Posted: 24 Jan 2019 04:15 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Fri, 2019-01-25 07:15
ผู้สื่อข่าวประชาไทคว้ารางวัลชมเชย “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประเภทข่าวออนไลน์ จากผลงาน “ชีวิตยามเกษียณ: ‘ชีวิตดี’ เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้” ด้านที่ปรึกษาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หวังให้สื่อมวลชนขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
24 มกราคม 2562 เวลา 14.00 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2561 ณโรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และสื่อโทรทัศน์
สื่อ กระบอกเสียงของประชาชนเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน
สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “ครู” ผู้ทำหน้าที่ในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม
จากนั้นมีการกล่าวปาฐกถาหัวข้อ “เมื่อสื่อทำให้เสียงของเราไม่เงียบอีกต่อไป” โดย ศักดา แก้วบัวดี นักแสดงและอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัยในประเทศไทย สุภาพ คำแหล้ ภรรยา เด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ทำกัน จ. ชัยภูมิ ที่หายตัวไปเมื่อปี 2559
ศักดา เล่าว่า อาชีพหลักของตนเป็นนักแสดงมา 10 กว่าปี ช่วงว่างก็ใช้เวลาไปเยี่ยมผู้ลี้ภัยที่ติดใน ตม. จุดเริ่มต้นคือเพื่อนชาวฝรั่งเศสชวนไปเยี่ยม ซึ่งตนได้ตอบปฏิเสธหลายครั้ง จนกระทั่งได้ลองไป หลังจากนั้นจึงได้ไปเยี่ยมเรื่อยๆ และพบว่ามีคนหลายสัญชาติที่ถูกกักไว้ที่ ตม.
ศักดาเริ่มจากการครอบครัวชาวปากีสถานที่ลี้ภัยเข้ามาครอบครัวหนึ่งไปแคนนาดาได้สำเร็จ โชคดีครอบครัวนี้สัมภาษณ์ UNHCR ผ่าน ซึ่งสามารถลี้ภัยไปแคนนาดาได้ แต่โชคร้ายคือพวกเขาไม่มีวีซ่า ออกจากเมืองไทยไม่ได้ ศักดาจึงช่วยเหลือโดยการหาเงินมาเพื่อเป็นค่าพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนดระยะอนุญาต (overstay) จนทุกวันนี้ทั้งครอบครัวก็ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่แคนนาดาแล้ว
ศักดากล่าวว่า บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็เรียกเข้าไปคุย และบอกว่าการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเท่ากับช่วยเหลือคนผิดกฎหมาย และคนช่วยก็จะผิดเองด้วย
“ผมรู้สึกท้อ เหนื่อยจนไม่มีแรง หยุดไปเดือนหนึ่ง ไม่ไปเยี่ยมใคร แต่พวกเขายังรอรับกาารช่วยเหลือทุกวัน พอคิดแบบนั้นก็ฮึดสู้ขึ้นมา แล้วก็ไปเยี่ยมพวกเขาทุกวัน มีคนไทยบางคนที่โทรหรือส่งข้อความมาต่อว่า ว่าทำไมไม่ช่วยคนไทยก่อน ผมตอบพวกเขาเหล่านั้นว่า การที่ผมช่วยไม่ได้คำนึงว่าเขาเป็นคนไทยหรือไม่ ผมช่วยเพราะพวกเขาเป็นมุนษย์คนหนึ่ง ผมคิดว่าสื่อไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องนี้เท่าใดนัก ทั้งที่เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นใจกลางเมืองกทม. บทบาทของสื่อควรรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเพื่อให้คนทั่วไปรู้ ไม่ใช่เน้นแต่เรื่องที่เป็นกระแส กรณีของสาวชาวปากีสถาน ‘ราฮาฟ’ ที่เพิ่งลี้ภัยสำเร็จ โชคดีที่เขาได้สื่อสาร แล้วมีสื่อช่วยทำให้เป็นกระแส ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญมาก” ศักดากล่าว
สุภาพ กล่าวว่า “ขอขอบคุณสื่อทุกท่านที่ไม่ทำให้เรื่องของตาเด่นหายไป สื่อให้กำลังใจ ช่วยมาตลอด ตาเด่น แกเป็นแกนนำต่อสู้ที่ทำกินชุมชนโคกยาว ที่ชุมชนโคกยาวไม่มีอะไรมีแต่คนจน วันที่ 16 เมษายน 2559 แกเข้าป่าไปกับหมาสองตัว ไปหาของกิน แล้วแกก็ไม่กลับมาอีกเลย ถ้าแกไม่เปนแกนนำแกไม่หายตัวไปหรอกค่ะ แกไม่มีปัญหากับใคร ไม่มีศัตรูกับใคร แกมีปัญหากับเรื่องที่ทำกิน ป่าไม้บังคับให้ออกจากพื้นที่แกก็ไม่ออก จนถึงตอนนี้ยังไม่รู้ว่าหายตัวไปแบบไหน ใครเป็นคนทำ นิติวิทยาศาสตร์ ดีเอสไอ ก็ยังไม่ให้คำตอบว่าหายไปแบบไหน อยากให้สองหน่วยนี้ช่วงลงตรวจพื้นที่อีกครั้ง วอนสื่อทุกท่านช่วยสื่อสารเรื่องนี้ให้ด้วย ทั้งเรื่องตาเเด่น และเรื่องสิทธิชมุชนโคกยาว”
การบังคับสูญหาย ความหวังที่ยังเลือนรางในสังคมไทย
ต่อมามีการมอบโปสการ์ดให้กำลังใจจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ให้กับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนอังคณา นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์เพื่อยุติการอุ้มหายในประเทศไทย และภรรยาทนายความสิทธิมนุษยชนที่ถูกอุ้มหายเมื่อปี 2547 พิณนภา พฤกษาพรรณ คุณแม่ลูกห้าและภรรยานักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หายตัวไปเมื่อปี 2558 ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความสิทธิมนุษยชน
อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องที่เกี่ยวกับการถูกกระทำโดยรัฐ เป็นเรื่องไม่ง่าย ทางหนึ่งอาจต้องหลบไปจากสังคมเพื่อหนีจากการคุกคาม หรือยอมที่จะเผชิญการถูกข่มขู่คุกคามเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม สังคมจำเป็นต้องอยู่ข้างผู้เสียหายทุกคน และตนเองก็เคยเผชิญการคุกคามถึงชีวิตมาตลอด และรัฐเองกลับอ่อนแอ ไม่เต็มใจในกาารให้คุ้มครอง สิ่งที่ทุกคนอยากเห็นคือการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ไม่เกิดซ้ำ คนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่สิ่งนี้เป็นการต่อสู้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะการบังคับสูญหาย ระหว่างทางเหยื่ออาจเผชิญสถานการณ์ต่างกัน บางทีชั่วชีวิตตนอาจยังไม่เห็นความเป็นธรรม แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะก้าวเข้ามา
“สิ่งที่เรามีร่วมกันคือความหวัง ทำให้เรากล้าเผชิญความกลัว กล้าที่จะฝัน กล้าที่จะหวัง ว่าวันหนึ่งเราจะมีสังคมที่เป็นธรรมร่วมกัน” อังคณากล่าว
รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน
ลำดับถัดมาเป็นการประการผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้
รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานชุด “ผู้ต้องกักและผู้ลี้ภัยในเขตเมือง 101” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และรางวัลชมเชย 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ผลงานชุด “น้องนนท์...จากคนกีฬาชายขอบไร้สัญชาติ สู่วันที่คราบน้ำตาแห้งพร้อมสู้เพื่อชาวไทย” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง "บทเรียนจากแดนประหารจากช่างภาพญี่ปุ่น-โทชิ คาซามะ” เว็บไซต์สนุกดอทคอม และรางวัลชมเชย 4 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เปิดตาตีหม้อ-สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด” เว็บไซต์ the101.world
ผลงานเรื่อง “ชีวิตยามเกษียณ: ‘ชีวิตดี’ เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้” โดยนัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท ผลงานเรื่อง “4 ปีรัฐประหาร: ความตายของชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ไร้คำตอบ” เว็บไซต์บีบีซีไทย และผลงานเรื่อง “In The Name Of The Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด” เว็บไซต์ the101.world
รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที) ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 2 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ซ่อมVSซ้อม ธำรงวินัยทหารอดทน” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ และผลงานเรื่อง “โรฮิงญากลางฤดูอพยพ” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “วิสามัญ ‘ชัยภูมิ ป่าแส’ ควันปืนที่บดบังข้อเท็จจริง” สถานีโทรทัศน์นิวทีวี และผลงานเรื่อง “ค้ามนุษย์ข้ามชาติ” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวีเอชดี 36
สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 2 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณได้แก่ผลงานเรื่อง “ชีวิตหนี้มลาบรี” รายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และผลงานเรื่อง “เคยมีคนชื่อ เด่น คำแหล้” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี 36 ส่วนรางวัลชมเชยมี 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เด็กลูกแรงงานข้ามชาติกับการได้รับการศึกษา”รายการสปริง รีพอร์ต สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “ครู” ผู้ทำหน้าที่ในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม
จากนั้นมีการกล่าวปาฐกถาหัวข้อ “เมื่อสื่อทำให้เสียงของเราไม่เงียบอีกต่อไป” โดย ศักดา แก้วบัวดี นักแสดงและอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัยในประเทศไทย สุภาพ คำแหล้ ภรรยา เด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ทำกัน จ. ชัยภูมิ ที่หายตัวไปเมื่อปี 2559
ศักดา แก้วบัวดี
ศักดา เล่าว่า อาชีพหลักของตนเป็นนักแสดงมา 10 กว่าปี ช่วงว่างก็ใช้เวลาไปเยี่ยมผู้ลี้ภัยที่ติดใน ตม. จุดเริ่มต้นคือเพื่อนชาวฝรั่งเศสชวนไปเยี่ยม ซึ่งตนได้ตอบปฏิเสธหลายครั้ง จนกระทั่งได้ลองไป หลังจากนั้นจึงได้ไปเยี่ยมเรื่อยๆ และพบว่ามีคนหลายสัญชาติที่ถูกกักไว้ที่ ตม.
