แฟ้มภาพวุฒิสมาชิก อลิซาเบธ วอร์เรน ในปี 2554 (ที่มา: Katherine Taylor for The US Department of Labor/Wikipedia)


Posted: 05 Jan 2019 05:56 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2019-01-05 20:56


อลิซาเบธ วอร์เรน วุฒิสมาชิกหญิงจากรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ พรรคเดโมแดรต ซึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์ทุนธนาคารช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และเสนอเพิ่มอำนาจรัฐบาลเพื่อควบคุมบริษัท ประกาศพร้อมลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2020 หรือ พ.ศ. 2563 โดยเธอจะต้องผ่านการหยั่งเสียงภายในพรรคเดโมแครต อย่างไรก็ตามยังมีข้อกังขาว่าวอร์เรนจะรวบรวมเสียงสนับสนุนได้มากพอหรือไม่

ในวันส่งท้ายปีเก่าอลิซาเบธ วอร์เรน สมาชิกวุฒิสภาประจำรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ ประกาศลงศึกเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2563 โดยกล่าวในวิดิโอเปิดตัวว่า “ดิฉันจะลงสู้ศึกจนสุดทาง” โดยชิงเก้าอี้กับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่จะครบสมัยแรกในปีหน้า นับเป็นผู้ท้าชิงรายสำคัญคนแรก ที่ออกมาประกาศชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อสาธารณชน


Every person in America should be able to work hard, play by the same set of rules, & take care of themselves & the people they love. That’s what I’m fighting for, & that’s why I’m launching an exploratory committee for president. I need you with me: https://t.co/BNl2I1m8OX pic.twitter.com/uXXtp94EvY

— Elizabeth Warren (@ewarren) December 31, 2018

อลิซาเบธ​ วอร์เรน กล่าวเปิดตัวในทวิตเตอร์​ โดยเกริ่นถึงครอบครัวของเธอเอง และพูดถึงชนชั้นกลาง​และคนผิว​สี​ในปัจจุบั​น​ที่​ไม่​ได้​รับ​ความ​เท่าเทียม​ทางโอกาสเหมือน​สมัย​ก่อน

"ทุก​คน​ใน​อเมริกา​ควร​มีโอกาสได้ทำงานอย่างขยันขันแข็ง​ เล่นตามกติกา​เดียว​กัน​ และดูแลตัวเอง และดูแลผู้คนที่ตนรักได้ นี่คือสิ่ง​ที่​ดิฉันต่อสู้​เพื่อ​ให้​ได้มา และ​นี่​คือ​เหตุผล​ที่ดิฉันกำลังจะเปิดตัวคณะกรรมการ​สำรวจ​เพื่อลงเลือกตั้ง​ประธานาธิบดี​ ดิฉันต้องการคุณคอยเคียงข้าง​ด้วย" วอร์เรนกล่าวตอนหนึ่ง

อดีตอาจารย์นิติศาสตร์ อายุ 69 ปี ผู้มีพื้นเพจากโอกลาโฮมาซิตี้ รัฐโอกลาโฮมาผู้นี้ เป็นนักการเมืองฝ่ายก้าวหน้าคนสำคัญของพรรคเดโมแครต ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการวิพากษ์วิจารณ์ธนาคาร บริษัทขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นวอล์สตรีท หลังเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ. 2551 วอร์เรนยังเคยเสนอกฎหมายเพื่อลดอำนาจของบริษัทนายทุน โดยเพิ่มอำนาจรัฐบาลในการควบคุมดูแลบริษัทเพื่อขยายผลประโยชน์จากเดิมที่จำกัดอยู่เพียงผู้ถือหุ้นไปสู่สาธารณชน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของชนชั้นกลางอเมริกันด้วย

ก่อนหน้านี้ วอร์เรนเคยให้สัมภาษณ์ในปี พ.ศ. 2561 โดยกล่าวว่าในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่แล้วนั้น พรรคเดโมแครตจัดกระบวนการคัดเลือกผู้แทนอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากคณะกรรมการพรรคเอื้อประโยชน์ให้กับฮิลลารี คลินตัน และทำให้เบอร์นี แซนเดอร์ส เป็นตกฝ่ายเสียเปรียบ

แม้ว่าจะได้รับกระแสตอบรับดีจากกลุ่มที่เป็นฝ่ายก้าวหน้า แต่ก็มีกลุ่มที่ตั้งข้อสังเกตต่อการลงแข่งประธานาธิบดีของวอร์เรนเช่นกัน กรรมการบรรณาธิการของ นสพ. บอสตัน โกลบ ชี้ว่าวอร์เรน รักษาตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไว้ได้ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว แต่คะแนนที่ได้รับน้อยกว่าชาลี เบเคอร์ (Charlie Baker) สมาชิกพรรครีพับบลิกันที่ชนะเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ ซึ่งเป็นรัฐเดียวกับที่วอร์เรนสังกัด แม้ว่าจะเป็น ส.ว. ที่มีอิทธิพล แต่สาธารณะชนก็มีความเห็นแตกเป็นสองฝ่ายเมื่อพูดถึงวอร์เรนเช่นกัน ส่งผลให้วอร์เรนอาจไม่สามารถรวมเสียงประชาชนเพื่อเอาชนะทรัมป์ได้

แม้จะเคยโต้เถียงกันหลายต่อหลายครั้ง แต่หลังจากวอร์เรนประกาศว่าจะตั้งคณะกรรมการสำรวจเพื่อระดมทุนเตรียมลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Fox & Friends ว่า “ขอให้เธอโชคดี ผมหวังให้เธอทำได้ดี และยินดีจะแข่งขันชิงขัยกับเธอ” หากชนะการเลือกตั้ง อลิซาเบธ วอร์เรน จะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ฮิลลารี คลินตันต้องฝันสลายเพราะพ่ายแพ้ต่อโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

Elizabeth Warren announces 2020 run against Trump: 'I'm in this fight', The Guardian, 1 January 2019

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.