แฟ้มภาพ เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

Posted: 05 Jan 2019 02:14 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2019-01-05 17:14



ปธ.สนช.ชี้ความชัดเจนกำหนดวันต้องรอ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งบังคับใช้ แนะ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งให้เหมาะสม เผย สนช.พร้อมปรับการทำงานตามกรอบเวลาที่เหลือ

5 ม.ค.2562 จากกรณีมีกระแสข่าวว่าจะเลื่อนการเลือกตั้งจากวันที่ 24 ก.พ.2562 นั้น ล่าสุดวันนี้ (5 ม.ค.62) พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ขณะนี้วันเลือกตั้ง ยังไม่กำหนด เพราะตามกฎหมายต้องรอให้พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ก่อน ซึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอำนาจในการออกประกาศกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 5 วัน ที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ ดังนั้น กรอบเวลาการทำงานหรือไทม์ไลน์ของ สนช. ยังเป็นไปตามกำหนดเดิม แต่หากมีการเลื่อนเลือกตั้ง ทาง สนช. ต้องปรับการทำงานตามระยะเวลาจากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะหยุดพิจารณากฎหมายก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน อย่างไรก็ตาม จากนี้มีจะพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งชาวไทยทุกคน ต้องการให้พระราชพิธีดำเนินไปด้วยพระเกียรติยศที่สวยงาม ประชาชนชื่นชมยินดี จึงไม่ควรมีใครนำมาพูดเป็นประเด็นให้มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องคือพสกนิกรจะดีใจ ที่จะมีพระราชพิธีดังกล่าว รัฐบาลและรัฐสภาต้องเตรียมความพร้อมในการเกี่ยวข้องกับพระราชพิธี ทั้งนี้ เชื่อว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยไม่มีผู้กระทำการใดที่จะกระทบถึงพระราชพิธี

ประธาน สนช. แนะด้วยว่า กกต. จะต้องดูเรื่องเงื่อนเวลาในการจัดการเลือกตั้ง อย่ากระทบพระราชพิธี ที่มีความสำคัญที่สุดในรอบหลายทศวรรษของประเทศไทย ดังนั้นกระบวนการเลือกตั้งจนถึงการจัดตั้งรัฐบาล ต้องไม่ทับซ้อนกับหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธี ที่มีขึ้นตลอดเดือน พ.ค.นี้

"อย่านำประเด็นงานพระราชพิธีสำคัญ มาเป็นเงื่อนไขกับเรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับเหตุผลสำคัญนี้ อย่างไรก็ตามความชัดเจนเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้ง ต้องรอพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับก่อน จากนั้นการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นภายใน 60 วัน" พรเพชร กล่าว

ประธาน สนช.กล่าวถึงกรอบเวลาหลังพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ ว่าการเลือกตั้งจะต้องมีขึ้นใน 60 วัน และจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จในกรอบเวลา 150 วัน

ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และไทยรัฐออนไลน์

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.