FILE - Arleigh Burke-class guided-missile destroyer USS Mustin (DDG 89) transits in formation with Japan Maritime Self-Defense Force ships JS Kirisame (DD 104) and JS Asayuki (DD 132) during bilateral training in South China Sea, April 21, 2015.

ในปี พ.ศ. 2559 จีนเดินหน้าเรื่องสิ่งปลูกสร้างทางทหารบนหมู่เกาะ Spratly ซึ่งรวมถึงทางวิ่งเครื่องบินบนแนวเกาะ Fiery Cross, Subi และ Mischief Reefs รวมทั้งได้ปรับปรุงท่าเรือและสร้างสถานีเรดาห์ด้วย

โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้คัดค้านเรื่องนี้อย่างแข็งขัน


A satellite image shows what CSIS Asia Maritime Transparency Initiative says appears to be concrete structures with retractable roofs on the artificial island Fiery Cross reefs, South China Sea, in this image released on February 22, 2017.

แต่นักวิเคราะห์บางคน เช่นอาจารย์ Carl Thayer ที่มหาวิทยาลัย University of New South Wales มองว่า

"รัฐบาลชุดประธานาธิบดีทรัมป์กำลังให้ความสนใจกับปัญหาเกาหลีเหนือมากกว่าเรื่องทะเลจีนใต้"

ส่วนนักวิเคราะห์อีกคน คือนาย James Chin จากสถาบัน Asia Institute ที่มหาวิทยาลัย University of Tasmania ก็มองว่า

"ความไม่แน่นอนในนโยบายของสหรัฐฯ ชุดปัจจุบัน ในเรื่องทะเลจีนใต้และที่เกี่ยวกับเอเซียโดยรวม ได้สร้างความผิดหวังให้กับประเทศสมาชิกของอาเซียน"

และยิ่งสหรัฐฯ ละความสนใจจากปัญหาทะเลจีนใต้มากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นโอกาสให้จีนมีเวลาสร้างฐานทัพในทะเลจีนใต้มากขึ้นเท่านั้น


Web screenshot of China H-6K bomber flew over the Scarborough Shoal in South China Sea
ทางขึ้นลงเครื่องบินของจีนที่ Scarborough Shoal กับที่เกาะ Woody Island ในหมู่เกาะ Paracels กับใน

หมู่เกาะ Spratly จะโยงเข้าเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์

กล่าวคือ ทำให้จีนสามารถติดตามการเดินทางของเรือและเครื่องบินทั้งหมดในทะเลจีนใต้ได้

อย่างไรก็ตาม นาย James Chin จาก Asia Institute ที่มหาวิทยาลัย University of Tasmania ก็เชื่อว่า จีนซึ่งเป็นประเทศที่มุ่งเน้นเรื่องการค้า จะยังคงส่งเสริมเสรีภาพของการเดินเรือในทะเลจีนใต้ต่อไป เพราะเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับจีนเอง

source :- https://goo.gl/FK2Yr9


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.