Posted: 23 Mar 2018 01:50 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
กรมควบคุมโรคจับมือ สปสช.บูรณาการงบปี 61 กว่า 30 ล้านบาท รุกคัดกรองวัณโรค เอกซเรย์ทรวงอกผู้ต้องขังทุกรายในเรือนจำทั่วประเทศ 137 แห่ง พร้อมนำผู้ป่วยวัณโรคเข้าสู่การรักษา ลดการแพร่ระบาด ร่วมสนับสนุนแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคฯ ให้บรรลุเป้าหมาย
23 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันที่ 24 มี.ค. ของทุกปีองค์การอนามัยโลก, สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD : International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) และองค์กรอื่นๆ ที่ตระหนักถึงภัยจากวัณโรค ได้ร่วมกำหนดให้เป็น “วันวัณโรคโลก”(World Tuberculosis Day) เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรราว 1.6 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม และเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยโดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค, วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง ประมาณการณ์มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี เสียชีวิต 12,000 รายต่อปี ทั้งยังเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยกรณีเป็นวัณโรคดื้อยารุนแรงมีค่ารักษาสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย
จากสถานการณ์วัณโรคดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 ที่มุ่งลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคให้ได้ในอัตรา 12.5% ต่อปี โดยเน้นให้ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการวินิจฉัยและรักษา พร้อมดูแลการทานยาให้ครบและหายขาด โดยมีผู้ต้องขังเป็นหนึ่งในประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพราะมีการย้ายเข้าออกของผู้ต้องขังตลอดเวลา ประกอบกับสภาพแวดล้อมในเรือนจำที่มีข้อจำกัดทั้งในด้านสถานที่และจำนวนผู้ต้องขังจึงง่ายต่อการแพร่เชื่อวัณโรค เฉลี่ยมีอุบัติการณ์ของโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป 7-10เท่า และเพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดการแพร่ระบาดวัณโรคในเรือนจำ ปี 2561 นี้ สปสช.จึงร่วมดำเนินการเชิงรุก “บูรณาการงบบริการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำของงบประมาณกรมควบคุมโรค (คร.) และงบบริการผู้ป่วยวัณโรค สปสช.ปีงบประมาณ 2561” เพื่อค้นหาและคัดกรองวัณโรคในเรือนจำครอบคลุมทุกเขตและทุกเรือนจำ
นพ.ชูชัย กล่าวว่า การค้นหาวัณโรคเชิงรุกในเรือนจำ ในปี 2561 นี้จะเป็นปีแรกที่ใช้การคัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ให้กับผู้ต้องขังทุกราย ในเรือนจำ 137 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งในกรณีที่ผลเอกซเรย์ทรวงอกพบความผิดปกติ จะมีการเก็บเสมหะส่งตรวจ (AFB) และ/หรือ ตรวจเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยาด้วย Xpert MTB/RIF โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 10,560,640 บาท และงบประมาณสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค รวมเป็นเงิน 20,639,360 บาท ทั้งนี้ข้อมูลกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 1 ม.ค. 2561 มีจำนวนผู้ต้องขัง 325,298 ราย
“ปี 2561 เป็นปีแรกที่มีการบูรณการงบประมาณร่วมกันเพื่อคัดกรองวัณโรคผู้ต้องขังในเรือนจำอย่างครอบคลุม ทำให้ผู้ต้องขังได้รับการเอกซเรย์ทรวงอกทุกราย และด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ช่วยให้ผู้ต้องขังในเรือนจำที่ป่วยเป็นวัณโรคเข้าถึงการรักษาและได้รับการกินยารักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่องด้วยนั้น ส่งผลให้การควบคุมการแพร่ระบาดวัณโรคในเรือนจำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดอัตราการผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 ให้บรรลุเป้าหมาย นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของ สปสช.เพื่อดูแลสุขภาพคนไทย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
23 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันที่ 24 มี.ค. ของทุกปีองค์การอนามัยโลก, สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD : International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) และองค์กรอื่นๆ ที่ตระหนักถึงภัยจากวัณโรค ได้ร่วมกำหนดให้เป็น “วันวัณโรคโลก”(World Tuberculosis Day) เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรราว 1.6 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม และเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยโดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค, วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง ประมาณการณ์มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี เสียชีวิต 12,000 รายต่อปี ทั้งยังเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยกรณีเป็นวัณโรคดื้อยารุนแรงมีค่ารักษาสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย
จากสถานการณ์วัณโรคดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 ที่มุ่งลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคให้ได้ในอัตรา 12.5% ต่อปี โดยเน้นให้ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการวินิจฉัยและรักษา พร้อมดูแลการทานยาให้ครบและหายขาด โดยมีผู้ต้องขังเป็นหนึ่งในประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพราะมีการย้ายเข้าออกของผู้ต้องขังตลอดเวลา ประกอบกับสภาพแวดล้อมในเรือนจำที่มีข้อจำกัดทั้งในด้านสถานที่และจำนวนผู้ต้องขังจึงง่ายต่อการแพร่เชื่อวัณโรค เฉลี่ยมีอุบัติการณ์ของโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป 7-10เท่า และเพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดการแพร่ระบาดวัณโรคในเรือนจำ ปี 2561 นี้ สปสช.จึงร่วมดำเนินการเชิงรุก “บูรณาการงบบริการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำของงบประมาณกรมควบคุมโรค (คร.) และงบบริการผู้ป่วยวัณโรค สปสช.ปีงบประมาณ 2561” เพื่อค้นหาและคัดกรองวัณโรคในเรือนจำครอบคลุมทุกเขตและทุกเรือนจำ
นพ.ชูชัย กล่าวว่า การค้นหาวัณโรคเชิงรุกในเรือนจำ ในปี 2561 นี้จะเป็นปีแรกที่ใช้การคัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ให้กับผู้ต้องขังทุกราย ในเรือนจำ 137 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งในกรณีที่ผลเอกซเรย์ทรวงอกพบความผิดปกติ จะมีการเก็บเสมหะส่งตรวจ (AFB) และ/หรือ ตรวจเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยาด้วย Xpert MTB/RIF โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 10,560,640 บาท และงบประมาณสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค รวมเป็นเงิน 20,639,360 บาท ทั้งนี้ข้อมูลกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 1 ม.ค. 2561 มีจำนวนผู้ต้องขัง 325,298 ราย
“ปี 2561 เป็นปีแรกที่มีการบูรณการงบประมาณร่วมกันเพื่อคัดกรองวัณโรคผู้ต้องขังในเรือนจำอย่างครอบคลุม ทำให้ผู้ต้องขังได้รับการเอกซเรย์ทรวงอกทุกราย และด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ช่วยให้ผู้ต้องขังในเรือนจำที่ป่วยเป็นวัณโรคเข้าถึงการรักษาและได้รับการกินยารักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่องด้วยนั้น ส่งผลให้การควบคุมการแพร่ระบาดวัณโรคในเรือนจำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การลดอัตราการผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 ให้บรรลุเป้าหมาย นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของ สปสช.เพื่อดูแลสุขภาพคนไทย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
แสดงความคิดเห็น