Prasitchai Kumbang
"ทนายความอิสระ"ถามกลับ"แก้วสรร-พิศิษฐ์"บีบกรมสรรพากรเก็บภาษี หากผิดม.157 ใครจะรับผิดชอบ เตือนผู้มีอำนาจ มีผลต่อความเลื่อมใสศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม
***********************************
นายวันชัย บุนนาค ทนายความอิสระ แสดงความเห็นกรณีการเรียกเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ปผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความว่า
.
ในฐานะที่อยู่ในอาชีพทนายความ อาชีพแขนงหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมมา 32 ปี ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาที่ปรากฏต่อสังคม ผมเองรู้สึกและมีบางกลุ่มบางคนน่าจะรู้สึกแปลกใจ แคลงใจในระบบและการปฏิบัติ และการยอมรับต่อการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในหลายๆกรณี
.
กรณี สตง.เร่งรัดให้สรรพากรประเมินภาษีฯเอากับอดีตนายกทักษิณฯ กรณีขายหุ้นชินฯให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็คฯ เป็นกรณีหนึ่งที่สังคมสับสนต่อข่าวสารและการบังคับใช้กฎหมายกรณีหนึ่ง
.
ผมเองอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติ เสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อความสงบสุขของสังคมและประเทศชาติ
.
กรณีขายหุ้นชินฯแก่กลุ่มทุนเทมาเส็คฯ ที่ คตส.ตั้งคดีสอบสวนดำเนินคดีนั้น คือ อดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีสฯ และแอมเพิลรีชโอนกลับมาให้โอ๊ค เอม 329.2 ล้านหุ้นๆละ 1 บาท แต่ราคาตลาด หุ้นละ 49.25 บาท หากสรุปว่าเป็นการโอนขายโดยสุจริตนอกตลาดหลักทรัพย์แล้ว โอ๊ค เอมต้องชำระภาษีเงินได้ราคาหุ้นละ 48.25 บาท หากไม่ยื่นแบบจะต้องถูกหมายเรียกและประเมินภาษี
.
ก็ปรากฏว่า คตส.เลือกทางตั้งคดีว่าอดีตนายกทักษิณฯใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์ไม่สุจริต มีกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนจากกรณีขายหุ้นชินฯแก่กลุ่มทุนเทมาเส็คฯ และส่งฟ้องศาลฯเพื่อขอริบทรัพย์/ยึดทรัพย์ ส่วนที่ไม่สุจริตให้ตกเป็นของแผ่นดิน
.
ปัญหามีว่า ถ้าออกแนวว่าการโอนหุ้นชินฯของอดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯไปแอมเพิลรีสฯ และแอมเพิลรีชฯโอนกลับมาให้โอ๊ค เอมราคาหุ้นละ 1 บาท 329.2 ล้านหุ้นนั้น เป็นการโอนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาฯจะไม่สามารถยึดเงิน 4.6 หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินกำไรเป็นเงินได้ ที่ขายหุ้นชินฯขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เลย
.
เพราะถ้าโอนชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเงินได้ของโอ๊ค เอม ไม่ใช่จำเลยในคดี ศาลฎีกาฯก็จะยึดไม่ได้
.
ในที่สุดศาลฎีกาฯก็วินิจฉัยทำนองว่า การที่อดีตนายกฯและคุณหญิงฯโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ และแอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมนั้น เป็นการโอนหุ้นฯที่ไม่สุจริต
.
หมายความว่า ทั้งแอมเพิลรีชฯ ทั้งโอ๊ค เอม ไม่สามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินฯได้เลย ข้อยุติตามศาลฎีกาฯตัดสิน หุ้นชินฯจึงยังคงเป็นของอดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯ ในการขายในตลาดหลักทรัพย์ให้กลุ่มทุนเทมาเส็คฯได้กำไร 4.6 หมื่นล้านบาท จึงเป็นเงินได้ของอดีตนายกทักษิณฯ และทำให้ศาลฎีกาฯมีอำนาจพิพากษายึดให้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว
.
