วงถกปัญหาที่อยู่อาศัย 'สลัมสี่ภาค' ชี้ ม.44 -นโยบายพัฒนาของรัฐ ซ้ำเติมคนจนเมือง
Posted: 28 Feb 2017 11:16 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
นักวิชาการผังเมืองชี้รัฐไทยอ่ อนเรื่องระบบการเวนคืนที่ดิน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยแนะคนจนเมื องรวมตัวสร้างเครือข่าย ประภาส ระบุต้องสร้างอำนาจต่อรอง-พื้ นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
28 ก.พ. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เวลาประมาณ 09.30 น. ที่อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารจัดการเปลี่ ยนแปลงสังคม (UNESCO -MOST แห่งประเทศไทย) และเครือข่าย ร่วมจัดประชุมวิชาการหัวข้อ UNBAN INCLUSION: ความรู้กับนโยบายเพื่ออนาคตที่ อยู่อาศัยและเมืองที่ยั่งยืน โดยวงประชุมได้นำเสนอปั ญหาและแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไข ด้านภาคประชาสังคมระบุปั ญหาคนในชุมชนแออัดที่มีปัญหาด้ านที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องจากนโยบายพัฒนาเมืองจากรั ฐนั้นไม่มีประชาชนเข้าไปมีส่ วนร่วม พร้อมตั้งคำถามกลุ่มคนใดในสั งคมที่ได้รับผลประโยชน์แท้จริ งจากการพัฒนาเมือง
ปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเมื องเพิ่มหลังรัฐจัดระเบี ยบคนนอกระบบ
นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่ อาศัย กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่อยู่อาศั ยของคนจนเมืองมีการแก้ไขมานาน ส่วนใหญ่เป็ นแรงงานนอกระบบและเลื อกทานอาหารราคาถูกจากพ่อค้าแม่ ค้าตามชุมชนแออัด คนจนเมืองล้วนแล้วแต่ต้องการคุ ณภาพชีวิตที่ดีซึ่งจะต้องมีหน่ วยงานรัฐเข้ามาสนับสนุน การแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศั ยที่ผ่านมาโดยเครือข่ายสลัมสี่ ภาคได้ผลักดันนโยบาย เช่น โครงการบ้านมั่นคงที่สอดคล้องกั บวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งภาครัฐได้รับรองวาระการพั ฒนาเมืองว่า จะจัดสรรที่อยู่อาศัยให้เพี ยงพอสำหรับทุกคน และในระดับสากล UNESCO ได้ให้ความสำคัญเรื่องที่อยู่ อาศัยและการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยก็มีนโยบายการพัฒนาที่ อยู่อาศัยระบุไว้ในแผนยุ ทธศาสตร์วาระ 20 ปี เช่นกัน
นพพรรณ กล่าวอีกว่า สถานการณ์คนจนเมืองในปัจจุบัน เริ่มมีปัญหาที่อยู่อาศัยเพิ่ มขึ้นหลังรัฐได้เข้ามาจัดระเบี ยบคนนอกระบบ จากกรณีชุมชนแออัดคลองเตยและชุ มชนริมทางรถไฟ การท่าเรือประกาศนำเอาพื้นที่ ไปพัฒนา แต่นโยบายการพัฒนาไม่มีการจั ดการที่อยู่อาศัยให้คนชุมชน และถ้าคนในชุมชนไม่มีพื้นที่ ทำมาหากินแล้ว ในอนาคตคนจนเมืองและคนเร่ร่ อนจะมากขึ้น
ชี้ ม.44 -นโยบายพัฒนาเมืองของรัฐ สร้างปัญหาที่อยู่อาศัยกับคนจน
นุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า นโยบายพัฒนาเมืองของรั ฐบาลและการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 44 นั้นสร้างปัญหาที่อยู่อาศัยให้ กับคนจนในชุมชนริมคลองที่เป็ นคลองเล็กคลองน้อย คำถามคือรัฐจะทำอย่างไรให้ ประชาชนมีความมั่นคงทางที่อยู่ อาศัย ซึ่งชาวบ้านเคยผลักดันเรื่ องโฉนดชุมชนแต่พวกเรายั งขาดความรู้ความคิดจึงทำได้แค่ รวมตัวกันและนำเสนอปัญหา อยากรู้ว่าแผนพัฒนาแห่งชาติ ในระยะเวลา 20 ปีนั้นมีคนจนเมืองอยู่ในการพั ฒนาหรือไม่
นุชนารถ กล่าวต่อว่า ตนเองนั้นเคยอยู่ในสลัมและถู กไล่ ตอนนั้นเขานำพื้นที่ไปขายให้กั บนายทุน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ตนเองลุ กขึ้นมาต่อสู้ประเด็นที่อยู่ อาศัยให้กับคนอื่นด้วย ปัญหานี้ไม่ได้บรรจุไว้ในแผนพั ฒนาประเทศ รัฐแก้ไขโดยให้คนในชุมชนอยู่ นอกเมืองทำให้ค่าเดิ นทางไปทำงานสูงขึ้น โครงการบ้านมั่นคงที่พวกเราคิ ดนั้นถูกต้องแต่รัฐไม่นำไปใช้ กลับประกาศเรื่องจั ดการคลองและตั้งงบประมาณแก้ ไขเยียวยาที่ประชาชนไม่เต็มใจ คนจนเมืองถูกผลักออกจากการพั ฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านที่ อยู่อาศัยและภาวะการอยู่อย่ างแออัดนั้นส่งผลกระทบต่อปั ญหาด้านสุขภาวะของคนในชุมชนอี กด้วย
ชีวิตในคนจนเมือง เสี่ยงปัญหาสุขภาพ
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสนับสนุ นสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงประเด็นสุขภาวะว่า การใช้ชีวิตในเมืองส่งผลให้เกิ ดปัญหาทางสุขภาพ คนจนเมือง คนยากจนและผู้สูงอายุมีแนวโน้ มเป็นกลุ่มเสี่ยงมากกว่า ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุ นการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำงานด้านปรับสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อสังคม ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและสุ ขภาพให้ดีขึ้น ทั้งกลุ่มคนไร้บ้านและคนจนเมือง เราเป็นหน่วยงานที่ให้ความเป็ นธรรมด้านสุขภาพ
แนะคนจนเมืองรวมตัวสร้างเครือข่ าย
ศยามล สายยศ เจ้าหน้าที่แผนงานอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ทางสถาบันฯมีการรับมือและเปลี่ ยนแปลงของเมืองโดยนำทฤษฎีมาปฏิ บัติมากขึ้น เริ่มจากการแลกเปลี่ยนวิธีคิ ดของคนในท้องถิ่นก่อน เรากำหนดให้คนจนเมืองอยู่ในกลุ่ มเปราะบาง มีตัวชี้วัดระบุชัดว่าการเปลี่ ยนแปลงนั้นขึ้นหรือลง และพยายามอธิบายว่ าความเปราะบางนั้นสำคัญ กรณีศึกษางานต่างประเทศด้านทุ นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกั บคนจนเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคั ญทำให้เกิดทรัพยากร มีการรวมตัวขึ้นมาผลักดั นนโยบายรัฐให้มีการสนับสนุนชุ มชนและสร้างเครือข่ายชุมชน ไม่ใช่แค่คนชุมชนอยู่กับกลุ่ มตนเองแต่ต้องสร้างสัมพันธ์กั บเครือข่าย สร้างโมเดลให้คนจนเมืองและสร้ างศักยภาพที่รองรับปัญหาภัยพิบั ติอีกด้วย
ชี้รัฐไทยอ่อนเรื่ องระบบการเวนคืนที่ดิน