ศักดาเริ่มจากการครอบครัวชาวปากีสถานที่ลี้ภัยเข้ามาครอบครัวหนึ่งไปแคนนาดาได้สำเร็จ โชคดีครอบครัวนี้สัมภาษณ์ UNHCR ผ่าน ซึ่งสามารถลี้ภัยไปแคนนาดาได้ แต่โชคร้ายคือพวกเขาไม่มีวีซ่า ออกจากเมืองไทยไม่ได้ ศักดาจึงช่วยเหลือโดยการหาเงินมาเพื่อเป็นค่าพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนดระยะอนุญาต (overstay) จนทุกวันนี้ทั้งครอบครัวก็ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่แคนนาดาแล้ว
ศักดากล่าวว่า บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็เรียกเข้าไปคุย และบอกว่าการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเท่ากับช่วยเหลือคนผิดกฎหมาย และคนช่วยก็จะผิดเองด้วย
“ผมรู้สึกท้อ เหนื่อยจนไม่มีแรง หยุดไปเดือนหนึ่ง ไม่ไปเยี่ยมใคร แต่พวกเขายังรอรับกาารช่วยเหลือทุกวัน พอคิดแบบนั้นก็ฮึดสู้ขึ้นมา แล้วก็ไปเยี่ยมพวกเขาทุกวัน มีคนไทยบางคนที่โทรหรือส่งข้อความมาต่อว่า ว่าทำไมไม่ช่วยคนไทยก่อน ผมตอบพวกเขาเหล่านั้นว่า การที่ผมช่วยไม่ได้คำนึงว่าเขาเป็นคนไทยหรือไม่ ผมช่วยเพราะพวกเขาเป็นมุนษย์คนหนึ่ง ผมคิดว่าสื่อไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องนี้เท่าใดนัก ทั้งที่เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นใจกลางเมืองกทม. บทบาทของสื่อควรรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเพื่อให้คนทั่วไปรู้ ไม่ใช่เน้นแต่เรื่องที่เป็นกระแส กรณีของสาวชาวปากีสถาน ‘ราฮาฟ’ ที่เพิ่งลี้ภัยสำเร็จ โชคดีที่เขาได้สื่อสาร แล้วมีสื่อช่วยทำให้เป็นกระแส ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญมาก” ศักดากล่าว
สุภาพ กล่าวว่า “ขอขอบคุณสื่อทุกท่านที่ไม่ทำให้เรื่องของตาเด่นหายไป สื่อให้กำลังใจ ช่วยมาตลอด ตาเด่น แกเป็นแกนนำต่อสู้ที่ทำกินชุมชนโคกยาว ที่ชุมชนโคกยาวไม่มีอะไรมีแต่คนจน วันที่ 16 เมษายน 2559 แกเข้าป่าไปกับหมาสองตัว ไปหาของกิน แล้วแกก็ไม่กลับมาอีกเลย ถ้าแกไม่เปนแกนนำแกไม่หายตัวไปหรอกค่ะ แกไม่มีปัญหากับใคร ไม่มีศัตรูกับใคร แกมีปัญหากับเรื่องที่ทำกิน ป่าไม้บังคับให้ออกจากพื้นที่แกก็ไม่ออก จนถึงตอนนี้ยังไม่รู้ว่าหายตัวไปแบบไหน ใครเป็นคนทำ นิติวิทยาศาสตร์ ดีเอสไอ ก็ยังไม่ให้คำตอบว่าหายไปแบบไหน อยากให้สองหน่วยนี้ช่วงลงตรวจพื้นที่อีกครั้ง วอนสื่อทุกท่านช่วยสื่อสารเรื่องนี้ให้ด้วย ทั้งเรื่องตาเเด่น และเรื่องสิทธิชมุชนโคกยาว”
การบังคับสูญหาย ความหวังที่ยังเลือนรางในสังคมไทย
ต่อมามีการมอบโปสการ์ดให้กำลังใจจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ให้กับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนอังคณา นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์เพื่อยุติการอุ้มหายในประเทศไทย และภรรยาทนายความสิทธิมนุษยชนที่ถูกอุ้มหายเมื่อปี 2547 พิณนภา พฤกษาพรรณ คุณแม่ลูกห้าและภรรยานักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ ที่หายตัวไปเมื่อปี 2558 ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความสิทธิมนุษยชน
'มึนอ' พิณนภา พฤกษาพรรณ
อังคณา นีละไพจิตร
อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องที่เกี่ยวกับการถูกกระทำโดยรัฐ เป็นเรื่องไม่ง่าย ทางหนึ่งอาจต้องหลบไปจากสังคมเพื่อหนีจากการคุกคาม หรือยอมที่จะเผชิญการถูกข่มขู่คุกคามเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม สังคมจำเป็นต้องอยู่ข้างผู้เสียหายทุกคน และตนเองก็เคยเผชิญการคุกคามถึงชีวิตมาตลอด และรัฐเองกลับอ่อนแอ ไม่เต็มใจในกาารให้คุ้มครอง สิ่งที่ทุกคนอยากเห็นคือการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ไม่เกิดซ้ำ คนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่สิ่งนี้เป็นการต่อสู้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะการบังคับสูญหาย ระหว่างทางเหยื่ออาจเผชิญสถานการณ์ต่างกัน บางทีชั่วชีวิตตนอาจยังไม่เห็นความเป็นธรรม แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะก้าวเข้ามา
