U.S. Secretary of Defense James Mattis speaks at the 16th IISS Shangri-La Dialogue in Singapore, June 3, 2017.

พลเอก เจมส์ แมททิส ส่งสัญญาณดังกล่าวที่การประชุม Shangri-La Dialogue ที่ประเทศสิงคโปร์

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พลเอก เจมส์ แมททิส เข้าร่วมประชุมด้านความมั่นคงกับรัฐมนตรีกลาโหมของประเทศในเอเชียที่ประเทศสิงคโปร์ และใช้โอกาสนี้ยืนยันความตั้งใจที่ต่อเนื่องของสหรัฐฯ ในการสานความสัมพันธ์ทางทหารกับประเทศในภูมิภาคนี้

ที่การประชุม Shangri-La Dialogue ประจำปีนี้ รัฐมนตรีแมททิสเจรจาสามฝ่ายกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนั้นในวันอาทิตย์ เขาได้พบกับรัฐมนตรีกลาโหมจาก 10 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสมาคมอาเซียน

พลเอก แมททิส กล่าวว่าพันธกิจของสหรัฐฯที่ยืนยาวในภูมิภาคเอเชียอยู่บนรากฐานของผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ และค่านิยมที่สหรัฐฯมีร่วมกันกับประเทศเสรีต่างๆ รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความร่วมมือที่เปิดกว้างกับทุกประเทศ โดยไม่จำกัดถึงขนาดของประเทศ ประชากร หรือขนาดของกองทัพ

ถ้อยแถลงดังกล่าวของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ มีขึ้น หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ยืนยันต่อประเทศสมาชิก NATO หรือองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ว่าจะร่วมปกป้องประเทศพันธมิตร NATO ภายใต้มาตรา 5 ของสนธิสัญญาดังกล่าว

U.S. Secretary of Defense James Mattis (5th L) poses for a picture with ASEAN defence leaders after a meeting on the sidelines of the 16th IISS Shangri-La Dialogue in Singapore, June 4, 2017.

อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เคิร์ท แคมแบล ผู้เคยรับผิดชอบภูมิภาคเอเชียตะวันออก กล่าวว่า คำกล่าวของรัฐมนตรีแมททิสที่สิงคโปร์ครั้งนี้ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประเทศในเอเชียว่าสหรัฐฯจะดำเนินนโยบายที่ต่อเนื่อง

นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยตั้งข้อสังเกตว่าการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ใช้นโยบายอเมริกามาก่อนหรือ “America First” อาจเปิดทางให้จีนขยายอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและการทูตโดยไม่มีสหรัฐฯ มาคานอำนาจเช่นเดิม

แต่อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เคิร์ท แคมแบล กล่าวว่า อย่างน้อยหากพิจารณาถึงท่าทีของรัฐมนตรีแมททิสครั้งล่าสุดนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมีจุดยืนที่แตกต่างจากสัญญาณที่สะท้อนออกมาโดยประธานาธิบดีทรัมป์

การประชุม Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ ยังมีตัวแทนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เข้าร่วม

ส.ส. แม็ค ธอนเบอร์รี่ ของพรรครีพับลิกัน ที่เข้าร่วมงานด้วย กล่าวว่าตนมาครั้งนี้ก็เพื่อยืนยันความต่อเนื่องในความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับเอเชีย เช่นเดียวกับรัฐมนตรีแมททิส

ส.ส. ธอนเบอร์รี่ เพิ่งจะเสนอร่างกฎหมายที่ต้องการให้สหรัฐฯ เพิ่มศักยภาพด้านกลาโหมในเอเชียแปซิฟิกมูลค่า 2,100 ล้านดอลลาร์

สำหรับ ส.ส. จากพรรคเดโมแครต สเตฟานี เมอร์ฟี กล่าวว่า รัฐสภาเป็นส่วนการบริหารประเทศที่สำคัญเคียงคู่ไปกับอำนาจการบริหารส่วนอื่นของประเทศ

และการทุ่มเททรัพยากรเรื่องการทหารในเอเชีย สะท้อนถึงความตั้งใจที่ต่อเนื่องของอเมริกาที่จะประสานความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคนี้จากอดีต สู่ปัจจุบันและอนาคต



source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066991551909519475

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.