Posted: 23 Jun 2017 11:03 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
ก.แรงงาน เผยสถิติคนไทยไปทำงานที่ไต้หวั นมากสุดกว่า 3 พันคน
กรมการจัดหางาน เผยสถิติเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คนงานไทยนิยมไปทำงานไต้หวั นมากที่สุด 3,375 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14 ของจำนวนคนงานไทยที่เดิ นทางไปทำงานและฝึกงานในต่ างประเทศ ซึ่งมีจำนวน 9,087 คน ขณะที่ยอดระงับการเดินทางของผู้ ที่มีพฤติการณ์จะลั กลอบไปทำงานในต่างประเทศ มีจำนวน 13 คน โดยระงับไปบาห์เรนมากที่สุ ดนายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คนงานไทยยังนิยมไปทำงานต่ างประเทศโดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ ผ่านมามีคนงานไทย เดินทางไปทำงานและฝึกงานในต่ างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุ วรรณภูมิ จำนวน 9,087 คน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่ามี จำนวนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.90 ซึ่งมีจำนวน 7,390 คน โดยไปทำงานไต้หวันมากที่สุด 3,375 คน รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 1,070 คน อิสราเอล 801 คน ญี่ปุ่น 668 คน ตามลำดับ ขณะที่มีการระงับการเดิ นทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลั กลอบไปทำงานในต่างประเทศ และให้การยอมรับว่ าจะไปทำงานในต่างประเทศ รวม 13 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่ านมา พบว่ามีจำนวนน้อยลง คิดเป็นร้อยละ 56.67 ซึ่งมีจำนวน 30 คน โดยประเทศที่ถูกระงับการเดิ นทางมากที่สุดเป็นบาห์เรน รองลงมาเป็น สิงคโปร์ อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นายวรานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงคนหางานผ่ านสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก จึงขอย้ำเตือนอีกครั้งว่ าการไปทำงานต่างประเทศจะต้ องไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาตทำงาน มีสัญญาจ้างที่ผ่านการรับรองสั ญญาจ้างจากหน่วยงานภาครัฐของทั้ งสองประเทศ ใช้วีซ่าท่องเที่ ยวในการทำงานไม่ได้ เพื่อป้องกั นการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ จึงขอให้ตรวจสอบกับกรมการจั ดหางานก่อน โดยสอบถามข้อมูล แจ้งเรื่องร้องทุกข์หรือแจ้ งเบาะแสการหลอกลวงคนหางานได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจั งหวัดสำนักงานจัดหางานกรุ งเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่กองทะเบียนจั ดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 0-2248-2278 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
เผยมีแรงงานเด็กต่างด้าวทำประมง 55%
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย เนื่องในวันต่อต้านการใช้ แรงงานเด็กโลก นำโดยมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริ มคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขั ดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาและแถลงข่าว ในหัวข้อ”แรงงานเด็ กในภาคการประมงและอุ ตสาหกรรมอาหารทะเลยังมีอี กไหมในสังคมไทย และโจทย์ท้าทายการแก้ไขปัญหา” โดยในงานมีเด็กนักเรี ยนจากโรงเรียน วัดศรีสุทธาราม จ.สมุทรสาคร จำนวน 15 คนเข้าร่วมกิจกรรมด้วย โดยนางสุภางค์ จันทวานิช นักวิชาการ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยที่อยู่ ในแรงงานประมงมีน้อยมากส่ วนมากจะเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเด็กที่ทำงานในการประมงนั้ นมีสูงถึงร้อยละ 55 ความจริงเด็กไม่ สามารถทำงานบนเรือได้เนื่ องจากงานหนัก จึงมองว่าทางเลือกของการที่ จะไม่ให้เด็กเข้าสู่ ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร คือการศึกษาแต่ก็ไม่ใช่ทางเลื อกเดียว อาจมีการกำหนดให้เด็กทำงานได้ ในอุตสาหกรรมอากหารทะเลได้ แต่ต้องเป็นงานที่ไม่หนัก จะสามารถทำให้ตัวเด็ก ครอบครัวพอใจ รวมถึงรัฐสามารถรักษากติกาไว้ ได้
ขณะที่นายสายชล แจ่มแจ้ง ตัวแทนจากกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรู ปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทยมี ความก้าวหน้า มีการปรับปรุงกฎหมาย อาทิ การแก้ไขกฎหมายแรงงานในแง่ ของการเพิ่มโทษนายจ้างที่ใช้ แรงงานเด็กอายุต่ำกว่าที่ กฎหมายกำหนด เดิมปรับไม่เกิน 2 แสนบาทต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี แก้ไขเป็นปรับตั้งแต่ 4-8 แสนบาทต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้ยังมีการร่ างกฎกระทรวงขึ้นมาใหม่เพื่อให้ สอดคล้องกั บพระราชกำหนดการประมงปี 2558 เช่น กำหนดสถานที่่่ห้ามนายจ้างห้ ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงาน เพื่อเป็นการคุ้มครองไม่ให้ นายจ้าง จ้างแรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่ ากฎหมายกำหนด
ด้านนายสุรพงษ์ กรองจันทึก นักสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมาย กล่าวว่า ยังมีการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำ กว่า 18 ปี ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ จึงต้องทำทุกทางเพื่อกันเด็กไม่ ให้เข้าสู่แรงงาน อาจแก้ปัญหาโดยการนำแรงงานเด็ กต่างชาติเข้าสู่โรงเรียน และจะเกิดคำถามตามมาว่าเหตุใดต้ องนำแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้ าสู่โรงเรียน หรือต้องนำภาษีคนไทยมาดู แลแรงงานเหล่านี้ ซึ่งคำตอบคือภาษีไม่ได้มีไว้เพื่ อคนที่จ่ายและแรงงานต่างชาติที่ มาไทยไม่ว่าจะถูกหรือไม่ถู กกฎหมาย ถ้าทำงานมีรายได้ต้องเสียภาษี ทางตรงและทางอ้อมเหมือนคนไทยทุ กประการ ดังนั้นแรงงานต่างชาติต้องได้รั บการบริการของรัฐไทยในด้านสิทธิ มนุษยชนหรือสิทธิขั้นพื้นฐาน
