Posted: 08 Jul 2018 05:13 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
เสวนา 'รับน้องต้องสมัครใจ ไม่ละเมิด เปิดเผย' ระบุการรับน้องคือการทำลายความเป็นตัวตนโดยใช้อำนาจนิยมที่ปลูกกันฝังมาในสังคมไทย แนะแก้ไขระบบโซตัสเบื้องต้นอาจให้คนหัวก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน มาเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มรุ่นพี่
8 ก.ค. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่าที่ Warehouse 30 ซอยเจริญกรุง เขตบางรัก New Gen Network จัดเสวนา “รับน้องต้องสมัครใจ ไม่ละเมิด เปิดเผย” ประกอบด้วย น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง หรือ “นานา” กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่, นายภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย หรือ “เหน่อ หนองกระโดน” อดีตรองเลขากลุ่มปฏิรูปการรับน้องประชุมเชียร์เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Anti Sotus), นายชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ ประธานนักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมปี 2560 (เทียบโอน) ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ และนายภัทร กองทรัพย์ อดีตนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนในอเมริกา ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนสถานการณ์รับน้องในประเทศ แชร์กิจกรรมทางเลือกสร้างสรรค์ และหาทางออกสู่การรับเพื่อนใหม่อย่างมีความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้เข้าร่วมฟังเสวนาเป็นจำนวนมาก
น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่าจากประสบการณ์การรับน้องโดยส่วนตัวคิดว่าคือการทำลายความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคน เพราะคนที่เข้าเรียนปีหนึ่งส่วนใหญ่จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง พอเข้าไปในมหาวิทยาลัยแล้วระบบโซตัสจะทำลายอัตลักษณ์ของแต่ละคนหลายคน โดยสั่งให้เปลี่ยนสีผม เปลี่ยนทรงผม การแต่งตัว บางครั้งถูกบังคับให้ทำอะไรเหมือนๆ คนอื่น รวมถึงความรุนแรง ซึ่งคนแต่ละคนมีเส้นความรุนแรงแตกต่างกัน หลายคนอาจรับได้หรือไม่ได้กับความรุนแรง แต่ความจริงระบบโซตัสคือเรื่องของการกดความคิด เช่น คำพูดจากรุ่นพี่ที่ใช้ด่าทอน้องๆว่า "ทำได้แค่นี้เองเหรอ" "อ่อนแอ" หรือ "เสียงดังได้แค่นี้" หลายคนต้องทนเพราะไม่อยากให้ถูกตราหน้าว่าอ่อนแอ ซึ่งคือการทำลายความเป็นตัวตนของคนๆ นั้น โดยใช้อำนาจนิยมที่ปลูกกันฝังมาในสังคมไทย
"บางมหาลัยมีบังคับด้วยว่าการไม่เข้ากิจกรรมรับน้องจะเรียนไม่จบ เพื่อกดดันนักศึกษาที่เข้าใหม่ ซึ่งก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ระบบการศึกษาของบางมหาลัยก็เหมือนอำนาจนิยมที่ส่งเสริมและให้สิทธิแก่รุ่นพี่ในการตัดสินว่าคนๆนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านกิจกรรมจนหลายสิ่งหลายอย่างเกื้อหนุนให้รุ่นพี่คิดว่าตัวเองมีอำนาจและจะสั่งให้รุ่นน้องทำอะไรก็ได้ตามต้องการ และเด็กปีหนึ่งทุกคนต้องทำตามถ้าไม่ทำตามจะเรียนไม่จบ บางครั้งรุ่นพี่ก็ใช้อนาคตมากดกันอย่างเช่น การบอกรุ่นน้องว่าโลกการทำงานมันแคบถ้าไม่สร้างความสัมพันธ์หรือสร้างเครือข่ายตอนนี้จะถูกกีดกันในการทำงาน"