สักรินทร์ แซ่ภู่ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวถึงประเด็นการไล่ที่ว่า รัฐไทยมีข้ออ่อนเรื่ องระบบการเวนคืนที่ดิน ระบบเวนคืนที่ดินที่ผ่านมาไม่ สามารถตอบโจทย์ที่แท้จริงได้ ในมิติทางสังคมเกิดปัญหาทางชนชั้ นและปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่ ดิน ไม่มีการจัดการจากรัฐส่ วนกลางและท้องถิ่น ทั้งนี้ยังมีความเหลื่อมล้ำ ระหว่างรัฐต่อรัฐ การพัฒนาที่ดินในท้องถิ่นได้ จากที่ดินส่วนที่เหลือโดยมีรั ฐส่วนกลางจัดสรร พอเงื่อนไขของกลไกไปต่อไม่ได้ การกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษก็ ตามมา เช่น กรณีผังเมืองบึงกาฬที่คนในท้ องถิ่นไม่ได้มีส่วนร่วมด้ านการวางแผน
สักรินทร์ กล่าวต่อว่า มาตรา 44 ทำให้มีความพิเศษ ด้านสิทธิการอยู่อาศัยของคนในพื้ นที่เปลี่ยนไป โจทย์ใหญ่คือการจัดการเชิงพื้ นที่ สิทธิการวางแผนด้านที่ดิน ผังเมืองกลายเป็นอาชญากร พิสูจน์การจัดการว่าไม่มีความคิ ด คนที่ทำไม่รู้จักพื้นที่ คนที่มีที่ดินติดอยู่ในผังที่ เป็นคนจนและชาวบ้านธรรมดากลั บไม่มีสิทธิ์ น่าจะมีการวางแผนผังเมืองที่ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาวะและคุณภาพชีวิตมากกว่านี้ ไม่ใช่กันคนจนเมื องออกจากนโยบายการพัฒนา
ต้องสร้างอำนาจต่อรอง-พื้นที่ การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประภาส ปิ่นตบแต่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่า สภาพปัญหาคนจนเมืองเรื่ องสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศั ยจากกรณีการไล่ที่ การพัฒนาเมืองทำให้ซับซ้อนมากขึ้ น เกิดปัญหาการไม่ได้อยู่ในพื้นที่ เดิม ส่วนการแก้ไขปัญหาของรัฐมี นโยบายมากมายที่ออกด้วยความหวั งดี แต่ต้องมีการติดตาม เช่น เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน การติดตามสิ่งที่ดำเนินการอยู่ นั้นจะเป็นประโยชน์ เนื่องจากนโยบายการแก้ปัญหามี ความสลับซับซ้อน การพัฒนาเมืองไปในทิศทางไหนคล้ ายกับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจากระบอบที่มียุทธศาสตร์ ใหม่สำคัญมากที่ประชาชนต้องติ ดตาม
ประภาส กล่าวสรุปว่า สำหรับปัญหาคนจนเมือง สิ่งที่ได้มาคืออำนาจต่อรอง แต่กลไกอีกด้านคือหน่วยงานที่ ทำวิจัยกับเมืองต้องมี อำนาจการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพูดถึงคือปั ญหาคนจนเมือง ความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้ นเพื่อนำไปสู่การสร้างอำนาจต่ อรอง เราต้องเห็นภาพว่า สังคมที่ผ่านมามีมิติของพื้นที่ การมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น พรบ.ชุมนุมในวันที่อยู่อาศัย และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เมืองที่ยั่งยืนต้องมีพื้นที่ ให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม ปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำ และการจัดสรรทรัพยากรระหว่างเมื องกับชนบท ต้องคิดถึงทั้งเมืองกับชนบทเพื่ อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ความจริงของชุมชนสลัมหรือชุ มชนแออัด คิดว่าปัจจุบันมีการเปลี่ ยนแปลงไปมากด้านสถานะทางสั งคมและพื้นที่ทางการเมือง
แสดงความคิดเห็น