ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และหัวหน้าหน่วยหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Posted: 23 Mar 2018 05:00 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพกระดูกและการรับประทานแคลเซียมของคนไทย ด้านเอกชนยินดีร่วมเป็นเครือข่ายเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องสู่สาธารณะ
23 มี.ค. 2561 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจ้งว่า ศ.ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และหัวหน้าหน่วยหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเสวนาและประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่อง “การสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพกระดูกและการรับประทานแคลเซียมของคนไทย” ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้แทนบริษัทยา นักวิชาการ ประชาชน และสื่อมวลชน ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ภายใต้การสนับสนุนของงานนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สกว.
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับแคลเซียมและกระดูกที่สังคมต้องการทราบ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นต้น รวมถึงรูปแบบของสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสังคม ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ด้วยสื่อที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกในคนไทย ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพกระดูกที่ดีในองค์รวม ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าแคลเซียมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย และมีการทำงานอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าปกติทารกอายุ 6 เดือนแรกไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารใด ๆ นอกจากน้ำนมแม่ ยกเว้นมีปัญหาด้านสุขภาพที่จำเป็นต้องให้สารอาหารอื่น แต่ถ้าแคลเซียมในนมแม่ไม่เพียงพอ เด็กก็อาจจะได้รับผลกระทบในการเจริญเติบโตทางร่างกาย หรือในคนทั่วไปอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนซึ่งเป็นผลจากโรคต่าง ๆ แม้จะยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แม้ร่างกายจะหยุดเจริญเติบโตแต่ยังมีความต้องการแคลเซียมอยู่ตลอดเวลา เพื่อซ่อมแซมการเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลารวมถึงการเสื่อมลงตามอายุ
ปัจจุบันพบผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่เกิน 65 ปี มีภาวะกระดูกพรุนจำนวนร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด และเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพที่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยให้ความสนใจ ด้วยอุบัติการณ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพกระดูก ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ผู้คนได้รับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดข้อมูลป้อนกลับจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นของข่าวสารด้านแคลเซียมและกระดูกที่สังคมต้องการทราบ แม้นักวิจัยจะพยายามสื่อสารข้อมูลสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นเวลานับสิบปี แต่ไม่มีการรับรู้ในวงกว้าง จึงเป็นที่มาของการจัดการสนทนากลุ่มหรือโฟกัสกรุ๊ปในครั้งนี้ เพื่อระดมสมองหาช่องทางให้เกิดการรับรู้มากขึ้น โจทย์ที่พบบ่อยในภาคอุตสาหกรรมคือความต้องการรู้สูตรของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมว่าควรมีอะไรบ้าง เช่น โซเดียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ในปริมาณเท่าใด
การรับประทานแคลเซียมให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ในขอบเขตที่กรมอนามัยกำหนด นั่นคือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุอาจเพิ่มปริมาณถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ส่วนใหญ่คนไทยบริโภคเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างชีสหรือนมก็ไม่ใช่อาหารไทยที่คนไทยรับประทานทุกมื้อเป็นอาหารหลัก ส่วนโอกาสที่การรับประทานอาหารจนได้รับแคลเซียมมากเกิน จนทำให้เกิดอันตรายหรือความเป็นพิษนั้น โอกาสเกิดน้อยมาก แต่ถ้ารับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีโอกาสได้รับเกินขนาด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือรบกวนการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญจากการสนทนากลุ่มในครั้งนี้ คือ การเผยแพร่ความรู้ด้านกระดูกและแคลเซียมไปสู่สาธารณะให้เกิดความเข้าใจต้องทำเป็นแพ็คเกจที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายภายใต้บริบทของประเทศไทย ซึ่งทางบริษัทยายินดีให้การสนับสนุนในการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วไปที่คนไทยควรทราบ เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรือความรู้ที่ถูกต้องทางวิชาการในเชิงลึกตามสื่อต่าง ๆ ที่ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนทุกช่วงวัยได้หมด ซึ่งที่ผ่านมายังมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ผนวกกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้รับประทานแคลเซียม แล้วนำมาเป็นแหล่งอ้างอิงในการสื่อสารสาธารณะ จึงควรจะมีการให้ผู้มีความรู้เชิงลึกเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพกระดูกและการรับประทานแคลเซียมของคนไทย ด้านเอกชนยินดีร่วมเป็นเครือข่ายเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องสู่สาธารณะ
23 มี.ค. 2561 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจ้งว่า ศ.ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และหัวหน้าหน่วยหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเสวนาและประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่อง “การสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพกระดูกและการรับประทานแคลเซียมของคนไทย” ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้แทนบริษัทยา นักวิชาการ ประชาชน และสื่อมวลชน ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ภายใต้การสนับสนุนของงานนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สกว.