เมื่อศาลฎีกาตัดสินเช่นนั้น ทั้งแอมเพิลรีช ทั้งโอ๊ค เอม ไม่อาจจะอ้างความเป็นเจ้าของหุ้นชินฯได้เลย จึงไม่มีเงินได้ของแอมเพิลรีช ไม่มีเงินได้ของโอ๊ค เอม จากการโอน การขายหุ้นชินฯเกิดขึ้นใดๆ แล้วสรรพากรก็ไม่มีสิทธิ์จะเก็บภาษีจากผู้ไม่มีเงินได้ด้วย
.
ช่วงดังกล่าวปรากฎว่าสรรพากรได้ออกหมายเรียกและมุ่งไปที่กรณีของการที่แอมเพิลรีชฯโอนนอกตลาดหลักทรัพย์กลับมาที่โอ๊ค เอม หุ้นละ 1 บาท ส่วนที่ต่างจากราคาในตลาดหุ้นละ 49.25 บาท มีเงินได้หุ้นละ 48.25 บาท จำนวนทั้งสิ้น 329.2 หุ้น ตรงนี้ชัดๆว่าออกหมายเรียกโอ๊ค เอม ในฐานะส่วนตัวมาประเมินภาษีเงินได้ ไม่ใช่ออกหมายเรียกโอ๊ค เอม ในฐานะเป็นตัวแทนอดีตนายกทักษิณฯชัดๆ
.
เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษาว่าการโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ แล้วแอมเพิลรีฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมนั้น เป็นการโอนไม่สุจริต ทำให้ไม่เกิดสิทธิ์ ทำให้แอมเพิลรีชฯ โอ๊ค เอม ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินฯ ไม่ใช่เจ้าของเงินได้จากการขาย การโอนหุ้นชินฯ
.
ในที่สุดศาลภาษีฯก็ตัดสินสอดรับกับการวินิจฉัยและการพิพากษาของศาลฎีกา ว่าทั้งโอ๊ค เอม ไม่ใช่ผู้มีเงินได้จากการโอน การขายหุ้นชินฯที่แอมเพิลรีชฯโอนนอกตลาดหลักทรัพย์กลับมาให้โอ๊ค เอม ราคาหุ้นชินฯและมีส่วนกำไรหุ้นละ 48.25 บาท รวม 329.2 ล้านหุ้น
.
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สรรพากรก็ยอมรับคำตัดสินของศาลฎีกาและศาลภาษีฯ มิได้ออกหมายเรียกอดีตนายกทักษิณฯ ตามประมวลรัษฎากร ม.19 ออกหมายเรียกภายใน 2 ปี ขายได้รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี และไม่เคยประเมินภาษีฯตาม ม.20 และ ม.61 เอากับอดีตนายกทักษิณ เรื่องโอนหุ้นชินไปแอมเพิลรีชฯ แล้วแอมเพิลรีฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมแต่อย่างใด
.
เมื่อศาลฎีกาตัดสินไปแล้วว่าโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ แอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอม ไม่สุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใครๆจะกล่าวอ้างว่ามีสิทธิ มีเงินได้จากการโอนที่ไม่สุจริตก็ไม่ได้เลย
.
และเมื่อสรรพากรไม่ปฏิบัติตาม ประมวลรัษฎากร ม.15 , ม.19, ม.20 แล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ แล้วท่านแก้วสรรฯ(อติโพธิ อดีต คตส.) และท่าน สตง.(พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่า สตง.) จะให้สรรพากรใช้อายุความแพ่ง 10 ปี มาจัดการประเมินภาษีเงินได้กับอดีตนายกทักษิณฯ ช่วงโอนหุ้นชินไปแอมเพิลรีชฯ แอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอม ได้อย่างไร ใครจะรับผิดบ้างหากเจ้าหน้าที่รัฐทำผิด ม.157
.
หากนำข้อเท็จจริงเดิมที่ยุติไปแล้วโดยศาลฎีกาฯและศาลภาษีฯ มาตั้งประเมินภาษีฯอีกครั้ง แล้วส่งฟ้องศาลอีกครั้ง หากท่านผู้มีอำนาจเลือกกระทำเช่นนั้นจริงๆ ต้องติดตามดูผลและผลข้างเคียงต่อสังคม และความน่าเลื่อมใสศรัทธาของมหาชนต่อกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยต่อไปครับ
"ทนายความอิสระ"ถามกลับ"แก้วสรร-พิศิษฐ์"บีบกรมสรรพากรเก็บภาษี หากผิดม.157 ใครจะรับผิดชอบ เตือนผู้มีอำนาจ มีผลต่อความเลื่อมใสศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม
***********************************
นายวันชัย บุนนาค ทนายความอิสระ แสดงความเห็นกรณีการเรียกเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ปผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความว่า
.
