ศาลยุติธรรมชี้คดี 'พันธ์ศักดิ์ พลเมืองรุกเดิน' ขึ้นศาลทหาร ระบุรปห.สำเร็จคำสั่งคสช.มี สถานะเป็นก.ม.
Posted: 01 Apr 2016 06:48 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ระบุคสช.รัฐประหารสำเร็จ คำสั่งจึงมีสถานะเป็นกฎหมายใช้ บังคับได้ทั่วไป กรณี 'พันธ์ศักดิ์ พลเมืองรุกเดิน’ ศาลทหารกรุ งเทพนัดอ่านคำวินิจฉั ยของศาลอาญาเรื่องเขตอำนาจศาล มีความเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ ในเขตอำนาจของศาลทหาร
1 เม.ย. 2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุ ษยชนรายงานว่า คดีหมายเลขดำที่ 175 ก./2558 ที่มีนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพเป็นจำเลยในคดี โดยถูกฟ้องต่อศาลทหารกรุ งเทพในความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 และ ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิ ดความกระด้างกระเดื่องต่อรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการทำกิจกรรมพลเมืองรุกเดิน ซึ่งทนายจำเลยเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในควรอยู่ ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลยุติ ธรรม จึงได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉั ยเรื่องเขตอำนาจศาล เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2558
วันนี้ เวลา 8.30 น. ศาลทหารกรุงเทพอ่านคำวินิจฉั ยของศาลอาญาในเรื่องเขตอำนาจ ตามคำวินิจฉัยที่ 1/2559 ลงวันที่ 29 ม.ค. 2559 โดยศาลอาญามีความเห็นว่า คดีของจำเลยอยู่ ในเขตอำนาจของศาลทหาร
โดยสาระสำคัญดังนี้
การที่ คสช. ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเป็ นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ทำให้ประกาศและคำสั่งที่ออกโดย คสช. มีสถานะเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ ทั่วไป ทั้งนี้ คสช. จำต้องเข้าควบอำนาจเพื่อการรั กษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมื อง การประกาศห้ามนุมนุมทางการเมือง ตามประกาศ คสช. ที่ 7/2557 ประกาศ คสช. ที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ ในอำนาจของศาลทหาร และประกาศ คสช. ที่ 38/2557 เรื่อง คดีที่ประกอบการหลายอย่างเกี่ ยวโยงกันให้อยู่ ในอำนาจของศาลทหาร ประกาศดังกล่าวจึงมีสถานะเป็ นกฎหมายด้วย
ทั้งนี้ ในระยะเวลาดังกล่าวได้มี ประกาศกฎอัยการศึก แม้ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ก็ตาม แต่ตามกติการระหว่างประเทศดั งกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 4 ที่ให้รัฐภาคีสามารถเลี่ยงพั นธกรณีได้ในบางประการ คือ ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งรวมถึ งการประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยรัฐภาคีจะต้องแจ้งการเลี่ ยงพันธกรณีดังกล่าวให้แก่รั ฐภาคีอื่นได้ทราบโดยยื่นเรื่ องผ่านสหประชาชาติ
ในการประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าว ประเทศไทยโดยคณะผู้ แทนถาวรไทยประจำองค์ การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้มีหนังสือถึงเลขาธิ การสหประชาชาติแล้ว โดยไทยขอเลี่ยงพันธกรณีภายใต้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองเละสิทธิทางการเมื องบางประการ รวมถึงข้อ 14 (5) (สิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็ นธรรม) เฉพาะส่วนที่ได้มอบหมายให้ ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีแล้ว ดังนั้นประกาศ คสช. ที่ 7/2557, 37/2557 และ 38/2557 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อกติการะหว่ างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมื องเละสิทธิทางการเมือง
นอกจากนี้ ตามมาตรา 47 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้บัญญัติให้บรรดาประกาศหรื อคำสั่งของ คสช. หรือ คำสังหัวหน้า คสช. ที่ได้ประกาศตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ามารั บหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ว่าประกาศหรือคำสั่งให้มี ผลบังคับใช้ในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิ บัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่ าวมีผลใช้บังคับจนกว่าจะมี กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง แล้วแต่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรื อยกเลิกตามบทบัญญัติรัฐธรรมนู ญดังกล่าว อันเป็นการรับรองว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557, 37/2557 และ 38/2557 ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฝ่ าผืนประกาศ คสช. ที่ 7/2557 กรณีการชุมนุมทางการเมือง และ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกั บคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อันเป็นความผิดที่อยู่ ในเขตอำนาจของศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ที่ 37/2557 และ 38/2557 ศาลอาญาจึงมีความเห็นว่า คดีของจำเลยอยู่ ในเขตอำนาจของศาลทหาร
ทั้งนี้ ในระยะเวลาดังกล่าวได้มี
ในการประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าว ประเทศไทยโดยคณะผู้
นอกจากนี้ ตามมาตรา 47 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ได้บัญญัติให้บรรดาประกาศหรื
ดังนั้น การที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฝ่
ทั้งนี้ ศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดี ของจำเลยอยู่ ในเขตอำนาจของศาลทหารกรุงเทพ เมื่อทั้งสองศาลเห็นพ้องกัน ศาลทหารกรุงเทพจึงดำเนิ นกระบวนพิจารณาต่อไป โดยคดีนี้อยู่ระหว่างนั ดถามคำให้การจำเลย ศาลจึงถามคำให้การจำเลยวันนี้ โดยศาลได้อ่านคำฟ้องของโจทก์ให้ จำเลยฟัง จำเลยได้ฟังแล้วให้การปฏิเสธทุ กข้อกล่าวหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน วันที่ 11 กรกฎาคม 2559
แสดงความคิดเห็น