“ระบบการศึกษาหลายสถาบันควรจะเลิกตั้งคำถามได้แล้วว่าจะให้รุ่นน้องที่เข้าใหม่ ร่วมร้องเพลงเชียร์หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างไร หรือสร้างคนให้เป็นเหมือนกันอย่างไรเพื่อให้น้องพี่สามัคคีกันได้ ซึ่งสิ่งนี้เหมือนคือการกดคนให้เป็นแบบที่คุณต้องการ ทำไมไม่ลองคิดว่าคุณอยากสร้างคนแบบไหนขึ้นมา ระหว่างคนที่ถูกจำกัดความคิดไว้ให้เป็นแบบที่คุณต้องการเหมือนๆ กันหมด หรืออยากจะรับคนที่มีหัวคิดก้าวหน้า ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง” น.ส.วิภาพรรณกล่าว
นายภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย กล่าวว่า การรับน้องเป็นเรื่องของผลประโยชน์มหาศาล และความรุนแรงในระบบโซตัสที่น่ากลัวที่สุดคือการที่ทำให้ทุกคนที่เข้าการรับน้องตื่นมาทุกเช้าแล้วเกิดความหวาดกลัวว่าวันนี้จะทำอะไรไม่ถูกใจรุ่นพี่หรือเปล่า ซึ่งนักศึกษาปีหนึ่งมักเป็นประจำ การรับน้องคือวัฒนธรรมที่สิ้นเปลือง เราไม่จำเป็นต้องรับน้อง ทุกคนมีสิทธิเลือก บางคนคิดว่าถ้าไม่ทนบน้องจะโดนต่อต้านจากรุ่นพี่และถูกรุ่นพี่ดูถูก เรียนไม่จบหรืออะไรก็ตาม ร้ายแรงสุดคือผู้ชายจะถูกรุ่นพี่ทำร้ายร่างกาย สิ่งเหล่านี้เราไม่จำเป็นต้องทนกับมัน ไม่ว่าจะละเมิดหรือไม่ละเมิด ตนไม่เคยเข้ารับน้องก็เรียนจบได้มีอนาคตได้
“คำว่าละเมิด-ไม่ละเมิด พูดได้ยาก การรับน้องที่ดีก็แค่ทำกิจกรรมสันทนาการก็พอแล้ว ถึงแม้จะมีความเป็นอำนาจนิยมบ้าง แต่คือทางเลือกที่ดีที่สุดหากอยากจะรู้จักกัน ไม่จำเป็นต้องมาจูบปากหรือจูบดิน ความสามัคคีเกิดขึ้นได้เสมอแค่ระยะสั้นๆ บางคนไปเข้าค่ายกันแค่สองวันก็ก็สนิทกันไปถึง 4 ปี ระบบโซตัสต้องการให้สร้างความสามัคคีระยะยาว แต่บังคับให้คนต้องสนิทกันทุกวันแค่นี้ก็คือความเผด็จการแล้ว”
นายชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ กล่าวว่าการรับน้องคือการใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือ โซตัสถูกพ่วงกับระบบอำนาจนิยม เมื่อต้องการให้รุ่นน้องเชื่อฟัง ก็ต้องใช้ความกลัวเข้าข่ม หลายคนต้องอดทนตลอด 1 ปี หรืออาจต้องทนไปจนเรียนจบ สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทย การแก้ไขระบบโซตัสเบื้องต้น โดยส่วนตัวคือการค้นหาบุคคลที่มีหัวก้าวหน้าในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ถ้าสามารถดันคนแบบนั้นขึ้นมาเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มรุ่นพี่ได้ ก็อาจจะแก้ไขได้ในส่วนหนึ่ง
นายภัทร กองทรัพย์ กล่าวว่าสิ่งที่ตนได้ไปพบเจอมาจากระบบการศึกษาของที่อเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นสิทธิมนุษยชนมาก แต่พอย้ายมาเรียนปีหนึ่งที่ประเทศไทย ความแตกต่างเหล่านั้นทำให้รู้สึกไม่โอเค จุดประสงค์ของระบบโซตัสในไทยคือการทำให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันและปรับเข้าหากัน ทั้งที่ต้องเป็นองค์กรเองที่ต้องเรียนรู้แล้วปรับตัวให้เข้ากับคนที่เข้ามาใหม่ได้อย่างไร ต้องคงไว้ซึ่งความคิดและตัวตนของเขา ไม่ใช่กดความคิดให้เขาคิดเหมือนๆ กัน ในฐานะที่เคยเรียนที่อเมริกาที่นั่นไม่มีระบบการรับน้อง ไม่มีการสร้างสังคมแบบไทย แต่การสร้างความสัมพันธ์ของที่นั่นคือระบบชมรมหรือคลับที่มีปลดปล่อยอิสระทางความคิดของนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่รุ่นพี่และรุ่นน้องได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแท้จริงโดยที่ไม่จำเป็นต้องมาว้ากใส่กัน มากดดัน มาบังคับความคิดกันเลยด้วยซ้ำ