จากนั้นเวลา 12.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแถลงข่าวของกลุ่มมูลนิธิ เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตฯ เรียกร้องให้รัฐบาลและหน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการ ว่า ปัจจุบันมีกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำ กว่า18 ในการประมงแต่อาจมีแรงงานเด็ กหลงเหลืออยู่ ดังนั้นหน่วยงานรัฐต้องประชาสั มพันธ์ให้สังคมทราบ และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ ทำผิดอย่างจริงจัง ด้านผู้ประกอบการ และพ่อแม่ของแรงงานเด็กต้องมี ความรู้เรื่อการใช้แรงเด็ก รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการจั ดการศึกษาจะต้องต้องนำเด็กเข้ าสู่ระบบการศึกษา และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะต้องทำเอกสารแสดงตัวแรงงานเด็ กข้ามชาติที่ถูกต้องให้เด็กเหล่ านี้ด้วย
เวสเทิร์นดิจิตอล เตรียมจ้างงานคนไทยเพิ่ม 2,500 คน
บีโอไอเผยกลุ่มเวสเทิร์น ดิจิตอล ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ชูไทยเป็นฐานผลิตของโลก สร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มกว่า 3 หมื่นล้านบาท จ้างแรงงานไทยเพิ่ม 2,500 คน
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริ มการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (WD) หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ ฟรายใหญ่ของโลก ได้ขยายการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ ฟของบริษัท เอชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม WD ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้ องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“กลุ่มบริษัท WD ขยายการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ ฟในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าไทยเป็ นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ สำคัญ โดยมีศักยภาพและมีแรงงานที่มีทั กษะสูง และยังทำให้เกิดการจ้างงานรวมถึ งช่างเทคนิค เพิ่มขึ้น 2,500 คน ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และคาดว่ามูลค่าการส่งออกของบริ ษัทจะเพิ่มขึ้นประมาณ 35,000 ล้านบาท" นางสาวอัจฉรินทร์กล่าว
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท WD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึ กษาในประเทศไทยแล้วถึง 112 แห่ง ในการพัฒนาหลักสูตรและความรู้ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา อย่างไรก็ตามปัจจุบันไทยมีผู้ ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟรายใหญ่ ของโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย 2 ราย คือ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้เกิดการลงทุนมากกว่า 30,000 ล้านบาท
ทางการไทยในจีนช่ วยสาวลำปางและเพื่อนคนไทยทั้ง 10 กลับบ้าน โดยจะสำรองจ่ายค่าปรับ-ตั๋วเครื่ องบินคนละหกหมื่นกว่าบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้ ากรณีช่วยสาวชาวลำปางพร้อมเพื่ อนชาวไทย 10 คน ถูกนายจ้างชาวจีนลอยแพที่ ประเทศจีน ซึ่งล่าสุดนายสงบการณ์ มุ้งทอง เลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ได้มารับทั้ง 10 คนจากสถานีรถไฟปักกิ่งไปพำนัก ณ สถานเอกอัครราชทูตกรุงปักกิ่ งแล้ว และได้แจ้งกลับมายังจังหวั ดลำปางว่ารายชื่อคนงานไทยที่เดิ นทางไปทำงานร้านสปานวดไทย ณ เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีนมี 10 คน เป็นชาวลำปาง 2 คน เชียงใหม่ 2 คน พะเยา 1 คน มหาสารคาม 1 คน นครสวรรค์ 1 คน ชัยภูมิ 1 คน และ กทม. 1 คน
การช่วยเหลือหลังจากนี้คื อทางการจีนปรับค่าพำนั กในประเทศแบบผิดกฎหมายคนละ 10,000 หยวน หรือประมาณ 50,000 บาท และค่าตั๋วเครื่องบินเดินทางกลั บประเทศไทยคนละประมาณ 12,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดเบื้องต้ นทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่งจะใช้เงิ นสำรองทางราชการในการดำเนิ นการพาคนไทยกลับมาก่อน หลังจากนั้นทุกคนจะต้องรั บสภาพหนี้และผ่อนชำระคืนให้ ทางราชการต่อไป
ขณะที่แรงงานจังหวัดลำปางก็ได้ ย้ำเตือนแรงงานที่ต้ องการไปหางานทำที่ต่างประเทศว่า ขอให้เดินทางไปกับบริษัทจั ดหางานหรือกรมการจัดหางานอย่ างถูกกฎหมาย เพราะหากเกิดปั ญหาทางราชการจะได้ช่วยเหลือได้ อย่างเต็มที่ เพราะหากไปทำงานแบบผิ ดกฎหมายและเกิดปัญหาอาจจะไม่ โชคดีเหมือน 10 คนนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือให้ กลับประเทศไทยอย่างปลอดภัยก็เป็ นได้
กสร. ดำเนินคดีนายจ้าง พระประแดง ฝืนกฎหมายความปลอดภัยฯ ทำลูกจ้างขนปลาเจ็บ
กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงานดำเนินคดีอาญานายจ้ าง รับขนถ่ายสินค้าย่านพระประแดง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภั ยฯ ส่งผลให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ ขณะขนถ่ายปลาบนเรือบรรทุ กปลาทะเล
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึง กรณีลูกจ้างต่างด้าวสัญชาติเมี ยนมา จำนวน 10 คน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี บีเ อส ทรานสปอร์ต 2016 ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากสู ดดมสารเคมีที่รั่วไหล ขณะขนถ่ายปลาบนเรือบรรทุ กปลาทะเล สัญชาติปานามา ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเทียบเรือใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่ านมาว่า กสร.ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่ าวโทษนายจ้างรายนี้ต่อพนั กงานสอบสวนแล้ว ฐานไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายความปลอดภัยฯ เนื่องจากไม่มีการแจ้งให้ลูกจ้ างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้ นจากการทำงานรวมทั้งไม่ได้จั ดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ต้ องทำงานในสถานที่อับอากาศ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารจัดการด้ านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่ อับอากาศ พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ ความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุ กไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่ าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภั ยในการทำงาน (จป.) ตระหนักถึงการป้องกันและแก้ไขปั ญหาการประสบอันตรายจากการทำงาน เพื่อป้องกันความสูญเสียที่ อาจเกิดขึ้น
