Posted: 25 Jun 2017 07:52 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
85 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ คำ ผกา และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับ ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พูดถึงความทรงจำ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎร และการเกิดขึ้นของสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสามัญชน
ทั้งนี้มีสิ่งก่อสร้างที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และหมุดคณะราษฎร ในด้านศิลปะในช่วง 15 ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง งานศิลปกรรมในช่วงนี้ ต้องการแสดงภาพคนในลักษณะกำยำ แข็งแรง มองเห็นกล้ามเนื้อ ซึ่งมาพร้อมกับความต้องการปลูกฝังอุดมการณ์ใหม่ “รัฐธรรมนูญนิยม” หรือในภาษาปัจจุบันคือแนวคิด “ประชาธิปไตย” ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน แต่หลังจากยุคคณะราษฎร ความนิยมด้านศิลปกรรมก็เปลี่ยนไปโดยศิลปะแบบประเพณีนิยมก็กลับมาอีกครั้ง
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการเก็บบันทึกทางประวัติศาสตร์ในต่างประเทศ ที่เริ่มการให้ความสำคัญกับคนธรรมดา สามัญชน และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยจะเห็นได้จากการปักหมุด “Blue plaque” บ้านนักเขียนหรือบุคคลที่สร้างคุณูปการในอังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยนอกจากการที่เอกชนบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างสาธารณูปโภคเช่นโรงเรียน สะพาน โรงพยาบาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงบุคคลแล้ว ในระยะหลังมีก็มีการติดตั้งหมุดหมายของคนธรรมดาด้วย เช่น หมุดที่ทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงจุดที่ “สมาพันธ์ ศรีเทพ” เสียชีวิตที่ซอยรางน้ำในช่วงสลายการชุมนุมปี 2553 หรือหมุดรำลึกถึงจุดที่ “ชัยภูมิ ป่าแส” ถูกวิสามัญฆาตกรรม
ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai
แสดงความคิดเห็น