เสวนา 'รับน้องต้องสมัครใจ ไม่ละเมิด เปิดเผย' ระบุการรับน้องคือการทำลายความเป็นตัวตนโดยใช้อำนาจนิยมที่ปลูกกันฝังมาในสังคมไทย แนะแก้ไขระบบโซตัสเบื้องต้นอาจให้คนหัวก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน มาเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มรุ่นพี่
8 ก.ค. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่าที่ Warehouse 30 ซอยเจริญกรุง เขตบางรัก New Gen Network จัดเสวนา “รับน้องต้องสมัครใจ ไม่ละเมิด เปิดเผย” ประกอบด้วย น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง หรือ “นานา” กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่, นายภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย หรือ “เหน่อ หนองกระโดน” อดีตรองเลขากลุ่มปฏิรูปการรับน้องประชุมเชียร์เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Anti Sotus), นายชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ ประธานนักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมปี 2560 (เทียบโอน) ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ และนายภัทร กองทรัพย์ อดีตนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนในอเมริกา ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนสถานการณ์รับน้องในประเทศ แชร์กิจกรรมทางเลือกสร้างสรรค์ และหาทางออกสู่การรับเพื่อนใหม่อย่างมีความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้เข้าร่วมฟังเสวนาเป็นจำนวนมาก
น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่าจากประสบการณ์การรับน้องโดยส่วนตัวคิดว่าคือการทำลายความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคน เพราะคนที่เข้าเรียนปีหนึ่งส่วนใหญ่จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง พอเข้าไปในมหาวิทยาลัยแล้วระบบโซตัสจะทำลายอัตลักษณ์ของแต่ละคนหลายคน โดยสั่งให้เปลี่ยนสีผม เปลี่ยนทรงผม การแต่งตัว บางครั้งถูกบังคับให้ทำอะไรเหมือนๆ คนอื่น รวมถึงความรุนแรง ซึ่งคนแต่ละคนมีเส้นความรุนแรงแตกต่างกัน หลายคนอาจรับได้หรือไม่ได้กับความรุนแรง แต่ความจริงระบบโซตัสคือเรื่องของการกดความคิด เช่น คำพูดจากรุ่นพี่ที่ใช้ด่าทอน้องๆว่า "ทำได้แค่นี้เองเหรอ" "อ่อนแอ" หรือ "เสียงดังได้แค่นี้" หลายคนต้องทนเพราะไม่อยากให้ถูกตราหน้าว่าอ่อนแอ ซึ่งคือการทำลายความเป็นตัวตนของคนๆ นั้น โดยใช้อำนาจนิยมที่ปลูกกันฝังมาในสังคมไทย
"บางมหาลัยมีบังคับด้วยว่าการไม่เข้ากิจกรรมรับน้องจะเรียนไม่จบ เพื่อกดดันนักศึกษาที่เข้าใหม่ ซึ่งก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ระบบการศึกษาของบางมหาลัยก็เหมือนอำนาจนิยมที่ส่งเสริมและให้สิทธิแก่รุ่นพี่ในการตัดสินว่าคนๆนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านกิจกรรมจนหลายสิ่งหลายอย่างเกื้อหนุนให้รุ่นพี่คิดว่าตัวเองมีอำนาจและจะสั่งให้รุ่นน้องทำอะไรก็ได้ตามต้องการ และเด็กปีหนึ่งทุกคนต้องทำตามถ้าไม่ทำตามจะเรียนไม่จบ บางครั้งรุ่นพี่ก็ใช้อนาคตมากดกันอย่างเช่น การบอกรุ่นน้องว่าโลกการทำงานมันแคบถ้าไม่สร้างความสัมพันธ์หรือสร้างเครือข่ายตอนนี้จะถูกกีดกันในการทำงาน"