ในฐานะที่อยู่ในอาชีพทนายความ อาชีพแขนงหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมมา 32 ปี ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาที่ปรากฏต่อสังคม ผมเองรู้สึกและมีบางกลุ่มบางคนน่าจะรู้สึกแปลกใจ แคลงใจในระบบและการปฏิบัติ และการยอมรับต่อการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในหลายๆกรณี
.
กรณี สตง.เร่งรัดให้สรรพากรประเมินภาษีฯเอากับอดีตนายกทักษิณฯ กรณีขายหุ้นชินฯให้กับกลุ่มทุนเทมาเส็คฯ เป็นกรณีหนึ่งที่สังคมสับสนต่อข่าวสารและการบังคับใช้กฎหมายกรณีหนึ่ง
.
ผมเองอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติ เสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อความสงบสุขของสังคมและประเทศชาติ
.
กรณีขายหุ้นชินฯแก่กลุ่มทุนเทมาเส็คฯ ที่ คตส.ตั้งคดีสอบสวนดำเนินคดีนั้น คือ อดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีสฯ และแอมเพิลรีชโอนกลับมาให้โอ๊ค เอม 329.2 ล้านหุ้นๆละ 1 บาท แต่ราคาตลาด หุ้นละ 49.25 บาท หากสรุปว่าเป็นการโอนขายโดยสุจริตนอกตลาดหลักทรัพย์แล้ว โอ๊ค เอมต้องชำระภาษีเงินได้ราคาหุ้นละ 48.25 บาท หากไม่ยื่นแบบจะต้องถูกหมายเรียกและประเมินภาษี
.
ก็ปรากฏว่า คตส.เลือกทางตั้งคดีว่าอดีตนายกทักษิณฯใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์ไม่สุจริต มีกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนจากกรณีขายหุ้นชินฯแก่กลุ่มทุนเทมาเส็คฯ และส่งฟ้องศาลฯเพื่อขอริบทรัพย์/ยึดทรัพย์ ส่วนที่ไม่สุจริตให้ตกเป็นของแผ่นดิน
.
ปัญหามีว่า ถ้าออกแนวว่าการโอนหุ้นชินฯของอดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯไปแอมเพิลรีสฯ และแอมเพิลรีชฯโอนกลับมาให้โอ๊ค เอมราคาหุ้นละ 1 บาท 329.2 ล้านหุ้นนั้น เป็นการโอนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาฯจะไม่สามารถยึดเงิน 4.6 หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินกำไรเป็นเงินได้ ที่ขายหุ้นชินฯขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เลย
.
เพราะถ้าโอนชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเงินได้ของโอ๊ค เอม ไม่ใช่จำเลยในคดี ศาลฎีกาฯก็จะยึดไม่ได้
.
ในที่สุดศาลฎีกาฯก็วินิจฉัยทำนองว่า การที่อดีตนายกฯและคุณหญิงฯโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ และแอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมนั้น เป็นการโอนหุ้นฯที่ไม่สุจริต
.
หมายความว่า ทั้งแอมเพิลรีชฯ ทั้งโอ๊ค เอม ไม่สามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินฯได้เลย ข้อยุติตามศาลฎีกาฯตัดสิน หุ้นชินฯจึงยังคงเป็นของอดีตนายกทักษิณฯและคุณหญิงฯ ในการขายในตลาดหลักทรัพย์ให้กลุ่มทุนเทมาเส็คฯได้กำไร 4.6 หมื่นล้านบาท จึงเป็นเงินได้ของอดีตนายกทักษิณฯ และทำให้ศาลฎีกาฯมีอำนาจพิพากษายึดให้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว
.