สมาคมลูกจ้างฯ ร้อง “บิ๊กตู่” ขอรับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ
19 มิ.ย. 2560 -เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่งก.พ.) นายโอสถ สุวรรณ์เศวต เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมลูกจ้ างของรัฐแห่งประเทศไทย (สสลท.) พร้อมสมาชิกกว่า 20คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ลูกจ้างชั่ วคราวและพนักงานกระทรวงสาธารณสุ ขได้รับเงินค่าจ้างจากเงิ นงบประมาณโดยตรง
นายโอสถ กล่าวว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้จ้างลูกจ้างชั่วคราวและพนั กงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นรายวัน รายเดือน รวมถึงจ้างเหมาบริการ โดยใช้เงินนอกงบประมาณหรือเงิ นบำรุงของหน่วยบริการ จึงทำให้ลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้ รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าจ้ างและสวัสดิการด้านต่างๆ เท่ากับการจ้างโดยตรงจากเงิ นงบประมาณ ซึ่งได้รับเพียงประกันสังคมเท่ านั้น จึงขอเรียกร้องให้มีการปรั บสถานะลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนั กงานกระทรวงสาธารณสุข และให้มีการเยียวยาค่ าประสบการณ์ของพนั กงานกระทรวงสาธารณสุขตามอายุงาน 4 ช่วงคือ 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี ตามลำดับที่ สสลท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กั บกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว
“หาก 30 วันไม่มีความคืบหน้าจะพากลุ่มตั วแทนสมาพันธ์ฯ มาพบกับนายกฯ อีกครั้ง ทั้งนี้ค่าแรงขั้นต่ำที่ แรงงานต่างด้าวได้รับ ซึ่งรวมแล้วยังมากกว่าค่าแรง 30 วันของลูกจ้างชั่ วคราวของโรงพยาบาลเสียอีก จึงอยากขอความเป็นธรรมให้ปรั บสภาพการจ้างงานของเราให้เป็ นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดด้ วย” นายโอสถ กล่าว
อุตสาหกรรมประมง โอดแรงงานขาด 74,000 คน เรือจอดนิ่งกว่า 4,000 ลำ เล็งบินถกพม่า นำเข้าคนถูกกฏหมาย
นายศราวุธ โถวสกุล รองประธานสมาคมการประมงแห่ งประเทศไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็ น. ว่า อุตสาหกรรมประมงทั่วประเทศกำลั งประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจากการสำรวจ ณ วันที่ 12 มิ.ย.2560 พบว่า อุตสาหกรรมประมง ขาดแคลนแรงงานมากถึง 74,000 คน มีเรือประมงจอดนิ่งที่ท่าเรื อกว่าร้อยละ 30 หรือ คิดเป็นจำนวนเรือกว่า 4,000 ลำ ซึ่งแนวทางการแก้ไขนั้น เห็นว่า วันที่ 29 มิ.ย. - 1 ก.ค.2560 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปหารือกั บรัฐบาลพม่า เพื่อนำเข้าแรงงานถูกกฏหมาย โดยภาครัฐได้กำหนดค่าแรงขึ้นต่ำ ของแรงงานประมง คือ เดือนละ 10,000 - 12,000 บาท หรือ 350 บาทต่อวัน พร้อมมีค่ารักษาพยาบาล รวมถึงที่พักตามความเหมาะสม พร้อมย้ำว่า หากไม่มีการนำเข้าแรงงานประมง ก็จะทำให้ราคาอาหารทะเล 3-4 เดือนข้างหน้า ปรับตัวสูงขึ้นอีกร้อยละ 50
ระวัง!! ถูกหลอกไปทำงานเก็บผลไม้ป่า "สวีเดน-ฟินแลนด์" เผยโควตาครบแล้ว
กรมจัดหางานเตือน "แรงงานไทย" ระวังถูกหลอกไปทำงานเก็บผลไม้ป่ าที่ "สวีเดน-ฟินแลนด์" เผยปี 60 โควตาไปทำงานที่สองประเทศนี้ ครบแล้ว 6.6 พันคน ไม่มีการเปิดรับสมัครเพิ่ม
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กั นยายนของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีแรงงานไทยเดิ นทางไปเก็บผลไม้ป่ าประเภทผลเบอร์รี่ ได้แก่ ผลยู่ตรอน ผลบลูเบอร์รี่ และผลลินง่อน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในแถบประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ ซึ่งมีประชาชนสนใจเดิ นทางไปทำงานกันเป็นจำนวนมากจึ งอาจเป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดี ชักชวนไปทำงานผ่านสื่อในช่ องทางต่างๆได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ คนหางานเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง กรมการจัดหางานจึงขอแจ้งให้ ทราบว่าในปี 2560 นี้ มีแรงงานไทยสมัครไปเก็บผลเบอร์ รี่ที่ประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ ครบตามจำนวนโควตาเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 6,618 คน
นายวรานนท์ กล่าวว่า ประเทศสวีเดนกำหนดโควตาคนงานเก็ บผลไม้จำนวน 3,351 คน และประเทศฟินแลนด์กำหนดโควตา จำนวน 3,267 คน ซึ่งมีกำหนดเดินทางเดื อนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ ในปี 2559 ที่ผ่านมา กรมการจัดหางานได้จัดส่ งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่าที่ ประเทศสวีเดน จำนวน 3,327 คน และประเทศฟินแลนด์ จำนวน 2,503 คน โดยคนหางานจะเสียค่าใช้จ่ ายในการเดินทางไปทำงานประเทศสวี เดนรวมแล้วไม่เกินคนละ 75,000 บาท ส่วนประเทศฟินแลนด์มีค่าใช้จ่ ายจำนวนคนละ 65,000 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายก่อนเดินทาง เช่น ค่าวีซ่า ค่าเดินทางภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ค่าประกันต่างๆ เป็นต้น