“สิ่งที่เรามีร่วมกันคือความหวัง ทำให้เรากล้าเผชิญความกลัว กล้าที่จะฝัน กล้าที่จะหวัง ว่าวันหนึ่งเราจะมีสังคมที่เป็นธรรมร่วมกัน” อังคณากล่าว
รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน
ลำดับถัดมาเป็นการประการผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้
รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานชุด “ผู้ต้องกักและผู้ลี้ภัยในเขตเมือง 101” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และรางวัลชมเชย 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ผลงานชุด “น้องนนท์...จากคนกีฬาชายขอบไร้สัญชาติ สู่วันที่คราบน้ำตาแห้งพร้อมสู้เพื่อชาวไทย” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 1 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง "บทเรียนจากแดนประหารจากช่างภาพญี่ปุ่น-โทชิ คาซามะ” เว็บไซต์สนุกดอทคอม และรางวัลชมเชย 4 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เปิดตาตีหม้อ-สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด” เว็บไซต์ the101.world
ผลงานเรื่อง “ชีวิตยามเกษียณ: ‘ชีวิตดี’ เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้” โดยนัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท ผลงานเรื่อง “4 ปีรัฐประหาร: ความตายของชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ไร้คำตอบ” เว็บไซต์บีบีซีไทย และผลงานเรื่อง “In The Name Of The Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด” เว็บไซต์ the101.world
รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที) ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 2 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ซ่อมVSซ้อม ธำรงวินัยทหารอดทน” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ และผลงานเรื่อง “โรฮิงญากลางฤดูอพยพ” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “วิสามัญ ‘ชัยภูมิ ป่าแส’ ควันปืนที่บดบังข้อเท็จจริง” สถานีโทรทัศน์นิวทีวี และผลงานเรื่อง “ค้ามนุษย์ข้ามชาติ” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวีเอชดี 36
สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 2 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณได้แก่ผลงานเรื่อง “ชีวิตหนี้มลาบรี” รายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และผลงานเรื่อง “เคยมีคนชื่อ เด่น คำแหล้” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี 36 ส่วนรางวัลชมเชยมี 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เด็กลูกแรงงานข้ามชาติกับการได้รับการศึกษา”รายการสปริง รีพอร์ต สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
ข่าว
สิทธิมนุษยชน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
สื่อมวลชน
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์
สิทธิมนุษยชน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
สื่อมวลชน
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์
แสดงความคิดเห็น