เมื่อศาลฎีกาตัดสินเช่นนั้น ทั้งแอมเพิลรีช ทั้งโอ๊ค เอม ไม่อาจจะอ้างความเป็นเจ้าของหุ้นชินฯได้เลย จึงไม่มีเงินได้ของแอมเพิลรีช ไม่มีเงินได้ของโอ๊ค เอม จากการโอน การขายหุ้นชินฯเกิดขึ้นใดๆ แล้วสรรพากรก็ไม่มีสิทธิ์จะเก็บภาษีจากผู้ไม่มีเงินได้ด้วย
.
ช่วงดังกล่าวปรากฎว่าสรรพากรได้ออกหมายเรียกและมุ่งไปที่กรณีของการที่แอมเพิลรีชฯโอนนอกตลาดหลักทรัพย์กลับมาที่โอ๊ค เอม หุ้นละ 1 บาท ส่วนที่ต่างจากราคาในตลาดหุ้นละ 49.25 บาท มีเงินได้หุ้นละ 48.25 บาท จำนวนทั้งสิ้น 329.2 หุ้น ตรงนี้ชัดๆว่าออกหมายเรียกโอ๊ค เอม ในฐานะส่วนตัวมาประเมินภาษีเงินได้ ไม่ใช่ออกหมายเรียกโอ๊ค เอม ในฐานะเป็นตัวแทนอดีตนายกทักษิณฯชัดๆ
.
เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษาว่าการโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ แล้วแอมเพิลรีฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมนั้น เป็นการโอนไม่สุจริต ทำให้ไม่เกิดสิทธิ์ ทำให้แอมเพิลรีชฯ โอ๊ค เอม ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินฯ ไม่ใช่เจ้าของเงินได้จากการขาย การโอนหุ้นชินฯ
.
ในที่สุดศาลภาษีฯก็ตัดสินสอดรับกับการวินิจฉัยและการพิพากษาของศาลฎีกา ว่าทั้งโอ๊ค เอม ไม่ใช่ผู้มีเงินได้จากการโอน การขายหุ้นชินฯที่แอมเพิลรีชฯโอนนอกตลาดหลักทรัพย์กลับมาให้โอ๊ค เอม ราคาหุ้นชินฯและมีส่วนกำไรหุ้นละ 48.25 บาท รวม 329.2 ล้านหุ้น
.
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สรรพากรก็ยอมรับคำตัดสินของศาลฎีกาและศาลภาษีฯ มิได้ออกหมายเรียกอดีตนายกทักษิณฯ ตามประมวลรัษฎากร ม.19 ออกหมายเรียกภายใน 2 ปี ขายได้รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี และไม่เคยประเมินภาษีฯตาม ม.20 และ ม.61 เอากับอดีตนายกทักษิณ เรื่องโอนหุ้นชินไปแอมเพิลรีชฯ แล้วแอมเพิลรีฯโอนกลับมาโอ๊ค เอมแต่อย่างใด
.
เมื่อศาลฎีกาตัดสินไปแล้วว่าโอนหุ้นชินฯไปแอมเพิลรีชฯ แอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอม ไม่สุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใครๆจะกล่าวอ้างว่ามีสิทธิ มีเงินได้จากการโอนที่ไม่สุจริตก็ไม่ได้เลย
.
และเมื่อสรรพากรไม่ปฏิบัติตาม ประมวลรัษฎากร ม.15 , ม.19, ม.20 แล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ แล้วท่านแก้วสรรฯ(อติโพธิ อดีต คตส.) และท่าน สตง.(พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่า สตง.) จะให้สรรพากรใช้อายุความแพ่ง 10 ปี มาจัดการประเมินภาษีเงินได้กับอดีตนายกทักษิณฯ ช่วงโอนหุ้นชินไปแอมเพิลรีชฯ แอมเพิลรีชฯโอนกลับมาโอ๊ค เอม ได้อย่างไร ใครจะรับผิดบ้างหากเจ้าหน้าที่รัฐทำผิด ม.157
.
หากนำข้อเท็จจริงเดิมที่ยุติไปแล้วโดยศาลฎีกาฯและศาลภาษีฯ มาตั้งประเมินภาษีฯอีกครั้ง แล้วส่งฟ้องศาลอีกครั้ง หากท่านผู้มีอำนาจเลือกกระทำเช่นนั้นจริงๆ ต้องติดตามดูผลและผลข้างเคียงต่อสังคม และความน่าเลื่อมใสศรัทธาของมหาชนต่อกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น