"ขอเตือนผู้ที่สนใจจะไปเก็ บผลไม้ป่าในปี 2560 นี้ อย่าหลงเชื่อผู้มาชักชวนเพราะมี ผู้สมัครไปเก็บผลไม้ป่ าครบตามจำนวนโควตาแล้วและจะไม่ มีการรับเพิ่มอีกแต่อย่างใด นอกจากนั้น ผู้ที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่ าต้องคิดให้รอบคอบ เพราะเป็นงานที่หนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มี ประสบการณ์ในการเก็บผลไม้และมี ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้น ทั้งยังอาจขาดทุนเพราะมีรายได้ เหลือน้อยหลังจากหักค่าใช้จ่ ายแล้ว หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็ บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 02 245 6499 และ 02 245 6714 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวั ดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุ งเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694" นายวรานนท์ กล่าว
ประกันสังคมจ่ายชดเชย 1.5 แสน "หญิงท้อง" ตกรางแอร์พอร์ตลิงก์ดับ
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีน.ส.รสรินทร์ เปลี่ยนหล้า หญิงท้องที่ประสบอุบัติเหตุ ตกรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ทับเสียชีวิต ช่วงสถานีบ้านทับช้าง เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้ สำนักงานประกันสังคมได้เร่งให้ ความช่วยเหลือแล้ว โดยได้สั่งการให้สำนักงานประกั นสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ซึ่งรับผิดชอบสถานประกอบการที่ ผู้ประกันตนทำงานอยู่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่ งให้ความช่วยเหลือโดยทายาทผู้ ประกันตนที่เสียชีวิตมีสิทธิได้ รับความคุ้มครองจากกองทุนประกั นสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2537
"เบื้องต้นมีสิทธิได้รับเงินค่ าทำศพ 40,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีตาย 30,000 บาท และเงินชราภาพอีก 78,549.79 บาท (ยังไม่รวมอัตราดอกเบี้ ยและผลตอบแทน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 148,549.79 บาท สำนักงานประกันสังคมกรุ งเทพมหานครพื้นที่ 4 ได้เร่งประสานให้ทายาทผู้ประกั นตนที่เสียชีวิตติดต่อขอรั บประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิตได้ ที่สำนักงานประกันสังคมกรุ งเทพมหานครพื้นที่ 4 หรือติดต่อสำนักงานประกันสั งคมที่สะดวก ทั้งนี้ สำนักงานประกันสั งคมขอแสดงความเสียใจกับครอบครั วผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดั งกล่าว" นพ.สุรเดช กล่าว
รฟม.ตั้ง กก.คุมเข้มความปลอดภัยก่อสร้ างรถไฟฟ้า คาดโทษ บ.เกิดอุบัติเหตุบ่อย มีผลต่อการจ้างงาน
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องเพิ่มมาตรการความปลอดภั ยในการก่อสร้ างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่ อสร้าง รฟม. เปิดเผยว่า จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุในพื้ นที่ที่มีการก่อสร้ างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในวันนี้ รฟม.จึงได้มีการเชิญผู้ แทนจากบริษัทผู้รับจ้างมาพูดคุ ยทำความเข้าใจ และหาแนวทางป้องกันแก้ไขเพื่ อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นที่ผ่ านมาอีกในอนาคต เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและมั่ นใจกับประชาชนที่ต้องสัญจรผ่ านเส้นทางก่อสร้างในทุกๆ จุด โดยรฟม. ได้ข้อสรุปว่าจะตั้ งคณะกรรมการการก่อสร้างปลอดภั ยร้อยเปอร์เซ็นต์ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารของรฟม. บริษัทผู้รับจ้างเช่นบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) /บริษัท ยูนีค เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) /บริษัท ชิโน-ทัย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่ปรึกษา รวมถึงจะเชิญผู้แทนจากสำนั กการโยธากรุงเทพมหานคร กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยเน้นการลงตรวจพื้นที่ทุกจุ ดทั้งพื้นเปิดและพื้นที่ปิด รวมไปถึงพื้นที่บนพื้นผิ วจราจรและใต้ดิน โดยใช้หลักเกณฑ์ เช่น การป้องกันการปลอดภัยทั้งตั วของผู้ทำงาน และการป้องกันการร่วงหล่นของวั สดุก่อสร้าง พร้อมกำชับบริษัทผู้รับจ้างให้ จัดเจ้าหน้าที่ดูแลในพื้นที่ก่ อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะแต่งตั้ งเสร็จภายในสัปดาห์นี้ และเริ่มดำเนินการทันทีหลั งจากแต่งตั้งแล้วเสร็จ
ขณะเดียวกัน ในคณะกรรมการชุดนี้จะมีการหารื อถึงบทลงโทษสำหรับผู้รับจ้างที่ พบสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่ อยครั้ง โดยจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิ จารณาว่าจะมีการจ้างงานหรือไม่ ในอนาคต แต่เบื้องต้นหากพบว่าพื้นที่ ใดมีปัญหาจะมีคำสั่งให้ปิดพื้ นที่และหยุดดำเนินการก่อสร้างทั นทีจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขสำเร็ จ ซึ่งรฟม. จะไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่ วนเกินในระหว่างที่ผู้รับจ้ างไม่สามารถดำเนินการได้
กสร. เปิดเสนอชื่อเลือกตั้งเป็ นคณะกรรมการไตรภาคีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ และสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้ างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ร่วมเสนอชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเป็นผู้สมั ครรับเลือกตั้งและแจ้งชื่อผู้ ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ ายนายจ้างและผู้แทน ฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.จะดำเนินการเลือกตั้งผู้ แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลู กจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วย คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลู กจ้าง โดยได้กำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ ละคณะฝ่ายละ 5 คน รวม 30 คน ซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่งคณะละ 2 ปี จึงขอเชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิ การในสถานประกอบกิจการและ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้ งแต่ 50 คนขึ้นไปร่วมเสนอชื่อผู้แทนเป็ นผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งทั้ ง 3 คณะ ได้ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2560 และแจ้งผู้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็ นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 12 กรกฎาคม 2560 ในวันเวลาราชการ
อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า สามารถสมัครและส่งรายชื่อผู้ ลงคะแนนเลือกตั้งได้ที่สำนั กงานสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวั ดตามที่องค์การจดทะเบียนที่ตั้ งสำนักงาน สำหรับองค์การที่จดทะเบียนที่ตั้ ง ณ จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม สามารถสมัครและส่งรายชื่อได้ที่ สำนักแรงงานสัมพันธ์ ชั้น 2 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร ได้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักแรงงานสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2246 8993 หรือwww.labour.go.th
คสรท. ช่วยลูกจ้างไทยซินฯ 111 คน ทวงสิทธิแรงงาน หลังบริษัทปิดกิจการ
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วย นายไพฑูรย์ บางหรง กรรมการบริหาร คสรท. ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวั นออก และผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานรั ฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับสหภาพแรงงานบริษัทบริติ ชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ สมาชิกประมาณ 40 คน
ได้ไปติดตามเรื่องการเยี ยวยาจากเหตุการณ์ของบริษัท บริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ ได้ปิดกิจการลงหลังจากศาลพิ พากษาให้บริษัทล้มละลาย ทำให้คนงานทั้งหมดจำนวน 111 คน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงทั้งที่ เป็นแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ต้องถูกลอยแพคนงานโดยไม่มีการจ่ ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนั บตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560
นายสาวิทย์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาคนงานบริษัทบริติ ชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ ก็ได้พยายามหาวิธีการให้หน่ วยงานของรัฐเข้ามาแก้ไขปัญหา ทั้งที่เป็นนายจ้าง หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และกรมบังคับคดี เพื่อให้หาแนวทางในการเยี ยวยาแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดื อดร้อนของพี่น้องคนงาน รวมทั้งการเขียนคำร้องเพื่อขอรั บความช่วยเหลือจากกองทุ นสงเคราะห์ลูกจ้าง และความพยายามก็เกิดขึ้นหลายครั้ ง ในการประสานหน่วยงานต่างๆ แต่การแก้ไขปัญหาก็เป็นไปด้ วยความล่าช้า
คสรท.เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็ นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการละเมิดสิ ทธิแรงงานอย่างรุนแรงที่นายจ้ างกระทำต่อลูกจ้างโดยไม่รับผิ ดชอบใดๆ การบังคับใช้กฎหมายให้นายจ้ างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้ มครองแรงงานก็เป็นไปด้ วยความยากลำบาก และเรื่องดังกล่าวก็เกี่ยวข้ องกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน ซึ่งทุกครั้งที่มีการติดตามเรื่ องก็จะได้รับคำตอบว่านายจ้างล้ มละลายจะให้ทำอย่างไร
แม้กระทั่งอำนาจหน้าที่ที่จะเยี ยวยาตามกฎหมายคุ้ มครองแรงงานในการบรรเทาทุกข์ ของคนงานจากเงินสงเคราะห์ลูกจ้ างก็อ้างเรื่องสำนั กงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบเรื่องการบริหารกองทุนที่ มียอดเงินลดลง ทำให้มีปัญหาในการจ่าย
"อย่างไรก็ตามภายหลั งจากการประชุมกรรมการบริหาร คสรท.เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ได้มีมติให้ คสรท.ร่วมกับสหภาพแรงงานบริษั ทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ เร่งดำเนินการผลักดันเพื่อให้ คนงานได้รับสิทธิประโยชน์อันพึ งมีพึงได้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้จากการคิดตามเรื่องในวั นนี้ สรุปว่า 1.อนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ให้แก่ คนงานไทยซึ่งจะได้รั บประมาณคนละไม่เกิน 18,000 บาท
2.สำหรับแรงงานข้ามชาติประมาณ 20 คน ต้องไปตรวจสอบเอกสารการทำงานว่ าถูกต้องหรือไม่หากมี เอกสารการทำงานและเดิ นทางมาทำงานอย่างถูกต้ องตามกฎหมายก็มีสิทธิในการรั บเงินสงเคราะห์แต่หากไม่ถูกต้ องตามกฎหมาย หรือมีแค่ใบอนุญาตทำงานชั่ วคราว(บัตรสีชมพู)ไม่สามารถจ่ ายได้ ซึ่งจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหลั งตรวจสอบเอกสารแล้ว 3.การจ่ายเงินจะดำเนินการให้แล้ วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากรับฟังคำชี้แจงจากผู้ อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้ างแล้ว”ประธาน คสรท.กล่าว
เศร้าดับ 5 ศพ ตกบ่อบำบัดน้ำเสีย 'ซีพีเอฟ'
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 มิถุนายน ร.ต.อ ภูมิวัฒนา ฤทธิ์ทอง รองสารวัตร(สอบสวน) สน.บางนา ได้รับแจ้งเหตุมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทผลิตอาหาร ของบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ภายในซ.บางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด ฝั่งขาเข้า แขวงและเขตบางนา กทม. จึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ แล้วไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้ อมด้วยแพทย์นิติเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ และมูลนิธิกู้ภัยร่วมกตัญญู
ที่เกิดเหตุภายในบริษัท ซีพีเอฟ จำกัด ซึ่งผลิตอาหารแปรรูปเกี่ยวกั บอาหารสัตว์ปีกประเภท ไก่ เป็ด โดยจุดเกิดเหตุอยู่บริเวณบ่อพั กน้ำเสียด้านหลังของโรงงาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำท่อออกซิ เจน ลงไปที่ด้านล่างของบ่อพักน้ำดั งกล่าว เพื่อเติมอากาศลงไปในการค้นหา โดยใช้เวลา 30 นาที จนพบร่างผู้เสียชีวิต เป็นชาย 2 ราย หญิง 2 ราย รวม 4 ราย อยู่บริเวณก้นบ้อบำบัด ซึ่งเสียชีวิ ตจากการขาดอากาศหายใจ
นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีก 1 ราย เจ้าหน้าที่รีบนำตัวส่ง รพ.บางนา 1 ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา เบื้องต้นทราบชื่อผู้เสียชีวิต คือ 1.นายสมพร บุญบาน พนักงาน 2.นายชาญชัย พันนาคิน พนักงาน 3.น.ส.ลักษชนก แสนทวีสุข พนักงาน 4.น.ส.หวาย (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นนิสิตคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย และ 5.นายชาตรี ศรีสันคร เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ก่อนนำศพผู้เสียชีวิ ตทั้ง 5 คน ส่งภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เพื่อชันสูตรหาสาเหตุการเสียชี วิตต่อไป
ต่อมาเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด กล่าวว่า วันนี้ (23 มิ.ย.) มีนักศึกษามาทัศนศึกษาดู งานภายในโรงงาน ในส่วนของขั้นตอนการพักน้ำเสีย จำนวน 2 คน โดยทางบริษัทมอบหมายให้มีเจ้ าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็ นคนนำนักศึกษาทั้ง 2 คน ดูขั้นตอนการทำงานต่างๆ จนเกิดเหตุนักศึกษา ซึ่งเป็นหญิงหนึ่งรายพลั ดตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ก่อนที่เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้ อมคนดังกล่าวจะลงไปช่ วยจนจมหายไป จากนั้นพนักงานอีก 3 คน ก็ลงไปช่วยอีกครั้ง จนเกิดเหตุการณ์สลดมีผู้เสียชี วิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ถึง 5 คน
นายปริโสทัต กล่าวอีกว่า ตนยังไม่สามารถตอบถึงสาเหตุ ของการที่นักศึกษาดูงานรายนี้ ตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่ าวได้อย่างไร เพราะปกติในพื้นที่ดังกล่าวนี้ จะเป็นพื้นหวงห้าม และมีระบบรักษาความปลอดภัยเป็ นอย่างดี โดยปกติปากท่อดังกล่าวจะมีฝาปิด เมื่อไม่ได้มีการใช้งาน แต่ในวันนี้ตนก็ไม่ทราบว่ าในขณะเกิดเหตุฝาท่อมีการปิดหรื อเปิดอยู่ ซึ่งบริเวณนั้นก็ไม่มีกล้ องวงจรปิด หลังจากนี้ต้องสอบสวนถึงข้อเท็ จจริงอีกครั้ง
นายปริโสทัต กล่าวด้วยว่า ตนขอแสดงความเสียใจกับครอบครั วผู้เสียชีวิต ซึ่งเบื้องต้นทางบริษัทจะช่ วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิ ตโดยการนำศพส่งกลับภูมิลำเนา และช่วยเหลือในลักษณะอื่นตามที่ บริษัทเห็นสมควร
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดเหตุ ทางบริษัทฯ ได้ทำการปิดรั้วบริเวณด้านหน้า พร้อมทั้งกั้นไม่ให้ผู้ที่เกี่ ยวข้องเข้าไปภายในแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้สื่อข่าว
กกจ.รับสมัคร "ชายไทย" ทำงานเกษตรที่อิสราเอล ค่าจ้าง 4.8 หมื่นบาท/เดือน
กรมการจัดหางานเปิดรับสมัคร "ชายไทย" ไปทำงานภาคเกษตรที่อิสราเอล สัญญาจ้าง 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน เงินเดือนขั้นต่ำ 48,000 บาท สมัครฟรีตั้งแต่วันที่ 3- 7 ก.ค. 2560 แต่คุณสมบัติต้องเข้าเกณฑ์
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กรมฯ เปิดรับสมัครและคัดเลือกบุ คคลเพื่ อไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิ สราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน” (TIC) ตำแหน่งคนงานภาคเกษตร ระยะเวลาการจ้างงาน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหั กภาษีเดือนละ 5,000 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 48,000 บาท (ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2560) คุณสมบัติเป็นเพศชาย ไม่มีประวัติอาชญากรรม ไม่มีคู่สมรส บุตร หรือบิดาและมารดา พำนักอยู่ในประเทศอิสราเอล และไม่เคยทำงานในประเทศอิสราเอล สุขภาพแข็งแรง ตาไม่บอดสี และไม่เป็นโรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบบี หรือซี โรคเอดส์ เบาหวาน ซิฟิลิส เป็นต้น ไม่เคยเสพสารเสพติดและมี ประสบการณ์ทำงานภาคการเกษตร (ปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์)
หลักฐานในการสมัคร ได้แก่ ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้ อยแล้ว รูปถ่ายสีครึ่งตัวพื้นหลังสีฟ้า ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป สำเนาหนังสือเดินทาง (ถ้ามี) จำนวน 2 ฉบับ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา จำนวน 2 ฉบับ สำเนาสูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ณ ปีที่เกิดของผู้สมัคร หรือ ท.ร.1/ก หรือหลักฐานแสดงผลการเรียนชั้ นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.05) จำนวน 2 ฉบับ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล จำนวน 2 ฉบับ (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ สำเนาหลักฐานการพ้นภาระการรั บราชการทหาร (สด.8, สด.43) 2 ฉบับ สำเนาบัตรประจำตั วประชาชนของภรรยาจำนวน 2 ฉบับ สำเนาเอกสารแสดงสถานภาพการสมรส (ถ้ามี) สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือรถบรรทุกจำนวน 2 ฉบับ (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุ คคลที่ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2 ฉบับ โดยให้ผู้สมัครลงลายมือชื่อรั บรองสำเนาถูกต้องในสำเนาหลั กฐานทุกฉบับ
นายวรานนท์ กล่าวว่า ในปี 2560 ทางการอิสราเอลแจ้งความต้ องการจ้างงานของนายจ้างอิ สราเอลที่มีความประสงค์จ้ างแรงงานไทยไปทำงานในภาคเกษตรปร ะมาณ 4,963 อัตรา และขอย้ำเตือนว่า การจัดส่งไปทำงานอิสราเอลตำแหน่ งคนงานภาคเกษตรกรในครั้งนี้ เป็นการจัดส่งโดยรัฐ ดังนั้นจึงอย่าหลงเชื่อผู้ไม่ หวังดีหลอกเรียกรับเงินโดยอ้ างว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานได้ หากคนหางานใดสนใจติดต่อขอรั บใบสมัครและยื่นใบสมัครด้ วยตนเองพร้อมหลักฐานได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจั งหวัด สำนักงานจัดหางานกรุ งเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 (สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ จากเว็บไซต์ของกรมการจัดหางานww w.doe.go.th/prdหรือเว็บไซต์ ของกองบริหารแรงงานไทยไปต… www.doe.go.th/prd/overseas) ได้ตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 08.30 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร. 0-2245-0978 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
