At the University of Texas Rio Grande Valley, in Brownsville, Texas, a crossing sign featuring the ocelot — a former school mascot — remains on campus. However, you are unlikely to spot one anywhere int he country. Biologists have estimated there are less

ป้ายเตือนว่าให้ระวังเสือดาวเเคระข้ามถนนยังมีให้เห็นในหลายจุดทั่วมหาวิทยาลัย Texas วิทยาเขต Rio Grande Valley เเม้ว่าอาจจะไม่มีเสือดาวเเคระในพื้นที่ดังกล่าวแล้วก็ตาม

ในรัฐเท็กซัส มีเสือดาวเเคระนี้เหลืออยู่เเค่ราว 50 ตัวเท่านั้น เเละเสี่ยงต่อการผสมพันธุ์ระหว่างเสือที่เกิดจากพ่อเเม่หรือเครือญาติเดียวกัน

ข้อเสนอของผู้นำสหรัฐฯ ให้สร้างกำเเพงกั้นชายเเดนสหรัฐฯ กับเม็กซิโกจะยิ่งเป็นสิ่งกั้นขวางระหว่างเสือดาวเเคระในเท็กซัสกับประชากรเสือดาวเเคระจำนวนมากกว่่าในประเทศเม็กซิโก ประเทศชายเเดนทางใต้ของสหรัฐฯ

Alejandro Fierro นักนิเวศวิทยา กล่าวว่า ในจุดนี้ของเเม่น้ำริโอแกรน มีเสือดาวแคระสองกลุ่มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กลุ่มหนึ่งอยู่ทางฝั่งสหรัฐฯ เเละอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ทางฝั่งเม็กซิโก

เขากล่าวว่ากำเเพงกั้นชายเเดนสหรัฐฯเเละเม็กซิโกจะแยกประชากรเสือดาวเเคระในสหรัฐฯ จากประชากรเสือดาวเเคระส่วนใหญ่ที่อยู่ทางฝั่งเม็กซิโก

บรรดานักอนุรักษ์สัตว์ในทางใต้ของรัฐเท็กซัส กังวลต่อเกี่ยวกับเรื่องนี้มาหลายปีเเล้ว ตั้งเเต่รัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับบลิว บุช สร้างรั้วกั้นสหรัฐฯ เเละเม็กซิโก ซึ่งสร้างผ่านพื้นที่่ป่าอนุรักษ์เมื่อเกือบ 10 ปีที่เเล้ว

มาขณะนี้ แผนสร้างกำแพงของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ยาวกว่าเดิมเเละคลุมพื้นที่ส่วนหนึ่งของหุบเขาริโอแกรนด์ ยิ่งสร้างความกังวลด้านความหลากหลายทางนิเวศวิทยาในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น

Scott Nicol ประธานร่วมของหน่วยงานอนุรักษ์ Sierra Club Borderlands กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า "การสร้างกำเเพงกั้นชายแดนอาจส่งผลให้ระบบนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงไปทั้งระบบก็ได้ และถ้าหากกำเเพงเป็นคอนกรีต สัตว์ป่าก็จะข้ามชายแดนไปมาไม่ได้ นกบางส่วนอาจสามารถบินข้ามกำเเพงได้ แต่สัตว์ป่าชนิดอื่นๆ จะไม่มีทางข้ามกำเเพงได้ แม้เเต่หนูก็ข้ามไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์พืชตามธรรมชาติ"

ทางฝั่งตรงข้ามของป่าอนุรักษ์แห่งชาติหุบเขาริโอแกรนด์ส่วนล่าง มีสัตว์ป่าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างน้อย 19 ชนิด ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากกำเเพงกั้นชายเเดนที่เสนอโดยผู้นำสหรัฐฯ และในพื้นที่น้ำท่วมซึ่งมีเเนวรั้วคล้ายๆ กับฝายกั้นอยู่เเล้ว

ทำให้สัตว์ป่าเหล่านี้จะยิ่งมีโอกาสรอดน้อยลงไปอีกหากเกิดภาวะน้ำท่วมหรือพายุเฮอร์ริเคนเพราะน้ำไม่มีทางระบายออก

Scott Nicol ประธานร่วมของหน่วยงานอนุรักษ์ Sierra Club Borderlands กล่าวว่า "ในอดีตที่ผ่านมา สัตว์ป่าสามารถปีนข้ามฝายกั้นได้เพราะแนวฝายมีลักษณะเป็นทางลาดลงทั้งสองฟาก สัตว์สามารถปีนข้ามหนีน้ำท่วมได้ แต่หากเป็นกำเเพงคอนกรีต สัตว์ป่าก็จะปีนข้ามไม่ได้ ทำให้เสี่ยงต่อการจมน้ำตาย"

source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066990559705117178

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.