.org)
แสดงความคิดเห็น