บังคับแล้ว พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวใหม่ จ้างผิด กม.ปรับ 8 แสนต่อคน นายหน้าคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้าน
บังคับใช้แล้ว กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ เริ่ม 23 มิ.ย. นี้ เผยโทษหนักขึ้นเอาผิด “นายจ้าง” ใช้คนต่างด้าวผิดกฎหมาย ทั้งไม่มีใบอนุญาต ทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำงาน โทษสูงสุดถึง 8 แสนบาทต่อต่างด้าว 1 คน พร้อมเอาผิดนายหน้าค้ามนุษย์ หลอกต่างด้าวมาทำงานในไทย คุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่ างด้าว พ.ศ. 2560 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป สำหรับ พ.ร.ก. ฉบับนี้ เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. การทำงนของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก. การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้ างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยมีการปรับปรุงกฎหมายให้บทบั ญญัติครอบคลุมการบริหารจั ดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้ งระบบ โดยเน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้ างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงมีการเพิ่มโทษนายจ้างที่ กระทำผิดกฎหมาย พร้อมดึงประชาคนเข้ามามีส่วนร่ วมเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้ านแรงงาน
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ คือ การเพิ่มโทษให้มีอัตราที่สูงขึ้ น โดยเฉพาะโทษปรับ “นายจ้าง” จากเดิมหากกระทำผิดเกี่ยวกั บการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะทำผิดต่อแรงงานต่างด้ าวกี่คนจะรับรวมเป็นกรณีเดียว แต่ พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะปรับนายจ้ างแยกตามจำนวนแรงงานต่างด้ าวรายคน ทำให้โทษสูงขึ้น เช่น นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงานที่ ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุ ญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุ ญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 - 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้ าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น
ส่วนโทษของแรงงานต่างด้าวก็มี เพิ่มขึ้น เช่น คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุ ญาตให้ทำงานหรือทำงานที่ห้ ามคนต่างด้าวทำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่ งด่วนแต่ไม่แจ้งนายทะเบียน มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท คนต่างด้าวทำงานแตกต่างจากที่ กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับการคุ้มครองแรงงานต่างด้ าว เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์นั้น พบว่า หากนายจ้างหรือผู้ใดยึดใบอนุ ญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตั วคนต่างด้าว มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่ าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกั บนายจ้างในประเทศ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000 - 1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ใดประกอบธุรกิจนำคนต่างด้ าวมาทำงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี กรมการจัดหางาน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังเพิ่มกลไกการร้องทุกข์และเข้ าถึงช่องทางการร้องทุกข์สำหรั บคนต่างด้าวที่ได้รับความเสี ยหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รั บอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิ ดชอบที่กฎหมายกำหนด
อนึ่ง งานที่ห้ามคนต่างด้ าวทำในประเทศไทย ตาม พ.ร.ก. กำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีทั้งสิ้น 39 งาน ประกอบด้วย 1. งานกรรมกร 2. งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม 3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น 4. งานแกะสลักไม้ 5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่ างประเทศ 6. งานขายของหน้าร้าน 7. งานขายทอดตลาด 8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว 9. งานเจียระไน หรือขัดเพชร หรือพลอย 10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
11. งานทอผ้าด้วยมือ 12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ 13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ 14. งานทำเครื่องเขิน 15. งานทำเครื่องดนตรีไทย 16. งานทำเครื่องถม 17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก 18. งานทำเครื่องลงหิน 19. งานทำตุ๊กตาไทย 20. งานทำที่นอนผ้าห่มนวม 21. งานทำบาตร 22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ 23. งานทำพระพุทธรูป 24. งานทำมีด 25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า 26. งานทำรองเท้า 27. งานทำหมวก 28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิ จการค้าระหว่างประเทศ
29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ ความชำนาญพิเศษ 30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ 31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย 32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา 33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ 34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว 35. งานเร่ขายสินค้า 36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมื อ 37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ 38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุ การ 39. งานให้บริการทางกฎหมายหรื ออรรถคดี อย่างไรก็ตาม มติ ครม. ได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และ งานบ้าน