“ระบบการศึกษาหลายสถาบันควรจะเลิกตั้งคำถามได้แล้วว่าจะให้รุ่นน้องที่เข้าใหม่ ร่วมร้องเพลงเชียร์หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างไร หรือสร้างคนให้เป็นเหมือนกันอย่างไรเพื่อให้น้องพี่สามัคคีกันได้ ซึ่งสิ่งนี้เหมือนคือการกดคนให้เป็นแบบที่คุณต้องการ ทำไมไม่ลองคิดว่าคุณอยากสร้างคนแบบไหนขึ้นมา ระหว่างคนที่ถูกจำกัดความคิดไว้ให้เป็นแบบที่คุณต้องการเหมือนๆ กันหมด หรืออยากจะรับคนที่มีหัวคิดก้าวหน้า ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง” น.ส.วิภาพรรณกล่าว
นายภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย กล่าวว่า การรับน้องเป็นเรื่องของผลประโยชน์มหาศาล และความรุนแรงในระบบโซตัสที่น่ากลัวที่สุดคือการที่ทำให้ทุกคนที่เข้าการรับน้องตื่นมาทุกเช้าแล้วเกิดความหวาดกลัวว่าวันนี้จะทำอะไรไม่ถูกใจรุ่นพี่หรือเปล่า ซึ่งนักศึกษาปีหนึ่งมักเป็นประจำ การรับน้องคือวัฒนธรรมที่สิ้นเปลือง เราไม่จำเป็นต้องรับน้อง ทุกคนมีสิทธิเลือก บางคนคิดว่าถ้าไม่ทนบน้องจะโดนต่อต้านจากรุ่นพี่และถูกรุ่นพี่ดูถูก เรียนไม่จบหรืออะไรก็ตาม ร้ายแรงสุดคือผู้ชายจะถูกรุ่นพี่ทำร้ายร่างกาย สิ่งเหล่านี้เราไม่จำเป็นต้องทนกับมัน ไม่ว่าจะละเมิดหรือไม่ละเมิด ตนไม่เคยเข้ารับน้องก็เรียนจบได้มีอนาคตได้
“คำว่าละเมิด-ไม่ละเมิด พูดได้ยาก การรับน้องที่ดีก็แค่ทำกิจกรรมสันทนาการก็พอแล้ว ถึงแม้จะมีความเป็นอำนาจนิยมบ้าง แต่คือทางเลือกที่ดีที่สุดหากอยากจะรู้จักกัน ไม่จำเป็นต้องมาจูบปากหรือจูบดิน ความสามัคคีเกิดขึ้นได้เสมอแค่ระยะสั้นๆ บางคนไปเข้าค่ายกันแค่สองวันก็ก็สนิทกันไปถึง 4 ปี ระบบโซตัสต้องการให้สร้างความสามัคคีระยะยาว แต่บังคับให้คนต้องสนิทกันทุกวันแค่นี้ก็คือความเผด็จการแล้ว”
นายชนสรณ์ เฉียบเอี่ยมเชาน์ กล่าวว่าการรับน้องคือการใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือ โซตัสถูกพ่วงกับระบบอำนาจนิยม เมื่อต้องการให้รุ่นน้องเชื่อฟัง ก็ต้องใช้ความกลัวเข้าข่ม หลายคนต้องอดทนตลอด 1 ปี หรืออาจต้องทนไปจนเรียนจบ สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทย การแก้ไขระบบโซตัสเบื้องต้น โดยส่วนตัวคือการค้นหาบุคคลที่มีหัวก้าวหน้าในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ถ้าสามารถดันคนแบบนั้นขึ้นมาเป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่มรุ่นพี่ได้ ก็อาจจะแก้ไขได้ในส่วนหนึ่ง
นายภัทร กองทรัพย์ กล่าวว่าสิ่งที่ตนได้ไปพบเจอมาจากระบบการศึกษาของที่อเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นสิทธิมนุษยชนมาก แต่พอย้ายมาเรียนปีหนึ่งที่ประเทศไทย ความแตกต่างเหล่านั้นทำให้รู้สึกไม่โอเค จุดประสงค์ของระบบโซตัสในไทยคือการทำให้คนในองค์กรได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันและปรับเข้าหากัน ทั้งที่ต้องเป็นองค์กรเองที่ต้องเรียนรู้แล้วปรับตัวให้เข้ากับคนที่เข้ามาใหม่ได้อย่างไร ต้องคงไว้ซึ่งความคิดและตัวตนของเขา ไม่ใช่กดความคิดให้เขาคิดเหมือนๆ กัน ในฐานะที่เคยเรียนที่อเมริกาที่นั่นไม่มีระบบการรับน้อง ไม่มีการสร้างสังคมแบบไทย แต่การสร้างความสัมพันธ์ของที่นั่นคือระบบชมรมหรือคลับที่มีปลดปล่อยอิสระทางความคิดของนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่รุ่นพี่และรุ่นน้องได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแท้จริงโดยที่ไม่จำเป็นต้องมาว้ากใส่กัน มากดดัน มาบังคับความคิดกันเลยด้วยซ้ำ
แสดงความคิดเห็น