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับแคลเซียมและกระดูกที่สังคมต้องการทราบ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นต้น รวมถึงรูปแบบของสื่อที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสังคม ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ด้วยสื่อที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกในคนไทย ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพกระดูกที่ดีในองค์รวม ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าแคลเซียมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย และมีการทำงานอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าปกติทารกอายุ 6 เดือนแรกไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารใด ๆ นอกจากน้ำนมแม่ ยกเว้นมีปัญหาด้านสุขภาพที่จำเป็นต้องให้สารอาหารอื่น แต่ถ้าแคลเซียมในนมแม่ไม่เพียงพอ เด็กก็อาจจะได้รับผลกระทบในการเจริญเติบโตทางร่างกาย หรือในคนทั่วไปอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนซึ่งเป็นผลจากโรคต่าง ๆ แม้จะยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แม้ร่างกายจะหยุดเจริญเติบโตแต่ยังมีความต้องการแคลเซียมอยู่ตลอดเวลา เพื่อซ่อมแซมการเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลารวมถึงการเสื่อมลงตามอายุ
ปัจจุบันพบผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่เกิน 65 ปี มีภาวะกระดูกพรุนจำนวนร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด และเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพที่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยให้ความสนใจ ด้วยอุบัติการณ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพกระดูก ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้ผู้คนได้รับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดข้อมูลป้อนกลับจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นของข่าวสารด้านแคลเซียมและกระดูกที่สังคมต้องการทราบ แม้นักวิจัยจะพยายามสื่อสารข้อมูลสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นเวลานับสิบปี แต่ไม่มีการรับรู้ในวงกว้าง จึงเป็นที่มาของการจัดการสนทนากลุ่มหรือโฟกัสกรุ๊ปในครั้งนี้ เพื่อระดมสมองหาช่องทางให้เกิดการรับรู้มากขึ้น โจทย์ที่พบบ่อยในภาคอุตสาหกรรมคือความต้องการรู้สูตรของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมว่าควรมีอะไรบ้าง เช่น โซเดียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ในปริมาณเท่าใด
การรับประทานแคลเซียมให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ในขอบเขตที่กรมอนามัยกำหนด นั่นคือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุอาจเพิ่มปริมาณถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ส่วนใหญ่คนไทยบริโภคเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างชีสหรือนมก็ไม่ใช่อาหารไทยที่คนไทยรับประทานทุกมื้อเป็นอาหารหลัก ส่วนโอกาสที่การรับประทานอาหารจนได้รับแคลเซียมมากเกิน จนทำให้เกิดอันตรายหรือความเป็นพิษนั้น โอกาสเกิดน้อยมาก แต่ถ้ารับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีโอกาสได้รับเกินขนาด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือรบกวนการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญจากการสนทนากลุ่มในครั้งนี้ คือ การเผยแพร่ความรู้ด้านกระดูกและแคลเซียมไปสู่สาธารณะให้เกิดความเข้าใจต้องทำเป็นแพ็คเกจที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายภายใต้บริบทของประเทศไทย ซึ่งทางบริษัทยายินดีให้การสนับสนุนในการเผยแพร่องค์ความรู้ทั่วไปที่คนไทยควรทราบ เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรือความรู้ที่ถูกต้องทางวิชาการในเชิงลึกตามสื่อต่าง ๆ ที่ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนทุกช่วงวัยได้หมด ซึ่งที่ผ่านมายังมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ผนวกกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้รับประทานแคลเซียม แล้วนำมาเป็นแหล่งอ้างอิงในการสื่อสารสาธารณะ จึงควรจะมีการให้ผู้มีความรู้เชิงลึกเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ
แสดงความคิดเห็น