สสปท.แจงกฎกระทรวงแรงงานกำหนดขั้ นตอนการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
24 มิ.ย. 2560 นายชัยธนา ไชยมงคล ผอ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชี วอนามัยและสภาพแวดล้ อมในการทำงาน (สสปท.) องค์การมหาชน กล่าวถึงกรณีมีผู้เสียชีวิตในบ่ อบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบกิ จการแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2560 จำนวน 5 รายว่า กฎกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อั บอากาศนั้น จะต้องมีขั้นตอนในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้ น โดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่มี บ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีก๊าซพิษหรือที่เรียกว่าพื้ นที่อับอากาศ
โดยกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้ปฏิบัติ งานต้องทำการขออนุ ญาตไปทำงานในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นต้องสำรวจพื้นที่ และมีอุปกรณ์ตรวจวัดก๊าซพิษ และปริมาณออกซิเจน ว่าสามารถทำงานได้หรือไม่
ทั้งนี้อุปกรณ์วัดปริมาณออกซิ เจนในพื้นที่อับอากาศหรือบ่ อบำบัดน้ำเสียนั้น ตามกฎกระทรวงจะต้องตรวจวัดว่าพื้ นที่นั้นมีออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 19.5% ขณะที่บางประเทศกำหนดค่าออกซิ เจนไม่ต่ำกว่า 20.6% และในส่วนของปริมาณก๊ าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2s) ซึ่งเป็นก๊าซพิษนั้น จะต้องมีค่าเป็นศูนย์ (0 ppm.) จึงจะสามารถให้ คนงานลงไปทำงานในพื้นที่อั บอากาศได้
ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานจะต้ องลงไปทำงานด้วยการใช้อุปกรณ์ป้ องกันอันตรายส่วนบุคคล พร้อมถังอัดอากาศช่วยหายใจ รวมทั้งต้องมีผู้ช่วยเหลืออยู่ บริเวณนอกใกล้เคียง ที่พร้อมจะช่วยเหลือทันที เพราะสภาพในบ่อน้ำเสียอาจเปลี่ ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ในเบื้องต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ าไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุรวมทั้ งสสปท.ทราบว่า ผู้ประสบเหตุ มี 2 คน คือจนท.สิ่งแวดล้อมและนศ.ที่ มาดูงานไม่ได้เกิ ดจากการลงไปทำงานในพื้นที่อั บอากาศแต่เข้าไปในพื้นที่หวงห้ าม และพลัดตกลงไปในบ่อน้ำเสียจากนั้ นได้มีพนักงาน 3 คน เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งเป็นบ่อน้ำเสียลึกลงไปราว 3 เมตร ซึ่งคาดว่าจะมีก๊าซไฮโดรเจนซั ลฟด์ ภายในบ่อน้ำลึก ซึ่งเป็นพื้นที่อับอากาศ
อธิบดี กสร. ลงพื้นที่สอบเหตุผู้เสียชีวิต 5 รายในบ่อน้ำเสียซีพีเอฟ
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน กล่าวว่า กรณีมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในบ่อน้ำเสีย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ตนได้ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุพร้ อมด้วยพนักงานตรวจความปลอดภั ยได้สอบข้อเท็จจริงเบื้องตนพบว่ า ในวันนี้ มีนักศึกษามาศึกษาดู งานภายในโรงงาน ในส่วนของขั้นตอนการพักน้ำเสีย จำนวน 2 คน โดยทางบริษัทมอบหมายให้มีเจ้ าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็ นคนนำนักศึกษาทั้ง 2 คน ดูขั้นตอนการทำงานต่างๆ บริเวณบ่อน้ำเสีย และได้เกิดอุบัติเหตุนักศึ กษาหญิงหนึ่งรายพลัดตกลงไปในบ่ อน้ำเสีย โดยเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมได้ พยายามลงไปช่วยและจมหายไป จากนั้นพนักงานอีก 3 คน ได้ลงไปช่วยและประสบเหตุเช่นเดี ยวกันอีก โดยการให้ความช่วยเหลือดังกล่ าวไม่เป็นไปตามขั้นตอนและวิธี การที่ถูกต้อง จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย ลูกจ้างบริษัท 4 ราย ได้แก่ 1. นางสาวลักษ์ชนก แสนทวีสุข อายุ 24 ปี เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม 2. นายชาญชัย พันธุนาคิน อายุ 42 ปี หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง 3. นายพรศักดิ์ บุญบาล อายุ 40 ปี หัวหน้างานอนามัย 4. นายชาตรี สีสันดร อายุ 53 ปี คนงานรายวันประจำ และนางสาวปัณฐิกา ตาสุวรรณ อายุ 23 ปี เป็นนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้ามาศึกษาดูงาน เบื้องต้นได้ตรวจสอบการจ่ายเงิ นค่าจ้าง ค่าโอที นายจ้างได้โอนเงินเข้าบัญชีลู กจ้างแล้วก่อนเกิดเหตุในวันนี้ สำหรับกรณีดังกล่าวบริษัท ซีพีเอฟฯ จะรับผิดชอบเบื้องต้นโดยจ่ายเงิ นช่วยเหลือค่าทำศพ และค่าเคลื่อนย้ายศพไปยังภูมิ ลำเนา โดยจ่าย 1 ล้านบาทสำหรับนักศึกษาดูงาน
อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเบื้องต้นพนั กงานตรวจความปลอดภัยจะได้ดำเนิ นการตรวจสอบพื้นที่ และรวบรวมพยานหลักฐานว่านายจ้ างได้มีการปฏิบัติตามพระราชบั ญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้ อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รวมทั้ งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริ หารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้ อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 หรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วนายจ้างไม่ ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีการประเมินอั นตรายว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้ นที่อับอากาศ และลูกจ้างไม่ได้รั บการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด มีบทกำหนดโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้พนักงานตรวจความปลอดภั ยได้มีหนังสือเชิญนายจ้ างมาพบเพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่ มเติมในวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ต่อไป
แสดงความคิดเห็น