Posted: 17 Jan 2019 11:03 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Fri, 2019-01-18 02:03


เปรียบเทียบการควบคุม จัดการมลพิษในเขตเมือง โดยหลายเมืองใหญ่ทั่วโลกที่กำลังเผชิญหรือเคยเผชิญปัญหาลักษณะเดียวกัน โดยมุ่งหาวิธีต่างๆ เพื่อลดมลภาวะที่ต้นเหตุ ทั้งการส่งเสริมขนส่งมวลชน พัฒนาระบบราง เก็บเงินรถยนต์เก่าที่เข้าเขตเมือง หรือกำหนดวันห้ามรถยนต์เข้าเขตเมือง เพิ่มช่องทางจักรยาน ลดและเลิกรถยนต์ดีเซล ฯลฯ ขณะที่กรณีของไทยยังเน้นพึ่งพามาตรการระยะสั้น แทนที่จะใช้มาตรการระยะยาว เพื่อจัดการกับรากฐานของปัญหาในเชิงโครงสร้าง

ลอนดอน

เครือข่ายรถเมล์และรถไฟฟ้าใต้ดินครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง
ค่าปรับพาหนะเก่าที่เข้ามาในเซ็นทรัลลอนดอน
ค่าปรับพาหนะที่เข้ามาในโซนแออัดของเขตเซ็นทรัลลอนดอน 7.00 – 18.00 น. จันทร์ – ศุกร์
ค่าปรับพาหนะที่ปล่อยมลพิษสูงกว่ามาตรฐานในเขตมลพิษต่ำ
เลิกใช้รถบัสสองชั้นเครื่องดีเซล

ปารีส

ห้ามใช้รถในเขต 1, 2, 3, และ 4 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
ห้ามใช้รถที่ผลิตก่อนปี 2540 ในพื้นที่ส่วนกลางของเมือง วันจันทร์ – ศุกร์
ห้ามใช้รถเครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมดภายในปี 2567
ห้ามใช้ยานพาหนะพลังงานน้ำมันภายในปี 2573
เพิ่มทางจักรยานเป็นสองเท่า และเพิ่มถนนสำหรับเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเท่านั้นภายในปี 2562
นิวยอร์ก

เพิ่มทางเดินเท้า สถานีแบ่งปันรถจักรยาน รถไฟฟ้าใต้ดิน และเส้นทางรถเมล์
จัตุรัสต่าง ๆ เปิดทางให้สำหรับคนเดินเท้าเท่านั้นอย่างถาวร

เดลี

ห้ามใช้รถเครื่องดีเซลขนาดใหญ่ และห้ามใช้รถเอสยูวีที่เครื่องเกิน 2000 ซีซี
เลิกใช้รถแท็กซี่เครื่องดีเซล
ห้ามเดินทางโดยส่วนตัวอย่างสิ้นเชิง หากสถานการณ์ย่ำแย่ลง
ปักกิ่ง

คุมแหล่งที่มาของมลพิษ เช่น ถ่านหิน ยานพาหนะ ฝุ่นจากการก่อสร้าง
ห้ามใช้พาหนะใหญ่เมื่อ AQI อยู่ในช่วงระหว่าง 100-150 ห้ามใช้พาหนะทั้งหมดในวันที่มีการเตือนภัยสีแดง

กรุงเทพมหานคร

ฉีดน้ำขึ้นฟ้า โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้เครื่องวัด
สาธารณชนแชร์ข้อมูลกันเอง เตือนกันให้ใส่หน้ากาก
สวดมนต์ภาวนาขอให้ฝุ่นหายไปโดยเร็ววัน

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.